space
space
space
<<
เมษายน 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
space
space
30 เมษายน 2559
space
space
space

ภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ (Active Ageing)


ภาวะพฤฒพลังของผู้สูงวัย (Active Ageing)
โดย ดร. ภคพร กุลจิรันธร

ปัจจุบันจำนวนประชากรของโลกมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นมากและมีโครงสร้างที่มี                  การเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจากภาพที่ 1.1 แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกในช่วงระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมาคือตั้งแต่ปี 1975-2000 นั้นประชากรเพิ่มขึ้นจากจำนวน 4,100 ล้านคน เป็น 6,500 ล้านคน และจากปี 2001-2025 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 8,200 ล้านคนในปี 2025 หรือคิดเป็น ร้อยละ 100 จากปี 1975และกลุ่มที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปหรือผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจากจำนวน 350 ล้านคนในปี 1975 เป็น 1,100 ล้านคนในปี 2025 หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 244 จากปี1975 (The United Nations, 2009)การเพิ่มขึ้นเช่นนี้ส่วนหนึ่งจากความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ทำให้คนมีอายุยืนยาวมีอัตราการตายลดน้อยลง ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในปี 2050 นี้ทั่วโลกจะมีจำนวนผู้สูงอายุคิดเป็น 2 ใน 5โดยพบว่าทวีปยุโรปเป็นภูมิภาคที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรเพื่อเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” มากที่สุดในขณะที่ทวีปเอเชียพบว่าประเทศญี่ปุ่นมีสัดส่วนของกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุด  ซึ่งมีสัดส่วนเท่ากับประเทศอิตาลีที่มีโครงสร้างของผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 25 ของจำนวนประชากรทั้งหมด(สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2556)

สำหรับประเทศไทยก็มีแนวโน้มว่าจำนวนและอัตราส่วนผู้สูงอายุไทยเพิ่มขึ้นทุกปี จะเห็นได้ว่าในภาพที่ 1.2 ในปี 2005 จำนวนผู้สูงอายุของไทยจะมีประมาณ 6.69 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10.17 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ13.18 ในปี 2015(สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2556)แสดงให้เห็นว่าคนไทยมีแนวโน้มอายุที่ยืนยาวขึ้นฉะนั้นในอนาคตจะทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า“วิกฤตผู้สูงอายุ” ในอีก 12 ปีข้างหน้า (ปราโมทย์ ประสาทกุล, 2548: 18-20) กล่าวคือ เมื่อประเทศต่าง ๆมีจำนวนผู้สูงอายุที่สูงขึ้นจะมีการใช้งบประมาณด้านสวัสดิการและสังคมที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณของคนวัยทำงานที่จะเสียภาษีให้กับรัฐบาลซึ่งนำเงินไปบริหารประเทศกลับมีจำนวนลดลงอีกทั้งมีภาระหน้าที่ที่ต้องดูแลผู้สูงอายุระยะยาวนั้นเป็นปัญหาต่อสังคมและเศรษฐกิจ อาจส่งผลเสียต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตได้จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาปัญหาเกี่ยวกับผู้สูงอายุให้ชัดเจนเพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นได้

ปัญหาด้านสุขภาพของประชากรสูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆทางร่างกายคิดเป็นร้อยละ 83.20 มีปัญหาด้านสุขภาพจิตจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยของตนเองและปัญหาการดำรงชีพคิดเป็นร้อยละ68.50 จากการศึกษาพบว่าโรคต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุนั้นบางโรคสามารถป้องกันได้ด้วยการสร้างเสริมสุขภาพเช่นโรคที่เกี่ยวกับกระดูกข้อและกล้ามเนื้อซึ่งพบเป็นปัญหาสำหรับผู้สูงอายุค่อนข้างสูงกว่าโรคเรื้อรังอื่นๆสำหรับโรคเรื้อรังที่พบในผู้สูงอายุได้แก่โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงและระดับของไขมันในกระแสเลือดสูงกว่าปกติซึ่งเป็นโรคที่เสี่ยงต่อการมีภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายนอกจากนั้นยังพบโรคเกี่ยวกับหลอดลมโรคหัวใจซึ่งเป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้สูงอายุ(อรรณพใจสำราญและคณะ,2553: 1) ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนารูปแบบการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุที่เหมาะสมแบบบูรณาการเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพทางร่างกายที่แข็งแรงมีสุขภาพจิตที่ดีอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมมีการพึ่งพาตนเองและสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติสุขไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ลดภาระการพึ่งพิง ทางสังคมของผู้สูงอายุลงจะส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับความสุขทั้งด้านร่างกายจิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลต่อสุขภาพดีขึ้น

นวัตกรรมสังคมทางด้านพฤฒพลัง

นวัตกรรมพฤฒพลังของผู้สูงอายุคือกระบวนการและปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเองอย่างมีความสุขกายสบายใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ชีวิตต่อไป การเป็นพฤฒพลังของผู้สูงอายุมีรูปแบบและลักษณะต่างๆดังนี้

1. มีการเตรียมตัวเพื่อเป็นผู้สูงอายุได้แก่การเตรียมตัวในด้านการเงิน ด้านที่อยู่อาศัย โดยการออมเงินหรือการลงทุนเมื่ออยู่ในวัยทำงาน เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้เมื่อเข้าสู่ภาวะผู้สูงอายุ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าการเตรียมตัวเพื่อเป็นผู้สูงอายุในเขตจังหวัดนครราชสีมาอยู่ในระดับน้อยทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคประชาชนและในส่วนของผู้ที่จะเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุและผู้สูงอายุในปัจจุบัน

โดยในส่วนของภาครัฐควรมีการสนับสนุนการบูรณาการทุกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้จึงจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุดที่สำคัญคือสถาบันการศึกษาทุกแห่งทุกระดับตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษาควรมีหลักสูตรที่เน้นการสร้างความตระหนักในเรื่องนี้ทุกฝ่ายควรเริ่มดำเนินการเชื่อมโดยงบประมาณ โครงการ ภารกิจที่จะเป็นการสนับสนุนซึ่งกันและกันเพียงแต่ต้องทำด้วยความจริงใจ และให้ความสำคัญอย่างแท้จริงจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้สูงอายุ และจะส่งผลให้ทุกครอบครัวอยู่อย่างเป็นสุขชุมชน สังคมและประเทศชาติมีความเข้มแข็งที่จะอยู่ได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

2. การสร้างจิตสำนึกในการดูแลผู้สูงอายุให้แก่ครอบครัวและชุมชนเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทุกฝ่ายมีจิตสำนึกที่ดีในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุและพัฒนาความรู้เพื่อแก้ปัญหาและปรับปรุงนโยบายในการดูแลประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนาที่เน้นคุณภาพ ที่จะทำให้สังคมไทยในอนาคตเป็น “สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ” เมื่อพิจารณาถึงนโยบายต่างๆและบทบาทหลักที่ภาครัฐในการเข้าไปมีส่วนร่วมเกี่ยวกับสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุไทยที่เน้นใน4 ด้านหลักคือ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านสวัสดิการสังคม ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคมนอกจากนี้ในด้านแนวความคิดก็เปิดโอกาสและให้การสนับสนุนองค์กรภาคเอกชนต่าง ๆเข้ามามีส่วนร่วมใน การให้บริการสุขภาพอนามัยและให้สวัสดิการสงเคราะห์แก่ผู้สูงอายุมากขึ้นและมีการพัฒนาสื่อ ที่ทำให้เกิดจิตสำนึกที่ดีต่อพ่อแม่มากขึ้น

3. การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมแบบใหม่ๆ เช่น การจัดกลุ่มพูดคุย เล่าเรื่องราวในอดีตของตนเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกันในกลุ่มผู้สูงอายุเดียวกัน การทำกิจกรรมทางสังคมอาจมีหลากหลายรูปแบบเช่น การฝึกอบรมผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ให้มีความรู้ออกไปช่วยเหลือผู้สูงอายุภายนอกในการแนะนำสุขภาพ การดูแลตนเองการปรับตัวให้เข้ากับสังคมเปรียบเสมือนกับการออกช่วยเหลือสังคมทำให้รู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมทำให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง การที่ผู้สูงอายุได้อยู่กับคนใกล้ชิดหรืออยู่กับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันก็ทำให้ผู้สูงอายุไม่ต้องรู้สึกปรับตัวมากนักและเข้าใจสภาพของร่างกายซึ่งเป็นรูปแบบบริการทางจิตใจที่สำคัญในอนาคต

4.มีความรู้ในการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของตนเอง ผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา ควรจะตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุและการแพทย์ได้เจริญก้าวหน้า ทำให้มีอายุยืนมากขึ้นประกอบกับทั้งในปัจจุบันและอนาคต ครอบครัวจะมีบุตรช้าและมีจำนวนน้อยลงทำให้สัดส่วนของการพึ่งพิงสูงขึ้น คือคนที่อยู่ในวัยทำงานที่ต้องมาเลี้ยงดูคนในครอบครัว จะมีสัดส่วนที่น้อยลง ทำให้เกิดความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจประกอบกับขนาดของครอบครัวที่เปลี่ยนจากครอบครัวขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยว และการเปลี่ยนจากสังคมชนบทหรือสังคมเกษตร มาเป็นสังคมเมืองหรือสังคมอุตสาหกรรมทำให้พ่อ แม่หรือผู้สูงอายุ ต้องอยู่เพียงลำพัง และอยู่ห่างไกลจากบุตรหลาน ทำให้ผู้สูงอายุต้องมีความรู้ในการดูแลตนเองโดยอาศัยมาตรการของสังคมได้วางปัจจัยเอื้อและปัจจัยสนับสนุนอย่างเหมาะสมได้แก่การจัดให้มีเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุสวัสดิการการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุตามโครงการประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง)

กล่าวโดยสรุปได้ว่าการเป็นผู้สูงอายุพฤฒพลังคือการเป็นผู้สูงอายุที่มีการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่ภาวะสูงวัยโดยพักอาศัยในชุมชนที่มีความตระหนัก มีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการทำกิจกรรมทางสังคมกับชุมชนและสามารถดูแลตนเองในด้านสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตได้

ขอนำเสนอแนวทางในการจัดทำนวัตกรรมสังคมทางด้านพฤฒพลังของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมาในการดำเนินชีวิตในสังคมด้วยตัวเอง ดังนี้

นวัตกรรมสังคมทางด้านพฤฒพลังของผู้สูงอายุ ควรประกอบไปด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ


1. การส่งเสริมบุคลิกลักษณะของปัจเจกบุคคลที่มีพฤฒพลังได้แก่

1.1 สภาพความแข็งแรงของร่างกาย การจะมีความสุขได้นั้นสุขภาพกายและสุขภาพจิตก็ต้องดีด้วยผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องหมั่นไปตรวจร่างกายประจำปีอย่างสม่ำเสมอและรีบไปพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เมื่อเริ่มมีอาการที่บ่งชี้ว่าเจ็บป่วยระมัดระวังและป้องกันไม่ให้ตนเองเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุหมั่นคอยดูแลสุขอนามัยของตนเอง โดยออกกำลังกายทุกวันหรือสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละประมาณ 20-30 นาที เลือกวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยและสภาพร่างกายของตนเองรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งให้คุณค่าทางอาหารครบ 5 หมู่เหมาะสมกับวัย เป็นอาหารที่ย่อยง่าย และมีปริมาณเพียงพอในแต่ละวันดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายอย่างน้อยวันละ 8 แก้วดูแลระบบขับถ่ายของตนเองให้เป็นปกติ นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง และอยู่ในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้ดี เมื่อผู้สูงอายุดูแลสุขภาพกายของตนเองเป็นอย่างดีแล้วก็ต้องดูแลสุขภาพจิตของตนเองด้วย โดยทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอไม่ให้ตนเองเกิดความเครียด หงุดหงิด ฉุนเฉียว ท้อแท้หรือน้อยใจด้วยการหากิจกรรมที่ทำให้ตนเองได้พักผ่อนหย่อนใจ มิฉะนั้นจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพจิตของตนเองและสัมพันธภาพกับลูกหลานและคนอื่น

1.2การศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกถึงความมีคุณค่าในตนเองและใช้

เวลาในชีวิตอย่างมีความสุข โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งได้กำหนดหลักการในการศึกษาให้ผู้สูงอายุสามารถศึกษาหาความรู้เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนได้หลายทาง

1.3อาชีพ รูปแบบการทำงานของผู้สูงอายุควรจะเป็นรูปแบบที่เป็นอาชีพประจำที่ให้รายได้ประจำซึ่งอาจจะเป็นการทำงานในรูปแบบของการทำงานในองค์กร หรือ การประกอบอาชีพส่วนตัวหรือ การทำงานในกิจการของครอบครัว ได้แก่ งานในภาคเกษตรเพื่อยังชีพหรือขายการประกอบอาชีพอิสระ เช่น ค้าขาย ผลิตของกินของใช้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานที่สามารถทำได้ที่บ้าน หรือทำงานในลักษณะวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มอาชีพต่างๆ เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์โอทอป (OTOP)และกลุ่มเกษตรอินทรีย์ เป็นต้นโดยลักษณะงานที่ผู้สูงอายุทำได้เป็นงานที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนเวลาได้สามารถนำกลับมาทำที่บ้านได้ หรือถ้าทำที่กลุ่มก็ไม่ได้ทำทุกวันกลุ่มที่ประสบความสำเร็จและยั่งยืน มักมีการทำกิจกรรมสม่ำเสมอ ประกอบด้วยคนหลายวัยเพราะผู้สูงอายุสามารถทำได้บางกิจกรรมที่ถนัดเท่านั้น

ภารรัฐควรส่งเสริมโอกาสการจ้างงานแก่ผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมของประเทศไทยโดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในกลุ่มนายจ้างในภาคเอกชนให้ตระหนักถึงความรู้ความสามารถของแรงงานสูงอายุ โดยอาจจะนำเสนอระบบการเกษียณที่ยืดหยุ่นรางวัลหรือสิ่งกระตุ้นที่สนับสนุนการกลับมาเข้ารับการฝึกอบรมทักษะใหม่และการจ้างงานใหม่ของผู้สูงอายุและการเปิดโอกาสให้แรงงานสูงอายุได้เพิ่มพูนทักษะของตนเอง ขยายภาคงานที่ผู้สูงอายุจะมีโอกาสหารายได้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ทำงานในภาคเกษตร แต่ยังมีภาคการผลิตอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ เช่นการค้า การผลิต การคมนาคม การสื่อสารและอุตสาหกรรมชุมชน ทุกภาคส่วนสามารถลดความเปราะบางของผู้สูงอายุโดยการเพิ่มโอกาสการหารายได้ให้ผู้สูงอายุ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพื่อลดช่องว่างระหว่างแรงงานที่มีอายุมากกว่า 60ปีและวัยแรงงาน และที่สำคัญควรส่งเสริมระบบประกันสังคมซึ่งรวมถึงในระดับชุมชน เพื่อสนับสนุนระบบสวัสดิการของภาคเอกชนและภาครัฐ

1.4สถานะทางเศรษฐกิจ การทำงาน นอกจากจะเป็นวิธีการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เพื่อให้มีรายได้เป็นค่าใช้จ่ายด้านอาหารและค่าใช้จ่ายอื่นๆแล้วทำให้ผู้สูงอายุมีรายได้เป็นของตนเองทำให้ยังมีสถานะทางเศรษฐกิจที่สามารถพึ่งตนเองได้ที่ส่งผลทางอ้อมต่อความมั่นคงด้านสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุด้วยสังคมไทยควรมีการเตรียมการเพื่อรองรับสังคมสูงอายุที่กำลังจะมาถึงทั้งการจัดเตรียมระบบสวัสดิการที่เหมาะสม การใช้กลไกของชุมชน เช่น วัด โรงเรียนอบต. เพื่อช่วยเกื้อหนุน หรือเตรียมการด้านสังคมอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจและรู้สึกมั่นคงในชีวิตข้างหน้าแก่ผู้สูงอายุ

1.5 ทัศนคติต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุจะดำรงชีวิตอย่างมีความสุขได้นั้น ก็ด้วยการยอมรับสภาพของตนเองและด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ดังนั้นการแสดงออกด้วยการยกมือไหว้เมื่อพบปะผู้สูงอายุในสถานที่ต่างๆ นั้น เป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนในสังคมไทยควรกระทำต่อท่านร่วมไปกับการมองผู้สูงอายุด้วยทัศนคติเชิงบวกในบริบทของสังคมไทยเห็นว่าผู้สูงอายุคือผู้ที่มีวัยวุฒิเวลาพูดคุยด้วยก็จะแสดงความอ่อนน้อม มากกว่าแสดงความแข็งกร้าวและจะทักทายแม้ไม่รู้จักกัน การยอมรับตัวตนผู้สูงอายุในลักษณะเช่นนี้เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยให้การปฏิสัมพันธ์ สื่อสารกับผู้สูงอายุเป็นไปด้วยดีช่วยให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ครอบครัวและชุมชนควรเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องจะทำให้ผู้สูงอายุสามารถปรับตัวได้ให้เป็นคนทันสมัยรู้จักและใช้สิ่งอำนวยความสะดวก แต่งกายให้เหมาะกับวัย ด้วยการอ่านหนังสือพิมพ์ฟังวิทยุหรือชมโทรทัศน์ เพื่อติดตามข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ การเมืองน่าสนใจ

2. องค์ประกอบในด้านชุมชนสังคมและรัฐ ได้แก่

2.1การให้บริการทางสุขภาพ โดยภาครัฐควรต้องมีนโยบายพัฒนาคุณภาพบริการเพื่อส่งเสริม เฝ้าระวัง ป้องกันสุขภาพผู้สูงอายุโดยการเผยแพร่ความรู้ให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถดูแลตนเองได้รวมถึงพัฒนาบุคลากรทุกระดับในการให้บริการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และให้มีการพัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการดูแลประชากรผู้สูงอายุเพื่อการเสริมสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพื่อหารูปแบบการดำเนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุทั้งในด้านการส่งเสริมการป้องกัน การเฝ้าระวังสุขภาพและการประเมินผลอีกทั้งยังต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรท้องถิ่นและภาคเอกชนในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อสนับสนุนให้ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุและยอมรับว่าผู้สูงอายุเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม

2.2กิจกรรมทางสังคมในด้านศาสนาและวัฒนธรรม การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีการเข้าร่วมกิจกรรมหรือให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งสามารถที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและใจที่ดีถ้าบุคคลประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งจะทำให้บุคคลนั้นรับรู้ความสามารถของตนเองและส่งผลโดยตรงต่อการนับถือของตนเองการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุประสบความสำเร็จในชีวิตเพื่อให้ผู้สูงอายุได้อยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่าและมีความสุข โดยเป็นกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ

2.3การให้บริการการคมนาคมขนส่ง รัฐควรให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ออกกฎกระทรวงกำหนดลักษณะหรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะและบริการขนส่ง เพื่อให้คนสูงอายุสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

3.องค์ประกอบในด้านการสื่อสารและสารสนเทศ

การจัดการสารสนเทศห้องสมุด โดยเปิดเว็บไซต์เพื่อผู้สูงอายุพร้อมพัฒนาระบบให้ง่ายต่อการใช้งานเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์รอบด้านโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางการสื่อสารระหว่างผู้สูงอายุและบุคคลทุกเพศ ทุกวัย โดยจัดทำฐานข้อมูลด้านความรู้ สุขภาพ วิชาชีพ บันเทิง จริยธรรมและนวัตกรรมเทคโนโลยีตลอดจนการประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุอีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านกระดานสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน และเพิ่มเสียงอธิบายรายละเอียดและวิธีการใช้งานแทนการอ่านพร้อมปรับขนาดตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้สูงอายุรวมถึงจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตแก่ผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุได้ใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุขทั้งช่วยทำให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตัวเอง และมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ




อ้างอิง

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนผู้สูงอยุแห่งชติฉบับที่ 2 (..2545-2564)ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 ..2552. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์,2553

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.กรุงเทพมหานคร: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.2546

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยพ.. 2550.

กรุงเทพ ฯ:สำนักงานสถิติแห่งชาติ.2550

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Presonality (2nd ed).New York: Harper & Row.

United Nations.(2009). Worldpopulation ageing: 1950 -2050. RetrievedJanuary 10, 2014 from //www.un.org/esa/population/publications/worldageing19502050

United Nations.(2009). Human Development Report2009. New York, USA: United Nations

UNDP. (2000). Empowerment by Community. New York.UNDP Statement

WHO. (2002). MDG.New York. WHO Statement

World Health Organization, WHO.Regional strategy for healthy ageing, 2014




Create Date : 30 เมษายน 2559
Last Update : 30 เมษายน 2559 8:16:34 น. 1 comments
Counter : 5099 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาทักทาย สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: nokyungnakaa วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:16:58:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 972112
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 972112's blog to your web]
space
space
space
space
space