ไฟเย็นก็เป็นไฟ

ยิงจากแถวสอง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
7 พฤศจิกายน 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ยิงจากแถวสอง's blog to your web]
Links
 

 
ที่มาของค่าบริการวิชาชีพสถาปนิก

การคิดค่าบริการวิชาชีพของสถาปนิก (Remuneration) อ้างอิงจาก คู่มือปฏิบัติวิชาชีพและบริการ

บทนำ

สถาปนิกเป็นผู้ที่ใช้ทั้งความสามารถเชิงสร้างสรรค์ซึ่งผสานความรู้ความสามารถทางศิลปะและเทคนิคขั้นสูง เข้ากับความสามารถในการบริหารจัดการ เพื่อให้บริการทางด้านงานออกแบบและบริหารโครงการได้ในขณะเดียวกัน ดังนั้น สถาปนิกจึงจำเป็นต้องได้รับค่าบริการในอัตราที่เหมาะสมกับความรู้ความเชี่ยวชาญ และเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆในการดำเนินงานที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล

1 หลักการ

ค่าบริการของสถาปนิกหรือสำนักงานสถาปนิกขึ้นอยู่กับองค์ประกอบมากมาย ส่วนสำคัญได้แก่ ความชำนาญ ประสบการณ์ วิธีการ ระบบบริหารงาน ขนาดขององค์กร ตลอดจนทรัพยากรบุคคล ณ สำนักงานนั้น ๆ  ฉะนั้นการคิดค่าบริการจะผันแปรตามข้อกำหนดสำคัญดังกล่าว

การคิดค่าบริการวิชาชีพทุกประเภท ควรสอดคล้องกับอัตราค่าบริการวิชาชีพขั้นพื้นฐานของสมาคมวิชาชีพที่สภาสถาปนิกรับรอง

2 ระบบและวิธีการคิดค่าบริการวิชาชีพ

ระบบและวิธีการที่สถาปนิกใช้เป็นมาตรฐานในการคิดค่าบริการวิชาชีพ และเจรจาตกลงกับลูกค้า เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนที่เหมาะสม โดยทั่วไปมี 5 วิธีดังต่อไปนี้

1. ค่าบริการวิชาชีพในอัตราร้อยละ (Percentage Fees)

2. ค่าบริการวิชาชีพตามเวลา (Time Charge Fees)

3. ค่าบริการวิชาชีพแบบเหมาจ่าย (Lump Sum Fees)

4. ค่าบริการวิชาชีพแบบต้นทุนบวกค่าดำเนินการ (Cost Plus Fees)

5. ค่าบริการวิชาชีพตามปริมาณพื้นที่ (Built Area Fees)

2.1  ค่าบริการวิชาชีพในอัตราร้อยละ   (Percentage Fees)
วิธีนี้เป็นวิธีทั่วไปที่ใช้ในการคิดค่าบริการขั้นมูลฐาน(Basic Service)สถาปนิกจะคิดค่าบริการ เป็นอัตราร้อยละของมูลค่างานก่อสร้างที่ประมาณการเบื้องต้นไว้ ประโยชน์ของวิธีนี้อยู่ที่ใช้เวลาในการตกลงค่าบริการได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ยังไม่จำเป็นต้องรู้มูลค่าโครงการที่แน่ชัด การปรับค่าบริการวิชาชีพตามมูลค่างานที่แท้จริง จะดำเนินการในภายหลัง เมื่อได้ข้อมูลราคาค่าก่อสร้างที่แน่ชัดและใช้วิธีการปรับเพิ่มลดตามสัดส่วนในอัตราร้อยละที่ได้ตกลงกันไว้
อย่างไรก็ตามควรจะมีการระบุไว้ให้ชัดเจนว่า ในกรณีที่สถาปนิกได้ดำเนินการงานออกแบบจนเสร็จสมบูรณ์ตามขอบเขต ขนาด และรูปแบบที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว หากลูกค้าต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงขอบเขตงาน ขนาด หรือรูปแบบของโครงการใหม่ ลูกค้าจะต้องจ่ายค่าบริการวิชาชีพเพิ่มเติมสำหรับการออกแบบแก้ไขงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วนั้นใหม่

ตัวอย่างการคิดค่าบริการวิชาชีพเป็นอัตราร้อยละ สถาปนิกจะคิดค่าบริการวิชาชีพเป็นอัตราร้อยละของค่าก่อสร้างสำหรับงานออกแบบโดยทั่วไป โดยคำนวณจากตารางหมายเลข 1

ประเภทของงาน

งานประเภทที่ 1     การออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบผลิตภัณฑ์สถาปัตยกรรมและครุภัณฑ์
งานประเภทที่ 2     พิพิธภัณฑ์ อนุสาวรีย์ อาคารอนุสรณ์ที่มีแผนแบบวิจิตร อาคารทางศาสนา  (วัด โบสถ์ วิหาร)
งานประเภทที่ 3     บ้านพักอาศัย อาคารประเภทโรงเรือนสลับซับซ้อนที่มีส่วนใช้สอยของอาคารหลายๆ ประเภท
รวมกันตั้งแต่ 3 ประเภทขึ้นไป ทั้งนี้ไม่นับรวมงานประเภทที่ และงานภูมิสถาปัตย์
งานประเภทที่ 4     โรงพยาบาล อาคารห้องปฏิบัติการ รัฐสภา ศาลาท้องถิ่น วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หอสมุด
โรงแรม โมเต็ล ธนาคาร อาคาร ชุดพักอาศัย โรงภาพยนตร์ สนามกีฬาในร่ม
งานประเภทที่ 5     อาคารสำนักงาน อาคารสรรพสินค้า สถานที่กักกัน สถานพักฟื้น หอพัก โรงเรียน อาคาร
อุตสาหกรรม สถานบริการรถยนต์
งานประเภทที่ 6     อัฒจันทร์ โรงพัสดุ คลังสินค้า อาคารจอดรถ ห้องแถว ตลาด

ตารางหมายเลข 1 อัตราค่าบริการวิชาชีพขั้นพื้นฐาน

ประเภทของงาน

ไม่เกิน
สิบล้าน

สิบล้าน
ถึง
30 ล้าน

30 ล้าน
ถึง
50 ล้าน

50ล้าน
ถึง
100 ล้าน

100 ล้าน
ถึง
200 ล้าน

200 ล้าน
ถึง
500 ล้าน

500 ล้าน
ขึ้นไป

ประเภท 1

10.00

7.75

6.50

6.00

5.25

4.50

3.70

ประเภท 2

8.50

6.75

5.75

5.50

4.75

4.25

3.60

ประเภท 3

7.50

6.00

5.25

5.00

4.50

4.00

3.50

ประเภท

6.50      

5.50

4.75

4.50

4.25

3.75

3.40

ประเภท 5                                 

5.50

4.75

4.50

4.25

4.00       

3.50       

3.30

ประเภท

4.50      

4.25       

4.00        

3.75        

3.50       

3.25      

3.20


อัตราค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลฐาน เป็นหลักการคำนวณหาค่าบริการวิชาชีพตามข้อนี้ให้ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
งานก่อสร้างโดยทั่วไป การคิดค่าบริการวิชาชีพสำหรับงานก่อสร้างโดยทั่วไป ให้คำนวณจากอัตราร้อยละตามระบุ
ในตารางหมายเลข 1 “อัตราค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลฐาน” โดยคิดเป็นอัตราก้าวหน้า
ตัวอย่างอาคารประเภท 4 ราคาก่อสร้าง 35 ล้านบาท ให้คำนวณหาค่าบริการวิชาชีพดังต่อไปนี้
10 ล้านบาทแรก อัตราร้อยละ 6.50 เป็นเงิน                    650,000    บาท
20 ล้านบาทถัดไป อัตราร้อยละ 5.50 เป็นเงิน                1,100,000    บาท
5 ล้านบาทที่เหลือ อัตราร้อยละ 4.75 เป็นเงิน                   237,500    บาท
รวมเป็นค่าบริการทั้งสิ้น                                               1,987,500    บาท

งานก่อสร้างต่อเติม การคิดค่าบริการวิชาชีพสำหรับงานก่อสร้างต่อเติม ให้คิดค่าบริการเป็น 1.1 เท่า ของค่าบริการวิชาชีพตามข้อ 3.1.1* งานก่อสร้างต่อเติม หมายถึงการออกแบบงานก่อสร้างต่อเติมอาคารที่มีอยู่แล้ว และการก่อสร้างต่อเติมจำเป็นจะต้องแก้ไขระบบ โครงสร้างของอาคารเดิมบางส่วน และหรือจำเป็นจะต้องแก้ไขประโยชน์ใช้สอยของอาคารเดิมบางส่วน

งานก่อสร้างดัดแปลงการคิดค่าบริการวิชาชีพสำหรับงานก่อสร้างดัดแปลงให้คิดค่าบริการเป็น 1.4 เท่าของค่าบริการวิชาชีพ
งานก่อสร้างดัดแปลง หมายถึงการดัดแปลงแก้ไขประโยชน์ใช้สอยภายในอาคารที่มีอยู่แล้วจะโดยการแก้ไขเพิ่มเติมระบบโครงสร้างหรือไม่ก็ตาม


2.2  ค่าบริการวิชาชีพตามเวลา  (Time Charge Fees)
วิธีนี้ใช้ในกรณีที่งานมีขอบเขตของงาน และขอบเขตการให้บริการที่ชัดเจน เช่น งานศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในหลายรูปแบบ งานวางผัง กรณีนี้สถาปนิกจะต้องวางแผนล่วงหน้าถึงกำหนดเวลาที่จะใช้ในการทำงานตลอดจนจำนวนบุคลากรในระดับต่าง ๆ ที่จะใช้ทำงานในโครงการ การคิดค่าบริการคือ เวลา x ค่าแรง โดยเวลาที่ใช้สามารถคิดได้เป็นต่อเดือน ต่อวัน หรือต่อชั่วโมง ส่วนค่าแรงคือ อัตราค่าใช้จ่ายของบริษัทที่มีต่อบุคลากรในแต่ละระดับการทำงาน อันมาจากเงินเดือนพนักงาน สวัสดิการ เบี้ยเลี้ยง ค่าใช้จ่ายส่วนกลางของบริษัท และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เมื่อนำอัตราของบุคลากร x เวลาที่ใช้ ของแต่ละอัตรา มารวมกับค่าใช้จ่ายจริงซึ่งได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าพิมพ์แบบ ค่ารูปทัศนียภาพ ฯลฯ (ค่าใช้จ่ายที่เบิกคืนได้) ทั้งหมดนี้รวมกันจะเป็นค่าบริการวิชาชีพตามเวลา

2.3  ค่าบริการวิชาชีพแบบเหมาจ่าย  (Lump Sum Fees)
วิธีนี้เป็นวิธีการคิดค่าบริการที่สถาปนิกตกลงยินยอม ที่จะให้บริการตามขอบเขตของงานที่กำหนดในจำนวนเงินค่าบริการวิชาชีพที่สมเหตุผลในจำนวนเงินที่ตายตัว การคิดค่าบริการแบบนี้อาจเริ่มต้นคำนวณจากค่าบริการวิชาชีพอัตราร้อยละหรือจากค่าบริการวิชาชีพตามเวลารวมกับค่าใช้จ่ายจริงแล้วพิจารณาปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามแต่สถาปนิกจะตกลงกับผู้ว่าจ้าง
ในการคิดค่าบริการแบบนี้ ควรมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนว่า ในกรณีที่มีการแก้ไขขอบเขตของงานการให้บริการ และ/หรือ ราคาประมาณการโครงการเกินกว่าที่กำหนดไว้ จะต้องมีการพิจารณาค่าบริการชดเชยส่วนที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มค่าบริการในส่วนของงบประมาณที่เพิ่มขึ้น

2.4 ค่าบริการวิชาชีพแบบต้นทุนบวกค่าดำเนินการ (Cost Plus Fees)
วิธีนี้มักจะใช้กับโครงการออกแบบที่ลูกค้ายังไม่สามารถกำหนดกรอบการลงทุนที่ชัดเจน ซึ่งหมายถึงตำแหน่งที่ตั้งโครงการ  ที่อาจมีหลายทางเลือก ขอบเขต และขนาดของโครงการที่ยังไม่แน่ชัด รูปแบบยังมีการปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามเงื่อนไขของการศึกษาการลงทุน โดยที่มีความแตกต่างค่อนข้างสูง ทำให้สถาปนิกไม่สามารถกำหนดอัตรากำลังบุคลากร และคาดการณ์แผนระยะเวลาการทำงานเบ็ดเสร็จได้ วิธีการนี้สถาปนิกจะเสนอค่าบริการวิชาชีพโดยการคำนวณต้นทุน (อัตราค่าบริการ x เวลา) บวกกับค่าดำเนินการงานในแต่ละช่วงของการตกลง

2.5  ค่าบริการวิชาชีพตามปริมาณพื้นที่  (Built Area Fees)
วิธีนี้ใช้ในงานวางผังบริเวณ หรืองานอาคารที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน โดยใช้คำนวณจากปริมาณพื้นที่ก่อสร้างของโครงการ (หน่วยพื้นที่) คูณอัตราค่าบริการออกแบบของโครงการในแต่ละประเภท (บาท/หน่วยพื้นที่) โดยอัตราดังกล่าวสถาปนิกคิดตามต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการทำงานของแต่ละสำนักงาน

ค่าบริการวิชาชีพในกรณีที่นำไปทำซ้ำ (Duplication Fee)

ในกรณีที่ลูกค้าต้องการนำงานออกแบบนั้นๆ ไปใช้ทำการก่อสร้างซ้ำ สถาปนิกควรจะระบุข้อตกลงเกี่ยวกับมูลค่าการชดเชยในการเสนอค่าบริการวิชาชีพด้วย

ตัวอย่างงานก่อสร้างที่ใช้แบบซ้ำกัน งานก่อสร้างที่ใช้แบบซ้ำกันโดยไม่ต้องเขียนแบบใหม่ และทำการก่อสร้างในบริเวณเดียวกัน ให้คิดค่าบริการวิชาชีพดังต่อไปนี้

  • หลังที่ 1 คิดค่าบริการ 100 เปอร์เซ็นต์ ของค่าบริการ
  • หลังที่ 2 คิดค่าบริการ 50 เปอร์เซ็นต์ ของค่าบริการ
  • หลังที่ 3 ถึงหลังที่ 5 คิดค่าบริการหลังละ 25 เปอร์เซ็นต์ ของค่าบริการ
  • หลังที่ 6 ถึง หลังที่ 10 คิดค่าบริการหลังละ 20 เปอร์เซ็นต์ ของค่าบริการ

ตั้งแต่หลังที่ 11 ขึ้นไปคิดค่าบริการหลังละ 15 เปอร์เซ็นต์ ของค่าบรอการ

ค่าใช้จ่ายที่ไม่ รวมในค่าออกแบบและสามารถเบิกคืนได้ (Reimbursement)

โดยปกติแล้วสถาปนิกสามารถขอชดเชยค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่นอกเหนือ ไปจากค่าบริการวิชาชีพตามขอบเขตงานและอัตราที่เสนอไปตามปกติ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เบิกคืนได้เหล่านี้ ควรจะระบุให้ชัดเจนประกอบการเสนอค่าบริการต่อผู้ว่าจ้าง อันได้แก่

  • ค่าจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญพิเศษแขนงต่างๆ
  • ค่าจัดทำประมาณราคาค่าก่อสร้าง (Quantity Survey)
  • ค่าจัดทำรายงานการสำรวจทางภูมิประเทศและคุณภาพชั้นดิน
  • การรังวัดอาคารเดิมสำหรับการอนุรักษ์และการดัดแปลงแก้ไข
  • ค่าจัดทำงานเขียนรูปทัศนียภาพและการทำหุ่นจำลองเพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดหรือเพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ
  • ค่าจัดทำการบันทึกข้อมูลในรูปสื่ออิเลคโทรนิก เช่น แผ่นซีดีรอม
  • ค่าเดินทาง ค่าที่พักและค่าเบี้ยเลี้ยงในกรณีที่ได้รับมอบหมายให้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ยังต่างประเทศหรือสถานที่ห่างไกลนอกเขตระยะทางที่กำหนดไว้จากที่ตั้งสำนักงานของสถาปนิก
  • ค่าโทรศัพท์ โทรสาร และการจัดส่งเอกสาร พัสดุ ระหว่างจังหวัด หรือระหว่างประเทศ
  • ค่าจัดพิมพ์แบบในจำนวนที่นอกเหนือจากที่ระบุไว้
  • ค่าธรรมเนียมในการติดต่อประสานงานและยื่นเอกสารขออนุญาตต่อหน่วยงานราชการ




Create Date : 07 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2557 16:42:09 น. 0 comments
Counter : 5263 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.