ความรู้ไม่จริง ??? ของพระบางรูป




พเนจรร่อนเร่ไปตามกระแสกิเลสตัวโตๆ บังเอิญไปเจอเวบหนึ่ง ขึ้นคำโปรยเสียน่าอ่านว่า

วิถีแห่งความรู้แจ้ง

น่าสนใจจริงๆ และคำนี้ เหมือนจะคุ้นเคยผ่านหูผ่านตามาบ้าง พอคลิกตามเวบเข้าไป  ว่าแล้ว.... พระรูปนี้อีกแล้ว  พระปราโมทย์  ปาโมชฺโช  จริงๆ 

จาการติดตามอ่านบ้างไม่อ่านบ้าง ในเรื่อยงเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติที่พระรูปนี้พูด เขียน ไว้ในหลายๆแห่ง  ทำให้เข้าใจได้บางอย่างว่า  ท่านก็ไม่รู้ หรือไม่เข้าใจในสาระวิธีการปฏิบัติจริงๆของแต่ละที่แต่ละสำนัก  แต่ท่านเล่นนำมาพูดมากล่าวเสียเหมือนว่าสำนักอื่นวิธีอื่นผิดทาง ไม่ใช่ทาง ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง

วันนี้ก็เช่นกัน อุตส่าลงทุนอ่าน ก็มาเจออะไรที่พาดพิงถึงสำนักอื่นอีก ในเชิงที่ว่าเขาทำไม่ถูกวิธี
ดูจากภาพเอาเองก็แล้วกัน



ในภาพที่นำมาให้ดู ได้มาจากเวบที่อยู่ในภาพนั่นเอง เป็นเด็นตามข้อนี้ คงหมายถึงการปฏิบัติของสายพองหนอยุบหนอเป็นแน่แท้  เพราะในข้อความตามภาพ มีตรงๆถึงวิธีกำหนดเลย ก็เลยคิดว่า ท่านผู้เขียนบทความนี้ ไม่รู้จริง หรือ รู้ แต่แกล้งไม่รู้ แต่จะด้วยเจตนาอะไรก็ตาม จะถือโอกาสนี้ร่ายยาวทีละประเด็น แบบคัดลอกข้อความมาอธิบาย

๑.การพยายามเข้าไปแทรกแซงการรู้สภาวธรรมจะก่อให้เกิดความหลงผิดหนักยิ่งขึ้น
ในการปฏิบัติตามแบบวิธีกำหนดพองหนอยุบหนอ เป็นการกำหนดรู้สภาวะทาง กาย เวทนา
จิต และ ธรรม ไปในวาระเดียว ไม่ใช่หมายถึงกำหนดรู้ครั้งเดียวได้ทั้ง ๔ ฐานของสติ แต่หมาย
ถึง ในการปฏิบัติหนึ่งครั้ง สภาวะทางฐานทั้ง ๔  อะไรปรากฎชัด ก็กำหนดรู้อันนั้นไป ตามแต่
ว่าสภาวะอะไรจะปรากฎชัดในเวลาปฏิบัติ

วิธีการกำหนดรู้ของสายพองหนอยุบหนอนั้น  ถือตามหลักของสติปัฎฐานสูตร  คือ
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
     มีสัมปชัญญะ  มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนา
     ในเวทนาอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
     ได้ ๑
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
     มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ


คำว่า กำหนดรู้ของสายพองหนอยุบหนอ ก็คือการกำหนดรู้แบบละอภิชฌาและโทมนัส
       กล่าวคือ เป็นการกำหนดรู้แบบละความชอบหรือไม่ชอบ อยากหรือไม่อยาก  ในที่นี้อธิบาย
       ง่ายๆคือ การกำหนดรู้แต่ สักว่า เช่น ท้องพอง ก็กำหนดรู้แบบสักว่ารู้ว่าพอง ไม่ได้พอใจหรือ
       ไม่พอใจ  เห็น ก็กำหนดรู้ว่าเห็น สักว่าเห็นรูป ไม่ได้ใส่ใจอยากรู้หรือไม่อยากรู้  การกำหนด
       รู้ในลักษณะเช่นนี้ จะเรียกว่าเป็นการแทรกแซงสภาวะธรรมได้อย่างไร

       ประเด็นแทรกแซงนี้ เทียบเคียงกับคำว่า  เมื่อเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเดินอยู่  (ที่ต้องแปลแบบนี้
       เพราะบาลีมีว่า คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ  ในคำว่า  คจฺฉามีติ แยกเป็น คจฺฉามิ อิติ  และ
       คำว่า คจฺฉามิ  ประธานในประโยคคือ เรา  หรือ อหํ นั่นเอง) จะเห็นได้ว่า การกำหนดรู้ตามนัย
       ของสติปัฎฐานสูตร มีการกำหนดด้วยคำเสียด้วยซ้ำไป (คจฺฉามิ เราเดนอยู่) ถ้าการกำหนดรู้
       ด้วยคำบริกรรมในใจว่า พองหนอ ยุบหนอ หรือ ฟุ้งซ่านหนอ  ตามสภาวะที่ปรากฎชัด และ
       กำหนดรู้ด้วยใจที่ไม่มีอภิชฌาหรือโทมนัส เป็นการแทรกแซงแล้ว นัยที่ปรากฎตามสติปัฏฯ
       ก็คงเป็นการแทรกแซงด้วย

       ที่จริงข้อนี้พิสูจน์ไม่ยากเลย ผมก็ยังงงว่า ท่านไม่รู้หรือแกล้งไม่รู้   แค่ลองไปนั่งข้างทางที่รถ
       ผ่านมาผ่านไป  พอรถผ่านมา ท่านก็ดูเฉยๆ หรือจะพูดว่า เห็นหนอ  คำเดียวก็ได้สั้นๆก็ได้
       ลองดูว่าการทำแบบนี้เป็นการแทรกแซงรถได้ไหม  วิธีทดลองแบบนี้ ได้ลองมาแล้ว
       ยืนบนสะพานลอย  เห็นรถที่คนเขาขับผ่านไปมา กำหนดว่า เห็นหนอๆ  ก็ไม่เห็นว่าจะเป็น
       การแทรกแซงอะไรในรถ(รูป) เลย  ขับผ่านมาแล้วก็ขับผ่านไป  ทั้งใจตนเองก็ไม่ได้อยาก
       หรือไม่ชอบใจอะไรในรถด้วยซ้ำ  ประเด็นนี้ ถือว่าจบ จะด้วยท่านไม่รู้??? หรือแกล้งไม่รู้ ท่าน
       ที่ได้อ่านก็พึงพิจารณาเอาเถิด


๒.
เช่นเมื่อกิเลสคือความฟุ้งซ่านเกิดขึ้น แล้วผู้ปฏิบัติพยายามละกิเลสนั้นด้วยการบริกรรม
    ว่า "ฟุ้งซ่านหนอๆ" ไม่นานความฟุ้งซ่านก็จะดับไปได้(เพราะการบริกรรมไปยับยั้งความ
คิดอันเป็นต้นตอของความฟุ้งซ่าน)

ประเด็นแรกก่อนเลย  คำว่า  แล้วผู้ปฏิบัติพยายามละกิเลสนั้น
ในวิธีการปฏิบัติแบบกำหนด
    รู้พองหนอ ยุบหนอนั้น  ไม่มีสอนให้พยายามละกิเลสด้วยการกำหนด หรือ ด้วยการบริกรรม
   ใดๆทั้งสิ้น  เพราะจากนัยของสติปัฎฐานฯ  คือ ละอภิชฌาและโทมนัส  จึงไม่มีความต้องการ
    อะไรในการกำหนดรู้สภาวะธรรม  เพราะกำหนดรู้ด้วยใจที่ว่างจากอภิชฌาและโทมนัส เพราะ
    ฉะนั้น ข้อที่ว่าพยายามละกิเลสที่พูดๆนั้น จึงไร้สาระ แบบคนไม่รู้

    ธรรมชาติของสภาวะ ไม่ว่าทั้งนามและรูป ย่อมเป็นไปตามสามัญญะ คือ มีกิด มีดับ ไม่ต้อง
    อยากให้เกิดหรือให้ดับ  ก็จะเป็นไปเองตามนั้นเพราะเหตุผลของธรรมชาตินั้นเอง การกำหนด
    รู้ คือ รู้ ดู เห็น ธรรมชาติของสภาวะตามธรรมดานั่นเอง

    และเมื่อจิตได้สมาธิจากการบริกรรม ความฟุ้งซ่านหายไป ก็ไม่ได้หมายถึงการไปอยากพยายาม
    ละหรือให้ความฟุ้งซ่านหาย ทั้งไม่ใช่การกำจัดหรือไปยับยั้งต้นตอของความฟุ้งซ่าน แต่เป็น
    ธรรมดาของจิต  เมื่อสมาธิเกิดความฟุ้งซ่านก็หายไปได้  ข้อนี้ดูได้จากเรื่องสมาธิ  ถ้าการที่ทำ
    สมาธิแล้วความฟุ้งซ่านหายไป เป็นเรื่องที่ผิด พระพุทธเจ้าคงไม่ตรัสสัมมาสมาธิเป็นแน่แท้

    การกำหนดรู้ หมายถึง  รู้ไปที่สภาวะธรรมที่ปรากฎชัด และ บริกรรม ช่วยให้มีสมาธิในการรู้
    ทั้งนี้  สมาธิที่ได้จากบริกรรม เป็นการระงับนิวรณ์ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ระงับอภิชเาและโทมนัส
    นั่นเอง เป็นการช่วยให้รู้สภาวะที่รู้อยู่นั้นอย่างชัดเจน (ปชานาติ รู้ชัด)

     การที่ท่านผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ คงมุ่งไปที่การบริกรรม คงจะเห็นว่า การบริกรรมนั้นผิด หรือว่า
     ไม่ตรงกับวิธีการที่ตนเองสอน  จะลองยกบาลีมาเทียบให้ดูสักหน่อย

อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สราคํ วา จิตฺตํ  สราคํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งจิตมีราคะ ว่า จิต มีราคะ ดังนี้.

     สราคํ จิตฺตํ อิติ  ปชานาติ       คำว่า     สราคํ  จิตฺตํ   ที่อยู่หน้า อิติ    แปลก็คือ เป็นคำๆเลย เพราะ
     อยู่ใน อิติ ศัพท์ ฉะนั้น การบริกรรมในใจ จึงไม่ได้ผิดอะไร  ในกรณีที่จะให้รู้เฉยๆ โดยไม่มีการ
     บริกรรมช่วย  บาลีน่าจะใช้คำว่า  สราคํ วา จิตฺตํ  ปชานาติ   ย่อมรู้ชัดซึ่งจิตมีราคะ   ส่วนถ้าผู้
ปฏิบัติก้าวหน้าถึงกับไม่ต้องมีบริกรรมแล้ว จะเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ปรากฎในสติปัฎฐานสูตร
     เช่นกัน ข้อนี้ไม่ต้องพูเถึง ไม่เกี่ยวกับประเด็น

     ในนิวรณ์บรรพ ของสติปัฎฐานสูตร ก็มีกล่าวถึงการรู้ชัดในความฟุ้งซ่าน คือ

    สนฺตํ วา อชฺฌตฺตํ อุทฺธจฺจกุกฺกุจฺจํ อตฺถิ เม อชฺฌตฺตํ อุทฺธจฺจกุกฺกุจฺจนฺติ ปชานาติ.
เมื่อความฟุ้งซ่านรำคานใจ ในภายใน มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ความฟุ้งซ่านรำคานใจ
      ในภายใน ของเรามีอยู่ ดังนี้


คำว่า ปชานาติ หมายถึง รู้ชัด คือเจาะจงลงไป ถ้าไม่เจาะจงลงไป ก็จะรู้ไม่ชัด และการบริกรรมในใจ
ก็ช่วยเรื่องสมาธิ เมื่อมีสมาธิ ก็จะทำให้รู้ชัดได้ง่าย ดุจน้ำที่ไม่ขุ่น ตาย่อมมองเห็นท้องน้ำได้ดี  ข้อ
นี้จึงปรากฎในมรรค ๘ ข้อที่ว่าด้วยเรื่องสัมมาสมาธิ (วิตก องค์ของปฐมฌาน คือ การบริกรรม)

ส่วนข้อความท้ายๆ ที่กล่าวถึงว่า ผู้ที่ปฎิบัติแบบพองหนอยุบหนอจะสำคัญผิดเรื่องอัตตานั้น  ก็เป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะมีทรรศนะคติที่ไม่ถูกต้องกับการปฏิบัติวิธีการพองหนอยุบหนอ  ผล
ก็เลยพูดหรือกล่าวเรื่องที่ขัดกับความจริงออกมา จะด้วยเหตุผลเพราะไม่รู้ หรือ แกล้งไม่รู้ แต่ทำให้ได้รู้ว่า ท่านที่กล่าวเช่นนั้น ไม่ได้มีความเข้าใจอะไรลึกซึ้งถึงแนวทางในการปฏิบัติเลย เป็นแต่ว่าของสายปฏิบัติโน้นนี้ทำไม่ถูกไม่ใช่  ซึ่งยิ่งอ่านแล้ว เหมือนได้อ่านเขาประจานความไม่รู้และ.....อะไรบางอย่างในตัวตนของเขา รวมถึงการปฏิบัติของด้วยเช่นกัน

ข้อนี้ ควรพิจารณาให้ดี ในการปฏิบัติแต่ละสำนักวิธีการ แต่ละครูอาจารย์ ย่อมต้องมีอะไรสักอย่างหนึ่งที่เป็นของถูกต้อง อาจจะเริ่มที่วิธีการที่แตกต่าง แต่เมื่อจะหลุดพ้น ก็ย่อมไหลไปในทิศทางเดียวกัน สมกับคำว่า  เอกายนมรรค  นั่นเอง




Create Date : 25 กันยายน 2559
Last Update : 25 กันยายน 2559 13:30:45 น.
Counter : 478 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

กิมังคังปะนะ
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]