ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี2558

  ตามข่าวที่ออกมานัั้น หลายคนคงสงสัย เอ๊ะ ! มันลงจริงหรอ  มันช่วยจริงหรอ  แล้วทำไมมันเสียภาษีตั้งแต่บาทแรกเลยหรอ
              วันนี้ผมจะมาอธิบายให้ฟังกันคร่าวๆก่อนนะ  รอ ครม. ท่านอนุมัติมาคงจะได้กระจ่างกันมากกว่านี้นะครับ

ตามเนื้อข่าวบอกไว้ว่า   สำหรับลำดับขั้นเงินได้สุทธิ และอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ ครม.จะอนุมัติในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 7 ขั้น เริ่มจาก

เงินได้สุทธิ 1-300,000 บาท อัตรา 5%
เงินได้สุทธิ 300,001 - 500,000 บาท อัตรา 10%
เงินได้สุทธิ 500,001 - 750,000 บาท อัตรา 15%
เงินได้สุทธิ 750,001 - 1,000,000 บาท อัตรา 20%
เงินได้สุทธิ 1,000,001 - 2,000,000 บาท อัตรา 25%
เงินได้สุทธิ 2,000,001 - 4,000,000 บาท อัตรา 30%
เงินได้สุทธิ 4,000,001 - 2,000,000 บาท ขึ้นไป อัตรา 35%
และผู้มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท กระทรวงการคลังจะออกพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษีเช่นเดิม

เพราะฉะนั้น ข่าวที่ออกมาลดภาษีให้จริงหรอ เรามาดูตารางด้านล่างกันนะ


    จะสังเกตุได้ว่าถ้า ครม.อนุมัติตามที่ข่าวออกมานั้นจะเป็นตามช่องสุดท้าย (สีแดง) ปี 2558 ที่จะมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558

    แล้วเงินได้สุทธิ 1-300,000 บาทนั้นเสียภาษีร้อยละ 5  แต่กระทรวงการคลังจะออกพระราชกฤษฎีกายกเว้นเงินได้ 150,000 บาทแรกเหมือนเดิม

สรุปง่ายๆแบบเข้าใจกันเลย
- ปี 2558 อัตราภาษีเท่าปี 2557 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
- เหตุที่ทำเช่นนี้ อาจจะเป็นการยื่นเวลาออกไป

และหวังว่าทุกคนคงเข้าใจแล้วนะครับ  ไปแล้วนะ  เจอกันรอบหน้า บ๊าย บาย





Create Date : 19 กันยายน 2557
Last Update : 19 กันยายน 2557 10:11:27 น.
Counter : 37401 Pageviews.

3 comments
  
พรบ.แก้ไขประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 39 ล.ว. 26 ธันวาคม 2557 ยกเลิก
มาตรา 42(14) เงินส่วนแบ่งกำไรจาก ห้างหุ้นส่วนสามัญ ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินส่วนแบ่งกำไร เมื่อ ม.42(14)ถูกยกเลิกทำให้บุคคลธรรมดาเสียภาษีซ้ำซ้อน 2 ครั้ง คือเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในฐานะห้างหุ้นส่วนสามัญครั้งหนึ่งเมื่อมีกำไร(ภงด.90) เมื่อผู้หุ้นส่วนได้รับส่วนแบ่งกำไรซึ่งเสียภาษีเงินได้ไปแล้ว ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกครั้งจากส่วนแบ่งกำไรโดยต้องแสดงใน ภงด.90 อีกครั้งหนึ่ง ยุติธรรมแล้วหรือไม่
เปรียบเทียบกับบริษัทจำกัด เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 20%ของกำไร
ผู้ถือหุ้นรับเงินปันผลเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ของเงินปันผลเป็นอันยุติ แต่การยกเลิก ม.42(14) บุคคลธรรมดาจะต้องเสียภาษีตามขั้น
บันใด ถ้าได้รับส่วนแบ่งกำไรสูง
เปรียบเทียบอีกกรณึ่หนึ่ง คือ Holding Company ถือหุ้นในบริษัทจำกัดอี่นเกิน 25% ของเงินทุนของบริษัทนี้น และถือก่อนและหลังจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่า 3 เดือน ได้รับการยกเว้นภาษี 100%

ชอฃ่วยเป็นปากเสียงให้ด้วยครับ ผมคนเดียวหัวกะเทียมลีบ พวกนั้น
ไม่ฟังเสียงหรอกครับ
โดย: ประยุทธ IP: 125.25.21.110 วันที่: 6 มกราคม 2558 เวลา:16:59:44 น.
  
แล้วจะทำตารางมาให้สับสนทำไมเนี้ย ไม่เคยเข้าใจภาษากฏหมายเลยจิริงๆ อ่านยากกกกมากกกก ต้องแปลความแล้วแปลความอีก ต้องมีผู้มาตีความ กันหลายรอบ ทำไมไม่เขียนให้เข้าใจได้ง่ายๆ กระจ่ายๆกันไปเลย จะได้ไม่ต้องเสียเวลาซ้ำซ้อน
โดย: งอแง IP: 61.19.25.18 วันที่: 17 มกราคม 2558 เวลา:16:52:50 น.
  
เขียนภาษีที่เข้าง่ายๆคนะรรมดาอ่านแล้วไม่ต้องแปลได้ป่ะ
โดย: ปุนรดา IP: 125.24.78.83 วันที่: 14 ตุลาคม 2558 เวลา:16:29:55 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1031202
Location :
สมุทรปราการ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



https://www.facebook.com/PTACCOUNT
กันยายน 2557

 
1
2
3
4
5
6
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30