space
space
space
 
มกราคม 2559
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
12 มกราคม 2559
space
space
space

เครื่องวิเคราห์ความชื้นของวัสดุด้วยเครื่อง Moisture Analyzer
  หัวข้อนี้ว่าด้วย  เครื่องวิเคราห์ความชื้นของวัสดุด้วยเครื่อง Moisture Analyzer 




ทำไมต้องวิเคราห์ความชื้นของวัสดุ

เพราะวัสดุมีความชื้นเป็นส่วนประกอบ ซึ่งปริมาณความชื้นดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงกับวัสดุนั้นๆ
ดังนั่นเมื่อเรานำวัสดุต่างๆมาใช้งานจึงต้องมีการคำนึงถึงเนื่องจากมีผลกระทบเช่น เช่น
- ระยะเวลาการเก็บรักษา
- การจับตัวของผงแป้ง
- การควบคุมปริมาณของจุลินทรีย์
- คุณสมบัติการไหล,ความหนืด
- ปริมาณส่วนประกอบที่ไม่รวมความชื้น
- ความเข้มข้น หรือความบริสุทธิ์
- ตามข้อกำหนดของกฎหมาย
การวิเคราะห์หาความชื้นจึงเป็นการตรวจสอบอย่างหนึ่ง ที่มีความสำคัญมาก เพราะปริมาณความชื้นจะบอกให้ทราบว่าวัสดุนั้น มีคุณภาพดีหรือไม่ อายุการเก็บรักษานานเท่าใด และปริมาณหรือน้ำหนักที่แท้จริงเท่าไร ส่วนจะเลือกใช้วิธีวิเคราะห์วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับ ลักษณะและส่วนประกอบของวัสดุ ความรวดเร็วในการวิเคราะห์และความถูกต้องแม่นยำของผลที่จะได้รับ

ในการหาความชื้นในที่นี้ผมใช้เครื่อง Moisture Analyzer  ในการวิเคราห์

หลักการทำงานของเครื่องทำงานอย่างไร
ใช้วิธี Thermogravimetry โดยวัดค่าการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักก่อนและหลังจากได้รับความร้อน จนความชื้นหมดไป ซึ่งวัสดุจะถูกชั่งก่อนและหลังการอบเพื่อหาค่าความแตกต่าง 
Material humidity จะรวมอยู่ในส่วนประกอบของวัสดุและผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะระเหยเมื่อได้รับความร้อน ค่าความชื้นของวัสดุจะแตกต่างจากการปนของน้ำในวัสดุ
ดังนั้นหากเราต้องการหาค่าความชื้นของวัสดุ เราจึงต้องให้วัสดุคายน้ำออกมา 
กระบวนการคายน้ำนั้นคือกระบวนการที่จะไล่น้ำออกจากตัวอย่างออกมา ซึ่งวัสดุจะคายน้ำที่อุณหภูมิ 105 เซลเซียส (อุณหภูมิการคายน้ำขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุด้วย)

การตั้งค่าการทดสอบมี 4 ลักษณะ
1. STANDARD Drying profile
    เป็นวิธีที่นิยมใช้กันทั่วไป เหมาะกับวัสดุทุกประเภท และไม่มีความยุ่งยาก
    การทำงานคือเรากำหนด อุณหภูมิที่เราต้องการทดสอบไว้และรอจนชิ้นงานแห้งสนิท
2.STEP Drying Profile
   เป็นวิธีการทดสอบคล้ายขั้นบันใด ผู้ใช้สามารถตั้งค่าอุณหภูมและเวลาในแต่ละขั้นได้ วิธีนี้เหมาะ   
   กับวัสดุทดสอบที่มีค่าความชื้นเกินกว่า 15%.  เช่นกำหนดให้ขั้นที่ 1 ให้เครื่องทำอุณหภูมิ 100 C    แล้วค้างไว้ 5 นาที ขั้นที่ 2 ให้เครื่องทำอุณหภูมิ 105 C  แล้วค้างไว้ 5 นาที เป็นต้น
3.FAST QUICK RAPID Drying Profile
   วิธีนี้เหมาะกับใช้ทดสอบวัสดุตัวอย่างที่มีค่าความชื้นอยู่ระหว่าง 5% ถึง 15% . ในวิธีนี้วัสดุ              ทดสอบจะได้รับอุณหภูมิเกินกว่าค่าที่ทดสอบ30 % เป็นเวลา 3 นาทีเมื่อเริ่มทำงาน การทดสอบวิธี    นี้ต้องแน่ใจว่าวัสดุทดสอบมีความชื้นเพียงพอ
4.GENTLY,RAMP,MILD Drying profile
   จะใช้กับกรณีที่วัสดุตัวอย่างมีสภาวะไม่เสถียรเมื่อได้รับแสงสว่างและความร้อนจาก หลอด              halogen อย่างทันทีทันใด ด้วยวิธีนี้เมื่อเริ่มการทำงาน หลอด halogen จะค่อยๆเพิ่มความสว่าง        และให้ความร้อน ตัวอย่างทดสอบจะมีเวลาในการปรับตัว วัสดุทดสอบที่เหมาะกับการทดสอบวิธีนี้    จะเป็นพวกวัสดุที่มีการรวมตัวของความชื้นอยู่บริเวณผิวเป็นส่วนใหญ่

ส่วนการจบการทดสอบสามารถตั้งค่าตามความสามารถของแต่ละเครื่องมือ ส่วนใหญ่จะมีดังนี้
1.หยุดการทดสอบโดยการกำหนดเวลาในการทดสอบ เช่น 1,3,5 ชั่วโมง 
2.หยุดการทดสอบเมื่อน้ำหนักไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เรากำหนด (Automatic)
3.หยุดการทดสอบจากเงื่อนไขต่างๆ
4.หยุดจากผู้ทดสอบเอง  (manual)

แหล่งกำเนิดความร้อน ปัจจุบันมี 3 แบบ
1. Halogen lamps
   เป็นแหล่งให้ความร้อนที่นิยมกันมากของ moisture analyzer ตัวอย่างทดสอบจะเริ่มได้รับความ      ร้อนจากการสัมผัสกับอากาศ นั่นคือจะมีการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกสู่ภายใน
2.IR sensors 
   การแผ่รังสีจะถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนเมื่อกระทบกับวัสดุทดสอบ ในกรณีนี้ตัวอย่างทดสอบจะร้อน    จากข้างในและส่งผ่านความร้อนออกด้านนอก
3.metal heater
   ขดลวดนำความร้อน วีธีนี้ใช้การป้อนกระแสไฟผ่านขอลวดความร้อนและกระจายความร้อนเข้าสู่      วัสดุ  มีข้อเสียคือ ต้องใช้เวลาในการทำให้ร้อนและรอให้เย็นหากมีการทดสอบแล้วตัวอย่างหลาก    หลายแนะนำให้ทดสอบจากอุณหภูมิน้อย ไปหาอุณภูมิสูงจะเร็วกว่า
ตัวอย่างวัสดุที่จะนำมาทดสอบไม่ควรมีความหนามากเกินไปเนื่องจากจะใช้เวลานานในการทดสอบ
การวางตัวอย่างวัสดุทดสอบควรวางให้สม่ำเสมอ กระจายให้ทั่ว
หากวัสดุนั้นเป็นของเหลวที่ต้องการหาค่าความชื้นเช่น ซ๊อส มะเขือเทศจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการทดสอบ เช่นกระดาษซับ, ทรายซิลิก้า  เป็นต้น  










Create Date : 12 มกราคม 2559
Last Update : 12 มกราคม 2559 15:59:54 น. 0 comments
Counter : 6825 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 1431451
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 1431451's blog to your web]
space
space
space
space
space