Group Blog
 
<<
กันยายน 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
4 กันยายน 2559
 
All Blogs
 
แบนด์วิดธ์หรือความเร็วอินเทอร์เน็ต xDSL และ FTTx กับข้อมูลที่หลายคนอาจยังไม่ทราบ



  ว่าจะเขียนหลายรอบแล้วเกี่ยวกับเรื่องแบนด์วิดธ์ หรือคนทั่วไปเรียกว่าความเร็วของอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่โฆษณากัน ค่ายนู้นให้เท่านี้เม็ก ค่ายนั้นให้เท่านี้เม็ก ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าไอ้แบนด์วิดธ์ที่เค้าโฆษณากันนี่มันคืออะไร 

จะสรุปให้คร่าวๆ แบบพื้นฐานทั่วไปให้อ่านเข้าใจง่ายๆ นะครับ ไม่ลงไปเชิงเทคนิคมากนัก

คำว่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) คือความกว้างของปริมาณข้อมูลที่จะรับ-ส่ง โดยจะเปรียบกับถนนแล้วกันจะได้เห็นภาพ ส่วนรถยนต์ก็เปรียบเหมือนปริมาณข้อมูลนั่นเอง ถ้าถนนสองเลน รถก็จะวิ่งสวนกันได้คราวละคัน ถ้าปริมาณรถเยอะ รถก็จะติดยาวเป็นหางแถวไปเรื่อยๆ การเดินทางก็จะช้า ถ้าเป็นถนนสี่เลน แบ่งซ้ายขวาเหมือนทางหลวงระหว่างจังหวัด รถก็จะสามารถวิ่งไปพร้อมๆ กันได้มากขึ้น การจราจรก็จะไม่ติดขัดมาก ปริมาณแบนด์วิดธ์ก็เช่นกัน ถ้าปริมาณมาก (กว้างมาก) ก็จะสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นเช่นกัน แต่คนทั่วไปนิยมเรียกว่าความเร็ว ซึ่งก็ไม่ผิดหรอกครับ เพราะถนนกว้าง รถย่อมวิ่งพร้อมๆ กันได้มากกว่าถนนแคบอยู่แล้ว 

ทีนี้มาดูตัวเลขที่ค่ายต่างๆ โฆษณากันว่าหมายถึงอะไร ที่เราเห็นตามโฆษณาก็จะบอกว่า 20/4Mbps บ้าง 50/10Mbps บ้าง และส่วนใหญ่เลขตัวหน้าจะตัวโตกว่าตัวหลังเสมอ และคำที่ใช้โฆษณาส่วนใหญ่ที่ได้ยินก็คือเน็ตเร็ว 20 เม็กฯ 50 เม็กฯ ก็เลยจะขออธิบายไว้ง่ายๆ ตรงนี้ครับ 
ยกตัวอย่างตัวเลข 20/4 Mbps คือค่าดาวน์โหลด/อัพโหลด...ต่างกันอย่างไร ค่าดาวน์โหลดคือค่าที่เราๆ โหลดข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตให้แสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ ฯลฯ ของเรานั่นเอง ส่วนค่าอัพโหลดก็จะเป็นค่าที่เราจะส่งไฟล์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ คลิป ฯลฯ จากคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เราขึ้นไปยังอินเทอร์เน็ตหรือเว็บไซต์ รวมถึงแอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น facebook, line ฯลฯ นั่นเอง ส่วนตัวอักษร Mbps คือค่า Megabit per second หรือหน่วยนับปริมาณข้อมูลเป็น bit ไม่ใช่ byte นะครับ (8 bit = 1 byte / 1 byte = 1 ตัวอักษร) แต่เวลาเราเก็บข้อมูลต่างๆ ในคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ หน่วยความจำจะเป็น Byte (ไบต์) จะสังเกตว่าตัวย่อ B หรือ b นั้นต่างกัน B = Byte ส่วน b = bit ครับ ดังนั้นถ้าเราจะดาวน์โหลดหรืออัพโหลดไฟล์ต่างๆ ปริมาณข้อมูลในเครื่องของเราจะถูกแปรค่าเป็น bit ก่อนโดยจะต้องคูณ 8 เข้าไปเช่น 10MB = 10x8 = 80Mb แล้วคูณด้วยจำนวนบิตก็จะเท่ากับ 10x8x1024 = 81920 bit นี่จะเป็นค่าที่คอมพิวเตอร์คำนวณไว้เพื่อทำการดาวน์โหลดหรืออัพโหลดนะครับ ส่วนตัวอักษรสองตัวหลัง ps คือ per second หรือหน่วยบิตต่อวินาที ดังนั้น 20/4Mbps คือความเร็ว 20/4 เมกาบิต ต่อวินาทีนั่นเอง ถ้าคำนวณเป็น Byte ก็จะเท่ากับ (20x1024)8 และ (4x1024)8 หรือประมาณ 2.56/0.512 เมกาไบต์ต่อวินาทีนั่นเองครับ 

ดังนั้นเวลาดาวน์โหลดหรืออัพโหลดไฟล์ใหญ่ๆ จึงต้องใช้เวลาพอสมควร สมมติเราใช้เน็ตบ้าน ADSL ต้องการดาวน์โหลดไฟล์ขนาด 4GB จากเว็บหนึ่ง จะต้องใช้เวลาโดยประมาณ 4x1024x1024x8 = 33,554,432 bit หารด้วยเวลาจำนวนวินาที อยากรู้ว่าใช้เวลาเท่าไหร่เอาจำนวนบิตที่ได้มาหารเอาแล้วหารด้วยเวลาเป็นวินาที ก็จะได้ประมาณ 97 นาทีเศษๆ หรือประมษรชั่วโมงครึ่งในการดาวน์โหลดไฟล์ขนาด 4GB นั่นเอง ทั้งนี้ไม่รวมค่าการแชร์แบนด์วิดธ์ในพื้นที่ใช้งานนะครับ โดยทั่วไป Node 1 หน่วยจะมีการแชร์ประมาณ 1:50 หรือมากกว่านั้น แล้วแต่บริษัทที่ให้บริการครับ ทั้ง ADSL ที่เป็นสายทองแดงหรือแม้แต่ Fiber ก็แชร์เช่นกันครับ โดยที่ Node 1 Node จะสามารถให้บริการในพื้นที่ได้ประมาณ 100-200 user (ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่แต่ละบริษัทเลือกใช้เช่นกัน) หากบริษัทที่ให้บริการเน้นคุณภาพ ปริมาณการแชร์ก็จะต่ำ แต่ถ้าเน้นปริมาณ การแชร์ความเร็วกันก็จะสูง ทำให้เราพบปัญหาว่าการใช้งานในบางช่วงเวลา เช่นหลัง 6 โมงเย็น – 4 ทุ่ม จะรู้สึกว่าอินเทอร์เน็ตช้ากว่าใช้งานในช่วงเวลาอื่น เพราะมีผู้ใช้งานร่วมกันใน Node นั้นๆ เยอะนั่นเอง 

สำหรับ Node (โหนด) หมายถึงตู้หรือชุมสายที่ติดตั้งไว้ตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อลากสายเข้าไปยังผู้ใช้งานครับ ไม่ว่าจะเป็นสายทองแดงหรือ Fiber โดยอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้จะเป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่า DSLAM หรือ BRAS คร่าวๆ คือมีไว้เพื่อทำการแชร์แบนด์วิดธ์หลักจาก Backbone ของ Operator ไปยังผู้ใช้งานนั่นเองครับ

ทีนี้มาว่ากันเรื่องความเร็วจริงในการใช้งานดาวน์โหลด/อัพโหลดไปยังเว็บไซต์ต่างๆ หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ กันบ้างครับ
ความเร็วที่อธิบายไปแล้วนั้น เป็นความเร็วที่รับ-ส่งข้อมูลจากผู้ใช้งานไปยัง Operator หรือ ISP เท่านั้นนะครับ ไม่ใช่ความเร็วที่รับ-ส่งข้อมูลจากเว็บไซต์โดยตรง ส่วนความเร็วของ ISP ไหนจะมากน้อยนั้น ต้องเข้าไปดูใน internet map นะครับ โดยเข้าไปดูได้ที่ //internet.nectec.or.th/ ครับ ให้ดูทั้งในส่วนของ Domestic และ International ครับ 

ครั้งต่อไปจะอธิบายเรื่องการเชื่อมต่อหรือรับ-ส่งข้อมูลจากผู้ใช้งานกับเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ ให้อ่านกันครับ 
หวังว่าคงไม่เป็นวิชาการมากไปนะครับ ปกติผมจะถนัดเขียนเชิงเทคนิคมากกว่า ถ้าอย่างไรติชมได้ครับ จะได้ปรับปรุงให้อ่านเข้าใจกันง่ายมากขึ้นครับ
summersoltice  (มือใหม่หัดเขียน)





Create Date : 04 กันยายน 2559
Last Update : 4 กันยายน 2559 12:55:42 น. 0 comments
Counter : 731 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 2533784
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 2533784's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.