กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
ตุลาคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
8 ตุลาคม 2564
space
space
space

ศ. ขึ้นต้น บ


บุญ    เครื่องชำระสันดาน,  ความดี,  กรรมดี, ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ,  กุศลกรรม,  ความสุข,  กุศลธรรม

บาป    ความชั่ว,  ความร้าย,  ความชั่วร้าย,  กรรมชั่ว,  กรรมลามก,  อกุศลกรรมที่ส่งผลให้ถึงความเดือดร้อน,  สภาพที่ทำให้ถึงคติอันชั่ว,  สิ่งที่ทำจิตให้ตกสู่ที่ชั่ว  คือ  ทำให้เลวลง  ให้เสื่อมลง

บุคคล   "ผู้กลืนกินอาหารอันทำอายุให้ครบเต็ม"   คนแต่ละคน,  คนรายตัว,  อัตตา,  อาตมัน;  ในพระวินัย  โดยเฉพาะในสังฆกรรม   หมายถึงภิกษุรูปเดียว

บุคคลาธิษฐาน    มีบุคคลเป็นที่ตั้ง,  เทศนายกบุคคลขึ้นตั้ง  คือ  วิธีแสดงธรรมโดยยกบุคคลขึ้นอ้าง  คู่กับธรรมาธิฐาน

บุคคล  ๔    บุคคล  ๔  จำพวก  คือ  ๑. อุคฆฎิตัญญู    ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน    แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง   ๒.  วิปจิตัญญู    ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านขยายความ  ๓. เนยยะ   ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้   ๔. ปทปรมะ    ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่ง  ไม่อาจเข้าใจความหมาย

    พระอรรถกถาจารย์เปรียบบุคคล  ๔  จำพวกนี้กับบัว  ๔  เหล่าตามลำดับ  คือ   ๑.  ดอกบัวที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำ    รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้   ๒.  ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ   จักบานในวันพรุ่งนี้   ๓.  ดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ   ยังไม่โผล่พ้นน้ำ  จักบานในวันต่อๆไป  ๔. ดอกบัวจมอยู่ในน้ำที่กลายเป็นอาหารปลาและเต่า  (ในบาลี  ตรัสถึงแต่บัว ๓  เหล่าต้นเท่านั้น)

บำเพ็ญ    ทำ,  ทำด้วยความตั้งใจ,  ปฏิบัติ,  ทำให้เต็ม,  ทำให้มีขึ้น,  ทำให้สำเร็จผล  (ใช้แก่สิ่งที่ดีงามเป็นบุญกุศล)

บัญญัติ    การตั้งขึ้น,  ข้อที่ตั้งขึ้น,  การกำหนดเรียก,  การเรียกชื่อ,  การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ

บ้าน     ที่อยู่ของคนครัวเดียวกัน  มีเรือนหลังเดียว สองหลัง  สามหลัง  หรือมากกว่านั้น   หรือรวมบ้านเหล่านั้นเข้าเป็นหมู่  ก็เรียกว่า บ้าน  คำว่า  คามสีมา  หมายถึงแดนบ้านตามนัยหลังนี้



บารมี    คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด   เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง, บารมีที่พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์    จึงจะบรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า มี ๑๐ คือ

๑. ทาน     การให้   การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์

๒. ศีล     ความประพฤติถูกต้อง สุจริต

๓. เนกขัมมะ  ความปลีกออกจากกามได้ ไม่เห็นแก่การเสพบำเรอ, การออกบวช

๔. ปัญญา     ความรอบรู้  เข้าถึงความจริง รู้จักคิดพิจารณาแก้ไขปัญหา และดำเนินการจัดการต่างๆ ให้สำเร็จ

๕. วิริยะ     ความเพียรแกล้วกล้า  บากบั่นทำการ ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่

๖. ขันติ     ความอดทน   ควบคุมตนอยู่ได้ในธรรม ในเหตุผล และในแนวทางเพื่อจุดหมายอันชอบ ไม่ยอมลุอำนาจกิเลส

๗. สัจจะ    ความจริง ซื่อสัตย์ จริงใจ จริงจัง

๘. อธิษฐาน     ความตั้งใจมั่น ตั้งจุดหมายไว้ดีงามชัดเจนและมุ่งไปเด็ดเดี่ยวแน่วแน่

๙. เมตตา     ความรัก   ความปรารถนาดี คิดเกื้อกูลหวังให้สรรพสัตว์อยู่ดีมีความสุข

๑๐. อุเบกขา     ความวางใจเป็นกลางอยู่ในธรรม เรียบสงบสม่ำเสมอ ไม่เอนเอียง ไม่หวั่นไหวไปด้วยความยินดียินร้ายชอบชัง หรือแรงเย้ายวนยั่วยุใดๆ

บารมี ๑๐ นั้น จะบริบูรณ์ต่อเมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญแต่ละบารมีครบสามขั้น  หรือสามระดับ   จึงแบ่งบารมีเป็น ๓ ระดับ คือ

๑. บารมี   คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นต้น

๒. อุปบารมี    คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นจวนสูงสุด

๓. ปรมัตถบารมี   คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นสูงสุด

เกณฑ์ในการแบ่งระดับของบารมีนั้น    มีหลายแง่หลายด้าน     ขอยกเกณฑ์อย่างง่ายมาให้รู้พอเข้าใจ เช่น ในข้อทาน  สละทรัพย์ภายนอกทุกอย่างได้   เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น    เป็นทานบารมี    สละอวัยวะ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น  เป็นทานอุปบารมี    สละชีวิต เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น   เป็นทานปรมัตถบารมี

บารมีในแต่ ละชั้นมี ๑๐ จึงแยกเป็น บารมี ๑๐ (ทศบารมี) อุปบารมี ๑๐ (ทศอุปบารมี) และปรมัตถบารมี ๑๐ (ทศปรมัตถบารมี)    รวมทั้งสิ้น เป็นบารมี ๓๐    เรียกเป็นคำศัพท์ว่า    สมดึงสบารมี (หรือ สมติงสบารมี)  แปลว่า บารมีสามสิบถ้วน หรือบารมีครบเต็มสามสิบ  แต่ในภาษาไทย บางทีเรียกสืบๆ กันมาว่า  "บารมี ๓๐ ทัศ"
 
173 174 173 

กึสุ ฆตฺวา สุขํ เสติ      กึสุ ฆตฺวา น โสจติ
กิสฺสสฺสุ เอกธมฺมสฺส   วธํ โรเจสิ โคตม.

บุคคลฆ่าอะไรได้สิ จึงอยู่เป็นสุข ฆ่าอะไรได้สิ จึงไม่เศร้าโศก
ข้าแต่พระโคดม พระองค์ย่อมชอบใจซึ่งการฆ่าธรรมอะไรสิ ซึ่งเป็นธรรมอันเอก.


โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ   โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
โกธสฺส วิสมูลสฺส       มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมณ
วธํ อริยา ปสํสนฺติ      ตญฺหิ ฆตฺวา น โสจติ.

บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงไม่เศร้าโศก
พราหมณ์ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญการฆ่าความโกรธ อันมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะบุคคลนั้น ฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.



Create Date : 08 ตุลาคม 2564
Last Update : 11 ธันวาคม 2564 20:08:31 น. 0 comments
Counter : 591 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณโอพีย์


ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space