Group Blog
 
All Blogs
 

รูปแบบบทความวิชาการ

สัมมนาทางวิชาการกลุ่มระบบส่ง ประจำปี 2548
ณ ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
วันที่ 22-24 มิถุนายน 2548



ขอบเขตของบทความ

ประเภทของบทความให้ครอบคลุมอยู่ในทั้ง 6 สาขา ดังนี้
1. สาขา การบริหารจัดการ บัญชีและการเงิน
2. สาขา การควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า
3. สาขา สายส่งไฟฟ้าแรงสูง
4. สาขา อุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูง
5. สาขา ระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
6. สาขา การจัดการพลังงาน


รูปแบบของบทความ

ให้จัดทำตามเอกสาร คำแนะนำรูปแบบของบทความตามสี่งแนบ

กำหนดส่งบทความ

กำหนดส่งภายในวันที่ 31 มีนาคม 2548 จ่าหน้าถึง หก-ชส. อาคาร ท.208 สำนักงานกลาง กฟผ. หรือส่งทาง
E-mail ถึง Wichai.a@egat.co.th target=_blank>Wichai.a@egat.co.th หรือ Sanggoen.s@egat.co.th target=_blank>Sanggoen.s@egat.co.th

การพิจารณาคัดเลือกบทความ และตอบรับภายในวันที่ 30 เมษายน 2548

โครงการศูนย์เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านระบบส่ง กลุ่มระบบส่ง
53 หมู่ 2 ถนนจรัลสนิทวงศ์ ต.บางกรวย อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130
โทร. 0-2436-8500 , 0-2436-8509 , 0-2436-8505 , 0-2436-8510 โทรสาร. 0-2436-8519
Web site //cets.egat.co.th


คำแนะนำรูปแบบของบทความ

คำแนะนำเกี่ยวกับรูปแบบบทความ ที่จะเสนอในการสัมมนาทางวิชาการด้านระบบส่งนี้ เป็นแนวทางให้ผู้ส่งบทความใช้ปฏิบัติเพื่อให้บทความมีคุณภาพ สะดวกกับคณะ กรรมการวิชาการในการพิจารณา และจัดทำรูปเล่มได้ง่ายขึ้น โดยมีรายละเอียดรูปแบบของบทความดังนี้

1. โครงสร้างบทความ
บทความจะต้องประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงตามลำดับดังนี้
1.1 ชื่อเรื่อง ภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ
1.2 ชื่อผู้เขียนบทความ หน่วยงาน
1.3 บทคัดย่อภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ
1.4 เนื้อเรื่อง แบ่งเป็น บทนำ เนื้อความหลัก สรุป
1.5 กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
1.6 เอกสารอ้างอิง
1.7 ภาคผนวก (ถ้ามี)

2. คำแนะนำในการเขียนและพิมพ์
2.1 คำแนะนำทั่วไป
- บทความที่จะเสนอจะต้องพิมพ์เป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษพิมพ์ลงบนกระดาษ A4 ด้วยเครื่องพิมพ์ชนิด laser printer ที่มีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300dpi ความยาวไม่เกิน 6 หน้ากระดาษ A4 โดยส่งต้นฉบับ 1 ชุด พร้อม Diskette 1 ชุด หรือส่งทาง e-mail ถึง Wichai.a@egat.co.th target=_blank>Wichai.a@egat.co.th target=_blank> หรือ Sanggoen.s@egat.co.th target=_blank>Sanggoen.s@egat.co.th

บทความภาษาไทยด้วยตัวอักษรรูปแบบ “Angsana UPC” หรือใกล้เคียง บทความเป็นภาษาอังกฤษตัวอักษรใช้ Times New Roman โดยมีรูปแบบขนาดตัวอักษรและการเว้นระยะขอบเอกสาร ตามรูปแบบตัวอย่างแนบท้าย
- พิมพ์เป็นหนึ่งคอลัมน์โดยไม่เว้นบรรทัด เว้นแต่เมื่อจะขึ้นหัวข้อใหม่ ให้เว้นบรรทัด 1 บรรทัด การลำดับหัวข้อในส่วนของเนื้อเรื่อง ให้ใช้เลขกำกับ โดยให้บทนำเป็นหัวข้อหมายเลข 1 และหากมีหัวข้อย่อย ให้วางตำแหน่งชิดขอบซ้าย ใช้เลขระบบทศนิยม เช่น 2.1 เป็นต้น
2.2 ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง และชื่อหัวข้อ
- การพิมพ์ชื่อเรื่อง ให้วางตำแหน่งไว้กลางหน้ากระดาษ
- ชื่อผู้เขียนและหน่วยงานให้พิมพ์ไว้ใต้ชื่อเรื่องและอยู่กลางหน้ากระดาษ ไม่ต้องระบุตำแหน่ง ให้ระบุชื่อผู้พูดไว้ที่ด้านขวา ระบุหมายเลขโทรศัพท์ ระบุหมายเลขโทรสาร (ถ้ามี) และระบุ E-mail Address(ถ้ามี)
2.3 บทคัดย่อ
- บทคัดย่อที่ดีควรมีเพียงย่อหน้าเดียว บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ละภาษาควรมีความยาวไม่เกินครึ่งหน้ากระดาษ



2.4 การจัดทำรูปภาพและตาราง
- รูปภาพจะต้องมีความกว้างไม่เกิน 160 มม. เพื่อให้ลงในหนึ่งคอลัมน์ได้
- รูปภาพทุกภาพจะต้องมีหมายเลข และคำบรรยายกำกับใต้ภาพ โดยควรจะมีความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่าตัวอักษรในเนื้อเรื่อง
- รูปภาพลายเส้นจะต้องเป็นเส้นหมึกดำ ส่วนรูปภาพถ่ายควรจะเป็นภาพขาวดำที่มีความคมชัด รูปสีอนุโลมให้ได้
- เพื่อความสวยงามควรเว้นบรรทัดเหนือรูปภาพ 1 บรรทัด และเว้นบรรทัดใต้คำบรรยายรูปภาพ 1 บรรทัด
- ควรตีเส้นรอบกรอบตารางด้วยหมึกดำให้ชัดเจน

2.5 การเขียนสมการ
- สมการทุกสมการจะต้องใส่หมายเลขกำกับและอยู่ภายในวงเล็บ และเรียงตามลำดับที่ถูกต้อง
- จัดให้สมการอยู่ตรงกลางคอลัมน์ ตำแหน่งของหมายเลขสมการอยู่ชิดขอบด้านขวาของคอลัมน์
- เว้นหนึ่งบรรทัดก่อนเขียนสมการ และเว้นหนึ่งบรรทัดหลังเขียนสมการ
ตัวอย่าง

a + b = c (1)

2.6 การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง
- การอ้างอิงในบทความ ให้ใช้เครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม เช่น [2] โดยเรียงลำดับหมายเลขอ้างอิงจากหมายเลขน้อยไปสู่หมายเลขมาก
- การอ้างอิงหลายหมายเลขให้ใช้รูปแบบดังนี้ [1-5] การอ้างอิงสองหมายเลขให้ใช้รูปแบบดังนี้ [1-2] ไม่ควรใช้รูปแบบลักษณะนี้ [1,2,3,4,5] โดยเว้นระยะจากขอบซ้ายให้ตรงกัน
ทุกรายการ ตามตัวอย่างแนบท้าย

ชื่อบทความ

ชื่อ-สกุล ผู้เขียน#1 ชื่อ-สกุล ผู้เขียน#2
หน่วยงาน หน่วยงาน
โทรศัพท์ : โทรสาร : โทรศัพท์ : โทรสาร :
E-mail : E-mail

บทคัดย่อ
………………………………………………………………………………........................................
1. บทนำ
………………………………………………………………………………........................................

2. เนื้อเรื่อง
………………………………………………………………………………………………………………………...

2.1 หัวข้อย่อย

3. สรุป

6. กิตติกรรมประกาศ

7. เอกสารอ้างอิง
[1] R.R. Austria, F.S. Prabhakara, N.D. Reppen “Advanced Transmission Planning Course” Power Technologies,
Inc. 1996.
[2] Winter, W.H., LeReverand, B.K. “Paper No.PP8501 Disturbance Performance of Bulk Electricity Systems”
(CIGRE: 39-50) CIGRE paper presented in the name of study committee 39 Working Group 05 (Operational
Performance of Power Systems) September 16-21, 1985.




 

Create Date : 26 มกราคม 2548    
Last Update : 26 มกราคม 2548 11:41:19 น.
Counter : 528 Pageviews.  

งานสัมมนาวิชาการระบบส่ง

หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วย กลุ่มระบบส่ง (รสส.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีภารกิจหลักในการควบคุมและส่งไฟฟ้า การจัดการการใช้ไฟฟ้ารวมทั้งการบริหารจัดการระบบส่งไฟฟ้าและระบบสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคง เชื่อถือได้และ มีคุณภาพด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ประกอบกับนโยบายและวิสัยทัศน์ผู้บริหารของ กฟผ. ที่จะเป็นองค์กรชั้นนำในกิจการไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องในระดับภูมิภาค และเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าของอาเซียน
กลุ่มงานระบบส่ง จึงได้ดำเนินการตามนโยบายของ กฟผ. เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในการนี้ จึงต้องเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านบุคลากร ได้มุ่งเน้นที่การพัฒนา ความรู้ ความสามารถ ทั้งด้านเทคนิคและการบริหารจัดการ ให้สามารถดำเนินงานตามภารกิจไปสู่มาตรฐานสากลและเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มระบบส่ง ได้ให้การสนับสนุนและเสริมสร้างบรรยากาศทางด้านวิชาการอย่างต่อเนื่องเสมอมา ด้วยการจัดงานสัมมนาวิชาการกลุ่มระบบส่ง เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ด้านวิชาการ และวิทยาการใหม่ๆ ระหว่างผู้ปฏิบัติงานภายใน กฟผ. และกับหน่วยงานภายนอก การจัดงานสัมมนาวิชาการกลุ่มระบบส่งในปี 2548 นี้ได้แบ่งผลงานด้านวิชาการ ออกเป็น 6 สาขา ดังนี้
1. การบริหารจัดการ บัญชีและการเงิน
2. การควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า
3. สายส่งไฟฟ้าแรงสูง
4. สถานีไฟฟ้าแรงสูง
5. ระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
6. การจัดการพลังงาน
นอกจากการนำเสนอบทความวิชาการดังกล่าว ยังได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภายนอกหลายท่าน มีการอภิปรายในลักษณะ Panel Discussion การแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์โดยหน่วยงานต่าง ๆ ในกลุ่มระบบส่ง และการแสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับระบบส่งพลังงานไฟฟ้า การจัดการพลังงาน โดยบริษัทเอกชนที่มีชื่อเสียงทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ


วัตถุประสงค์

- เพื่อเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้ปฏิบัติ
งานทั้งในกลุ่มระบบส่ง และหน่วยงานอื่น ๆ ใน กฟผ. รวมทั้งหน่วยงานภายนอก และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่มีความสนใจเข้าร่วมสัมมนา ฯ
- เพื่อเสริมสร้างให้เกิดบรรยากาศทางด้านวิชาการ การศึกษาและวิจัยพัฒนาและประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในงานของกลุ่มระบบส่ง
- เพื่อเผยแพร่งานของกลุ่มระบบส่งให้เป็นที่รู้จักทั้งภายในและภายนอก กฟผ.


สถานที่จัดงาน

- อาคารสัมมนา ศูนย์ฝึกอบรมวิชาการบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

กำหนดการจัดงาน

- วันพุธที่ 22 มิถุนายน - วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2548




 

Create Date : 20 มกราคม 2548    
Last Update : 26 มกราคม 2548 6:14:45 น.
Counter : 267 Pageviews.  


2B2000
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add 2B2000's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.