ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

5 วิธีลดด่วน สำหรับคน อ้วนลงพุง

โรค อ้วนลงพุง หรือ Metabolic syndrome เป็นภาวะที่อ้วนโดยเฉพาะส่วนเอวและทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายหลายระบบ Metabolic syndrome คำนี้เป็นคำศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้การอย่างแพร่หลาย หมายถึงกลุ่มโรคที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกติ ส่งผลทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ในที่สุดจะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง สมัยก่อนเรียกกลุ่มโรคนี้ว่า Syndrome X, insulin resistance syndrome

173362195

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะ อ้วนลงพุง

เพราะในการวินิจฉัยภาวะ อ้วนลงพุง ตามเกณฑ์ของ Adult treatment Panel III และดัดแปลงมาใช้กับชาวเอเชีย ผู้ป่วยจะต้องมีลักษณะ 3 ใน 5 ข้อดังต่อไปนี้

  1. จะต้องอ้วนชนิดลงพุง กล่าวคือมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตร และ 80 เซนติเมตร ในชายและหญิงตามลำดับ
  2. มีความดันโลหิตมากกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท หรือได้รัแบยารักษาความดันโลหิต
  3. มีระดับไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือเป็นผู้ที่เป็นไขมันสูงและได้รับยาลดไขมัน
  4. มีระดับไขมันชนิดดีน้อยกว่า 40 และ 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับชายและหญิง หรือผู้ที่เป็นไขมันสูงและได้รับยาลดไขมัน
  5. มีระดับน้ำตาลสูงกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือเป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2

จากเกณฑ์การวินิจฉัยดังกล่าว คุณเพลินใจ ซึ่งมีรอบเอวเกิน 80 เซนติเมตร มีความดันโลหิตเกิน 130/85 มิลลิลิตรปรอท ไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงถึง 300 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จึงเข้าเกณฑ์ของภาวะ อ้วนลงพุง ในขณะที่คุณคณิตไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว เพราะรอบเอวไม่เกิน 90 เซนติเมตร และความดันโลหิตไม่เกิน130/85 มิลลิลิตร ถึงแม้ว่าจะมีระดับไขมันในเลือดเท่ากันก็ตาม

โดยผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 3 ข้อ ซึ่งเข้าข่ายว่าเป็นภาวะ อ้วนลงพุง นั้น มีอัตราเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า ส่วนผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 4 ข้อจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 3 เท่า รวมถึงเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 24 เท่า ซึ่งกรณีของคุณเพลินใจที่มีปัจจัยเสี่ยง 3 ข้อ จึงมีอัตราการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า

ภาวะ อ้วนลงพุง ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพหลายประการ โดยขึ้นกับองค์ประกอบของโรค ได้แก่

  • ทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบจึงเกิดโรคหัวใจได้ง่าย
  • ไตจะขับเกลือออกได้น้อยลง ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
  • ไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดตีบ เพราะเลือดจะแข็งตัวได้ง่ายทำให้อุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหรือหัวใจ ทำให้เป็นโรคเบาหวานได้ง่าย

จะเห็นว่าผลเสียส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อหลอดเลือดแดงทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน หรือเบาหวาน

การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มโรค metabolic syndrome ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและโรคเบาหวาน รวมถึงจะต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอื่นด้วย ทำให้การรักษาโดยการปรับพฤติกรรมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น

1. การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ด้วยการลดอาหารประเภทไขมันลง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ที่ติดมัน หนังสัตว์ อาหารทะเลพวกกุ้งและปลาหมึก น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว โดยไม่ควรรับประทานอาหารพวกแป้งเกินร้อยละ 50 ของอาหารที่รับประทาน แต่ให้รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช ข้าวกล้อง ผัก พืชตระกูลถั่ว

2. ลดอาหารเค็ม ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความดันโลหิต

3. ลดน้ำหนัก พบว่าการลดน้ำหนักลงร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักตัว จะชะลอหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง

4. แนะนำให้ออกกำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ซึ่งจะช่วยลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในกรณีที่เป็นโรคเหล่านี้อยู่แล้วการออกกำลังกายจะช่วยให้การรักษาได้ผลดีขึ้น

5. ปรับเปลี่ยนอาหาร

การปรับเปลี่ยนอาหารที่มีส่วนช่วยลดไขมันช่องท้องได้แก่

  • เปลี่ยน “ข้าวขาว-แป้งขาว-น้ำตาล” เป็นธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ขนมปังเติมรำ(โฮลวีท) ฯลฯ, ลดเครื่องดื่มเติมน้ำตาล เช่น ชาเขียวรสหวาน-กาแฟเย็น ฯลฯ
  • กินโปรตีน (ถั่ว เต้าหู้ โปรตีนเกษตร งา ไข่ เนื้อ นม) ที่ไม่ผ่านการทอด ลดเนื้อสำเร็จรูป ลดเนื้อติดมัน ลดอาหารทอด
  • ลดไขมันอิ่มตัว เช่น กะทิ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ฯลฯ
  • ลดไขมันทรานส์ หรือไขมันแปรรูปในโรงงาน เช่น เบเกอรี่ คุกกี้ เค้ก ขนมใส่ถุง ฟาสต์ฟูด ฯลฯ
  • ไม่ลดน้ำหนักเร็วเกิน 1/2 กก./สัปดาห์ เนื่องจากร่างกายอาจปรับตัวเข้าสู่ภาวะขาดอาหาร ซึ่งจะเพิ่มการสะสมไขมันช่องท้องได้ (การลดน้ำหนักเร็วเพิ่มเสี่ยงหนังเหี่ยว หน้าแก่ได้เช่นกัน)

หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ไขมัน หรือความดันโลหิตได้ตามเป้าหมาย ก็จำเป็นต้องใช้ยาในการควบคุม โดยแพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับโรคที่เป็น

ขอบคุณที่มาจาก : //www.emaginfo.com




Create Date : 29 สิงหาคม 2557
Last Update : 29 สิงหาคม 2557 21:23:58 น. 0 comments
Counter : 1186 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]