ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

อุทยานสามก๊ก กลิ่นอายสวนเมืองจีน ที่ พัทยา

อุทยานสามก๊ก, ชลบุรี

จังหวัดลบุรี มีสถานที่ให้ท่องเที่ยวมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ชายหาดพัทยา เกาะล้าน สวนสัตว์เปิดเขาเขียว เป็นต้น แต่ทีมงาน Travel MThai เชื่อว่าสมาชิกมิตรรักจำนวนไม่น้อยที่จะรู้ว่า ในเมืองพัทยาก็มีสวนสวยงามสไตล์จีนแผ่นดินใหญ่ รอให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาสัมผัสเช่นกัน นั่นคือ อุทยานสามก๊ก แห่งนี้ครับ

อุทยานสามก๊ก ชลบุรีอุทยานสามก๊ก สถานที่เปี่ยมไปด้วยศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่างๆ ระหว่างไทยและจีน

อุทยานสามก๊ก สถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างไทย-จีน ได้รับการออกแบบให้ถูกหลักฮวงจุ้ย จุดประสงค์หลักเพื่อให้เห็นถึงความเป็นลูกหลานชาวจีนที่มาประกอบอาชีพ และตั้งถิ่นฐานอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

อุทยานสามก๊ก ชลบุรีนักท่องเที่ยวยังไม่ค่อยรู้จัก อุทยานสามก๊ก มากนัก บริเวณใที่นี่จึงสงบ และเดินรอบๆอุทยานอย่างสบายใจ

อุทยานสามก๊ก ตั้งอยู่ในเนื้อที่ 36 ไร่ ของตระกูลศรีเฟื่องฟุ้ง โดยผู้ริเริ่ม คือ คุณเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง นักธุรกิจเชื้อสายจีนที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ โดยคุณเกียรติ์ มีเจตนารมณ์ที่จะสร้างให้ที่นี่เป็นสถานที่ที่เปี่ยมไปด้วยศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและจีน เพื่อให้คนไทย คนไทยเชื่อสายจีนและชาวต่างชาติได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ อย่างไรก็ตามคุณเกียรติได้เสียชีวิตไปก่อนที่จะสร้างสถานที่แห่งนี้ คุณชัยคีรี ศรีเฟื่องฟุ้ง บุตรชายคนโตจึงสานฝันของคุณพ่อ โดยริเริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2538 การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2543 และเปิดอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2545

อุทยานสามก๊ก ชลบุรี

ภายในมีอาคารหลัก 2 หลัง คือ อาคารประธาน และอาคารอเนกประสงค์

อุทยานสามก๊ก ชลบุรี

อาคารประธาน ภายในมีทั้งหมด 4 ชั้น แต่ละชั้นจัดแสดงเรื่องราวต่าง ๆ
ชั้นแรก แสดงรูปปั้น ประวัติ ผลงาน ภาพตระกูลและจดหมายปิดผนึกของคุณเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และแสดงรูปปั้นตัวเอกในเรื่องสามก๊ก 12 รูป เช่น เล่าปี่ กวนอู ลิโป้ ขงเบ้ง

อุทยานสามก๊ก ชลบุรี
ชั้นที่ 2 และ 3 แสดงภาพเขียน สีน้ำมัน เขียนลงบนผ้าใบ ซึ่งวาดเป็นเรื่องราวของขงเบ้งตั้งแต่เกิดจนตาย
ชั้นที่ 4 เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันต์ธาตุ พระพุทธรูปปางประทานพร พระสังกัจจายน์ และพระตี่จั่งอ้วง นอกจากนี้บริเวณระเบียงด้านนอกยังเป็นจุดชมวิวที่ให้คุณเห็นวิวที่สวยงาม เป็นธรรมชาติ

อุทยานสามก๊ก ชลบุรี

ส่วนอาคารอเนกประสงค์ ประกอบด้วย 18 อรหันต์ อาคารนี้มีไว้สำหรับจัดกิจกรรมหรือนิทรรศการต่าง ๆ ตรงข้ามอาคารเป็นอาคารพระโพธิสัตย์กวนอิม ซึ่งทำจากหินอ่อนขาวขนาดใหญ่

อุทยานสามก๊ก ชลบุรี

ภายนอกรอบๆ เป็นระเบียงจิตรกรรมที่บันทึกเรื่องราวตอนสำคัญ ๆ ของเรื่องสามก๊ก จำนวน 56 ตอน ซึ่งมีความยาว 223.8 เมตร เป็นภาพวาดกระเบื้องเคลือบดินเผาจากประเทศจีน ที่นี่เปิดเข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00 น

อุทยานสามก๊ก ชลบุรีระเบียงจิตรกรรมที่บันทึกเรื่องราวตอนสำคัญๆ ของเรื่องสามก๊กหลายตอน เดินดูกันให้สะใจไปเลย

อุทยานสามก๊ก เป็นสถานท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะมีการรวบรวมสถาปัตยกรรมของจีน-ไทยอยู่มากมาย นอกจากวัตถุต่างๆ ภายในอุทยานแล้ว ยังมีกำแพงภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับสามก๊กที่ยาวมากอีกด้วย

อุทยานสามก๊ก ชลบุรีมาเดินเล่นที่บริเวณสนามหญ้าหน้าอาคารจีนในยามเย็น ให้บรรยากาศดีมากๆ และเหมาะสำหรับถ่ายรูป

ส่วนที่ตั้งของ อุทยานสามก๊ก พัทยา นี้ก็อยู่ใกล้ๆ กับอ่างเก็บน้ำมาบประชัน ซึ่งก็ค่อนข้างไกลจากถนนสุขุมวิทเหมือนกัน (ประมาณ 12 กิโลเมตร) ซึ่งต้องเข้าตรงซอยสยามคันทรีคลับ ตรงพัทยากลางเข้าไปแล้วก็แค่ตรงเข้าไปอย่างเดียว ไม่ต้องเลี้ยวแยกไหนเลย ซึ่งจะผ่านอ่างเก็บน้ำมาบประชันด้วย พอผ่านอ่างเก็บน้ำมาแล้วให้สังเกตุป้ายที่จะให้เลี้ยวขวาเข้าไปที่อุทยานแค่ นั้นเราก็ไปถึงแล้ว

แผ่นที่ อุทยานสามก๊ก ชลบุรีอุทยานสามก๊ก ชลบุรี


View Larger Map

อุทยานสามก๊ก พัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

ข้อมูลและภาพ : 3kingdomspark.com / thailandholidayhomes.co.th / pattayaconcierge.com
เรียบเรียงโดย Travel MThai




Create Date : 22 ตุลาคม 2556
Last Update : 22 ตุลาคม 2556 7:55:03 น. 1 comments
Counter : 1464 Pageviews.  

 
thx u crab


โดย: Kavanich96 วันที่: 23 ตุลาคม 2556 เวลา:3:17:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]