ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

อยากปลูก แค็กตัส หรือ ตะบองเพชร มีวิธีดูแลมาฝาก

ปกติแล้วเรามักไม่ค่อยปลูกตะบองเพชร หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า แค็กตัส ในบ้านกันเท่าใหร่ เพราะกังวลเรื่องหนามแหลมๆ ของมันจะทิ่มแทงเราเอาได้ แต่หากใครอยากปลูกไว้ในบ้านมุมเล็กๆ สักมุมหนึ่ง ก็ลองมาอ่านบทความเรื่องของ แค็กตัส ที่เรานำมาฝากกันสักนิดนะค

แค็กตัส – Cactus หรือ ตะบองเพชร

แค็กตัส Cactus หรือ ตะบองเพชร

” แค็กตัส -Cactus ” เป็นภาษากรีกโบราณ แปลว่า “พันธุ์ไม้ที่มีหนาม” โดย คาร์ล ฟอน ลินเนีย (Carl von Linne) หรือเรียกกันทั่วไปว่า คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) แพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน เป็นผู้นำมาใช้เรียกไม้อวบน้ำที่มีรูปร่างแปลกๆ ไม่มีใบ มีแต่หนาม (ใบที่เปลี่ยนรูปกลายเป็นหนาม) มีถิ่นกำเนิดในภูมิประเทศแห้งแล้งทุรกันดาร ขณะที่เมืองไทยรู้จักในชื่อกระบองเพชร หรือตะบองเพชร มาเนิ่นนาน

และเพราะมีถิ่นกำเนิดในภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวย แค็กตัสจึงต้องปรับตัวให้สามารถเก็บออมถนอมน้ำไว้ในลำต้นไว้ใช้ยามที่รอบๆ ตัวขาดน้ำเป็นเวลานานได้ สังเกตได้ว่าแค็กตัสมีลักษณะผิดไปจากไม้ยืนต้นพันธุ์อื่นๆ ที่มีใบ และที่ใบมีปากใบสำหรับถ่ายเทอากาศและคายน้ำออก ทำให้น้ำระเหยออกจากต้นได้เร็ว แต่แค็กตัสไม่มีใบ มีแต่หนาม น้ำจึงระเหยออกไปได้ยาก แค็กตัสจึงเก็บถนอมน้ำไว้ได้นานกว่าพันธุ์ไม้อื่นและเติบโตได้ดีในที่แห้งแล้ง

แค็กตัส Cactus หรือ ตะบองเพชร

เป็นพืชที่จัดอยู่ในประเภทพืชลำ ต้นอวบน้ำ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพืชอวบน้ำทั้งหมดจะเป็นแค็กตัสเสมอไป พืชที่จะจัดอยู่ในตระกูลของแค็กตัสจะต้องประกอบด้วยลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 4 ประการ คือ เป็นไม้ยืนต้น เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ออกลูกเป็นผลเซลล์เดียว และมีตุ่มหนาม ซึ่งตุ่มหนามนี้จะพบได้ในพืชตระกูล แค็กตาซี (cactaceae) หรือตระกูลแค็กตัสเท่านั้น ลักษณะพิเศษที่สำคัญอีกประการคือ แค็กตัสแทบทุกชนิดไม่มีใบ หรือลดรูปใบกลายเป็นหนามหรือขน

แค็กตัสเป็นพืชในวงศ์แค็กตาซีซึ่งมีประมาณ 150 สกุล และมากกว่า 2,000 ชนิด ส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา เจริญอยู่ในทะเลทรายที่มีอากาศร้อน แห้งแล้ง จึงต้องพัฒนาตัวเองให้มีชีวิตรอดอยู่ได้ในสภาพที่ต้องขาดน้ำเป็นเวลานาน โดยหดลำต้นให้สั้นป้อมมีขนาดเล็ก และลดรูปจากใบเป็นหนาม เพื่อลดการสูญเสียน้ำและจับไอน้ำในอากาศ ไม่มีระบบรากแก้ว มีเพียงรากฝอยที่อยู่ใต้ผิวดินตื้นๆ เพื่อจับน้ำค้างบนผิวดินในเวลากลางคืนมาเก็บไว้ในต้นที่มีน้ำอยู่ถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์

ทรงต้นมีลักษณะต่างกันไปทั้งรูปร่างและขนาด เช่น เป็นลำต้นสูงใหญ่ เป็นทรงกลมเตี้ยๆ มักจะอวบน้ำ อาจขึ้นอยู่เป็นต้นเดี่ยวๆ หรือขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม บ้างก็เป็นสันนูนรอบต้น และบ้างก็เป็นเนินหนามอยู่ชิดกันทั้งต้น ดอกเป็นชนิดไม่มีก้านดอก มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เป็นรูปจาน รูประฆัง รูปกรวย หรือเป็น ท่อยาว กลีบดอกบอบบาง สีสันสดใส ดอกจะเกิดที่ตุ่มหนาม ผลเป็นแบบมีเนื้อนุ่มคล้ายวุ้น มีเมล็ดปะปนอยู่ เมื่อสุกผลจะอ่อนนุ่ม บ้างก็เหี่ยวแห้งหรือปริแตกออก

แค็กตัส ต้องการวัสดุปลูกที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์ ที่สำคัญต้องระบายน้ำดี วัสดุปลูกที่เหมาะสมคือดินทรายหยาบและปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษซากใบไม้ผุ) อัตราส่วน 1:3:1 หรืออาจผสมเปลือกถั่ว ขี้เถ้า แกลบ ถ่านป่น อิฐหัก กระดูกป่นหรือเปลือกไข่ตามความเหมาะสม ส่วนวิธีรดน้ำที่ถูกต้องคือรดให้โชกถึงราก และรดอีกครั้งเมื่อวัสดุปลูกเริ่มแห้ง อย่ารดให้แฉะ ภาชนะปลูกไม่ควรมีขนาดใหญ่กว่าต้นมากนัก เพราะจะอุ้มน้ำไว้มาก ให้ระยะห่างระหว่างผิวต้นกับขอบกระถางประมาณ 2.5 ซ.ม.

แสง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อแค็กตัส ช่วงที่เหมาะสม คือแสงช่วงเช้าหรือช่วงบ่ายที่ไม่ร้อนจนเกินไปนักจะช่วยให้ต้นเจริญได้ดี สีต้นและหนามสดใส แสงยังมีผลต่อการเจริญและการงอกของรากด้วย แสงที่น้อยเกินไปจะทำให้หนามหดสั้นลง ต้นยืดสูงขึ้น ส่วนแสงที่มากเกินไปจะทำให้ผิวต้นกร้านและไหม้ สีต้นและหนามไม่สดใส นอกจากนี้ ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนมีผลต่อสีต้นและหนาม รวมทั้งการเจริญเติบโตของต้นด้วย

โดย น้าชาติ คอลัมน์ รู้ไปโม้ด จาก นสพ.ข่าวสด
ภาพจาก littlewolfblog.com, //brandsmart.com.au/



Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2557 20:16:09 น. 0 comments
Counter : 2571 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]