ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2563
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
2 มีนาคม 2563
 
All Blogs
 
กองทัพเป็ดจีน 100,000 ตัวคงจะไม่บุกปากีสถาน



China has used chickens and ducks to fight against locust plagues before.



ประเทศจีนคงจะไม่ส่งกองทัพเป็ด 100,000 ตัว บุกปากีสถาน
เพื่อกำจัดฝูงตั๊กแตนแมลงที่สร้างภัยพิบัติครั้งนี้
ผู้เชี่ยวชาญทีมงานแก้ไขปัญหาเรื่องตั๊กแตนของปักกิ่งกล่าว

แม้ว่าจะมีรายงานข่าวในช่วงภาคค่ำของ Ningbo Evening News
ที่ระบุว่ากองทัพเป็ดจำนวน 100,000 ตัว
จะถูกส่งจากมณฑลเจ้อเจียงไปยังปากีสถาน
เพื่อจัดการกับฝูงตั๊กแตนครั้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา
ทำให้ข่าวนี้ในสื่อสังคมออนไลน์ China’s Weibo
มีคนเข้าเยี่ยมชนถึง 520 ล้านครั้งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
และแสดงความคิดเห็นหลายพันข้อความ

เมื่อ 20 ปีที่แล้วในปี 2000 
จีนเคยใช้เป็ดและไก่ที่กินอาหารตามธรรมชาติรวมถึงแมลง
เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของตั๊กแตนที่คล้ายคลึงกัน
ในภูมิภาคซินเจียงทางตะวันตกเฉียงเหนืออย่างได้ผล
หลังจากฝูงตั๊กแตนได้กัดกินพื้นที่เกษตรของจีนไปกว่า 9 ล้านเอเคอร์

แม้ว่าข่าวนี้จะได้รับความชื่นชอบและสนับสนุนเรื่องนี้อย่างล้นหลาม
ในการใช้กองทัพเป็ด 100,000 ตัวไปปราบตั๊กแตนในปากีสถาน
เป็นการเปิดศึกแนวรบด้านหน้าโจมตีฝูงตั๊กแตนก่อนจะบินเข้าเมืองจีน

แต่จางหลง ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรจีน
เป็นหนึ่งในคณะทีมงานผู้เชี่ยวชาญของจีน
ที่ส่งไปช่วยเหลือประเทศในเอเชียใต้ต่อสู้กับตั๊กแตน  ได้ให้สัมภาษณ์ว่า
ในปากีสถาน  สภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมกับกองทัพเป็ด
เป็ดต้องพึ่งพาน้ำ แต่พื้นที่ทะเลทรายของปากีสถาน
อุณหภูมิจะสูงมากและขาดแคลนน้ำส่วนหนึ่ง
ควรใช้สารกำจัดศัตรูพืชทางเคมีหรือทางชีวภาพแทน "

ฝูงตั๊กแตนได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวาง
โดยเริ่มจากประเทศเคนยาในแอฟริกาตะวันออก
แล้วบินข้ามเยเมน เซาว์ดี้ มาลงที่อินเดียก่อนเข้าปากีสถาน
ประมาณการว่ามีจำนวนตั๊กแตนมากกว่า 360 พันล้านตัว
ฝูงตั๊กแตนสามารถบินได้ถึงวันละ 150 กิโลเมตร (90 ไมล์)
บินฝ่าสายลมที่โชยพัดระหว่างทวีป
และฝูงตั๊กแตนนี้กินอาหารในปริมาณเท่ากับคน 35,000 คนกินในหนึ่งวัน

เดือนก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีปากีสถาน
ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินระดับประเทศ
เพื่อระดมทรัพยากรทั้งหมดรับมือกับตั๊กแตน
ซึ่งเป็นภาวะเลวร้ายที่สุดในรอบสองทศวรรษ

อนึ่ง ข่าวภาคค่ำของ Ningbo Evening News ได้อ้างถึง
Lu Lizhi นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแห่งมณฑลเจ้อเจียง
ที่เคยเสนอความเห็นว่า " การใช้เป็ดจะมีต้นทุนถูกกว่า
และสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่ายาฆ่าแมลง
เป็ดชอบอยู่กันเป็นกลุ่ม ดังนั้นจึงจัดการพวกมันได้ง่ายกว่าไก่
เป็ดยังสามารถกินตั๊กแตนมากกว่า 200 ตัวต่อวัน
เมื่อเทียบกับไก่สามารถกินตั๊กแตนเพียง 70 ตัวต่อวัน "
 



Billions of locusts threaten food security in East Africa | DW News

Yessinia Funes ระบุว่า
สถานการณ์ดังกล่าวไม่น่าเป็นไปได้
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
ระบุว่าพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร มีตั๊กแตนประมาณ 40 ล้านถึง 80 ล้านตัว
และทอดยาวไปหลายร้อยตารางกิโลเมตร

Keith Cressman ผู้พยากรณ์อาวุโส
เรื่องตั๊กแตนจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ให้สัมภาษณ์ว่า
กองทัพเป็ดจีน 100,000 ตัว จะกินตั๊กแตน 20 ล้านตัวต่อวัน
จำนวนเป็ดไม่เพียงพออย่างแน่นอน
และพวกมันไม่สามารถกินตั๊กแตนทะเลทราย
ได้มากพอที่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ

Michael Eichholz รองศาสตราจารย์ด้านสัตววิทยา
ที่ Southern Illinois University ซึ่งเชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยานกน้ำ ได้กล่าวว่า
แม้ว่าเรื่องนี้จะไม่ควรทำลายความฝันของคนจีน
ในการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่กับตั๊กแตนในทะเลทราย
แต่เป็ดก็ไม่ควรจะไปกำจัดแมลงเหล่านี้

เป็ดเป็นสัตว์น้ำและพวกมันมักจะกินแมลงในพื้นที่ชุ่มน้ำ
โดยจับขึ้นมากินจากปากเป็ด สิ่งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้เป็ดชุ่มชื้นเท่านั้น
แต่นั่นคือ สาเหตุที่พวกเป็ดมักจะออกไปเที่ยวในสระน้ำ ทะเลสาบและแม่น้ำ
ไม่ใช่ในพื้นที่ทะเลทรายที่น่ากลัว ซึ่งตอนนี้มีฝูงตั๊กแตนได้ชุมนุมกันอยู่

แม้ว่า เป็ดจะสามารถจัดงานเลี้ยงกินตั๊กแตนได้อย่างมากมาย
แน่นอนว่าพวกมันสามารถกินตั๊กแตนและมีชีวิตรอดได้
แต่มีสัตว์บางชนิดที่วิวัฒนาการมาเพื่อรับน้ำจากแหล่งอาหาร
ดังนั้นพวกมันจึงไม่ต้องดื่มน้ำเลย  แต่ไม่เคยมีข้อมูลเลยว่า
มีเป็ดชนิดใดบ้างที่จะได้รับความชื้นเพียงพอจากแหล่งอาหารที่ไร้น้ำ

ดังนั้นจึงไม่สามารถนำพวกเป็ดไปอยู่
ในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งนี้โดยปราศจากแหล่งน้ำ
แม้แต่เป็ดบ้านซึ่งปกติแล้วจะไม่ได้อาศัยอยู่ในน้ำ
ก็ยังต้องดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอดในทะเลทรายที่แห้งแล้ง
 
 
ที่มาของฝูงตั๊กแตนนี้

ตั๊กแตนทะเลทราย (Desert Locust) 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Schistocerca Gregaria  อยู่ในวงศ์ Arcrididae
เมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ ลำตัวจะมีสีเทา
แต่เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มลำตัวจะเป็นสีเหลือง
และเมื่อโตเต็มวัยจะมีลายจุดสีดำปรากฏอยู่บนสีเหลือง

ที่อุณหภูมิประมาณ 40 ℃
ตั๊กแตนทะเลทรายได้กำเนิดในแอฟริกาและพื้นที่ใกล้เคียง
ซึ่งโดยธรรมชาติพวกมันอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลมาก
ส่วนใหญ่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ในพื้นที่ 16 ล้านตารางกิโลเมตร
หรือมากกว่า 6 ล้านตารางไมล์ในขนาดพื้นที่ใกล้เคียงกัน
 
พวกมันมักอาศัยอยู่ตามลำพังไม่ค่อยแสดงอาการใด ๆ
แต่เมื่อสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสอดคล้อง (เช่นหลังฤดูฝนกำลังพอดี)
เพราะเมื่อปีที่แล้ว ประเทศแถบแอฟริกาตะวันออก
มีสภาพอากาศฝนตกแบบไม่เป็นทางการในภูมิภาค
พวกมันจึงต่างดึงดูด/ใกล้ชิดกันยิ่งกว่าเดิมอย่างมาก
เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนสีผิวและเติบโตมีปีกยาวขึ้น
และมีกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
พวกมันกลายเป็นฝูงตั้กแตนที่ทรงพลังน่าเกรงกลัว 
 
ตั๊กแตนทะเลทรายรุ่นใหม่จะมีลูกแต่ละรุ่นในทุกเดือน
และแต่ละรุ่นจะสามารถอยู่รอดได้ถึง 3 เดือน
จำนวนตั๊กแตนสามารถเพิ่มได้ถึง 20 เท่าในแต่ละรุ่น
หากไม่มีปัจจัยใด ๆ ขัดขวางการเติบโตของตั๊กแตน
พวกมันจะระบาดได้อย่างทวีคูณ
 
ไข่ตั๊กแตนอาจฟักระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน และเพิ่มขึ้นเป็น 500 เท่า
พร้อมจะโจมตีได้ถึง 30 ประเทศในเอเชียและแอฟริกา
ภายในเดือนมิถุนายน หากไม่มีการดำเนินการใด ๆ
  
ฝูงตั๊กแตนกลุ่มนี้ที่กินไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ
ได้แพร่กระจายไปทั่วทั้งแผ่นดินถึง 460 ตารางไมล์
จากการประมาณการด้วยสายตามนุษย์

เมื่อตั๊กแตนเติบโตใหญ่จนติดปีกบินแล้ว
และแล้วทุกอย่างจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
พวกมันเป็นนักบินที่ทรงพลัง
พวกมันสามารถอยู่ในประเทศหนึ่ง
แล้วย้ายไปประเทศอื่นภายในสิ้นสัปดาห์
แต่ในท้ายที่สุด ฝูงตั๊กแตนจะกัดกินซึ่งกันและกัน
หลังจากอาหารใกล้หมด หมดแรงบิน และผสมพันธุ์เพื่อวางไข่
ซึ่งยังไม่ทราบว่าทำไมพวกมันถึงมีพฤติกรรมแบบนี้
 

นักข่าว New York Times ยังจำได้ว่า
ในปี 1976  ฝูงตั๊กแตนมืดมิดบนท้องฟ้า
แล้วกัดกินต้นหญ้าใบไม้จนว่างเปล่า
แม้ว่าเทคโนโลยีในทุกวันนี้จะก้าวหน้า
แต่ก็ยังทำอะไรพวกมันไม่ได้เลย
จนถึงทุกวันนี้ความทุกข์ยากของเกษตรกร
ที่เกิดจากฝูงตั๊กแตนยังมีอย่างต่อเนื่อง
 
ตามรายงานของสหประชาชาติ
ในช่วงภัยพิบัติ ตั๊กแตนทะเลทรายฝูงมรณะ
สามารถส่งผลกระทบต่อแผ่นดินภาคตะวันออกของชาวโลก
ถึง 20% ซึ่งมากกว่า 65 ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก
และอาจทำลายวิถีชีวิตประชากรถึง 1 ใน 10 ของโลก 
หลังจากเกิดการระบาดของฝูงตั๊กแตน
ก็คือ จุดเริ่มต้นการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเคมี
นับล้าน ๆ ลิตรกับฝูงตั๊กแตนในพื้นที่
ซึ่งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ 
  
 
 
เรียบเรียง/ที่มา
 
https://bit.ly/39haB2c
https://bit.ly/2vqHPxd
https://bit.ly/2TtMMxl
https://bit.ly/2I8YI2h
https://bit.ly/2I6YVmt

 
 

  





 



เรื่องเล่าไร้สาระ

เมืองไทยเคยมีฝูงตั๊กแตนบุกพืชไร่
แต่สุดท้ายกลายเป็นอาหารจานโปรด
จนฝูงตั๊กแตนสาบสูญไปจากเมืองไทย
แต่ไปโผล่ที่เวียตนาม กัมพุชา แทน

ส่วนประเทศมุสลิมยังมีข้อถกเถียงกันยังไม่สรุปว่า
ตั๊กแตนเป็นอาหารฮะรอม(กินบ่ได้)หรือไม่
บางสำนักคิดมุสลิมบอกกินได้ 
แต่ส่วนใหญ่ยังเชื่อว่ากินบ่ได้

ที่สหรัฐอเมริกาตั๊กแตนก็เคยบุก

ภายหลังจากการทำนาอย่างหนัก 
ข้าวสาลีสีทองออกรวงเต็มทุ่ง
เพียงอีกไม่กี่วันพ่อก็ขายข้าวได้ เอาเงินไปชำระหนี้
และยังมีเงินเหลือให้แม่และเด็ก ๆ ได้ซื้อของที่ต้องการ
แต่แล้วกองทัพตั๊กแตนก็ลง มันมาจากไหนไม่รู้ แต่มาเต็มท้องฟ้า
กัดกินผลผลิตตลอดทั้งปีของพ่อจนหมดไป
ทิ้งไว้แต่หนี้ที่ต้องชำระ ภาษีที่ต้องจ่าย
ครอบครัวที่ต้องดูแล พ่อนิ่งเเงียบไปสักพัก
แต่แล้วก็พูดขึ้น "ตั๊กแตนหรืออะไรจะมาเอาชนะเราไม่ได้
เราต้องทำอะไรสักอย่าง เรายังแข็งแรงไม่เจ็บไม่ไข้
เรายังมีหลังคาบ้านคุ้มหัว ฉันจะเข้าเมืองไปหางานทำ "
แล้วพ่อก็ไป พ่อใส่รองเท้าจวนเจียนขาด เดินเท้าไป 300 ไมล์
เพื่อไปหางานทำจากเมืองใกล้ ๆ
ที่มา บ้านเล็กในป่าใหญ่

ชีวิตจริง ลอรา อิงกัลส์ ไวลเดอร์ เจ้าของวรรณกรรมเยาวชนชุด บ้านเล็กในป่าใหญ่

แต่มีข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งในวงการวรรณกรรมอเมริกันที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้
คือ การที่สมาคมห้องสมุดอเมริกัน (American Library Association หรือ ALA)
ประกาศว่าตัดสินใจจะเปลี่ยนชื่อรางวัลวรรณกรรมสำคัญรางวัลหนึ่ง
 
รางวัลนี้เป็นรางวัลวรรณกรรมเยาวชน ที่เดิมที่ใช้ชื่อตาม
ลอร่า อิงกัลส์ ไวลเดอร์ (Laura Ingalls Wilder) ผู้เขียนหนังสือชุด Little House
หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ บ้านเล็กในป่าใหญ่
แต่เปลี่ยนมาเป็นรางวัลชื่อ Children’s Literature Legacy Award แทน
การเปลี่ยนชื่อรางวัลแบบนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่
รางวัลที่ตั้งตามชื่อคนดู เช่น  รางวัลอิศรา อมันตกุล รางวัลศรีบูรพา หรือรางวัลอื่น ๆ
ตอนตั้งชื่อรางวัลถือเป็นการให้เกียรติ
แต่ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อรางวัล ก็คล้ายเป็นการปลดเกียรติ
ของคนคนนั้นออกไปจากตัวรางวัลนั่นเอง
เพราะนวนิยายของเธอมีหลายตอนที่เหยียดสีผิว/ชาติพันธุ์
ซึ่งในยุคนั้นเป็นเรื่องปรกติ แต่ทุกวันนี้ไม่ใช่แล้ว
Credit  : https://bit.ly/2FuTxZK


Create Date : 02 มีนาคม 2563
Last Update : 2 มีนาคม 2563 0:06:57 น. 4 comments
Counter : 2140 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณnewyorknurse, คุณอุ้มสี, คุณเพรางาย


 

อ่านแล้วน่ากลัวจัง


โดย: newyorknurse วันที่: 2 มีนาคม 2563 เวลา:2:52:49 น.  

 
น่ากลัวจังค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 2 มีนาคม 2563 เวลา:3:25:12 น.  

 
มาบ้านเรา กลายเป็นอาหารโปรตีนที่อร่อยพอๆกับหนอนรถด่วน



โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 5 มีนาคม 2563 เวลา:8:12:43 น.  

 
ถ้าเราแนะนำให้เขาจับตั๊กแตนกินเหมือนประเทศเรา
จะช่วยแก้ปัญหาได้รึเปล่าหว่า


โดย: เพรางาย วันที่: 8 มีนาคม 2563 เวลา:17:49:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.