ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
แนวทางการวางผังและการออกแบบเมืองคนเดิน ตอนที่ 2 การวางผังแม่บทเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจ






แนวทางการวางผังและการออกแบบเมืองคนเดิน ตอนที่ 2

การวางผังแม่บทเพื่อปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจ

โดย ฐาปนา บุณยประวิตรสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย

www.smartgrowththailand.org/

www.asiamuseum.co.th

บทนำ

Smart Growth America แบ่งขั้นตอนการวางผังแม่บทเพื่อการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจออกเป็น 7ขั้นตอน ซึ่งบทความตอนที่ 2 นี้ จะกล่าวตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 ถึงขั้นตอนที่ 3โดยขั้นตอนที่ 1 เป็นการทำความเข้าใจและเรียนรู้พื้นที่และชุมชน ขั้นตอนที่ 2 การวางผังสร้างสภาพแวดล้อมให้งดงามและเป็นพื้นที่แห่งการเดินและขั้นตอนที่ 3 การวางผังสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ สำหรับการวางผังแม่บทในขั้นตอนที่4 ถึงขั้นตอนที่ 7 จะกล่าวในบทความตอนต่อไป รายละเอียดดังนี้





ที่มา :        Cincinnati’swalkable downtown attracted 13 companies:

//www.bizjournals.com/cincinnati/print-edition/2015/09/04/cincinnati-s-walkable-downtown-attracted-13.html

ขั้นตอนการวางผังแม่บท

ในการพัฒนาโครงสร้างทางกายภาพในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจให้เกิดประสิทธิภาพนั้นการเติบโตอย่างชาญฉลาดและเกณฑ์ความเป็นผู้นำการออกแบบพลังงานและสภาพแวดล้อมระดับย่าน(LEED-ND) ได้กำหนดแนวทางการศึกษาและการวางผังตาม TheTransect ได้แก่ การปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจใจกลางเมือง (Downtown Center)และศูนย์เศรษฐกิจพาณิชยกรรมเมือง (Commercial Urban Center) โดยให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชน เจ้าของที่ดิน ผู้ประกอบการที่สนใจจะลงทุนและหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการพื้นที่ซึ่งจะต้องปรึกษาหารือกันเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ตั้งแต่ต้น รวมทั้งยังให้ความสำคัญต่อการผลักดันให้เกิดการใช้พื้นที่รอบสถานีและศูนย์เศรษฐกิจให้เป็นเมืองแห่งการเดิน(WalkableCity) เป็นเมืองที่มีชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจโดยได้แบ่งการปฏิบัติการวางผังออกเป็น 7 ขั้นตอนประกอบด้วย

ขั้นตอนที่1 การทำความเข้าใจและเรียนรู้พื้นที่และชุมชน (Understand your space and community)

ขั้นตอนที่ 2การวางผังสร้างสภาพแวดล้อมให้งดงามและเป็นพื้นที่แห่งการเดิน (Create an attractive, walkable place)

ขั้นตอนที่ 3การวางผังสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ (Diversifythe downtown economy)

ขั้นตอนที่ 4 การสร้างความเท่าเทียม (Build in equity)

ขั้นตอนที่ 5 การจัดทำข้อเสนอการปรับปรุงกฎหมาย ข้อกำหนดและกระบวนการดำเนินการของรัฐ (Improvegovernment regulations and processes)

ขั้นตอนที่ 6การสนับสนุนการเงินแก่โครงการ (Financeprojects)

ขั้นตอนที่ 7 การจัดทำระบบและมาตรการบริหารจัดการพื้นที่ (Establish on-goingplace management)

เนื่องจากรายละเอียดการวางผังแม่บทพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจเพื่อเป็นเมืองแห่งการเดินตามขั้นตอนการเติบโตอย่างชาญฉลาดมีเป็นจำนวนมากดังนั้น เพื่อให้เกิดความสะดวกในการประยุกต์ใช้ บทความฉบับนี้จะกล่าวสรุปเฉพาะส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการวางผังแม่บทพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจใจกลางเมืองพื้นที่รอบสถานีและพื้นที่สองข้างทางโดยชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ในการศึกษาและการออกแบบ เพื่อให้เกิดพื้นที่แห่งการเดินอย่างมีคุณภาพรายละเอียด ดังนี้

ขั้นตอนที่1 การทำความเข้าใจและเรียนรู้ชุมชน

กรอบการศึกษาในขั้นตอนที่1 แบ่งออกเป็น 3 ส่วนโดยส่วนแรก ให้ศึกษาประวัติความเป็นมาของพื้นที่ เช่น ชุมชนมีแหล่งมรดกทางประวัติศาสตร์หรือมรดกทางวัฒนธรรมหรือมีสถานที่ที่มีคุณค่าในการสงวนรักษาหรือไม่และทรัพยากรสำคัญของชุมชนที่ได้รักษามาตั้งแต่อดีตคืออะไร ส่วนที่สองคือการพิจารณาตำแหน่งหรือบทบาทปัจจุบันของชุมชนและส่วนที่สามเป็นการร่วมกันจัดทำวิสัยทัศน์การพัฒนาพื้นที่ในอนาคต เพื่อให้การศึกษาเรียนรู้ชุมชนเป็นไปอย่างเป็นระบบการเติบโตอย่างชาญฉลาดจึงได้กำหนด 3 กลยุทธ์สำหรับการปฏิบัติการดังนี้

กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยมอบหมายให้สมาชิกของชุมชน 2 กลุ่มเป็นผู้ประสานงานได้แก่ การมอบหมายให้พลเมืองอาวุโสเป็นผู้ประสานกับสมาชิกทุกกลุ่มในชุมชนและให้เป็นตัวหลักในการร่วมกันจัดทำผังแม่บทร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและมอบหมายให้สมาชิกคนรุ่นใหม่ในชุมชนเป็นผู้ประสานในรายละเอียดกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยเป็นผู้ร่วมปฏิบัติตามแผนและขั้นตอนที่ผังแม่บทกำหนดขึ้น


กลยุทธ์ที่2 การวิจัยข้อมูลเพื่อทราบข้อเท็จจริงด้วยการศึกษาลงลึกในประเด็นต่าง ๆ จำนวน 4 กลุ่มประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลด้านการตลาด การศึกษาข้อมูลด้านประชากรการศึกษาพฤติกรรมประชากรการศึกษารายละเอียดความต้องการด้านภาษีของท้องถิ่นหรือหน่วยงานผู้รับผิดชอบด้านการจัดการรายได้


กลยุทธ์ที่3 การกำหนดเป้าหมายและสร้างแผนการพัฒนาที่ให้ทุกคนประสบผลสำเร็จไปด้วยกันเป็นการนำผลจากกลยุทธ์ที่ 1 และ 2 บูรณาการกันและสร้างแผนงานที่เป็นความต้องการของสมาชิกในชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมเข้ากันกับผลการวิจัยสภาพปัจจุบันทั้งนี้ ควรมอบให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเป็นผู้ยกร่างแผน 





ที่มา: //azbex.com/category/planning-development/

ขั้นตอนที่2 การวางผังสร้างสภาพแวดล้อมให้งดงามและเป็นพื้นที่แห่งการเดิน

เกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาดและเกณฑ์การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนกำหนดพื้นที่ภายในขอบเขตการพัฒนาเป็นเมืองแห่งการเดินโดยระบบทางกายภาพทั้งหมดจะต้องออกแบบตามเกณฑ์ในขั้นตอนนี้ได้กำหนดแนวทางการออกแบบผังแม่บทไว้ 5กลยุทธ์เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดใจให้เกิดการเดินและทำให้พื้นที่มีศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบการสัญจรด้วยการเดินรายละเอียดดังนี้

กลยุทธ์ที่1 การสร้างพื้นที่สะอาดและปลอดภัยพื้นที่ใจกลางศูนย์เศรษฐกิจ เช่น พื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนควรได้รับการออกแบบให้มีความปลอดภัยปราศจากบรรยากาศเชิงลบที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ การสัญจรและการนันทนาการของประชาชน


กลยุทธ์ที่2 สถานที่สาธารณะที่งดงามสถานที่สาธารณะที่ได้รับการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูให้งดงามจะช่วยให้ผู้เยี่ยมเยือนผู้อยู่อาศัย ผู้ประกอบการและผู้ทำงานมีความสุข ทั้งในการแง่การมองเห็น การพักผ่อนและการติดต่อประสานทางธุรกิจ


กลยุทธ์ที่3 กระตุ้นใช้พื้นที่ว่างหรือพื้นที่สาธารณะเพื่อกิจกรรมในช่วงสั้นใช้แนวทางสร้างพื้นที่ค้าขายที่สมบูรณ์หรือการสร้างประชากรจำนวนมากให้เกิดขึ้นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยเริ่มจากการปรับปรุงฟื้นฟูที่ว่างหรืออาคารว่างเปล่าให้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมการค้าหรือนันทนาการสร้างพื้นที่ให้ผู้คนเข้าใช้ประโยชน์ด้วยกิจกรรมการเดินที่มีคนเดินเป็นจำนวนมากมีการใช้ตลอดเวลาซึ่งจะช่วยสนับสนุนธุรกิจสองข้างทางและสร้างความมีชีวิตชีวาแก่สถานที่ในทางตรงกันข้าม การออกแบบย่านการเดินต้องหลีกเลี่ยงทางเดินที่ยาวเกินไปซึ่งอาจขัดขวางประสบการณ์การมีความสัมพันธ์ของผู้คนบริเวณทางเดินและบ่อนทำลายการมีชีวิตชีวาของพื้นที่ทั้งนี้ กระบวนการออกแบบจะต้องกระตุ้นให้แต่ละแปลงที่ดินมีกิจกรรมการค้าปลีกอาคารสำนักงาน ร้านอาหาร หรือการบริการที่อยู่ในลักษณะถาวร

กลยุทธ์ที่4 อำนวยความสะดวกให้เกิดการพัฒนาในระยะยาว ด้วยการกระตุ้นให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่ใจกลางเมืองหรือพื้นที่รอบสถานีให้มากขึ้นทำให้ง่ายหรือเกิดความสะดวกที่ประชาชนและผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะสามารถคาดการณ์การพัฒนาและการลงทุนปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่บริเวณดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งการคืนทุนหรือผลประโยชน์จากการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองก็จะได้รับรวดเร็วขึ้นทั้งนี้ อาจดำเนินการด้วยการขจัดข้อจำกัดทางกฎหมายและระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่การสร้างย่านที่มีข้อกำหนดการพัฒนาให้มีความยืดหยุ่นการเว้นภาษีจากการพัฒนาพื้นที่ การสนับสนุนการพัฒนาด้วยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือการให้สินเชื่อลักษณะพิเศษหรือการใช้ที่ของรัฐหรือที่สาธารณะให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาของภาคเอกชน เป็นต้น


กลยุทธ์ที่5 เตรียมทางเลือกระบบการเดินทางขนส่งที่มีความหลากหลาย กลยุทธ์นี้ไม่ได้สนับสนุนให้ประชาชนเพิ่มความจำเป็นในการเดินทางแต่ให้สร้างทางเลือกการเดินทางให้มีมากขึ้นพร้อมกับสร้างระบบการเชื่อมต่อให้ง่ายต่อการเดินทาง สร้างความปลอดภัยเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางในพื้นที่ใจกลางเมืองและพื้นที่รอบสถานีโดยปรับปรุง 3 ส่วนประกอบหลักของระบบการเดินทางขนส่ง ได้แก่ 1) ที่จอดรถ ได้แก่การสร้างที่จอดรถร่วมและการพิจารณาข้อกำหนดที่จอดรถต่อจำนวนห้องของอาคารอยู่อาศัยรวม2) ระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ การปรับปรุงเส้นทางรถขนส่งมวลชนการเชื่อมต่อระหว่างศูนย์เศรษฐกิจด้วยระบบขนส่งมวลชนการสร้างประสบการณ์ที่ดีสำหรับการใช้ระบบขนส่งมวลชน หรือการสร้างข้อกำหนดให้ความสำคัญต่อการขนส่งมวลชนเป็นอันดับแรกเมื่อเทียบกับการใช้ยวดยานอื่นบนท้องถนนหรือแม้แต่การสร้างมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ใกล้สถานี และ 3) การออกแบบถนนเพื่อดึงดูดการเดินและการปั่นที่มีความสะดวกและปลอดภัยด้วยการใช้แนวทางการออกแบบถนนตามเกณฑ์ถนนแบบสมบูรณ์ (CompleteStreets) หรือการสร้างแผนการพัฒนาถนนให้ตอบสนองต่อกิจกรรมเศรษฐกิจและนันทนาการในระยะยาว


ขั้นตอนที่3 การสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่ให้มีความหลากหลาย

การสร้างรูปแบบกิจกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจทั้งพื้นที่ใจกลางเมืองและรอบสถานีขนส่งมวลชนให้มีความหลากหลายจะช่วยให้ผู้คนมีเหตุผลมากขึ้นในการเข้าใช้พื้นที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจอธิบายว่าใจกลางเมืองควรได้รับการออกแบบให้มีการใช้งานประมาณวันละ 18 ชั่งโมงโดยมีกิจกรรมตั้งแต่เช้า กลางวัน เย็น กลางคืน และในทุกๆ วันของสัปดาห์โดยกิจกรรมหลักควรจะเป็น กิจกรรมการเดินทาง การทำงาน การอยู่อาศัย และการค้าปลีกซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะสนับสนุนระบบการจ้างงานของพื้นที่รอบสถานีและใจกลางเมืองให้มีชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจและมีความหลากหลายของเศรษฐกิจในพื้นที่ควรสร้างที่อยู่อาศัยรูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอทั้งที่อยู่อาศัยของประชาชนรายได้ต่ำ ปานลางและของประชาชนทุกระดับซึ่งกลุ่มอยู่อาศัยเหล่านี้จะทำหน้าที่ในการสนับสนุนการค้าในร้านค้าปลีกและย่านการค้าในทุกๆวันเป็นกิจวัตรกลยุทธสำคัญที่สนับสนุนการสร้างกิจกรรมเศรษฐกิจให้มีความหลากหลายประกอบด้วย

กลยุทธ์ที่1 การส่งเสริมการสร้างงานในพื้นที่พื้นที่ทำงานและการทำงานเป็นกลไกสำคัญที่เกือบทุกพื้นที่รอบสถานีพื้นที่สองข้างทาง และพื้นที่ใจกลางเมืองนำมาใช้คนทำงานตามปกติจะเป็นลูกค้ากลุ่มหลักของธุรกิจในพื้นที่และเป็นลูกค้ากลุ่มหลักของระบบขนส่งมวลชนรวมทั้งกิจกรรมนันทนาการและวัฒนธรรมของย่านผู้วางผังจึงจำเป็นจะต้องใช้กลยุทธ์ดึงดูดให้เกิดการเข้าใช้พื้นที่ เช่นการแสดงให้คนทำงานมองเห็นว่า การทำงานในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจรอบสถานี พื้นที่สองข้างทางหรือพื้นที่ใจกลางเมืองเป็นการสนับสนุนให้พื้นที่เป็นย่านแห่งการเดินการสนับสนุนให้หน่วยงานและสาธารณูปโภคขยายโครงข่ายบริการและให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพการสนับสนุนสิทธิประโยชน์แก่คนทำงานให้ย้ายเข้ามาในพื้นที่การสนับสนุนให้เกิดกลุ่มธุรกิจเฉพาะ (businesscluster) การกระตุ้นให้ธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจเกิดใหม่ในพื้นที่เพิ่มพื้นที่ co-working spaces หรือการ shared office spaces สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยตั้งวิทยาเขตภายในพื้นที่สร้างเครือข่ายการค้าหรืองค์กรการพัฒนาที่ไม่หวังผลกำไรในพื้นที่เพื่อกระตุ้นการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่อาจกล่าวได้ว่าการส่งเสริมความหลากหลายของการจ้างงานของประชาชนทุกระดับเงินเดือนตามกลยุทธ์ที่กล่าวมาเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดทางหนึ่งในการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายในพื้นที่รอบสถานี พื้นที่สองข้างทาง และพื้นที่ใจกลางเมือง


กลยุทธ์ที่2 การสร้างที่อยู่อาศัยหลังใหม่ในพื้นที่รอบสถานีพื้นที่สองข้างทาง และพื้นที่ใจกลางเมืองผลการศึกษาจากหลายสำนักพบว่า คนทำงานในพื้นที่จะมีชีพจรในการใช้พื้นที่อยู่ระหว่าง5 ถึง 9 ชั่วโมงรวมชั่วโมงทำงานกับชั่วโมงพักผ่อนหย่อนใจดังนั้น จึงมีโอกาสสูงในการกระตุ้นให้ผู้ทำงานมีที่อยู่อาศัยใหม่ในพื้นที่ด้วยการสร้างที่อยู่อาศัยให้หลากหลายระดับราคาโดยผู้คนเหล่านั้นยังสามารถเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจได้ด้วยหากมีการออกแบบทางเดินที่มีคุณภาพเชื่อมต่อระหว่างที่อยู่อาศัยกับที่ทำงานและย่านค้าปลีกสำหรับกลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้ในการกระตุ้นการมีที่อยู่อาศัยใหม่ประกอบด้วยการปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดด้านผังเมืองและที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่การส่งเสริมอาคารสูงหรืออาคารที่สามารถผสมผสานกิจกรรมพาณิชยกรรมและการอยู่อาศัยได้ในอาคารเดียวกันหรือบริเวณเดียวกันการสนับสนุนทางการเงินในการซื้อหาที่อยู่อาศัยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมในการกระตุ้นการอยู่อาศัยและเศรษฐกิจการปรับปรุงฟื้นฟูอาคารประเภทต่างๆ ให้เอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัยและการทำงานเป็นต้น


กลยุทธ์ที่3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่หลากหลายให้กับธุรกิจและการค้าปลีกพื้นที่รอบสถานี พื้นที่สองข้างทาง และพื้นที่ใจกลางเมืองต้องถูกออกแบบให้เป็นสถานที่พิเศษในการอยู่อาศัย การทำงาน การกิน การดื่มการซื้อหา และการได้รับประสบการณ์ดีๆ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการออกแบบการค้าปลีกให้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ที่ตั้ง ระบบการสัญจร และสถาพแวดล้อมซึ่งทุกการออกแบบจะต้องก่อให้เกิดความสัมพันธ์กับความต้องการที่แตกต่างของผู้คนไม่ว่าพวกเขาจะเดินทางด้วย การเดิน การปั่น หรือการขนส่งมวลชนสามารถออกแบบสร้างสภาพแวดล้อมของธุรกิจและการค้าปลีกได้ด้วยการสร้างกลยุทธ์เพิ่มความหลากหลายในการค้าปลีก เช่น การมี sports stadium, live stylemall หรือ culturalcomplex ที่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายในทุกเวลาการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารเมืองกับผู้ประกอบการพาณิชยกรรมและค้าปลีกการออกแบบให้พื้นที่สองข้างทางเดินเป็นพื้นที่เข้มข้นของการค้าปลีกการใช้ประโยชน์จากที่ว่างด้วยการพัฒนาเป็นย่านประกอบกิจกรรมสังคมและการค้าการกระตุ้นให้ประชาชนอยู่อาศัยในพื้นที่แม้จะเป็นบางช่วงเวลาเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี การสร้างตลาดชั่วคราวตามช่วงเวลาหรือฤดูกาลการสร้างร้านค้าท้องถิ่นให้มีความโดดเด่นและการรักษาที่ตั้งของกิจกรรมค้าปลีกของท้องถิ่นให้เติบโตและก่อกำเนิดสิ่งใหม่ตลอดเวลา


สรุป

บทความตอนต่อไปจะกล่าวสรุปรายละเอียดการวางผังในพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจตามขั้นตอนที่เหลือและเสนอแนวทางการปรับปรุงทางกายภาพเพื่อให้ง่ายในการประยุกต์ใช้สำหรับท่านที่สนใจเอกสารฉบับเติม ขอให้อ่านจากหนังสือเรื่องแนวทางการวางผังและการออกแบบเมืองคนเดิน ซึ่งจะวางขายในเดือนมีนาคม 2560

เอกสารอ้างอิง

SmartGrowth America, (Re) Building Downtown A Guidebook for Revitalization:

https://smartgrowthamerica.org/work-with-us/.../rebuilding-downtown/







Create Date : 27 ธันวาคม 2559
Last Update : 27 ธันวาคม 2559 23:58:23 น. 0 comments
Counter : 1425 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.