ชมวิวทิวทัศน์ เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ทริปฟรี วิทยากรคุณภาพ กับถนนสายวัฒนธรรมเทศกาลรัตนโกสินทร์ ย่านบางลำพู เสาร์/อาทิตย์ ที่ 11และ12 ม.ค.



บนบล็อก //www.oknation.net/blog/thaitourismsociety/2014/01/09/entry-1

สัปดาห์สุดท้ายของถนนสายวัฒนธรรมเทศกาลรัตนโกสินทร์

มาร่วมแสวงหาเรื่องราวของคนดีกับเดินเท้าเยี่ยมยลย่านเก่ากับโครงการบางลำพูพูดได้ ตอน"คนดีศรีบางลำพู" เสาร์/อาทิตย์นี้

---------------------------------------

อาคารโรงพิมพ์คุรุสภา หรือ โรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช

สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๘ เป็นอาคารแบบบาวเฮาส์

หรือ International Style ทรงตัว L ที่เป็นฝีมือคนไทย

หลังแรกๆ ของโลก

(อาคารคอนกรีตด้านติดถนนพระสุเมรุ)

เป็นสถานที่ฝึกสอนช่างพิมพ์แห่งแรกในประเทศไทย

เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของการศึกษา

ในประเทศไทย เพราะตำรา หนังสือเรียน

และหนังสือวรรณคดีสำคัญของชาติ

ไม่ว่าจะเป็น พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน

อิเหนา รามเกียรติ์ ฯลฯ

ล้วนเคยผ่านการพิมพ์จากโรงพิมพ์คุรุสภาแห่งนี้

เมื่อกระทรวงศึกษาธิการหมดสัญญาเช่าพื้นที่กับกรมธนารักษ์

และได้ย้ายโรงพิมพ์ไปอยู่ที่โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

อาคารโรงพิมพ์คุรุสภาแห่งนี้จึงถูกทิ้งร้างในปี พ.ศ.๒๕๓๘

ประชาคมบางลำพู และสามารถผลักดัน

จนสามารถขึ้นทะเบียนอาคารโรงพิมพ์คุรุสภาแห่งนี้

เป็นโบราณสถาน จากกรมศิลปากร ในปี พ.ศ.๒๕๔๔

-----------------------------------------------

ขอเชิญร่วมร่วมเรียนรู้ประวัติศาสตร์เรื่องราวคุณธรรม และความดีสร้างสำนึกสาธารณะเพื่อการรักษาชาติบ้านเมือง กับกิจกรรมท่องเที่ยววิถีถิ่น

ตอน “ตามรอยประวัติศาสตร์สังคมกับคนดีศรีบางลำพู” ครั้งที่ 6 และ ครั้งที่ 7

วันเสาร์และวันอาทิตย์ที่ 11-12 มกราคม 2557

บ่ายสามโมงครึ่ง ถึงหกโมงเย็น ที่ สวนสันติชัยปราการ (หน้าต้นลำพูเดิม)ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร

-----------------------------------

15.30 น. พร้อมกันที่ สวนสันติ ไชยปราการถนนพระอาทิตย์ เล่าเรื่องราว คนดีศรี

- ทำความรู้จัก “คนดีศรีบางลำพู” คุณอรศรี ศิลปี และรับฟังเรื่องราวของพระยาวิศุกรรมศิลประสิทธิ์

(น้อย ศิลปี) ข้าราชการ ผู้จงรักภักดีในล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 และฟังเรื่อง คุณงามความดีในการกตัญญูรู้คุณพระเจ้าแผ่นดิน

- ออกเดินทางข้าม สะพานฮงอุทิศที่สร้างโดยขุนนางผู้มั่งคั่งและเอื้อารีต่อสังคม พระอนุวัตร์ราชนิยม

- เดินเท้าเข้าสู่ บ้านดุริยประณีต ดำริชอบสืบสานงานดนตรีไทยให้แผ่นดิน ฟังอัตชีวประวัติ ชีวิตดี ชีวิตงาม ของครูสุดจิตต์ดุริยประณีต

- เดินเท้าถึง ศาลเจ้าพ่อหนูฟังเรื่องความเสียสละของชาวบางลำพูในการก่อตั้งศาลแห่งนี้และการมุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม

- เดินเท้าเข้าสู่ มัสยิดจักรพงษ์ฟังเรื่องราวหลักการของศาสนาอิสลาม ที่กล่าวถึงการเสียสละและหน้าที่ต่อสังคมและบ้านเมือง

- เดินทางถึง วัดบวรนิเวศวิหารสักการะพระประธานและพระพุทธชินสีห์ ถ่ายทอดเรื่องความดี จากปริศนาธรรมจิตรกรรมบนเสาพาไล ในพระอุโบสถ

- เดินทางถึง มหามกุฏราชวิทยาลัยฟังอัตชีวประวัติ คุณหญิงส้มจีน อุณหะนันท์ ฟัง เรื่องราว ความดีความงามของชีวิตท่าน

- 18.30 น.กลับสู่สวนสันติชัยปราการ /เสร็จสิ้นกิจกรรม

และเชิญเที่ยวชมกิจกรรมต่างๆ และการแสดงศิลปวัฒนธรรม อาหารการกินและของที่ระลึกในงานปิดถนนพระอาทิตย์

********************************

ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมโดย ไม่เสียค่าใช้จ่าย

รับสมัครจำนวนจำกัดไม่เกิน 50 ท่าน

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียนได้ที่เฟสบุ๊คเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม

คลิกที่ลิงค์ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=608254885906716&set=a.246018572130351.55713.245979795467562&type=1&theater

โดยพิมพ์ชื่อ , หมายเลขโทรศัพท์หรืออีเมล์ติดต่อกลับในกระทู้นี้

หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ หมายเลข 02 – 224 0120

ในวัน และเวลาราชการ

ดำเนินการโดย ประชาคมบางลำพู, ประชาคมฟื้นฟูวัฒนธรรมย่านบางลำพู, ชมรมเยาวชนเกสรลำพู

ร่วมสนับสนุน โดยเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม , สำนักวัฒนธรรมกีฬา และการท่องเที่ยว




Create Date : 09 มกราคม 2557
Last Update : 9 มกราคม 2557 23:13:30 น. 1 comments
Counter : 1129 Pageviews.

 
thx u crab


โดย: Kavanich96 วันที่: 10 มกราคม 2557 เวลา:3:41:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




ภาพอดีต ภาพปัจจุบัน และอนาคต และความเป็นไปของเกาะรัตนโกสินทร์
เล่าเรื่องทริป ที่สุดแสนจะธรรมด๊า ธรรมดา แต่หลายคนอาจมองข้ามไป แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแล้ว มัน อเมซิ่ง มากมาย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.