"ความรู้" คู่ "ความงาม"
Group Blog
 
 
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
16 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
Skincare Basic #4 : Reading Ingredients List


คุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่า เครื่องสำอางตัวนั้นจะดีหรือไม่ดียังไงด้วยการอ่านคำโฆษณา มองจากภายนอกหรือป้ายเนื้อครีมลงไปบนผิว สิ่งที่บอกความเป็นจริงแก่คุณได้มากที่สุดก็คือ “Ingredients List”

ผลิตภัณฑ์ที่ดีควรเปิดเผยส่วนผสมโดยละเอียด กฎหมายในต่างประเทศกำหนดให้เครื่องสำอางต้องแสดงส่วนผสมทั้งหมดโดยเรียงลำดับจาก “มากไปน้อย” ส่วนผสมที่อยู่ในอันดับต้นแปลว่ามันมีอยู่มากที่สุด และส่วนผสมที่อยู่หลังสุดแปลว่ามันมีอยู่น้อยที่สุด กฎหมายไทยยังหละหลวมในเรื่องนี้มาก เครื่องสำอางที่ผลิตในไทยส่วนมากจะบอกแค่ส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งไม่สามารถรู้ได้เลยว่าส่วนผสมตัวที่เหลือมีอะไรบ้าง หรือใส่มามากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ดี กฎหมาย อย. ของไทยในอนาคตจะมีการบังคับให้แสดงส่วนผสมโดยละเอียดแล้วขอรับ


Photobucket



Ingredients List จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนก็คือ

Active Ingredients ในส่วนนี้จะใช้แสดงสารออกฤทธิ์สำคัญ ในส่วนนี้จะมีการระบุความเข้มข้นเป็นเปอร์เซ็นต์มาให้ด้วย ตัวอย่างสารที่จะอยู่ในส่วนนี้อย่างเช่น สารกันแดด

Other Ingredients เป็นส่วนผสมอื่น ๆ ที่กฎหมายไม่ระบุว่าต้องแสดงเป็น Active Ingredients เช่น น้ำ, ตัวทำให้ส่วนผสมข้น, สารบำรุง, น้ำหอม, สี, สารกันเสีย เป็นต้น





Cosmetic Ingredient Dictionary



ส่วนผสมที่ประกอบเป็น Ingredients List นั้นเป็นชื่อทางเคมีที่เราไม่คุ้นหู การที่จะรู้ว่าสารแต่ละตัวมีหน้าที่อะไร มีประโยชน์หรือโทษกับผิวอย่างไรบ้าง ก็ต้องเอาชื่อส่วนผสมตัวนั้นไปตาม Cosmetic Ingredient Dictionary ซึ่งสามารถสั่งซื้อตามร้านหนังสือใหญ่ ๆ

Photobucket



อีกทางเลือกที่แสนสะดวกและง่ายดายก็คือการใช้บริการทาง Internet ซึ่งส่วนใหญ่จะฟรี (แต่ก็มีบ้างที่ต้องเสียเงินเพื่อดูรายละเอียดเบื้อลงลึก)


Cosmetic Ingredient Dictionary
//www.cosmeticscop.com/learn/cosmetic_dictionary.asp?id=6&letter=A

Cosmetic Safety Database
//www.cosmeticdatabase.com

Safety Information about Cosmetics and Personal Care Products
//www.cosmeticsinfo.org

Natural Medicines Comprehensive Database
//www.naturaldatabase.com

Health and Drug Information
//www.drugdigest.org

ปัจจุบันเริ่มมี Cosmetic Ingredient Dictionary มากขึ้นใน Internet แต่ไมได้หมายความว่าข้อมูลในเวปเหล่านั้นจะน่าเชื่อถือเสมอไป Cosmetic Ingredient Dictionary ในเวปไซท์ที่ขายเครื่องสำอางส่วนใหญ่จะให้ข้อมูลที่ไม่ค่อยเป็นกลาง ส่วนมากมักจะบอกแต่ด้านดีของสารที่ผสมในผลิตภัณฑ์ที่เขาขาย จึงจำเป็นที่จะต้องหาข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งเพื่อมาเปรียบเทียบ





Technical Terms for Ingredients List


ส่วนผสมแต่ละตัวก็จะมีหน้าที่หลัก ๆ ต่างกันไป บ้างก็เป็นตัวทำให้ส่วนผสมข้นขึ้น บ้างก็เป็นตัวเคลือบผิว บ้างก็มีหลายคุณสมบัติในหนึ่งเดียว คำศัพท์พื้นฐานที่ควรรู้ในการอ่าน Ingredients List ก็มีดังนี้


Abrasive / Scrub

เป็นส่วนผสมที่ใช้ขัดผิวเพื่อขจัดเอาเซลล์ผิวเสื่อสภาพให้หลุดออกไป ส่วนผสมของ Scrub ที่ดีควรจะมีลักษณะกลมมนไม่มีเหลี่ยมมุมคม ๆ ที่จะบาดผิวและก่อความเสียหายทำให้ผิวระคายเคืองได้ เม็ด Scrub ที่ทำจากพลาสติก Polyethylene หรือของจากธรรมชาติอย่าง Jojoba Beads นั้นมีความกลมมน จึงปลอดภัยกับผิวมากกว่า Scrub ที่ทำจาก Alumina / Aluminum Oxide หรือพวกเปลือกหรือเมล็ดผลไม้บดละเอียด ที่เมื่อส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์และจะพบว่ามีเหลี่ยมมุมที่คมมาก


Absorbent

เป็นส่วนผสมที่ช่วยดูดซับความมัน มีอยู่หลายแบบทั้ง ทั้งแป้ง โคลน หรือซิลิโคน และสารสังเคราะห์ เช่น Kaolin, Bentonite, Magnesium Aluminum Silicate, Talc, Silica, Nylon-12 และ Cyclomethicone เป็นต้น

แป้งที่ได้มากจากพืชอย่างแป้งข้าว แป้งข้าวโพด แป้งมัน แป้งหัวบุก ก็สามารถผสมในเครื่องสำอางเพื่อดูดซับความมันได้ แต่เนื่องจากมันเป็น Food Derivative ที่เป็นอาหารอย่างดีแก่แบคทีเรีย มันจึงก่อผลเสียกับผิวได้จึงควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมดูดซับความมันที่ทำมาจากพืช


Anti-bacteria

ส่วนผสมที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียบนผิว ตัวที่พบบ่อยก็คือ Triclosan ซึ่งมักจะผสมในผลิตภัณฑ์รักษาสิวหรือ Cleanser เป็นส่วนใหญ่ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมฆ่าเชื้อแบคทีเรียเป็นประจำมีโอกาสทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อยาได้ คุณจึงควรใช้เป็นช่วงระยะเวลาสั้นหรือ หรือหยุดใช้หลังจากได้ผลเป็นที่พอใจแล้ว


Antioxidant

ช่วยลดผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอนุมูลอิสระ รายละเอียดเพิ่มเติมจะแสดงอยู่ในบทถัด ๆ ไป สารแอนติออกซิแดนท์มีมากมายหลายตัว ทั้งวิตามิน สารสกัดจากพืช น้ำมันบางชนิด เอมไซม์บางชนิด และเปปไทด์บางตัว แต่ละตัวก็มีประสิทธิภาพมากน้อยไม่เท่ากัน ผลิตภัณฑ์ที่ดีควรมีสารแอนติออกซิแดนท์หลาย ๆ ตัวรวมกัน

ถ้าสาร Antioxidant ใส่มาในปริมาณที่น้อยมาก หรืออยู่หลังสารกันเสีย มันก็จะไม่มีประสิทธิภาพในการบำรุงผิว จะใช้เป็นตัวกันเสียของผลิตภัณฑ์มากกว่า


Cell-Signaling Substance / Cell-Communicating Ingredients

เป็นส่วนผสมที่ช่วยในสื่อสารกับเซลล์ผิว บอกให้เซลล์ผิวที่จะเกิดใหม่นั้นทำงานและมีรูปทรงที่ปกติสมบูรณ์ ส่วนผสมที่พบบ่อยก็อาธิเช่น Retinol, Niacinamide, Palmitoyl Oligopeptide เป็นต้น


Emollient and Occlusives

จริง ๆ แล้ว Emollient กับ Occlusives นั้นคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน แต่ด้วยความคล้ายที่แทบแยกกันไม่ออกเลยขอจับมายัดไว้ด้วยกันเลยจะดีกว่า

สารกลุ่มนี้จะช่วยเคลือบผิว ทำให้ลื่นผิว ลดการสูญเสียน้ำออกจากผิว ตัวอย่างเช่น Mineral Oil หรือน้ำมันจากพืชต่าง ๆ Wax หรือ Petroleum Jelly เป็นต้น


Emulsifier

เป็นตัวเชื่อมประสานน้ำกับน้ำมันให้เข้ากัน มักใส่เพื่อเชื่อให้ส่วนผสมน้ำกับน้ำมันใส่ส่วนผสมเข้ากันได้ง่าย ถ้าใส่ใน Cleanser หรือ Makeup-Remover ก็จะทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถทำคามสะอาดน้ำมันบนผิวได้ดีหรือทำให้เนื้อผลิตภัณฑ์ล้างออกด้วยน้ำได้ง่ายขึ้น (เช่น Cleansing Oil)


Film-Foaming Agent

เป็นตัวที่ทำให้ผลิตภัณฑ์เมื่อแห้งแล้วจะเป็นฟิลม์บาง ๆ เพื่อเคลือบผิวเอาไว้ ช่วยเก็บกักความชุ่มชื้นและทำให้ผิวเรียบลื่นขึ้น ส่วนผสมจำพวกนี้มักมีชื่อในทำนอง PVP หรือ acrylates หรือ acrylamides หรือ copolymers ทั้งหลายแหล่ แต่ส่วนผสมกลุ่มนี้ก็อาจกระตุ้นการระคายเคืองได้ในบางคนเหมือนกัน


Fragrance / Perfume

น้ำหอมถูกใส่เพื่อทำให้กลิ่นของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องใจน่าใช้มากขึ้น แต่มันเป็นสารก่อการระคายเคืองและไม่มีประโยชน์ต่อผิวใด ๆ เลย หลีกเลี่ยงได้เป็นดี ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรมีอยู่ในลำดับท้ายๆ ของ Ingredients List

น้ำหอมที่ได้มาจากธรรมชาติ อย่างพวก Fragrance Plant Extract, Fragrance Oil หรือ Essential Oil นั้นก่อการระคายเคืองได้มากกว่าและง่ายกว่าน้ำหอมที่ได้มาจากการสังเคราะห์ เจอ BA ที่ไหนบอกว่า “น้ำหอมของเราได้มากจากธรรมชาติ จึงปลอดภัยกับผิว” ก็เอาส้นสูงตบปากสั่งสอนได้เลย (พูดเล่นนะขอรับ อย่าไปทำจริง ๆ ล่ะ)


Humectant / Water-Binding Agent

Humectant เป็นส่วนผสมที่อุ้มน้ำได้ดี จึงช่วยดึงน้ำเข้าสู่ผิวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นได้ ส่วน Water Binding Agent เป็นตัวที่ช่วยเคลือบปิดผิวไม่ให้ความชุ่มชื้นเล็ดลอดออกไป สองตัวนี้ควรใช้คู่กันเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด แต่ที่จับมายัดรวมกันเพราะเดี๋ยวนี้ข้อมูลมันตีกันมั่วจนแยกแทบไม่ออกแล้วว่าตัวไหนเป็น Humectant หรือ Water-Binding Agent แต่ไม่ว่ามันจะเป็นอะไร มันก็ช่วยเรื่องความชุ่มชื้นเหมือนกันทั้งนั้น

นอกจากนี้ Water-Binding Agent ก็อาจจะตีความว่าเป็น Natural Moisturizing Factors ได้เหมือนกัน สารในกลุ่มนี้เช่น Amino Acids, Ceramides, Glycerin , Hyaluronic Acid, Cholesterol, Fatty Acids, Triglycerides, Phospholipids, Glycosphingolipids, Urea, Linoleic Acid, Glycosaminoglycans, Mucopolysaccharide, Sodium PCA เป็นต้น


Preservative

ก็คือสารกันเสียนั่นเอง เครื่องสำอางจำเป็นต้องมีสารกันเสีย โดยเฉพาะเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมที่ได้มากจากพืชหรือมาจากธรรมชาติ เพราะสารพวกนี้มีโอกาสที่จะทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ง่าย

สารกันเสียในกลุ่ม Paraben นั้นถูกใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด และก็ยังเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าปลอดภัย และเครื่องสำอางก็ผสมสารกันเสียในปริมาณที่น้อยมาก ความเชื่อว่าสารกันเสียเป็นสิ่งที่ไม่ดีกับผิวถูกปลุกกระแสขึ้นจากบริษัทเครื่องสำอางบางยี่ห้อที่ชูจุดขายว่าปลอดสารกันเสีย จึงเอาข้อมูลการทดสอบเรื่องผลกระทบของสารกันเสียที่มีต่อผิวมาแสดง โดยไม่ได้บอกว่า การทดสอบเหล่านั้นใช้สารกันเสียในความเข้มข้นมากกว่าที่ใช้กันปกติในเครื่องสำอางหลายสิบเท่า

แต่ถ้าคุณไม่ต้องการใช้สารกันเสียกลุ่ม Paraben ก็ยังมีสารกันเสียตัวอื่นอีกมากมายให้เลือกใช้


Slip Agent / Penetration Enhancer

เป็นตัวช่วยนำพาให้ส่วนผสมซึมลงผิวได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเรื่องความชุ่มชื้น ให้เนื้อผลิตภัณฑ์ลื่นและทาได้ง่าย สารที่พบบ่อยในกลุ่มนี้ก็คือ Propylene Glycol และ Butylene Glycol เป็นต้น


Solvent

เป็นตัวทำละลาย ส่วนใหญ่ก็เป็น น้ำ (Water) แอลกอฮอล์ หรือซิลิโคนเพื่อช่วยละลายส่วนผสมที่ละลายในน้ำมัน


Stabilizer

เป็นตัวที่ทำให้ส่วนผสมคงตัว ยกตัวอย่างเช่น Emulsion Stabilizer ก็ช่วยทำให้ส่วนผสมน้ำกับน้ำมันที่ผสมกันแล้วไม่แยกตัวออกจากกันอีก


Surfactant

ย่อมาจากคำว่า SURFace ACTive AgeNT แปลตรงตัวก็คือ “สารลดแรงตึงผิว” ทำหน้าที่ง่าย ๆ ในการทำให้ส่วนที่เป็นน้ำ กับส่วนที่ไม่เข้ากับน้ำสามารถมาผสมกันได้ ใช้ประโยชน์หลัก ๆ ในการเป็นสารทำความสะอาด (Detergent) บางทีก็จะใช้เป็นตัวช่วยประสานส่วนผสมในครีมหรือโลชั่นด้วยเหมือนกัน

Surfactant ก็มีทั้งตัวที่อ่อนโยนและตัวที่ไม่ดีกับผิว รายละเอียดจะมีเพิ่มเติมในบทต่อไป


Thickening Agent / Thickener

เป็นตัวทำให้ส่วนผสมข้นขึ้น





Where to Find “Ingredients List”


สำหรับท่านที่อ่านส่วนผสมจนชินและจำได้แล้ว การไปเดินตามร้านขายยา ร้านขายของชำ หรือตามเคาเตอร์เครื่องสำอาง คุณก็สามารถปรายตาอ่านส่วนผสมที่ตรงนั้นได้สบาย ๆ แต่สำหรับผู้ที่ยังใหม่ ยังคุ้น จำชื่อส่วนไม่ได้และประโยชน์ของมันไม่ได้ ก็ต้องมองหาแหล่งที่มี “Ingredients List” บอกมาโดยละเอียด เพื่อที่เราจะได้เปิดเวปไซท์เพื่อตรวจส่วนผสมทีละตัวไป

แบรนด์เครื่องสำอางบางแบรนด์ มี Ingredients List บอกเอาไว้โดยละเอียดในเวปไซท์ของตน ยกตัวอย่างเช่น

- Avon : www.avon.com
- Boots : www.boots.com
- Jurlique : www.jurlique.com
- Kiehl’s : www.kiehls.com
- Paula’s Choice : www.paulaschoice.com
- Philosophy : www.philosophy.com
- The Body Shop : www.thebodyshop.com


เวปไซท์ที่ขายเครื่องสำอางออนไลน์บางแห่งก็มีระบุ Ingredients Listของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวมาให้เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น

- www.drugstore.com

- www.dermadoctor.com


นอกจากนี้ยังสามารถเยี่ยมชมเวปไซท์ส่วนบุคคลที่รวบรวม Ingredient List มาให้เราได้ชมกันฟรี ๆ (ใจดีมากกกก)

//phoebe.pn-np.net : แหล่งรวบรวม Skin-care Ingredients ที่ใหญ่มหึมา โดยคุณ Phoebe ของเรานี่เอง

อีกวิธีหนึ่งก็คือเอากล้องไปถ่ายรูปส่วนผสมข้างกล่อง แล้วค่อยกลับมาอ่านที่บ้าน วิธีนี้อาจจะต้องใช้การ “แอบ” หรือ “ขออนุญาต” ก่อน ถ้าเขาให้ก็ดีไป ถ้าไม่ให้ก็ค่อยหาวิธีการอื่นกันต่อไป...


หลังจากดูส่วนผสมเป็นแล้ว เราก็ต้องเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมอีกด้วย รายละเอียดเป็นยังไงกรุณาอ่าน Skincare Basic #5 : Choose the Right Container ซึ่งเป็นบทต่อไป




Create Date : 16 กันยายน 2551
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2551 2:21:52 น. 24 comments
Counter : 23679 Pageviews.

 
ดีจัง รวบรวมข้อมูลส่วนที่เป็นความรู้แยกไว้เลยแบบนี้
เพราะเพิ่งถามไปเมื่อวันก่อนเหมือนกัน แล้วก็ได้คำตอบแล้ว
มาเจออันนี้ยิ่งละเอียดเข้าไปอีก ชอบนะ


โดย: สรุป...เหมือนเดิม วันที่: 16 กันยายน 2551 เวลา:19:45:38 น.  

 
ติดตามต่อไปเรื่อยๆค่ะ ความรู้ทั้งนั้น ขอบคุณนะคะ


โดย: sriwis IP: 125.26.163.62 วันที่: 16 กันยายน 2551 เวลา:22:02:19 น.  

 
มีประโยชน์มากมาย ขอบคุณค่ะ ^^


โดย: La_Siesta วันที่: 16 กันยายน 2551 เวลา:22:12:08 น.  

 
มีประโยชน์มากมากเลยค่า TAT"//

คุณปูเป้ค่ะ เวป Cosmetic Safety Database นี่มันหาส่วนผสมยังไงค่ะ งงมากเลย เห็นมีหลายตัวเลือกเหลือเกินงงจริงๆ - -


โดย: puppet IP: 222.123.86.120 วันที่: 17 กันยายน 2551 เวลา:19:41:10 น.  

 
ด้านบนตรงกลางจะเห็น Search Box อยู่ขอรับ พิมพ์ส่วนผสมไปแล้วก็คลิกทีนึงให้มันหาให้ มันก็จะ List รายการค้นหามาให้เราขอรับ


โดย: PuPe_so_Sweet วันที่: 17 กันยายน 2551 เวลา:19:52:51 น.  

 
ว่ะ55555 เจอประจำน้ำหอมจากธรรมชาติ ล่าสุดไปเจอเค้าบอกว่าบลัชออนครีมเค้าอ่อนโยนต่อผิวแพ้ง่าย แต่กลิ่นหอมแรงมาก เลยขอเค้าดูที่ส่วนผสมก็มีน้ำหอม เค้าก็บอกว่าเป็ฯอโรม่าธรพี เอ้ยเธอราพี่ สีก็สวยดีนะก็ไม่เอาล่ะ มีออยตรึมอีกต่างหาก เฮ้อออ หน้าเลยไม่มีสีสันอีกต่อไป


โดย: cactus_demon วันที่: 21 กันยายน 2551 เวลา:5:23:32 น.  

 
เจอ BA ที่ไหนบอกว่า “น้ำหอมของเราได้มากจากธรรมชาติ จึงปลอดภัยกับผิว” ก็เอาส้นสูงตบปากสั่งสอนได้เลย

อ่านแล้วก๊ากเลยค่ะ 555 ถ้าตบจริงสงสัยได้ช้ำเลือดช้ำหนองไปหลายรายแล้ว


โดย: kisekimeru วันที่: 21 กันยายน 2551 เวลา:19:46:58 น.  

 
กำลังสงสัยเรื่องพวกนี้อยู่เลย ขอบคุณที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้นะคะ


โดย: Charming barbie วันที่: 2 ตุลาคม 2551 เวลา:13:08:23 น.  

 
มีประโยชน์มากมายค่ะ ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะ


โดย: Benjy IP: 64.214.66.33 วันที่: 3 ตุลาคม 2551 เวลา:9:31:49 น.  

 
ทีนี้จะได้เลือกสกินแคร์เองเป็นซะที ^^"

ขอบคุณมากๆค่ะ...


โดย: cHoCz วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:45:29 น.  

 
น้ำหอมที่ได้มาจากธรรมชาติ อย่างพวก Fragrance Plant Extract, Fragrance Oil หรือ Essential Oil นั้นก่อการระคายเคืองได้มากกว่าและง่ายกว่าน้ำหอมที่ได้มาจากการสังเคราะห์ เจอ BA ที่ไหนบอกว่า “น้ำหอมของเราได้มากจากธรรมชาติ จึงปลอดภัยกับผิว” ก็เอาส้นสูงตบปากสั่งสอนได้เลย 55555 ชอบๆๆๆๆๆๆ ได้ความรู้จิงๆนะเนี่ย นึกว่าของจากธรรมชาติที่ไม่ผ่านการสังเคราะห์จะดีทุกอย่าง......ส้นสูงตบปาก 555555 มันก็สมควรโดนล่ะค่ะ อิอิ


โดย: Modtanoy (blackmay ) วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:16:19:12 น.  

 
ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากมาย

ขอบคุณค่ะ^^


โดย: Ploy IP: 58.9.84.24 วันที่: 21 มีนาคม 2552 เวลา:17:11:13 น.  

 
ขอขอบคุณ ก่อนอื่นเรยคร้า
ที่ได้ ค้นพบ เว็ปของคุณ และให้ความรู้ มากกกกเรยจ้า
อันไหนสำคัญก้อจดใส่สมุดไว้ เพราะสมองไม่ค่อยจะมี
หดหายไปตามอายุ ต้องรีบ บอกลูกหลาน เหลน และเพื่อนๆๆรักสวยรักงามกันให้รู้จักคุณ phoebe
ให้มาหา ความรู้ ความงาม ก่อน ใช้ ค.ส.อ กันจะได้ รู้การใช้ เหมาะกับผิว และข้อควรระวัง และอีกฯลฯ
(ทำให้อิชั้น ไม่เป็นอันทำงาน เฝ้าแต่หน้าจอติดลมเรยอ่ะ)


โดย: สาวพันปี IP: 118.173.155.34 วันที่: 13 มิถุนายน 2552 เวลา:8:05:22 น.  

 
ขอบคุณมากๆ ค่ะ


โดย: yuiza IP: 192.168.1.115, 180.180.27.143 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2552 เวลา:15:03:04 น.  

 
cocamide mea เป็นสารอะไรและมีอันตรายไหม

แล้วมันต่างจาก cocamide dea ยังไง


โดย: อยากรู้ IP: 58.8.154.152 วันที่: 31 ธันวาคม 2552 เวลา:19:27:56 น.  

 
มันใช้เป็นตัวเพิ่มฟองในสูตร ก็มีโอกาสระคายเคือง

ต่างกันแค่เกี่ยวกับโมเลกุล DEA (diethanolamine ) หรือ MEA (monoethanolamine) เท่านั้น


โดย: PuPe_so_Sweet วันที่: 5 มกราคม 2553 เวลา:23:15:22 น.  

 
โอ้ยตาย คนที่มีปัญหาเรื่องภาษา ก็แย่น่ะสิเนี่ยย TT^TT


โดย: Snow IP: 10.0.3.253, 125.27.43.108 วันที่: 14 ตุลาคม 2553 เวลา:23:54:54 น.  

 
ขอบคุณมากๆค่ะมีประโยชน์มากๆเลยค่ะ


โดย: Lin IP: 182.232.166.35 วันที่: 20 ตุลาคม 2553 เวลา:12:57:39 น.  

 
อยากให้รีวิว เครื่องสำอาง เดอมาโลจิกาด้วยคะ


โดย: pueng IP: 115.87.238.121 วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:18:07:47 น.  

 
พี่ปู้เป้คะ ช่วยดูส่วนประกอบของเซรั่มทาหน้าให้หนูหน่อยค่ะ แล้วจะเข้ามาดูคำตอบนะคะ
1.เซรั่มทาหน้า
Ingredients: Mulberry standardized extract 5% , Amla standardized extract 5% , Niacinamide(vitamin B3) 5% , Beta-Arbutin 3% , Kojic dipalmitate 3% , Alpha-bisabolol, Organic serum agent ,food grade preservative

2.กันแดด
Ingredients: Micronized TiO2 , Zinc Oxide , Silicone and silica ,Liposome Q10 10% , High Linoleic acid safflower oil 5% , Niacinamide(vitamin B3) 5% , Gamma Oryzanol powder 3% ,food grade preservative


โดย: tammey IP: 192.168.1.115, 183.89.159.31 วันที่: 17 พฤษภาคม 2554 เวลา:19:05:56 น.  

 
link เปิดดูไม่ได้เลยนะ


โดย: PASSENGERS ON BOARD IP: 125.24.163.30 วันที่: 8 ตุลาคม 2554 เวลา:22:25:21 น.  

 
ความรู้ทั้งนั้น thx kaa


โดย: palm-mii@msn.com IP: 202.28.182.5 วันที่: 23 มีนาคม 2555 เวลา:14:57:05 น.  

 
อยากทราบเรื่องซัลเฟอร์ในการรักษาสิว กลไกลการทำงาน ยี่ห้อที่แนะนำค่ะ ใช้ร่วมกับaha bha diffrin ได้ไหมค่ะ


โดย: กิ่ง IP: 223.206.82.26 วันที่: 8 สิงหาคม 2556 เวลา:20:23:38 น.  

 
Cocamide dea กับ mea ใช้ได้ถึงกี่เปอเซนครับ


โดย: Ch IP: 1.47.68.25 วันที่: 17 กรกฎาคม 2561 เวลา:17:02:39 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

PuPe_so_Sweet
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1829 คน [?]




Advertisement


About Pupe_so_Sweet
Pupe_so_Sweet on facebook
Pupe_so_Sweet on Youtube
vr AHA project


หากมีคำถามหรือต้องการคำปรึกษา
สามารถทิ้งคำถามไว้ได้ที่หน้า Wall ของ Facebook ครับ



Web Counter


Counter Start on 29 September 2008


Search by Google

ค้นหาข้อมูลและรีวิวผลิตภัณฑ์ที่ต้องการภายในBlog ของปูเป้ได้ไม่ยากด้วย Google Search Box ด้านล่างนี้เลยขอรับ

Custom Search

Friends' blogs
[Add PuPe_so_Sweet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.