เหตุใดเราจึงถวายผ้าห่มพระธาตุเจดีย์
เหตุใดเราจึงถวายผ้าห่มพระธาตุเจดีย์

    การห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ กับการห่มผ้าพระพุทธรูปมันเหมือนกันหรือต่างกันยังไง?

    การห่มผ้าพระธาตุเจดีย์กับห่มผ้าพระพุทธรูปมีความหมาย อานิสงส์ และประโยชน์แตกต่างกัน

    การห่มผ้าพระพุทธรูป หากว่าจะพูดเข้าใจง่ายๆ ก็คือ กลัวว่าท่านหนาว หรือร้อน จึงไปห่มผ้าให้กับพระพุทธรูป

    แต่การห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ จะมีใจความของการห่มอยู่ ๓ อย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ฉะนั้น การห่มผ้าพระธาตุเจดีย์จึงได้รับอานิสงส์ที่มากกว่า เพราะว่าครบเครื่องกว่า เป็นเพราะว่าดังนี้

    ๑. ในพระธาตุเจดีย์ก็มีพระบรมสารีริกธาตุ (กระดูก) ของพระพุทธเจ้าอยู่ ก็ถือว่าเป็นพระพุทธ และ

    ๒. ในพระธาตุเจดีย์ก็มีพระธรรมอยู่ในพระธาตุ ถ้าไม่มีพระธรรมพระธาตุเจดีย์ก็ดำรงอยู่ไม่ได้ 

    ๓. พระธาตุเจดีย์ก็มีพระสงฆ์เป็นผู้นำการก่อสร้าง เป็นผู้ดูแล 


    นี่แหละมีครบ ถ้ามีไม่ครบก็ไม่มีพระธาตุเจดีย์ แต่ถ้าหากมีคนแย้ง ควรตอบว่าพระพุทธรูปก็มีพระสงฆ์เป็นผู้ดูแลอยู่นี่?

    ด้วยเหตุที่ว่าพระพุทธรูปเป็นตัวแทนเฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น มีแค่หนึ่งเดียว แต่พระธาตุเจดีย์เป็นตัวแทนทั้ง ๓ อย่าง คือทั้งพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ฉะนัั้นคนเราต้องเข้าใจ "นิมิตหมาย" "ความหมาย" "ปริศนาธรรม" ของสิ่งนั้นๆ

    เจตนาในการถวายผ้าห่มพระพุทธรูปคืออะไร?

    เจตนาที่ถวายผ้าห่มพระพุทธรูป คือ ถวายด้วยความศรัทธา ด้วยความนับถือ ด้วยความรักของเราที่มีต่อพระพุทธเจ้า นี่แหละเจตนาจึงต่ำกว่าถวายผ้าห่มพระธาตุเจดีย์

    แต่การห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ เป็นเจตนาที่เราจะส่งเสริมให้สิ่งนี้ (พระธาตุเจดีย์) ได้อยู่คงทนต่อไป สืบเนื่องต่อไป ชั่วกัลปาวสาน

    การห่มผ้าพระธาตุเจดีย์เป็นนิมิตแสดงออกถึงเราหวงแหน รู้คุณค่า หรือมีเจตนาอยากจะดำรงรักษาให้คงอยู่ ปริศนาธรรมความหมายจึงแตกต่างกัน ที่เจตนารมณ์ดำรงรักษาให้อยู่ อยู่ให้ครบทั้ง ๓ อย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

    คำว่า "พระพุทธ" เราอย่าไปแยกความหมายว่าเป็นเฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น ถ้าตีความหมายอย่างนี้จะแคบเกินไป เอาแค่พระพุทธเจ้าที่ผ่านมามีมากแล้วหลายพระองค์ ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวังสะ จริยาปิฎก กล่าวว่า มีพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ นัั้บตั้งแต่พระพุทธเจ้ากาลปัจจุบันนี้ได้รับการพยากรณ์จะเป็นองค์พระพุทธเจ้าในอนาคตกาล

    ส่วนภัทรกัปนี้ คือ มีพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์

    ๑. พระกกุสันธพุทธเจ้า
    ๒. พระโกนาคมนพุทธเจ้า
    ๓. พระกัสสปพุทธเจ้า
    ๔. พระศรีศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)
    ๕. พระเมตไตยพุทธเจ้า (องค์อนาคต)


    นี่นับเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าโคดมองค์ปัจจุบันนี้เท่านั้น นอกนัั้นยังมีอีกนับไม่ถ้วน พระพุทธเจ้ามีดั่งเม็ดทรายในทะเล

    แต่ถ้าเราห่มผ้าให้กับพระพุทธรูป นี่แหละเราห่มเฉพาะพระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า

    แต่ถ้าเราห่มผ้าพระธาตุเจดีย์ เป็นการห่มผ้าให้กับพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๘ พระองค์ นี่แหละต่างกันไหม? ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมตรงนั้นหรือภูมิตรงนั้นเขายกให้ถึงตรงนี้ แต่ถ้าห่มผ้าฯให้กับพระพุทธรูป เป็นการห่มให้กับพระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นเอง

    ฉะนั้น เราห่มผ้าฯ ห่มให้กับพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๘ พระองค์ และใครปฏิบัติถึงธรรมแห่งความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย ก็ได้รับการถวายห่มผ้าพระธาตุเจดีย์นี้หมด นี่แหละสูงกว่า ได้บุญกุศลมาก

    สำหรับ พระธรรม เราจะแยกแยะอย่างไร?

    พระธรรมก็คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละรุ่นที่สืบต่อกันมา เราอย่าคิดว่า พระธรรมที่เราเรียนรู้อยู่นี้เป็นของพระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเดียว อย่างนี้ไม่ใช่ ธรรมะก็มีการสืบต่อกันลงมา ฉะนั้น จึงสรุปว่า "พระธรรม" จริงๆ แล้วเป็นธรรมะ เป็นของธรรม ธรรมย่อมสูงกว่า ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้าอย่างเดียว ไม่ใช่เป็นธรรมะของพระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว แต่เป็นธรรมที่สืบเนื่องต่อๆ กันมาถึงปัจจุบัน แต่ละพระองค์ก็ศึกษาค้นคว้ากันมา แล้วก็สืบกันมาเรื่ีอยๆ จนในที่สุดสามารถเข้าใจได้

    เรารู้ธรรมะ เราเอาธรรมะมาจากไหน?

    บางคนอาจจะตอบว่า รู้ธรรมะเอามาจากพระไตรปิฎก หรือจากหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง

    ถ้าเอาธรรมะมาจากหนังสือเล่มหนึ่ง แล้วหนังสือเล่มนี้ใครแต่ง? สมมติว่าสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) แต่ง แล้วหลวงพ่อประยุทธ์ท่านแต่งแล้วท่านไปเอาธรรมะหรือหนังสือนี้มาจากไหน? นี่แหละเราก็เรียงลำดับขึ้นไปเรื่อยๆ ก็ไปเอามาจากพระพุทธเจ้า ไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าอยู่ดีๆ แล้วเราจะบอกว่าเราเป็นเองอย่างนี้ไม่ได้

    แสดงว่า "พระธรรม" ก็คือเป็นธรรมะของ "ธรรม" เพราะธรรมะเป็นเสี้ยวหนึ่งของธรรม บางคนพูดว่า "พุทธธรรม" คำนี้ยิ่งอ่อนไปมาก ต้องพูดว่า "ธรรม" เพราะว่าพระธรรมอยู่ใน"ธรรม"

    พระสงฆ์ คือ "ผู้ปฏิบัติธรรม" "ผู้บำเพ็ญ" ถ้าจะให้ความหมายที่กว้างกว่านี้ก็คือ หมายความว่า แม้ว่าบุคคลคนนั้นไม่ได้โกนหัว ไม่ได้นุ่งห่มผ้ากาสาวพัตร์ หรือผ้าเหลือง แต่เห็นประโยชน์ของธรรมะ และปฏิบัติธรรมะ ทนุบำรุงธรรมะ นี่ก็ได้ชื่อว่าเป็นพระสงฆ์ คือได้ทำหน้าที่ตรงนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตรงนั้น ไม่ว่าจะมีรูปแบบยังไงถ้าได้ปฏิบัติธรรมะก็ได้ชื่อว่าเป็นพระสงฆ์ แม้กระทั่งว่า สัตว์ตัวหนึ่งก็เป็นพระสงฆ์ได้ ถ้าสัตว์ตัวนั้นได้ทำหน้าที่ดูแลพระพุทธ พระธรรม และปฏิบัติธรรมะ

    พระสงฆ์ แปลว่า ผู้ที่อุทิศกายและใจ เพื่อปฏิบัติธรรมะ รู้ซึ้งประจักษ์ในธรรมนัั้นแล้ว   และนำธรรมะมาเผยแผ่ สอนแก่ผู้อื่น  และแม้แต่หมาหนึ่งตัว แมวหนึ่งตัว ไก่หนึ่งตัวก็เป็นพระสงฆ์ได้หากว่าเขาได้ทำหน้าที่ดูแลพระพุทธ ดูแลพระธรรม ปฏิบัติตามธรรม ปฏิบัติธรรม

    แม้แต่โจรที่ถูกคุมขังอยู่ในคุก หากว่ามีจิตปฏิบัติธรรม ๕ นาที ก็ได้เป็นพุทธะ ๕ นาที ก็ถือว่าเป็นพระสงฆ์ เป็นผู้บำเพ็ญ ปฏิบัติธรรม ๕ นาที

    ฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจความหมายตรงนี้ แล้วเราไปถวายผ้าห่มพระธาตุเจดีย์ อานิสงส์จะสูงมาก เราจะเห็นเลยว่ามีประโยชน์มากๆ ถ้ามาแยกแยะหรือให้แยบยลมากกว่านี้ ก็จะได้อานิสงส์ ประโยชน์มาก

^_^  ..._/_...  ^_^ 
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต


 



Create Date : 21 กรกฎาคม 2563
Last Update : 21 กรกฎาคม 2563 21:46:37 น.
Counter : 509 Pageviews.

0 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku

ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
กรกฏาคม 2563

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog