เข้าใจจิตอย่างถ่องแท้

เข้าใจจิตอย่างถ่องแท้

จิตคืออะไร?
จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์

จิตทำงานอย่างไร?

    จิตในเมื่อเป็น "ตัวรู้" ก็จะต้องมี "ตัวผสม" เช่น สมมติว่าเวลานี้เรามีโทสะ ความเป็นโทสะมาบวกกับจิต จิตตัวนี้ก็จะเป็นโทสะ ในความเป็นโทสะก็จะมีจริตความเป็นธรรมชาติแห่งโทสะ 

    โทสะจะต้องเป็นยังไง? แสดงกิริยาอาการยังไง? คือรับรู้แสดงอาการตรงนั้น จิตโทสะตรงนี้ จะต้องส่งเสียงดัง ฯลฯ ส่วนตัวจิตพอได้รับสัญญาณตรงนี้มา รับรู้อารมณ์ตรงนี้มา ก็จะไปสั่งให้กายสังขารให้ทำ คุณจะต้องเสียงดังๆ นะ นี่คือการทำงานของจิต
จิตไม่มีขั้นระดับ แต่จิตมีขั้นตอนทำงาน

    จิตมีระดับเดียว แต่จิตมีขั้นตอนทำงานต่างหาก

    จิตมีระดับเดียว แต่คุณจะเอาอะไรมาผสมต่างหาก เราเข้าใจผิดอยู่เรื่อย จิตประภัสสร (Jit Pabhassara) ก็เหมือนกับเป็นน้ำเปล่าๆ จิตประภัสสรก็เหมือนกับเป็นน้ำเปล่าๆ อยู่ที่ว่าเราจะเอาไปผสมอะไร

    ทำไมซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) จิตแพทย์ชาวออสเตรีย ทำไมอธิบายเป็นจิต ๓ ระดับ? ก็เพราะว่าเขายังไม่เข้าใจว่า จิตของเราจะไปผสมกับอะไรก็จะออกมาเป็นขั้น ถ้าไม่ผสมจิตก็จะไม่เป็นขั้น

    แล้วที่ว่า ณ ตอนนี้เราตบยุง แต่ว่าเราไม่รู้ มือมักไปตบก่อนรู้เกิดจากอะไร? 

    เป็นความเคยชิน เป็นจิตตัวลึกๆ ใช่ไหม? เราตบยุงจะไม่รู้ได้อย่างไร ตัวนั้นเราไม่มีจิตสั่งแล้วตัวสังขารเราจะไปได้ยังไง การกระทำนั้นคือเป็นการไปสั่งสมไว้ จิตมันสั่งสมไว้ เหมือนกับภวังค์ เหมือนกับเรานอนหลับแล้วเราตื่นเองได้ยังไง

    นิสัยบางตัวเราต้องคอยตรวจดูแล้วคอยเอาออก ถ้าไม่อย่างนั้น จะติดเป็นนิสัย พอติดเป็นนิสัยแล้วพอนิสัยตัวนี้มาเลย คนก็จะดูว่าปฏิฆะ จะดูว่าขุ่นมัวแล้วจะบอกว่ายุ่ง

จิตมีกี่ประเภท

    จิตมีตัวเดียว แต่จิตเราไปผสมตัวอื่นก็จะเป็นจิตอีกตัวหนึ่ง ฉะนั้น จิตมีกี่ประเภท ก็จะเป็นได้มากกว่า ๑๐๘ เลย แต่ถ้าถามว่าจำเพาะใหญ่ๆ เลย ก็คือ จิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง แค่นั้น นอกนั้นก็จะไปปรุงต่อจากนี้ ก็จะเป็นจิตแต่ละตัวๆ หมด ได้เป็นร้อยแปด หรือเป็นพันก็ยังได้ จิตไม่มีที่สิ้นสุด เราปรุงได้ไปเรื่อยๆ

    ส่วนใหญ่คนยังไม่เข้าใจตรงนี้แล้วเข้าใจผิดกัน

    จิตที่เราทำบ่อยๆ จนเราไม่รู้ ทำไปโดยไม่รู้สึกตัว เรียกว่าอะไร?

    เรียกว่า "จิตนิสัย" เช่น เราเกาก้น จิตตัวนี้คือจิตเกาก้น ถ้าเราทำเรื่อยๆ จิตนี้ก็จะสืบเนื่องอยู่ตลอดไป จิตดับๆ แต่ว่าจิตสืบไปจะเก็บเป็นข้อมูลไว้ ถ้าเป็นข้อมูลแรงก็จะออกมา ก็เหมือนกับคอมพิวเตอร์ ถ้าเราคีย์รหัสเข้าไป ข้อความนั้นก็จะออกมา

    ถ้าสมมติว่า เราตบยุง ตบไปเรื่อยๆ แล้วกลายเป็นนิสัย แต่ถ้าเราตบแค่ครั้งเดียว อดีตที่เคยตบนั้นจะส่งผลไหม? ไม่ส่งผล เพราะว่าครั้งเดียวมันอ่อนไป เราต้องทำบ่อยๆ จนเป็นนิสัยถึงจะแสดงผล 

    แต่ถ้าเป็นวิบากกรรมล่ะ? 

    วิบากมี แต่ว่าอ่อน แสดงผลไม่มาก นิดเดียว มันมีแต่นิดเดียวแทบจะไม่รู้สึก

    ถ้าเราทำอะไรอยู่บ่อยๆ ไม่เปลี่ยนแปลงเดี๋ยวจะกลายเป็นนิสัย เราเจ็บแน่ เพราะนิสัยจะออกมาอยู่เรื่อยๆ เราทำไปโดยไม่รู้ตัว

 
อะไรทำให้เกิดจิต?

    เมื่อคุณมีชีวิตปั้บ ทางธรรมชาติก็จะให้จิตประภัสสรมา (Jit Pabhassara) หลังจากนั้นก็เป็นจิตที่คุณปรุง จิตขั้นที่ ๒ คือ ปรุง เช่น ตรงนี้เราโมโห จิตก็จะเป็นโมโห ถ้าเป็นเรารัก ก็จะเป็น "จิตรัก" เขาเรียกว่า "ปรุง" เหตุเกิดที่จิต ทุกอย่างมันเกิดที่จิต แล้วก็ต้องดับที่จิต

 
องค์ประกอบของจิต

    องค์ประกอบของจิตไม่มี เราจะต้องบอกว่าจิตระดับอะไร เป็นจิตขั้นที่ ๑ หรือขั้นที่ ๒ จิตขั้นที่ ๓ แต่ถ้าเป็นจิตขั้นที่ ๑ จะเป็นจิตที่ธรรมชาติให้มาล้วนๆ ส่วนจิตขั้นที่ ๒ ก็อยู่ที่เราจะเอาไปปรุง เหมือนกับเราชงกาแฟ เราใส่กาแฟแล้วคุณจะใส่น้ำตาล หรือจะใส่ครีมก็สุดแท้แต่เรา

    อธิบายว่าจิตประกอบด้วยอารมณ์ อย่างนี้ได้ไหม?

    ตัวจิตนี้ไม่มีอะไรประกอบกันขึ้นมาเป็นจิต จิตมันเปรียบเหมือนเป็นน้ำเปล่าๆ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาอะไรไปผสม ซึ่งมีอารมณ์ ๓ สายใหญ่ๆ คือ โลภ โกรธ หลง ขึ้นอยู่กับว่าเราจะไปปรุงเป็นอะไร 

    แต่จิตนี้ไม่มีอะไรเลย แค่รับรู้อารมณ์ แต่ถ้าเป็นจิตขั้นที่ ๒ จะไปปรุงอะไรก็เป็นไปตามนั้น ตรงนี้เราจะต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ ไม่งั้นก็จะเข้าใจผิดอยู่เรื่อยๆ ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ นั่นมันเป็นจิตขั้นที่ ๒

 
จิตสลายได้ไหม?

    จิตขั้นที่ ๒ สลายได้ มีการเกิด-ดับ อยู่ตลอด แต่มันเกิดดับแต่มันไม่ใช่สลายไป ฉะนั้น เราจะต้องแยกจิตตัวที่ ๑ กับตัวที่ ๒ เราจะต้องแยกกันให้ดี ตัวที่ ๑ หรือจิตขั้นที่ ๑ ไม่มีการสลายอยู่แล้ว คือ 

    จิตตัวที่ ๑ นี้เป็นจิตที่อยู่ในธรรม คือ จิตประภัสสรที่ในธรรมให้เรามา 

    จิตตัวที่ ๒ ก็คือจิตที่เราปรุงแต่งซึ่งเป็นของเรา เราจะต้องแยก ถ้าเราไม่แยกเราก็จะปวดหัว สับสน เช่น จิตตัวที่ ๒ เวลานี้คุณดีใจ เวลานี้คุณโกรธ เวลานี้คุณเหงา ฯลฯ นี่แหละ เป็นจิตตัวที่ ๒ แล้ว เขาเรียกว่า จิตตรงนั้นมันดับลง มันหมดแรงลง อีกตัวหนึ่งก็จะแรงขึ้นมา

 
ทำไมเราต้องฝึกจิต

    การฝึกจิต ก็คือ เราจะเอาอะไรควบคุมจิต เอาอะไรมาผสมกับจิต อย่าเอาอะไรมาซี้ซั้วปนกับจิต

    ถ้าเราไม่ฝึกจิตมัวแต่เอาอะไรไปปนอยู่เรื่อย จิตเราก็จะเลวร้ายอยู่เรื่อย

    คำว่า "ฝึกจิต" ไม่ใช่ฝึกตัวที่จิต แต่ไปฝึกตัวอะไรที่มาปรุง ถ้าเราซี้ซั้วเอามาปรุง เดี๋ยวเราก็ใจดี เดี๋ยวเราก็ใจร้าย เดี๋ยวเราก็โมโห ถ้าเป็นอย่างนี้เราก็จะตาย เส้นประสาทร้อน ประสาทแดก

    พระสงฆ์วัดเส้าหลิน (少林寺) ฝึกกังฟู ฝึกวิทยายุทธ์ อย่างนี้เป็นการฝึกจิตไหม?

    ที่พระวัดเส้าหลินฝึกกังฟูนี้เป็นการฝึกกำลัง แต่จิตเป็นพลัง จิตคือความต้องการ เป็นตัวเจตนา แต่เป็นตัวที่ ๒ แล้ว ออกมาเป็นตัวเจตนา เช่น เราจะมาใช้ท่าจับนกกระเรียนขาว ๑๘ ฝ่ามือพิชิตมังกร & ฝ่ามือสยบมังกร ๑๘ ท่า (降龍十八掌) ฯลฯ มันเป็นจิตตัวที่ ๒ แล้ว เป็นจิตปรุง แล้วจิตที่เราสั่งให้กล้ามเนื้อทำงาน ให้ฝึก นี่แหละ ขึ้นอยู่กับเจตนาของเราสั่งให้ไปทำนั่นทำนี่ อันนี้ไม่ได้เรียกว่าฝึกจิต แต่เรียกว่า "ฝึกเจตนา" เป็นการฝึกสิ่งที่เราเจตนา 

    เราจะต้องฝึกสิ่งที่เราเจตนา เดี๋ยวคนจะเข้าใจผิดว่าไปฝึกที่พลังจิต คุณไม่ต้องเคลื่อนไหวเลย คุณไม่ต้องทำอะไรเลย เท้าขวาทับเท้าซ้าย นั่งขัดสมาธิเดี๋ยวก็เป็น นี่แหละ มันบ้าหรือเปล่า? เวลานี้คนมันบ้าไปเข้าใจผิดตรงนี้ อยู่เรื่อย บอกว่า ไปนั่งสมาธิแล้วบอกว่าเป็นการฝึกจิต อย่างนี้ไม่ใช่ 

    เราฝึกทุกอย่าง แต่เราไม่ใช่ไปฝึกจิต แต่เราเอาอะไรมาปรุง เป็นการฝึกปรุงแต่ง เพราะ ถ้าเราเอาตัวโมโหเข้ามาสู่จิตของเรา จิตเราก็จะเป็น "จิตโมโห" เราจะต้องฝึกจะเอาอะไรมาผสมกับจิตสิ ใช่ไหม ฝึกสติสัมปชัญญะซึ่งเป็นตัวควบคุม พอจิตตัวที่ ๒ นี้ สติสัมปชัญญะจะต้องทำงานหนักเลย ต้องคอยดูแล ควบคุม เราไปฝึกตัวจิตไม่ได้ เราต้องฝึกจะเอาตัวอะไรมาผสมกับตัวจิต พอผสมแล้วจิตตัวนั้นจึงจะเกิดเป็นตัว "จิตนั้นๆ"

    ถ้าอย่างนั้น ทางร่างกายฝึกฝนวิทยายุทธ์ไปก็เป็นการฝึกฝนทางร่างกาย สังขาร ถ้าเราแข็งแรงก็เพราะสังขาร ร่างกายแข็งแรง

 
อารมณ์ เป็นตัวอะไรของจิต

    ตัวอารมณ์ไม่เป็นตัวอะไรของจิต อารมณ์ ก็คือ เอาตัวอะไรมาผสมกับตัวนั้น แล้วก็จะออกมาเป็นตัวอารมณ์ตัวนั้น ตัวรัก โลภ โกรธ หลง เราเอาตัวอะไรมาผสมกับตัวจิต จิตก็จะเป็นอย่างนั้น

    "อารมณ์" แปลว่า ธรรมชาติตัวหนึ่งที่รับรู้สิ่งต่างๆ ด้วยความเป็นชอบ/ไม่ชอบ ถูกใจ/ไม่ถูกใจ อารมณ์เป็นนิวรณ์ตัวหนึ่ง 

    นิวรณ์เป็นสายอารมณ์ นิวรณ์มีทั้งลบ&บวก ดี&ชั่ว เช่น คุณติดสุขแล้วจะไปลบตรงไหน

    ตัวที่มาแสดงออก สนองให้เราเกิดความรู้สึกว่า ดี&ไม่ดี มีความสุข&ทุกข์ ถ้าการรับรู้ตรงนี้ เขาเรียกว่า นิวรณ์ (hindrances)


 
จิตอริยะกับจิตปุถุชน ต่างกันอย่างไร

    จิตตัวแรกๆ ไม่มีการแบ่งแยก แต่เป็นจิตตัวที่ ๒ ตัวที่ ๓ เช่น เราเป็นสุภาพบุรุษ ก็จะมีจิตสุภาพบุรุษ แต่ถ้าคุณไม่มีก็จะเป็นผู้ชายที่หลวยถ้วย อยู่ที่เราเอามาปรุง

    พระอริยบุคคล เขาก็จะเอาความเป็น "อริยะ" เข้าไปปรุงข้างใน เข้าก็เป็น "จิตอริยะ" คุณเป็นโจร ก็เอาความเป็นโจรใส่เข้าไปในจิต ก็กลายเป็น "จิตโจร" ก็จะมาเป็นโจร

    เราจะต้องเข้าใจขั้นตอนตรงนี้ ๑-๒-๓ ถ้าเราเอามารวมกันก็จะกลายเป็นเพี้ยน มันไม่จริง


 
ทำยังไงให้จิตมีคุณภาพ

    "จิตมีคุณภาพ" คือ เป็นจิตตัวที่ ๒ เราเอาสิ่งดีๆ มาปรุง ถึงจะเป็นจิตที่มีคุณภาพได้ ถ้าเราเอาจิตที่มีสมาธิมาปรุง เราก็จะเป็นจิตที่มีสมาธิ จิตเราใจดีมีพรหมวิหาร ก็กลายเป็นว่าจิตพรหมวิหาร ๔ สำคัญอยู่ที่ว่าเราเอาอะไรมาปรุงกับจิต เช่น ถ้าเราเอาเมล็ดกาแฟหลวยถ้วยมาปรุง ก็กลายเป็นกาแฟหลวยถ้วย ถ้าเราเอาเมล็ดกาแฟดีๆ มาปรุง ก็กลายเป็นกาแฟชั้นดี แต่น้ำเดียวกัน เข้าใจหรือยัง?

    คนทั่วไปได้แต่ฟังๆ แต่ไม่ได้อธิบายชัดเจนว่าจิตมาจากไหน เกิดมาได้ยังไง ทำยังไง คนเลยสับสนอยู่เลย แล้วไปบังคับจิตที่เสียแล้ว บังคับให้ดี มันเป็นไปไม่ได้ เช่น กาแฟตรงนี้ชงแล้วไม่อร่อย ไม่ดี แล้วจะบอกให้ดี หรือจะทำให้ดีเป็นไปไม่ได้ เราจะต้องชงกาแฟใหม่ ถึงจะดีได้ แล้วเราจะทำยังไง ให้เอาผงกาแฟตัวใหม่มาชง เราก็ต้องให้จิตตรงนั้นให้ดับไป แล้วเราก็เอาจิตมาปรุงใหม่ ก็เหมือนกับว่า เทน้ำกาแฟถ้วยนั้นต้องทิ้งไป แล้วเราเอาน้ำมาชงใหม่

    ยกตัวอย่าง อารมณ์โทสะเราเอามาปรุงจิตตัวนี้ แล้วกลายเป็นจิตโทสะ ไม่ดีแล้วเราไม่เอา แล้วเราก็อย่าไปแสดงออกไป บังคับ มีตบะไม่ให้ทำออกไป ไม่ให้แสดงโทสะ ไม่ไปเชื่อคำสั่งเขา โทสะก็ดับของมัน ที่นี่เราก็เอาอารมณ์อีกตัวหนึ่ง เอาจิตใหม่มาอีกตัวหนึ่ง ใส่ตัว "อารมณ์เมตตา" เข้าไปในจิต ก็กลายเป็นจิตเมตตาแล้ว

    ถ้าหากว่าจิตเรามีโทสะ เราจะต้องบังคับไม่ให้มันออก เราต้องควบคุม ต้องมีตบะควบคุมไม่ให้โทสะออกไปกระทำ พอโทสะไม่ได้ออกไปกระทำ ก็สิ้นฤทธิ์ ก็จบ เพราะคุณไม่เอาเขา สิ่งที่คุณก่อขึ้นมาได้ เพราะว่าคุณไปเอาเขา เป็นจิตตัวที่ ๓ เอาไปกระทำ ต้องเข้าใจ จิต ๓ ขั้นตอน จิตตัวที่ ๓ ก็คือ เราเอาสิ่งที่ปรุงแต่งนี้ไปกระทำ ให้เป็นรูปธรรม แต่ถ้าเป็นจิตตัวที่ ๔ ก็จะขยายไปเรื่อยๆ พาลไปเรื่อย ถ้ารุนแรง ก็จะมีผลกระทบรุนแรงมาก

    ทำไมไม่เอาจิตในธรรมหรือประภัสสร เป็นเบอร์หนึ่ง? 

    ถ้าเป็นจิตประภัสสรในธรรมเป็นเบอร์ ๑ ไม่ได้ ต้องเป็นเลข ๐ เกิดเป็นคน มีชีวิตถึงจะมาเริ่มต้นใหม่ เป็นเลข ๑ เป็นต้นไป

 
จิตวิญญาณแห่งพุทธรูป เทวรูป

    องค์พระพุทธรูป องค์เทวรูป ที่เป็นปูน ทองเหลือง ฯลฯ มีอารมณ์ไหม?

    ตอบว่า ไม่มีอารมณ์ แล้วที่เราเห็นองค์ท่านยิ้มให้ล่ะหมายความว่าอย่างไร? นั่นเป็นอารมณ์ที่เราคิดขึ้นมา เทวรูปมีวิญญาณแต่ไม่มีจิต สิ่งที่เราเห็นเทวรูปยิ้มนั้น เป็นเพราะตัวเราต่างหาก ไม่ใช่เทวรูป

    แล้วที่เป็นรูปปั้นหรือเทวรูปที่ยิ้มล่ะคืออะไร?

    ที่ว่าเทวรูป รูปปั้นยิ้มนั่นหมายความว่า ช่างหรือสล่าเขาใส่ยิ้มให้ ใส่รูปวิญญาณให้ เรามาเห็น ถ้าตอนนั้นเรามีอารมณ์รับถูกตอนยิ้มได้ เราก็สัมพันธ์ได้ก็คือ "ยิ้ม" แต่ถ้าตอนนั้นเราอารมณ์ปฏิฆะก็จะไม่เห็นว่ายิ้ม อันนั้นเป็นวิญญาณ แต่จิตยังมีอยู่อีกที่หนึ่ง เป็นพลังอีกสายหนึ่ง

    ถ้าถามว่าเทวรูปองค์นี้มีจิตวิญญาณไหม? ก็จะต้องมีพลังอีกสายหนึ่งเข้ามา มีวิญญาณกับมีจิตวิญญาณนี้จะแตกต่างกัน แต่ถ้ามีวิญญาณก็จะมีแต่รูปธรรม แต่ถ้ามีจิตวิญญาณก็จะมีทั้ง ๒ ด้าน ทั้งรูปและนามธรรม

    พระพุทธรูปมีจิตวิญญาณได้อย่างไร?

    พระพุทธรูปที่มีจิตวิญญาณได้ก็เพราะว่าคนปั้น ช่าง สล่า จิตในขณะนั้นเขามีจิตอะไร ถ้าจิตตอนนั้นโมโหจะปั้นออกมาเป็นเมตตาได้อย่างไร ออกมายิ้มได้อย่างไร อันนี้ เป็นคำตอบให้กับอาจารย์เฉลิมชัย เพราะท่านบอกว่า ทำยังไงก็วาดไม่เหมือนพระพุทธเจ้าสักที ก็เพราะว่าจิตใจไม่ถึงพระพุทธเจ้า จะทำให้เหมือนได้อย่างไร คุณทำแค่ "เหมือน" ก็พอแล้ว คุณจะไปทำเหมือนเป๊บแบบพระพุทธเจ้าไม่ได้ เพราะจิตคุณไม่มี

    ถ้าเราสร้างพระพุทธรูป หรือองค์เทวรูป แล้วจะต้องใส่จิต ใส่ใจ อันนี้มีจิตและวิญญาณหรือยัง?

    อันนี้ยังไม่มี ปั้นมาแล้วมีแต่วิญญาณ แต่จิตไม่มี คำว่า "ใส่จิตใส่ใจพระพุทธรูป องค์เทวรูป" นี้ใส่ยังไง?

    ห้ทุกคนลงความเห็น ลงมติว่า อันนี้คือพระพุทธรูป อันนี้มีจิตแล้ว นิมิตหมายมารวมกัน พอทุกคนนิมิตหมายว่า "มี" ทุกคนเชื่อว่ามี "ก็มี" นี่เขาเรียกว่า "ลงมติ" ถูกต้องแล้ว สวยแล้ว ลงมติว่าใช่แล้ว ก็บอกว่าใช่ ทุกคนเปล่งวาจาว่า "สาธุ" ก็แปลว่า "ใช่"

    
เรียนรู้จิต เข้าใจภาวะจิตอย่างถ่องแท้ และการทำงานของจิต เราถึงจะมาแก้ภาวะกรรมได้ ถ้าไม่เช่นนั้นเราจะเกิดความสับสน

^_^  ..._/_...  ^_^ 
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต












 



Create Date : 03 กรกฎาคม 2563
Last Update : 3 กรกฎาคม 2563 16:43:16 น.
Counter : 847 Pageviews.

0 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku

ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
กรกฏาคม 2563

 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog