Group Blog
All Blog
### สักแต่ว่ารู้ ###











“สักแต่ว่ารู้”

ความว่างนี่แหละพระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่า

ปรมัง สุญญัง นิพพานัง ปรมัง สุญญัง

 ความสุขระดับของ พระนิพพานนี้ก็เกิดจากการมีจิตที่ว่าง

จากทุกสิ่งทุกอย่างไม่ยึดไม่ติดไม่พึ่งพาอะไรต่างๆ

 มาเป็นเครื่องมือ ให้ความสุข ไม่ยึดไม่ติด

กับลาภยศ สรรเสริญ กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

 ไม่ยึดไม่ติดกับ รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ

ไม่ยึดไม่ติดกับธรรมารมณ์ต่างๆที่มีอยู่ภายในจิต

คือปล่อยวางหมด สลัดทิ้งไปหมด

 จึงทำให้ใจนี้ว่างเต็มร้อยเป็นปรมัง สุญญัง

พอใจว่างเต็มร้อยเป็นปรมัง สุญญัง

ใจก็จะเป็นปรมัง สุขัง เป็นบรมสุขขึ้นมา

การปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนานี้

จึงปฏิบัติเพื่อลด เพื่อละ เพื่อตัด เพื่อปล่อย เพื่อวาง

 ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อที่จะสั่งสมสร้างสมสิ่งต่างๆ

 เช่นลาภยศ สรรเสริญ

หรือรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ

ให้มีอยู่ไปเรื่อยๆ ให้มีเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ

มีแต่จะสลัดทิ้งไปปล่อยวางไป เพราะว่าเห็นว่า

เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั่นเอง

อนิจจังก็คือเป็นความสุขชั่วคราว

 อนัตตาก็คือไม่อยู่ภายใต้คำสั่งของเรา

ถ้าเราไปอยากให้เขา ไม่เสื่อม

อยากให้เขาอยู่กับเราไปตลอด

 เราก็จะต้องเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา

 แต่ถ้าเราปล่อยเขาไป ไม่ต้องการเขา

เขาจะอยู่ก็ปล่อยเขาอยู่ไป เขาจะไปก็ปล่อยเขาไป

 ต่างฝ่ายต่างอยู่กัน ถ้ายังอยู่ด้วยกัน

ก็อยู่ด้วยกันไปแบบไม่มี ความอยาก

ให้เขาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ใจก็จะว่างจากเขาไป

 ใจว่างใจก็จะเกิดความสุขขึ้นมา

 จะไม่ทุกข์กับการเจริญกับการเสื่อมของเขา

เขาจะเจริญก็สักแต่ว่ารู้ไป เขาจะเสื่อมก็สักแต่ว่ารู้ไป

ขอให้สักแต่ว่ารู้กับทุกสิ่งทุกอย่างเท่านั้น

ใจก็จะว่างจากเขาไป ถึงแม้ว่าจะอยู่ด้วยกัน

เช่นร่างกายกับใจ ขันธ์กับใจยังอยู่ร่วมกัน

อยู่แต่ถ้าใจรู้ทันว่าขันธ์

 ร่างกายนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 ก็จะปล่อยวางจะสักแต่ว่ารู้

ร่างกายตอนนี้เป็นอย่างไรก็รู้ว่าเป็นอย่างนั้น

แก่ก็รู้ว่าแก่ จะไม่มีความอยากให้ไม่แก่เกิดขึ้นมาในใจ

เจ็บไข้ได้ป่วยขนาดไหน

ก็จะไม่มีความอยากให้มันไม่เจ็บไข้ได้ป่วย

 ถึงเวลาจะตายก็จะไม่มีความอยาก ที่จะให้มันไม่ตาย

จะรู้สักแต่ว่ารู้ไปทุกวินาที ทุกลมหายใจเข้าออกเลย

ขอให้สักแต่ว่ารู้เท่านั้นเอง รู้ว่ามันเป็นอย่างนี้

ไม่ต้องไปถามว่าทำไมมันถึงเป็นอย่างนี้

ถามไปทำไมแล้วมันได้ประโยชน์อะไร

มันจะเป็นอย่างไรมันจะมาอย่างไร

 มันจะเป็นอย่างไรก็ไม่เป็นเรื่องสำคัญ

เรื่องสำคัญอยู่ที่ว่าเราปล่อยวาง มันได้หรือเปล่า

ถ้าเรายังถามว่ามันเป็นอย่างไร

แสดงว่าเรายังอยากจะไปแก้มันอยู่ มันเกิดขึ้นได้อย่างไร

 เพื่อเราจะรู้เราจะได้ไปแก้มันไม่ให้เกิด

มันเสื่อมได้อย่างไร ถ้าเรารู้ว่ามันเสื่อมได้อย่างไร

 เราจะได้ไปแก้ ไม่ให้มันเสื่อม

อย่างนี้ก็แสดงว่าเรายังไม่ปล่อย เรายังอยากมันอยู่

 แล้วของเหล่านี้ก็แก้ไม่ได้

พระพุทธเจ้าก็บอกว่า มันเป็นอนัตตา

 ของมันจะเสื่อมจะไปห้ามไม่ให้มันเสื่อม มันห้ามไม่ได้

ของมันจะเกิด มันก็ไปห้ามมันไม่ได้ มันจะเกิด

 งั้นมันจะเกิดหรือจะเสื่อมหรือจะดับ

ก็ให้รู้ตามความจริงของมัน

 ตราบใด ถ้ามันไม่ได้เกิด มันไม่ได้ดับ

ด้วยการกระทำของเราก็แล้วกัน

 เช่นอย่าไปดับร่างกายในขณะที่มันยังไม่ดับ

 ถ้าเราไปทำให้มันดับนี้

ก็ถือว่าไม่ปล่อยมันอีกเหมือนกัน

 ถือว่าเรายังไปผูกติดกับมันอยู่

ยังมีความอยากกับมันอยู่

ใจก็ยังจะไม่ว่างอยู่นั่นเอง

เช่นเวลาร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นอัมพฤกษ์เป็นอัมพาต

ไม่สามารถ รับใช้ตัณหาของใจได้

ไม่สามารถทำตามความอยากของใจได้

ก็เลยฆ่ามันเสียเลยฆ่าตัวตาย ฆ่าร่างกาย

อย่างนี้ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นพระนิพพาน

ไม่ถือว่าเป็นสักแต่ว่ารู้ ไม่ถือว่าได้ปล่อยวาง

ถ้าปล่อยวางแล้วก็ปล่อยมันซิ

 มันจะเป็นอย่างไรก็เรื่องของมัน

 ถ้ายังอยู่ในวิสัยที่จะเลี้ยงดูมันได้ก็เลี้ยงดูมันไป

อยู่ในวิสัยที่รักษาได้ก็รักษามันไป ก็ทำได้เท่านั้น

ทำแบบปล่อยวาง คือทำแบบไม่ได้มีความอยาก

ทำแล้วมันจะหายก็หายไม่หายก็ไม่หาย

 ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด ถึงจะเรียกว่าใจว่าง

ปรมัง สุญญัง ต้องสักแต่ว่ารู้เท่านั้น

รู้ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่า จะเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา

 หรือไม่สุขไม่ทุกขเวทนา มันจะเป็นแบบไหน

ก็ให้รู้มันไปอย่างนั้นก็แล้วกัน

 ไม่ว่าธรรมารมณ์แบบไหน ธรรมารมณ์แบบสุข

 ธรรมารมณ์แบบทุกข์ ธรรมมารมณ์แบบไม่สุขไม่ทุกข์

 ก็ให้รู้กับมันไปตามความจริงของมัน

ถ้ายังต้องอยู่ด้วยกันอยู่

ถ้ายังมีร่างกายยังมีขันธ์อยู่มันก็จะมีสิ่งเหล่านี้อยู่กับใจ

 มันจะหมดไปก็ต่อเมื่อไม่มีขันธ์แล้วไม่มีร่างกายแล้ว

ทุกอย่างมันก็จะไม่เป็นปัญหากับใจ เพราะใจรู้ทัน

รู้ด้วยปัญญา รู้ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 ถ้าไม่อยาก จะให้เกิดความทุกข์ใจก็ต้องสักแต่ว่ารู้

รู้ว่าเป็นอนิจจัง รู้ว่าเป็นอนัตตา

แล้วจะได้ไม่เกิดตัณหาความอยาก

ให้มันเป็นนิจจังหรือให้มันเป็นอัตตาขึ้นมา

 นี่คือปัญญาของพระพุทธเจ้า ที่ได้ทรงตรัสรู้

ไม่มีผู้ใดสามารถรู้ ความจริงอันนี้ได้ด้วยตนเอง

มีพระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียวเท่านั้นที่สามารถรู้ได้

 แต่พอพระองค์ทรงรู้แล้ว

 แล้วทรงนำเอามาเผยแผ่สั่งสอนให้แก่ผู้ที่ไม่รู้

ก็ทำให้ผู้ที่ไม่รู้เหล่านี้หลากหลายบุคคล

หลากหลายชาติชั้นวรรณะ เพศ

สามารถรับรู้ได้อย่างง่ายดาย

สามารถสอนใจให้สักแต่ว่ารู้ได้ เพียงแต่สอนสั้นๆ

คนที่ฉลาดฟังแล้ว ก็จะเข้าใจทันที

อย่างที่มีชายได้พยายามขอกราบทูล

ให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม

ในขณะที่ทรงบิณฑบาตอยู่

 พระพุทธองค์ก็ทรงปฏิเสธไปบอกว่า

ไม่ใช่เวลาที่จะแสดงธรรม

 แต่ชายคนนั้น ก็ยังยืนยันของเพียงสั้นๆก็ได้

 พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสอย่างสั้นๆว่าให้ สักแต่ว่ารู้

ไม่ว่าจะได้ยินอะไรก็ให้สักแต่ว่า ได้ยิน

ไม่ว่าจะเห็นอะไร ก็สักแต่ว่าเห็น

คือสักแต่ว่ารู้ รู้ว่าเห็นอย่างนั้น รู้ว่าได้ยินอย่างนี้พอ

ไม่ได้ต้องทำอะไรทั้งนั้น พอตรัสเท่านั้นเขาก็เข้าใจ

ใจเขาก็บรรลุก็ขออนุญาตไปเตรียมของบริขาร

เพื่อที่จะบวชเป็นพระภิกษุต่อไป

นี่ก็คือคำสอนที่สรุปที่สั้นๆ แต่เป็นคำสอนที่ลึกซึ้ง

ที่สามารถทะลุโมหะอวิชชา ทำให้ใจนี้สว่างไสวขึ้นมา

ทำให้ใจ สามารถหลุดพ้นจากอำนาจของโมหะอวิชชา

ที่หลอกให้ใจต้องไปเวียนว่ายตายเกิด

ด้วยความอยากให้สิ่งต่างๆ

เป็นไปตามความอยากของตน

 ผู้ที่มีปัญญาที่ฉลาดพอได้ยินได้ฟังก็จะเข้าใจ

และสามารถทำใจให้หลุดพ้น

 จากความหลงความไม่รู้ต่างๆได้

 เพียงแต่ให้สักแต่ว่ารู้เท่านั้น สักแต่ว่ารู้ก็คือให้ใจว่าง

ไม่มีการคิดปรุงเเต่ง ไม่มีความอยาก

ให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้

ซึ่งปกติใจของปุถุชนนี้

ใจของผู้ที่ยังไม่ได้เข้าถึงธรรมขั้นสูงสุดนี้

เวลาสัมผัสรับรู้อะไรแล้วมักจะเกิดความอยากตามมา

 เห็นอะไรแล้วก็อยากจะให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้

ได้ยินอะไรก็อยากจะให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้

พอเกิดความอยากแล้วก็ต้องดิ้นรนแก้

เพราะเกิดความ ไม่สบายใจขึ้นมา

 พอเห็นอะไรไม่เป็นไปตามความอยาก

ก็ต้องไปแก้สิ่งนั้นให้มันเป็นไปตามความอยากให้ได้

นี่แหละเป็นการสร้างปัญหาขึ้นมาโดยไม่รู้สึกตัว

แต่ถ้าเพียงเห็นอะไรก็สักแต่ว่าเห็นไป

มันจะดี มันจะชั่วก็เรื่องของมัน

 เราเป็นผู้ดูก็ให้มันดูไปเฉยๆ

ให้รู้ไปเฉยๆเท่านั้นมันก็หมดเรื่อง

 แต่เรามันดูเฉยๆไม่ได้ ดูแล้วมือไม้มันคันขึ้นมา

 มันต้องไปเกาต้องไปแตะพอไปเกาไปแตะมัน

ก็เลยเกิดเรื่องเกิดราวขึ้นมา เป็นลูกโซ่

ต่อเนื่องกันไปไม่มีวันจบไม่มีวันสิ้น

พออยากได้ให้มันเป็นอย่างนี้

พอทำให้มันเป็นอย่างนี้ ได้สักพักหนึ่ง

 เดี๋ยวมันเปลี่ยนไปเป็นอีกอย่าง

ก็ต้องกลับมาทำใหม่อีก

 หรือพอมันเปลี่ยนไปแล้วก็ไม่ชอบมันอีก

 อยากจะให้มันเป็นไปอีกอย่าง

 ก็ต้องกลับมาเปลี่ยนมันอีก

 เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่อย่างนั้นน่ะ

เปลี่ยนยังไงมัน ก็ไม่หายคัน

เปลี่ยนยังไงมันก็ยิ่งคันขึ้นไปเรื่อยๆ

 ท่านถึงบอกว่าเกาไม่ถูกที่คัน

ปุถุชนอย่างพวกเรานี้ เกาไม่ถูกที่คันกัน

แทนที่จะเกาที่ใจเราไปเกาที่ลาภยศ สรรเสริญ

ไปเกาที่รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

ไปเกาที่ขันธ์ รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ

มันจึงกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตขึ้นมา

 ถ้าเกาที่ใจจุดเดียวนั้นจบ ให้สักแต่ว่ารู้เท่านั้น

ให้หยุดความอยากทั้งหลาย.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.............................

ธรรมะบนเขา วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

“สักแต่ว่า”







ขอบคุณที่มา fb.พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 18 มิถุนายน 2559
Last Update : 18 มิถุนายน 2559 10:46:49 น.
Counter : 778 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ