Group Blog
All Blog
### วิธีที่จะช่วยให้ใจเข้าสู่ความสงบ ###








“วิธีที่จะช่วยให้ใจเข้าสู่ความสงบ”


วิธีที่จะทำให้การสั่งสมาธิแล้วสงบก็คือ

 ต้องหมั่นเจริญสติอยู่เรื่อยๆ

 ต้องพยายามระลึกพุทโธๆ อยู่เรื่อยๆ

 อย่าปล่อยให้ไปคิดเรื่องเรื่อยเปื่อย

 คิดแล้วก็เกิดอารมณ์ต่างๆขึ้นมา

พยายามดึงกลับเข้ามาหาพุทโธให้ได้

ถ้าเราใช้พุทโธได้ก็ใช้พุทโธ

ถ้าเราใช้การสวดมนต์ได้

ก็ใช้การสวดมนต์ก็ได้

 จะท่องบทไหนก็ได้ ท่องอะระหังสัมมา

 สวากขาโต สุปฏิปันโนไป

ก็จะดึงใจให้เข้ามาสู่ปัจจุบัน

 ไม่ให้ใจลอยไปคิดถึงเรื่องต่างๆในอดีต

พอเวลามานั่งสมาธิ มาดูลมหายใจเข้าออก

หรือมาบริกรรมพุทโธ ใจก็จะไม่ไปเรื่องอื่น

พอไม่ไปเรื่องอื่นเดี๋ยวเดียว

ใจก็เข้าสู่ความสงบได้

ดังนั้นปัจจัยที่จะทำให้การนั่งสมาธินี้

สงบหรือไม่สงบก็คือ “สติ” นี่เอง

สตินี้เป็นเหมือนเชือกที่จะดึงจิต

ที่เป็นเหมือนลิงให้เข้ากรง

ถ้าเราจะจับลิงเข้ากรงโดยไม่มีเชือกนี้

เราจะไล่จับมันไม่ได้ เพราะมันวิ่งเร็วกว่าเรา

 แต่ถ้าเราอยากจะจับมันเข้ากรง

เราต้องเอาเชือกคล้องคอมันไว้

 ถ้าเชือกคล้องคอลิงได้แล้ว

เราก็จะดึงมันลากมัน

เข้ามาในกรงได้ ฉันใดจิตก็เหมือนกัน

ถ้าเราต้องการให้จิตสงบ จิตเข้าไปในสมาธิ

เราก็มีสติเป็นเหมือนเชือก

 ที่จะดึงจิตให้เข้ามาสู่ความสงบ

 เราจึงต้องเจริญสติอยู่เรื่อยๆ

ตั้งแต่ตื่นจนหลับเลย ถ้าเป็นไปได้

สำหรับนักปฏิบัติแล้วจะเป็นอย่างนี้กัน

 จะเจริญสติตั้งแต่ตื่นจนหลับ

นักปฏิบัตินี้จะไม่มีภารกิจการงานอย่างอื่น

 คือเป็นนักบวช จะอยู่วิเวกอยู่ตามลำพัง

จะไม่มีอะไรมารบกวนใจ

ไม่มีอะไรมาทำให้ใจต้องเผลอ

ไปคิดเรื่องนั้น เรื่องนี้

ก็จะสามารถเจริญสติได้อย่างต่อเนื่อง

พอมีสติอย่างสติอย่างต่อเนื่อง

เวลานั่งสมาธินี้ก็จะสามารถ บังคับให้จิต

ตั้งอยู่ในอารมณ์เดียวได้

 ถ้าให้อยู่กับลมก็จะอยู่กับลมอย่างเดียว

 ถ้าให้อยู่กับพุทโธก็จะอยู่กับพุทโธอย่างเดียว

 พอจิตมีอารมณ์เดียว

จิตก็จะรวมเข้าสู่ความสงบ

ดังนั้นถ้าเราปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลก็รู้ได้เลยว่า

มันเกิดจากการไม่สตินี่เอง ไม่ใช่เกิดจากอะไร

 และการที่ไม่มีสติก็คือ

 เกิดจากความขี้เกียจนี่เอง

เกิดความเกียจคร้าน ไม่ขยันที่จะเจริญสติ

 ถ้าเราขยันมีสัมมาวายาโม

มีความเพียรชอบก็คือเพียรสร้างสติ

เจริญสติทั้งวันตั้งแต่ตื่นจนหลับ

ถ้าเราเพียรสร้างสติอยู่ตั้งแต่ตื่นเช้า

พอลืมตาก็ตั้งสติเลย

จะใช้พุทโธก็ท่องพุทโธไปเลย

 ก่อนจะลุกขึ้นก็พุทโธอยู่ในใจแล้ว

 พอลุกขึ้นยืนเดินเข้าห้องน้ำ

 ทำหน้าที่อะไรต่างๆ

 ก็พุทโธไปเรื่อยๆ

ถ้าเรามีสติอยู่กับพุทโธไปเรื่อยๆ

 จิตก็จะไม่ไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ได้

 เวลาเรามานั่งสมาธิมันก็จะไปไหน

 มันก็จะอยู่กับเรื่องเดียว

ถ้าอยู่กับลมก็จะอยู่กับลม

ถ้าจะอยู่กับพุทโธก็จะอยู่กับพุทโธ

พออยู่กับพุทโธอยู่ลมไม่ไปไหน

มันก็จะรวมเข้าสู่ความสงบ

นี่คือเคล็ดลับของการทำสมาธิ

ให้ได้ผลขึ้นมา อยู่ที่การเจริญสติ

การเจริญสติได้ก็ต้องมีความขยัน

 ที่จะเจริญแล้วก็ต้องมีสถานที่สงบสงัดวิเวก

 ห่างไกลจากสิ่งที่จะมาคอยดึงใจ

ให้ไปคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้

ถ้าอยู่คนเดียวอยู่ในป่าในเขานี้

จะไม่มีอะไรมาดึงใจไป

ถ้าอยู่ในบ้านอยู่ที่ทำงานอยู่ในเมือง

จะมีสิ่งต่างๆ มาคอยดึงใจไปเรื่อยๆ

มองเห็นอะไรก็จะมีเรื่องอะไรให้คิดอยู่เรื่อย

ได้ยินอะไรก็จะทำให้คิดอยู่เรื่อยๆ

ใจก็จะไม่มีวันที่จะตั้งสติได้

 พอไม่มีสติเวลานั่งสมาธิก็ไม่สามารถ

ที่จะทำให้จิตสงบได้ นี่คือเหตุปัจจัย

 ที่จะทำให้การนั่งสมาธิได้ผลดี

 ก็คือต้องขยันเจริญสติอยู่ตลอดเวลา

แล้วก็ต้องปลีกวิเวกอยู่ห่างไกล

จากเรื่องราวต่างๆ

 แล้วถ้าเกิดความง่วงเหงาหาวนอน

 ก็จะต้องใช้อุบาย

ของการรับประทานอาหารให้น้อย

 เช่นควรจะถือศีล ๘ คือไม่รับประทานอาหาร

หลังจากเที่ยงวันไปแล้ว

 หรือถ้าถือศีล ๘ แล้วยังง่วงนอนอยู่

ก็ต้องฉันมื้อเดียวรับประทานมื้อเดียว

ถ้ารับประทานมื้อเดียวก็ยังง่วงอยู่

ก็ต้องรับประทาน ๒ วัน ๒ - ๓ วัน

ค่อยรับประทานสักครั้งหนึ่ง อดอาหารไป

 ดื่มแต่น้ำหรือเครื่องดื่มเช่นน้ำผลไม้

 หรืออะไรที่ดื่มแล้ว ไม่ทำให้หนักท้อง

ไม่ทำให้ง่วงนอน ก็จะแก้ปัญหา

เรื่องของความง่วงนอนได้

หรือถ้าอดไม่ได้ก็ต้องไปหาที่อยู่ ที่น่ากลัว

 เช่นไปอยู่ในป่าช้าอยู่ในป่าที่มีสิงสาราสัตว์

ก็จะทำให้จิตตื่นขึ้นมา

 เวลาอยู่ในที่ที่มีภัยรอบตัวนี้

จะไม่ง่วงเหงาหาวนอน

จะมีความตื่นตัว

มีความระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา

นี่คือเป็นอุบายต่างๆที่นักปฏิบัติ

จะต้องขวนขวายผลิตขึ้นมา

ถ้าอยากจะได้ผลจากการนั่งสมาธิ

จำเป็นจะต้องมีอุบายต่างๆ

ไว้สำหรับแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

ปัญหาที่จะทำให้จิตไม่สงบ

ก็มีอยู่ ๕ ประการด้วยกัน

 ที่เรียกว่า นิวรณ์ ๕ นิวรณ์ ๕ ก็คือ

 ๑. วิจิกิจฉา คือความสงสัย ความสงสัยว่า

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มีจริงหรือเปล่า

 การเจริญสติแล้ว

จะทำให้จิตสงบได้ จริงหรือเปล่า

 การอดอาหารนี้จะทำให้ไม่ง่วงนอนหรือเปล่า

 การอยู่ในป่าจะทำให้การเจริญสตินี้ดีหรือเปล่า

อันนี้ถ้าสงสัยก็ต้องเข้าผู้ที่มีประสบการณ์

ผู้ที่ปฏิบัติมาแล้ว จะได้เล่าให้ฟัง

จะได้ยืนยันรับรองว่า ได้ผลจริงดีจริง

 พอเราได้ยินได้ฟังจากผู้ที่มีประสบการณ์แล้ว

ก็จะทำให้ความสงสัยนี้หายไปได้

เราก็จะมีความมั่นใจ

ที่จะปฏิบัติตาม นี่ก็คือวิธีหนึ่ง

ปัญหาอันหนึ่งก็คือความสงสัย

 ลังเลสงสัยไม่มั่นใจ

ข้อที่ ๒. ความง่วงเหงาหาวนอน

 ก็ต้องใช้อดอาหาร หรือการอยู่ที่ที่น่ากลัว

ก็จะทำให้ไม่ง่วงนอน

และถ้าเรื่องของการมีกามารมณ์อยากดู

 อยากฟัง อยากเห็น อยากดื่ม อยากรับประทาน

 อันนี้ก็ต้องถือศีล ๘ ถือศีล ๘ ก็จะรับประทาน

หลังจากเที่ยงวันไปแล้วไม่ได้

ดูหนังฟังเพลงไม่ได้

ไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆไม่ได้

 ร่วมหลับนอนกับคนนั้นคนนี้ไม่ได้

พอถือศีล ๘ มันก็จะช่วยตัด

เรื่องของกามฉันทะได้

 แล้วก็ถ้าเกิดความฟุ้งซ่าน

 จิตคิดมากคิดไม่หยุดไม่หย่อน

ก็ต้องใช้การเจริญสติ

บริกรรมพุทโธสู้กับมัน

 มันจะคิดถึงคนนั้นคนนี้

ก็ใช้พุทโธหยุดมันให้ได้

บริกรรมพุทโธๆไป หรือสวดมนต์ไป

 อย่าปล่อยให้ใจอยู่เฉยๆ

 ถ้าอยู่เฉยๆมันก็จะไปคิดถึงคนนั้นคนนี้

เรื่องนั้นเรื่องนี้ แล้วก็จะเกิดความอยาก

เกิดความวิตกความกังวลต่างๆตามมา

นี่คือเรื่องของนิวรณ์ ที่เป็นอุปสรรค

ต่อการที่จะทำให้จิตเข้าสู่ความสงบ

 ถ้ามีความโกรธก็ต้องใช้ความเมตตา

เช่นโกรธคนนั้นโกรธคนนี้ เวลานั่งสมาธิ

ก็นั่งไปไม่ลง นั่งไม่สงบ

ก็ต้องแผ่เมตตาก็คือให้อภัย

 ไม่จองเวรไม่ถือโทษ โกรธเคือง

คิดว่าเป็นการใช้หนี้กันไป

เราคงไปทำอะไรให้เขาไม่พอใจ

เขาจึงมาทำให้เราไม่พอใจ

ทำให้เราโกรธแต่เราไปห้ามเขาไม่ได้

 แต่การดับการโกรธของเรานี้

เราดับได้ด้วยการยอมแพ้

 คือไม่เอาเรื่องเอาราว

 แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร

ถ้าเรายอมแพ้ ปล่อยเขาทำไป

ทำก็ทำไปแล้ว สิ่งที่เขาทำมันก็ผ่านไปแล้ว

 เราอย่าไปจองเวรจองกรรม

จะทำให้ใจของเราโกรธต่อไปอีก

พอเราไม่ถือโทษโกรธเคืองให้อภัย

ใจก็จะกลับเข้าสู่ความสงบได้

กลับมานั่งสมาธิได้

นี่คืออุปสรรคต่างๆ

 ที่จะเกิดขึ้นเวลาที่จะทำใจให้สงบ

 ถ้ามีอุปสรรคเหล่านี้เราก็ต้องเจริญธรรมะ

ที่จะมาแก้กัน เช่นคนที่มีกามารมณ์

 อยากจะร่วมหลับนอนกับคนนั้นคนนี้

ก็ต้องพิจารณาความไม่สวยงาม

ของร่างกายของเขา

ดูในส่วนที่ไม่สวยงาม

 เช่น ดูอวัยวะน้อยใหญ่

ที่มีอยู่ภายใต้ผิวหนัง

 ดูหัวใจ ดูตับ ดูปอด

 ดูลำไส้ หรือดูสิ่งที่เป็นปฏิกูล อุจจาระ

ปัสสาวะในตัวของเขา

 หรือดูกลิ่นที่ไม่น่าปรารถนา

เวลาที่ไม่ได้อาบน้ำ เวลาที่ผายลมออกมา

ให้พิจารณาส่วนที่ไม่สวยงามสิ่งที่เป็นปฏิกูล

 ก็จะทำให้ดับกามารมณ์ได้

 ถ้ามีกามารมณ์นี้นั่งสมาธิอย่างไรก็นั่งไม่ได้

สงบไม่ได้ เพราะมันจะคิดถึงแต่คนนั้นคนนี้

ที่อยากจะร่วมหลับนอน ร่วมเสพกามกับเขา

ถ้ามีความอยากรับประทานอาหารมากจนเกินไป

รับประทานไปแล้วก็ยังอยาก จะรับประทานอีก

 ก็ให้ดูอาหาร พิจารณาอาหาร

ตอนที่ในปากเราบ้างว่า

 เป็นอย่างไร เวลาที่เราเคี้ยวผสมกับน้ำลาย

มันเอร็ดอร่อยเหลือเกิน

 ลองคายมันออกมาใส่จานใหม่ดู

 แล้วตักเข้าไปในปาก แล้วตักเข้าไปใหม่ดู

ดูซิว่าจะกินได้ไหม

อาหารที่แสนเอร็ดอร่อย

ที่เรากลืนเข้าไปในท้อง

 อาเจียนมันออกมา

แล้วก็ลองตักเข้าไปกินใหม่ได้หรือเปล่า

 ให้มองอาหารส่วนนั้น

 อย่าไปมองแต่อาหารที่อยู่ในจาน

ถ้ามองแต่อาหารที่อยู่ภายในจาน

มันก็จะหิว จะอยากกิน

แต่ถ้าเห็นอาหารที่อยู่ในปากที่ถูกเคี้ยว

ถูกบดแล้วก็ผสมกับน้ำลาย

ถ้าเห็นในสภาพอย่างนั้น ก็จะกินไม่ลง

หรือเห็นตอนที่มันอยู่ในท้องแล้วอาเจียนออกมา

หรือตอนที่มันอยู่ในลำไส้แล้วขับถ่ายออกมา

 นี่มันก็เป็นอาหารทั้งนั้นแหละ

อาหารในสภาพต่างๆ

 ถ้าเราเห็นในสภาพที่ไม่น่าอยากรับประทาน

มันก็จะไม่อยากรับประทาน

อันนี้ก็คือวิธีแก้ สำหรับคนที่ชอบ

รับประทานอาหารมากจนเกินไป

หรือจะใช้วิธีหนึ่งก็คือใช้ขันติใช้การลงโทษ

ถ้าหิวอยากจะกินก็ไม่กินมันสัก ๓ วันไปเลย

 ตัดปัญหาไปเลย คือให้มันมื้อหนึ่ง

แล้วมันยังอยากจะกินอีก

ก็อย่าไปกินมันเลยสัก ๓ มื้อดู

 อดอาหารไปเลย

 ถ้ามีเด็ดเดี่ยวมีความกล้าหาญ

มีกำลังที่จะต่อสู้

กับความหิวอาหารได้

พอมันถูกลงโทษอย่างนี้

 ต่อไปมันจะไม่กล้าหิวไม่กล้าอยาก

 มันจะเข็ดมันจะกลัว เราไม่ลงโทษมัน

เวลามันอยากกินเราก็ รีบหามาประเคน

 ให้มันเลย มันจะกินอะไรก็หามาเลย

 อย่างนี้มันก็ได้ใจน่ะซิ ถึงเวลาอิ่มแล้ว

มันก็ยังอยากจะกินอยู่

ร่างกายมันถึงกลายเป็นตุ่มกันทุกวันนี้

ก็เพราะว่ามันไม่มีความเด็ดเดี่ยว

กับความอยากเลย

 อ่อนแอกับความอยากมาก

 เวลาเกิดความอยากแล้วนี้ สู้มันไม่ได้

ต้องทำตามใจมันเสมอ

 จนถึงต้องไปเสียเงินเสียทองรีดไขมันออก

ต้องไปออกกำลังกายให้แสนยาก แสนลำบาก

อันนั้นไม่ได้เป็นการแก้ที่ต้นเหตุ

ต้นเหตุก็คือการรับประทานอาหารมากเกินไป

 รับประทานมากๆแล้วก็ไปกระโดดโลดเต้น

รีบให้ไขมันเหงื่อมันแตกออกมา

มันกินเข้าไปร้อย

มันรีดออกมาแค่ ยี่สิบเท่านั้นเอง

 แล้วมีวันหรือที่มันจะหาย

จากการมีน้ำหนักเกินนี้

มันไม่มีวันเป็นไปได้หรอก

ถ้าอยากจะลดน้ำหนัก

ก็อย่าไปกินมันเท่านั้นเอง

 อันนี้เป็นตรรกะง่ายๆ ทำไมมนุษย์เรา

ที่แสนฉลาด  กลับโง่แสนโง่

วิธีที่จะลดน้ำหนักก็คืออย่าไปเติมน้ำหนักซิ

 มันก็หมดเรื่อง อยากจะลดน้ำหนัก

แต่เห็นเติมน้ำหนักอยู่ แล้วมันจะลดได้อย่างไร

อยากจะลดน้ำหนักก็อย่าไปเติมน้ำหนัก

อย่าไปกินมัน กินให้มันน้อย

เช่นเคยกินวันละ ๒ กิโล

ก็ลดเหลือวันละกิโลหนึ่ง

หรือลดเหลือแค่ครึ่งกิโลอย่างนี้

ต่อไปไม่กี่วันน้ำหนักมันก็หายไปเอง

นี่คือวิธีง่ายๆ แต่ยากสำหรับผู้ที่มีความอยาก

แต่ถ้าเราอยากจะปฏิบัติธรรมเพื่อให้จิตสงบนี้

เราต้องยินดีที่จะเสียสละความสุข

ที่ได้จากการรับประทานอาหาร

ถ้าเรารักพี่เสียดายน้องเราจะไม่ได้

 ถ้าเรายังอยากกินอาหารอยู่

คิดแต่หาหมอนอย่างเดียว

 ทางจงกรมไม่คิดถึง การนั่งสมาธินี้ไม่คิดถึง

นั่งก็หลับนั่งก็สัปหงก คอพับไป

 หลับในท่านั่งสมาธิ

 นี่คือปัญหาของผู้ปฏิบัติสมาธิกัน

 มีนิวรณือยู่ ๕ ข้อด้วยกัน

คือ วิจิกิจฉาคือ ความลังเลสงสัย

ความง่วงเหงาหาวนอน ความฟุ้งซ่าน

 กามารมณ์ กามฉันทะ

 แล้วก็ความโกรธ ความไม่พอใจ

เวลาจะนั่งสมาธิจะต้องเจอปัญหาเหล่านี้

 ถ้าไม่รู้จักวิธีที่จะกำจัดมัน

 ก็จะไม่มีวันที่จะสามารถนั่งสมาธิ

แล้วทำใจให้สงบได้เลย

ดังนั้นขอให้พวกเราศึกษา

ถึงวิธีที่จะแก้ปัญหาต่างๆ

ที่จะเกิดขึ้นเวลาที่เราจะนั่งสมาธิกัน

 สาเหตุที่พระต้องไปอยู่ป่าช้ากัน

 ไปอยู่ตามป่าตามเขากันก็เพราะว่าจะได้แก้ปัญหา

เรื่องของความง่วงนอนนี่เอง

 ส่วนหนึ่งแล้วก็แก้ปัญหาเรื่องกามารมณ์

เพราะถ้าเราไปอยู่ห่างไกลจากเเสงสีเสียง

ห่างไกลจากอาหารอย่างนี้

ก็จะไม่มีอาหารให้รับประทาน

 ก็จะไม่ง่วงเหงาหาวนอน

ก็จะไม่รับประทานอาหารมากเกินไป

 แล้วก็จะไม่มีกามารมณ์เกิดขึ้น

ส่วนเวลาฟุ้งซ่านก็เพราะว่าไม่เจริญสติ

ปล่อยให้จิตคิดไปเรื่อยเปื่อย

 ถ้าไม่อยากจะฟุ้งซ่านก็ต้องคอยควบคุม

ความคิดเอาไว้ ให้บริกรรมพุทโธๆไปเรื่อยๆ

อย่าไปคิดอะไร ถ้าลังเลสงสัย

ก็ต้องเข้าหาครูบาอาจารย์ ไปศึกษา

ไปฟังเทศน์ฟังธรรม ไปฟังการปฏิบัติ

ของท่านไปฟังเรื่องผล

ที่เกิดจากการปฏิบัติของท่าน ว่ามันเป็นอย่างไร

 มีจริงหรือไม่ พอได้ยินได้ฟัง

ผลที่เกิดจากการปฏิบัติของท่าน

ก็จะทำให้เราหายสงสัยได้

เห็นว่าท่านอดอาหารเพราะอะไร

อดอาหารแล้วทำให้เกิดความง่วงเหงาหาวนอน

 ไปอยู่ในป่า อยู่ที่เงียบๆ

ที่สงบก็จะทำให้ไม่มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน

ไม่มีกามฉันทะ

นี่คือวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยทำให้ใจสงบ

เวลาที่เรานั่งสมาธิแล้ว

ไม่มีอารมณ์ฟุ้งซ่านไม่มีกามฉันทะ

นี่คือวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยทำให้ใจของเราเสงบ

เวลาที่เรานั่งสมาธิแล้วใจมีปัญหาเกิดขึ้นมา

เราก็ต้องรู้ว่าปัญหาตอนนี้เป็นอะไร

 ถ้ามีกามารมณ์ก็ต้องคิดถึงอสุภะ

 ความไม่สวยงาม หรือปฏิกูล

ความสกปรกของร่างกาย

ถ้ามีกามฉันทะอยากจะรับประทานอาหาร

ก็ต้องพิจารณา ความเป็นปฏิกูลของอาหาร

 ถ้าอยากจะดูอยากจะฟังก็พิจารณาว่า

สิ่งที่ดูที่ฟังนี้มันไม่ได้ทำให้ใจเราสงบ

 มีแต่จะทำให้ใจเราฟุ้งซ่าน ต้องใช้สติ ใช้ปัญญา

จึงจะสามารถแก้ปัญหาแก้อุปสรรค

ที่จะมาปิดกั้น การทำใจให้สงบได้.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

................................

ธรรมะบนเขา วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖

“วันเกิดของพระพุทธศาสนา”







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 13 กันยายน 2559
Last Update : 13 กันยายน 2559 21:55:02 น.
Counter : 733 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ