Group Blog
All Blog
### ความคิดในทางปัญญา ###













“ความคิดในทางปัญญา”

ความคิดในทางปัญญาคืออะไร

ก็คือให้คิดไปในตามความเป็นจริง

ของสภาวธรรมทั้งหลาย

สิ่งต่างๆ ที่ใจมาเกี่ยวข้องด้วยมาสัมผัสรับรู้

มาครอบครองเป็นสมบัติ

ล้วนอยู่ภายใต้หลักของไตรลักษณ์ทั้งนั้น

คือมีไตรลักษณ์เป็นคุณสมบัติ

ไตรลักษณ์ก็คือคุณลักษณะ ๓ ประการ

ของสภาวธรรมทั้งหลายคือ

 ๑. อนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน

 ความไม่ถาวร

 ๒.ทุกขัง คือความทุกข์ ถ้าไปยึดไปติด

ไปอยากในสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน

 จะต้องทุกข์ขึ้นมาเพราะจะไม่ได้ดังที่ปรารถนา

เพราะความปรารถนาความอยากของใจนั้น

จะสวนทาง กับความจริง

คืออยากให้สิ่งที่เป็นอนิจจัง เป็นนิจจังนั่นเอง

 อยากจะให้สิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน

 ให้เที่ยงแท้แน่นอน พอไม่ได้ดังใจ

ก็จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา

คุณลักษณะที่ ๓ ของสิ่งต่างๆ ก็คืออนัตตา

 คือไม่เป็นของใครทั้งนั้นไม่มีใครเป็นเจ้าของ

เป็นธรรมชาติเป็นของธรรมชาติ

 ไม่มีใครไปควบคุมไปสั่งให้

เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ได้เสมอไป

 ของบางอย่างก็อาจจะควบคุมบังคับสั่งได้

บางครั้งบางเวลา แต่มีบางครั้งบางเวลา

 ที่จะไม่สามารถไปควบคุมบังคับไปสั่งได้

 เขาจะเสื่อมเขาก็ต้องเสื่อม

 เขาจะเจริญเขาก็ต้องจะเจริญ

 ไปยับยั้งเขาไม่ได้

นี่คือคุณลักษณะ ๓ ประการ

ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์

ไตรแปลว่า ๓ ลักษณ์ก็แปลว่า ลักษณะนี่เอง

 ผู้ที่จะต้องการมีปัญญาที่จะใช้เป็นเครื่องมือ

ในการทำลายโมหะอวิชชากิเลสตัณหา

ก็จำเป็นจะต้องพิจารณา

 อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ต้องมองเห็นไตรลักษณ์

ในทุกสิ่งทุกอย่างทุกเวลา

ถ้าเห็นไตรลักษณ์ในทุกสิ่งทุกอย่าง

 ทุกเวลาก็จะไม่มีความอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้

เพราะเห็นว่าการได้สิ่งนั้นสิ่งนี้มา

 เป็นการเอาความทุกข์มาใส่ตน โดยใช่เหตุ

 ผู้ที่ต้องการหยุดความอยาก

ไม่ต้องการสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้

ก็ต้องเป็นผู้ที่มีความสุขอยู่แล้ว

มีอุเบกขามีสมาธินี่เอง ถ้ามีสมาธิมีอุเบกขา

 ก็แสดงว่ามีความสุขในตัวแล้วไม่จำเป็น

ที่จะต้องหาสิ่งนั้นสิ่งนี้ มาให้ความสุข

 แต่เนื่องจากไม่มีปัญญา

ก็ยังอาจจะถูกหลอก

ให้ไปหาสิ่งนั้นสิ่งนี้มาได้

 ถ้าไม่มีพระพุทธศาสนา มาบอกความจริงอันนี้

สมัยที่ยังไม่มีพระพุทธศาสนา

ผู้ที่ได้สมาธิได้ฌานกันแล้ว

ก็ยังมีความอยากให้สิ่งนั้นสิ่งนี้

 เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้

พออยากแล้วก็เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา

ทั้งๆที่ถ้าไม่ได้อะไรมาก็จะไม่เดือดร้อน

 เพราะว่ามีความสุขจากการมีฌานมีสมาธิอยู่แล้ว

แต่ไม่รู้กันก็ยังไปอยากให้สิ่งนั้นสิ่งนี้

เช่นร่างกาย อยากให้ร่างกายไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

ก็จะสร้างความทุกข์ให้กับใจ

 แต่ถ้ารู้ว่าความทุกข์นี้เกิดจาก

ความอยากไม่แก่ อยากไม่เจ็บ อยากไม่ตาย

 เพราะไปห้ามร่างกาย

ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตายไม่ได้

 ก็หยุดความอยากนี้เสียความทุกข์ก็จะไม่เกิด

นี่คือความรู้ที่ไม่มีใครรู้ได้ด้วยตนเอง

นอกจากพระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว

 คือความรู้ในอริยสัจ ๔ นี่เอง

รู้ว่าความทุกข์ใจนี้เกิดจากความอยาก

อยากในสิ่งที่ไม่เที่ยง

 อยากในสิ่งที่ไปควบคุมบังคับไม่ได้

จึงเกิดความทุกข์ขึ้นมา

 พอมีสติมีสมาธิมีปัญญา มองเห็นความจริง

ว่าเราไม่ต้องไปอยากกับสิ่งนั้นสิ่งนี้

เราก็มีความสุขอยู่แล้ว

 เรื่องอะไรที่เราจะต้องไปสร้างความทุกข์

ให้กับเราด้วยการไปอยากให้สิ่งนั้นสิ่งนี้

เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้

เช่นอยากให้ร่างกายไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายไปทำไม

 เพราะอยากอย่างไรร่างกายมันก็ต้องแก่

 ต้องเจ็บ ต้องตายไปอยู่ดี

ไม่มีใครไปห้ามความแก่ ความเจ็บ

 ความตายของร่างกายได้

พอเห็นด้วยปัญญา เห็นว่าร่างกายเป็นอนิจจัง

 ทุกขัง อนัตตาก็ปล่อยวางได้

หยุดความอยากได้

เพราะว่าความอยากนี้

เป็นที่สร้าง ความทุกข์ให้กับใจ

แล้วก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร

กับเรื่องของร่างกายแต่อย่างใด

ร่างกายก็ยังแก่ ยังเจ็บ ยังตายเหมือนเดิมอยู่

 แล้วไปทุกข์ทำไม ไปอยากทำไม

ผู้พิจารณาไตรลักษณ์จะเห็นอย่างนี้

เห็นอย่างนี้ก็จะหยุดความอยากไม่อยากต่อไป

 ปล่อยให้ร่างกายแก่ไป ปล่อยให้ร่างกายเจ็บไป

 ปล่อยให้ร่างกายตายไป

แล้วใจจะไม่ทุกข์ ใจจะสบาย

เพราะร่างกายกับใจนี้เป็นคนละส่วนกัน

 ร่างกายตายไปไม่ได้ทำให้ใจตายไปกับร่างกาย

 ร่างกายสูญสลายไปไม่ได้ทำให้ใจสูญสลายไป

 ใจก็ยังเป็นเหมือนเดิมอยู่

เป็นผู้รู้อยู่เหมือนเดิมเป็นผู้รู้เป็นผู้คิด

ถ้าคิดด้วยความหลงก็ผลิตความทุกข์ให้กับใจ

 ถ้าคิดด้วยความจริงคิดด้วยธรรมะ

ก็จะผลิตแต่ความสุข ความสงบให้แก่ใจ

นี่คือคิดในทางปัญญา

 ผู้ที่คิดในทางปัญญาเห็นไตรลักษณ์ได้

ก็จะหยุดความอยากได้

ถ้ามีสมถภาวนาแล้ว มีสมาธิแล้ว

 แต่ถ้าไม่มีสมาธิอย่างพวกเราตอนนี้

ที่ฟังอยู่นี้ก็ยังหยุดความอยากไม่ได้

พอเจอความแก่ก็อยากจะไม่แก่

พอเจอความเจ็บก็อยากจะไม่เจ็บ

พอเจอความตายก็อยากจะไม่ตายอยู่ดี

 เพราะไม่มีกำลังหนึ่ง

ไม่มีกำลังที่จะต่อสู้กับความอยาก

 ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

 เพราะไม่มีความสุขใจนั่นเอง

ถ้าใจมีความสุขแล้ว

ใจก็จะไม่ต้องใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือ

 ไม่ต้องใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข

 ทางตาหูจมูกลิ้นกายนี่เอง

เมื่อไม่ต้องใช้ร่างกาย

 ร่างกายมันจะเป็นอย่างไรก็ไม่เป็นปัญหา

 เพราะว่ายังมีความสุข ยังหาความสุขได้

ไม่ต้องใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข

 ร่างกายจะอยู่หรือไม่อยู่

จึงไม่เป็นประเด็นสำคัญ อีกต่อไป

 สำหรับผู้ที่มีสมาธิมีความสงบแล้ว

พอพิจารณาเห็นว่าความยึดติด

ความผูกพันกับร่างกาย เป็นเหตุ

ทำให้เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา

ก็ตัดความผูกพันกับร่างกายนั้นไปก็เท่านั้นเอง

 แล้วใจก็สบายไม่ว่าร่างกาย จะเป็นอย่างไร

ก็จะไม่เป็นปัญหากับใจอีกต่อไป

นี่คือขั้นของปัญญาต้องพิจารณาไตรลักษณ์

ในทุกสิ่งทุกอย่างไม่ใช่เฉพาะแต่ร่างกาย

 ร่างกายนี้เพียงแต่ ยกตัวอย่าง

ถ้าเรายังมีความผูกพันกับสิ่งใด

เราก็ต้องพิจารณาสิ่งนั้น

ให้เห็นว่าเป็นไตรลักษณ์ให้ได้

 แล้วเราจะปล่อยวางได้

เราจะไม่อยากให้เขาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ได้

เราก็จะไม่ทุกข์กับสิ่งนั้นได้

 เช่นทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง

 ถ้าเราพิจารณาว่าเป็นไตรลักษณ์

เราก็จะปล่อยวางทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองได้

 จะหมดไปวันนี้หรือไม่หมดไปวันนี้ก็รับได้

เพราะว่าไม่ได้อาศัยเงินทอง

 เป็นเครื่องไม้เครื่องมือหาความสุขอยู่แล้ว

 ถ้าจะใช้เป็นเครื่องมือก็สำหรับการดูแล

รักษาร่างกายไปวันๆหนึ่งด้วยปัจจัย ๔

แต่ถ้าดูแลรักษาร่างกายไม่ได้

ต้องสูญเสียร่างกายไป

ก็ไม่เป็นปัญหาอีกเหมือนกัน

 เพราะใจก็ไม่ได้พึ่งร่างกายอีกแล้ว

สำหรับการหาความสุข ใจหาความสุขได้

จากการเจริญสติ จากการเข้าสมาธิ

ดังนั้นร่างกายก็ไม่เป็นปัญหา

 ทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองก็ไม่เป็นปัญหา

 ยศถาบรรดาศักดิ์ การจะมีตำแหน่งขั้นนั้นขั้นนี้

หรือไม่มีก็ไม่เป็นปัญหา

 ใครจะตั้งให้เป็นอะไรหรือไม่ตั้งให้เป็นอะไร

 ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร

ใครจะยกย่องสรรเสริญหรือไม่

ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร

 ไม่ต้องหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย

 เพราะความสุขที่มีอยู่นี้มันมีคุณค่า

มีน้ำหนักมากกว่าความสุขที่ได้จากการดู

การฟังการดื่มการรับประทาน

ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้

จะไม่มีคุณค่าราคาหรือมีความสำคัญกับจิต

ของผู้ที่มีความสงบแล้ว ความสงบนี้เป็นสุข

ที่ยิ่งใหญ่กว่าความสุขทั้งหลายในโลกนี้นั่นเอง

 ไม่มีอะไรในโลกนี้ไม่มีร่างกาย

 ที่จะใช้หาความสุขจากสิ่งต่างๆ ในโลกนี้

ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร

เพราะมีความสุขที่ยิ่งใหญ่กว่า

อยู่ภายในใจนี้แล้ว คือความสงบ

 แต่ถ้ายังมีความหลงที่จะมาหลอก

ให้ไปอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้

 ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ปัญญา มาแก้ความหลงนี้

 นี่คือเหตุผลที่ทำไมยังต้องเจริญปัญญา

หลังจาก ที่ออกจากสมาธิมาแล้ว

หลังจากที่ได้ ความสงบ

ได้ความสุขที่ยิ่งใหญ่กว่า

ความสุขทั้งหลายในโลกนี้แล้ว

 เพราะว่าเวลาออกมาความหลงนี้ ยังไม่ตาย

ก็จะออกมาหลอกให้ไปรักไปหวงไปห่วงสิ่งนั้นสิ่งนี้

 บุคคลนั้นบุคคลนี้ จึงจำเป็นจะต้องใช้ปัญญา

 พิจารณาให้เห็นว่าเป็นไตรลักษณ์

 พอเห็นว่าเป็นไตรลักษณ์แล้วก็จะปล่อยได้

จะไม่หวงจะไม่ห่วง เพราะรู้ว่าทำอะไรไม่ได้

 หวงอย่างไร ห่วงอย่างไรก็ตายอยู่ดี

 ต้องจากกันอยู่ดี พอไม่มีความหลงแล้ว

 ก็จะไม่มีความหวงไม่มีความห่วง

 ไม่มีความอยาก แล้วก็ไม่ต้องใช้ปัญญาอีกต่อไป

 เพราะปัญญาก็มีไว้ใช้เพื่อ แก้ความหลงนี่เอง

 พอไม่มีความหลงแล้วก็ไม่รู้ว่าจะไปแก้อะไรอีก

 เหมือนกับปมที่มีคนผูกเชือกเป็นปม

 หลายปมหลายชั้น

 พอแกะปมแต่ละปมออกไปจนหมด

จนเหลือกลายเป็นเชือกเส้นเดียวก็ไม่มีปม

 เหลือให้แกะอีกแล้วก็ไม่ต้องไปแกะอะไร

พอไม่มีความหลงที่จะไปยึด ไปติดไปอยาก

กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ ปัญญาก็จะไม่มีงานทำแล้ว

 ท่านถึงเรียกว่าวุสิตัง พรัหมะ จะริยัง

ภารกิจของพรหมจรรย์ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว

ของผู้ที่ทรงศีล ของผู้ที่ปฏิบัติธรรม

พรัหมจรรย์ก็คือ ผู้ที่ถือศีลพรหมจรรย์

 คือนักบวชทั้งหลายนี่เอง

ภารกิจของนักบวชได้สิ้นสุดลงแล้ว

 เมื่อโมหะความหลง

หรืออวิชชาความไม่รู้ความจริง

ได้ถูกทำลายไปหมดแล้ว

พอไม่มีโมหะไม่มีอวิชชาก็จะไม่มีกิเลสตัณหา

 พอไม่มีกิเลสตัณหาก็จะไม่มีความทุกข์

ก็จะมีแต่ปรมัง สุขัง มีแต่ความสุข

อยู่ตลอดเวลานาทีไม่มีวันสิ้นสุด

เพราะว่าจิตนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีวันสิ้นสุดนั่นเอง

 จิตไม่มีวันตาย จิตของพระพุทธเจ้า

หรือจิตของพวกเราก็เหมือนกัน

ไม่มีวันตายเหมือนกัน

ต่างกันตรงที่จิตของพระพุทธเจ้า มีแต่ความสุข

 แต่จิตของพวกเรานี้มีแต่ความทุกข์

 เพราะพวกเรายังไม่ได้ทำลาย

โมหะอวิชชากิเลสตัณหา

 ผู้เป็นตัวสร้างความทุกข์ต่างๆ ให้แก่ใจนี่เอง

 ต่างกันตรงนี้

ภารกิจของการปฏิบัติของพรหมจรรย์

ก็อยู่ที่ตรงนี้เอง อยู่ที่การทำลายโมหะอวิชชา

 กิเลสตัณหา ด้วยการบำเพ็ญจิตตภาวนา

 ด้วยการปฏิบัติธรรม ด้วยการเจริญสติ

ด้วยการเจริญสมาธิ ด้วยการเจริญปัญญานี่เอง

 นี่คือภารกิจที่นักบวช

นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายกระทำกัน

 ที่ได้รับผลแตกต่างกัน

 บางคนได้มากได้น้อยต่างกัน

 บางคนได้ช้าได้เร็วต่างกัน

ก็อยู่ที่การเจริญสติ สมาธิ และปัญญานี่เอง

 ถ้าเจริญได้มาก เจริญได้อย่างต่อเนื่อง

ก็จะได้ผลมากและได้สำเร็จเร็ว

 ถ้าเจริญไม่มาก เจริญไม่ต่อเนื่องก็จะได้ผลน้อย

 และจะสำเร็จช้าก็อยู่ที่ตรงนี้เองอยู่ที่เหตุ

เหตุก็คือการปฏิบัติธรรม

 การเจริญจิตตภาวนา

 คือเจริญสติ สมาธิ และปัญญานี่เอง

 ไม่ได้อยู่ที่ตรงไหน

ความแตกต่างของผู้ปฏิบัติคือผลที่ได้รับช้าเร็ว

ต่างกันก็อยู่ที่ตรงนี้ได้มากได้น้อยก็อยู่ที่ตรงนี้

 บางคนอาจจะได้แค่ ขั้นสมาธิ

 บางคนอาจจะได้ขั้นโสดาบัน

 บางคนอาจจะได้ขั้นสกิทาคามี

บางคนอาจจะได้ขั้นอนาคามี ขั้นอรหันต์

ก็อยู่ที่การเจริญสติ สมาธิ ปัญญานี่เอง

ว่าเจริญมากเจริญน้อย

เจริญอย่างต่อเนื่องหรือไม่

ไม่ได้อยู่ที่เหตุอื่นเลย

ไม่ได้อยู่ที่ว่าเป็นหญิงหรือเป็นชาย

เป็นนักบวชหรือเป็นฆราวาสผู้ครองเรือน

 เป็นเด็กหรือเป็นผู้ใหญ่

 เป็นคนรวยหรือเป็นคนจน

 เป็นคนที่มีฐานะสูงส่งหรือคนต่ำต้อย

สถานภาพเหล่านี้ ไม่ได้เป็นเหตุ

ที่ทำให้เกิดผลที่แตกต่างกัน

ผลที่แตกต่างกันนี้อยู่ที่การเจริญสติ

 สมาธิและปัญญาเท่านั้น

ผู้ที่บรรลุมรรคผล นิพพาน

ในพระพุทธศาสนา

จึงมีทุกสถานภาพ กษัตริย์ก็มี เศรษฐีก็มี

 ยาจกขอทานก็มี หญิงก็มี ชายก็มี

 ฆราวาสผู้ครองเรือนก็มี

นักบวชก็มีบรรพชิต มีทุกรูปแบบ

ดังนั้นขอให้พวกเราจงพุ่งไปที่

การปฏิบัติของเราเป็นหลัก

อย่าไปสนใจกับอะไรต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็นบารมีน้อย บารมีมาก

 ได้สะสมบารมีมาน้อยบารมีมาไม่เป็นปัญหาอะไร

 เพราะตอนนี้เรามีเครื่องเสริมบารมีคือ

 มีพระพุทธศาสนาทำให้ผู้ที่มีบารมีมาก

 มีบารมีน้อยนี้แทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลย

 เพราะมีพระพุทธศาสนา

มีบารมีของพระพุทธศาสนามาเสริม

แทนบารมีที่เราไม่มีกัน เช่นปัญญาบารมี

นี้ ถ้าไม่มีพระพุทธศาสนา

เราจะไม่สามารถที่จะสร้างปัญญาบารมี

ให้ได้ภายในชาตินี้

จะต้องบำเพ็ญเหมือนกับ พระโพธิสัตว์

เช่นพระพุทธเจ้าไปอีกหลายกัปหลายกัลป์ด้วยกัน

 กว่าจะได้บารมีระดับของพระพุทธเจ้าขึ้นมา

 แต่ตอนนี้เราได้มาได้ยินได้ฟัง

ปัญญาบารมีของพระพุทธเจ้าแล้ว

 ดังนั้นเราไม่ต้องไปเสียเวลาสร้างด้วยตนเอง

 เหมือนกับมีคนทำถนนให้เราแล้ว

 เราไม่ต้องทำถนนเอง

มีคนสร้างถนนให้เราวิ่งข้ามเขาใหญ่ไป

 มีสร้างให้เสร็จแล้วเพียงแต่เราเดินไป

หรือขับรถไปเท่านั้นเอง

 ถ้าไม่มีพระพุทธศาสนา

ก็เหมือนกับว่ายังไม่มีถนน

 มีแต่ป่ามีแต่เขา

 เราสร้างคนเดียวเมื่อไรเราจะสร้างเสร็จกัน

ดังนั้นเราต้องไม่ต้องไปอ้างว่า

บารมีน้อยวาสนาน้อย

 อันนี้ไม่ใช่เป็นเหตุเสียแล้ว

 จะเป็นเหตุก็ตอนในยุคที่

ไม่มีพระพุทธศาสนาเท่านั้นจึงจะอ้างได้

 มีพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น

ที่มีบารมีมากมีวาสนามาก

จึงทำให้พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้

เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้

เพียงพระองค์เดียว คนอื่นนี้ไม่มีวาสนา

ไม่มีบารมีมากพอ แต่พอมีพระพุทธศาสนา

มีคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

ทีนี้พวกที่มีวาสนาน้อย วาสนามาก

 บารมีน้อยบารมีมากนี้บรรลุกันเหมือนดอกเห็ด

 พุ๊บพั๊บๆพอได้ยินได้ฟังพระธรรมคำสอน

ของพระพุทธเจ้า ก็บรรลุกันเลย

 ครั้งเดียวพร้อมกัน ๕๐๐ รูป คิดดู

ทรงแสดงธรรมให้กับนักบวช

ในสำนักพวกนี้เขามีฌาน มีสมาธิมีสติกันแล้ว

 มีศีลกันแล้วแต่เขาไม่มีปัญญา

พอได้ยินได้ฟังธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า

 ที่เป็นปัญญาเพื่อการหลุดพ้น

 พอได้ยินได้ฟังปั๊บเขาก็หลุดพ้นกันเลย

อันนี้แหละตัวที่จะมาทำให้

 ผู้ที่มีบารมีน้อยมากนี้ สามารถมีบารมีเท่ากันได้

คือสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้

ภายในชาตินี้เลย นี่แหละคือความวิเศษ

ของพระพุทธศาสนา

ที่จะทำให้สัตว์ผู้อาภัพอย่างพวกเรา

 สัตว์ที่ด้อยวาสนาบารมี

กลายเป็นสัตว์ที่มีวาสนาบารมีอันยิ่งใหญ่

คู่ควรต่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน

 ถ้าไม่มีพระพุทธศาสนาแล้ว

พวกเราก็ต้องสะสมบุญบารมี

ไปตามบุญตามกรรม

ซึ่งก็ไม่รู้อีกกี่กัปกี่กัลป์ด้วยกัน

กว่าที่จะสามารถ มีวาสนาบารมี

ที่จะทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้

ดังนั้นชาตินี้จึงเป็นชาติที่แปลกประหลาดมาก

มหัศจรรย์ที่สุด การที่ได้พบกับพระพุทธศาสนา

 ถ้าพิจารณา ด้วยปัญญาแล้ว

จะเห็นว่าไม่มีอะไรที่จะมีคุณค่าเท่าเลย

ต่อให้ได้พบกับเงินทองกองเท่าภูเขา

 มาเกิดเป็นลูกมหาเศรษฐีมีเงินหมื่นล้านแสนล้าน

 เงินหมื่นล้านแสนล้านนั้น

ก็ไม่มีประโยชน์ต่อการบรรลุ มรรคผลนิพพาน

แต่อย่างใด นอกจากไม่เป็นประโยชน์แล้ว

ยังอาจจะเป็นตัวมาสร้างความทุกข์

ให้มีมากขึ้น ภายในใจเสียด้วยซ้ำไป

โดยไม่รู้สึกตัว เพราะจะต้องมีความหวง

ความห่วงในทรัพย์สมบัติ ข้าวของเงินทอง

ที่มีอันมากมาย ที่จะต้องจากกันไปในที่สุด

เวลาที่ร่างกายนี้ตายไปแล้ว

 ดังนั้นไม่มีอะไรที่จะเป็นทรัพย์

ที่ล้ำค่ามหาศาลนอกจากพระพุทธศาสนานี่เอง

 พวกเราเหมือนกับว่า

ได้มาเกิดเป็นลูกมหาเศรษฐีแล้ว

 เราได้มามหาสมบัติอันล้ำค่าอันยิ่งใหญ่

 อยู่ที่พวกเราว่าเราสามารถ

เอาสมบัติอันล้ำค่านี้มาทำประโยชน์

 ให้แก่จิตใจของเราได้หรือไม่

มาชำระจิตใจของเราที่มืดบอด

ให้สว่างขึ้นมาได้หรือไม่

มาชำระจิตใจของเรา

 ที่สกปรกด้วยกิเลสตัณหา

ให้มันสะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมาได้หรือไม่เท่านั้นเอง

 ก็อยู่ที่ตัวเราว่าเราเห็นคุณค่า

ของพระพุทธศาสนาหรือไม่

 เห็นคุณค่าของการปฏิบัติ

ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้หรือไม่

 ถ้าไม่เห็นคุณค่า

ก็เป็นเหมือนพวกทัพพีในหม้อแกง

 ต่อให้ทัพพีอยู่ในหม้อละแสน

มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร

มันไม่รู้ว่าแกงที่มันได้สัมผัสนั้น

มีราคาเป็นแสนเป็นล้าน

 ไม่เหมือนกับพวกที่ลิ้นกับแกง

พวกนี้พอสัมผัส กับแกงเพียงหยดเดียว

ก็จะรู้ทันทีว่าเอร็ดอร่อย

มีรสชาติโอชะชนาดไหน

 นั่นแหละคือจิตของผู้ที่ได้มาสัมผัส

กับพระพุทธศาสนาก็จะเป็น ๒ แบบด้วยกัน

 แบบทัพพีในหม้อแกงกับแบบลิ้นกับแกง

 พวกที่สัมผัสแบบลิ้น กับแกง

ก็จะกลายเป็นพระอริยเจ้ากันไป

ภายในภพนี้ชาตินี้

 เพราะเขาจะไม่นิ่งนอนใจ

เขาจะรีบตักตวงปัญญา

 ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงมอบมา

 รีบตักตวงการปฏิบัติให้เกิดมรรคผลนิพพาน

 ขึ้นมาภายในชาตินี้ให้ได้

เพราะรู้ว่าถ้าตายไปแล้ว

ชาติหน้านี้ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร

ไม่รู้ว่าจะได้กลับมาเจอสมบัติอันล้ำค่า

อย่างนี้อีกหรือไม่

ซึ่งโดยหลักธรรมท่านก็แสดงไว้ว่ายากมาก

 การเกิดเป็นมนุษย์นี้ก็ยากของมันอยู่แล้ว

แล้วการที่จะเกิดเป็นมนุษย์ แล้ว

ได้พบกับพระพุทธศาสนานี้มันยิ่งยากกว่า

ขึ้นไปอีกไม่รู้กี่แสนกี่ล้านเท่าด้วยกัน

 เพราะการเกิดของพระพุทธศาสนาในแต่ละครั้ง

ก็ไม่ใช่เป็นของง่ายดาย

 ยากกว่าการเป็นมนุษย์

อีกหลายแสน หลายล้านเท่า

 เพราะการที่จะได้ของยาก

ทั้ง ๒ ประการนี้พร้อมๆ กันนี้

มันยิ่งยากขึ้นไปอีกสักเท่าไร

ตอนนี้เราได้แล้ว

เราไม่เอามันมาทำประโยชน์

ให้กับเราก็ช่วยไม่ได้แล้ว

ดังนั้นขอให้เราพิจารณา

ให้เห็นคุณค่าของพระพุทธเจ้า

 ถ้ายังไม่เห็นก็พยายามศึกษาไปเรื่อยๆ

 ฟังเทศน์ฟังธรรมทั้งของครูบาอาจารย์

ของพระสาวกและของพระบรมศาสดาเอง

เข้าไปศึกษาพระสูตรสำคัญๆ ต่างๆ

 มีไม่กี่พระสูตร

ไปศึกษาแล้วก็ไปทำความเข้าใจ

 อย่าไปสวด สวดแต่ไม่เข้าใจความหมาย

 ก็เป็นเหมือนนกแก้ว แก้วจ๋าๆ

 พอหยิบแก้วให้ก็โยนทิ้ง จะเอาแต่กล้วยจ๋าๆ

อันนี้ก็เหมือนกัน สวดพระสูตรกันคล่องปาก

 แต่พอถึงเวลาก็จะหาแป๊บซี่โคล่ากันดื่ม

 แทนที่จะเจริญสตินั่นสมาธิกัน

แทนที่จะถือศีล ๘ ก็ยังถือไม่ได้

ทั้งๆที่สวดพระสูตรได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว

 อันนี้เรียกว่าสวดแบบนกแล้ว

 ถ้าสวดแล้วเข้าใจความหมายนี้จะปฏิบัติทันที

จะถือศีล ๘ ทันทีจะออกบวชทันที

 จะเจริญสติ จะนั่งสมาธิ

จะเจริญปัญญาทันทีเลย

 ถ้าทำอย่างนี้แล้วรับรองได้ว่า

มรรคผลนิพพาน

ต้องได้แน่ในชาตินี้อย่างแน่นอน

 เพราะมีผู้ที่ได้มาแล้วกันมากมาย

ก็ขอให้พวกเราจงมุ่งไปที่การปฏิบัติ

 มุ่งไปที่เหตุที่จะทำให้เกิดผล

ก็คือการเจริญสติ

สมาธิและปัญญาอย่างต่อเนื่อง

 อย่าปล่อยให้เวลาอันล้ำค่านี้

ปราศจากการเจริญสติ สมาธิและปัญญาเลย

 เพราะเวลาใดที่เราไม่ได้เจริญสติ

สมาธิและปัญญา

 เวลานั้นก็เป็นเวลาของกิเลสตัณหา

เวลาของการสร้างกองทุกข์

สร้างการเวียนว่ายตายเกิด

ให้มีเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ นั่นเอง

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

........................

ธรรมะบนเขา วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๗

“การปฏิบัติต้องต่อเนื่อง”






ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 11 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2559 10:48:45 น.
Counter : 605 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ