Group Blog
All Blog
### การปฏิบัติต้องต่อเนื่อง ###












“การปฏิบัติต้องต่อเนื่อง”

การปฏิบัติธรรม การเจริญจิตตภาวนา

 ถ้าต้องการจะให้เกิดผลอย่างต่อเนื่อง

ก็จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติ

ต้องเจริญอย่างต่อเนื่อง

 เพราะเวลาใดที่ไม่ได้เจริญ

เวลาใดที่ไม่ได้ปฏิบัติ

เวลานั้นก็จะเป็นเวลาของคู่ต่อสู้

ของข้าศึกศัตรู

 ถ้าเราต้องการที่จะทำลายข้าศึก

ศัตรูคู่ต่อสู้ที่เป็นอุปสรรค

ต่อมรรคผล นิพพาน

เราก็จำเป็นที่จะต้องต่อสู้ทำลายข้าศึก

ศัตรูอยู่ทุกระยะอยู่ทุกเวลา

 เวลาใดที่เราไม่ได้ปฏิบัติ

 เวลาใดที่เราไม่ได้ เจริญจิตตภาวนา

 คือเวลาใดที่เราไม่ได้เจริญสติ

ไม่ได้เจริญสมาธิ ไม่ได้เจริญปัญญา

เวลานั้นก็จะเป็นเวลาของ ข้าศึกศัตรู

ปฏิบัติการของข้าศึกศัตรู

ถ้าเราไม่มีสติใจเราก็จะลอย

 ใจเราก็จะคิดไปตามกำลังของอวิชชา

ปัจจยา สังขารา

 คิดไปในทางกิเลสตัณหา

 คิดไปในทางฟุ้งซ่าน

คิดไปในทางความทุกข์

แต่เวลาใดที่เราได้เจริญสติ

 หรือได้เข้าไปในสมาธิ

หรือถ้าไม่ได้อยู่ในสมาธิ

ออกมาจากสมาธิ

 ได้เจริญปัญญาเวลานั้น

ก็ถือว่าเป็นเวลา ที่เรากำลังปฏิบัติ

กำลังเจริญจิตตภาวนา

ดังนั้นขอให้เราเจริญสติ สมาธิ ปัญญา

อย่างต่อเนื่อง

ส่วนศีลนี้ก็เป็นเรื่อง

ที่เป็นพื้นฐานของจิตใจ

ของผู้ปฏิบัติอยู่แล้ว

ผู้ปฏิบัติถ้าปฏิบัติเจริญสติ สมาธิ ปัญญา

ก็จะไม่มีเวลาที่จะไปทำผิดศีลอยู่

จึงไม่ได้ พูดถึงมากนัก

 เพราะว่าเป็นส่วนที่มีควบคู่

ไปกับการเจริญจิตตภาวนา

 ส่วนเรื่องการทำทานนี้

ก็ควรที่จะแยก ออกไป

จากการเจริญภาวนา

ถ้าจะทำทานก็ทำให้มันเป็นทาน

ที่ยิ่งใหญ่ไปเลย

คือให้มันหมดเรื่องหมดราว

เกี่ยวกับเรื่องทานไปเลย

มีอะไรที่เราไม่ต้องเก็บเอาไว้

มีอะไรที่เรายกให้คนอื่นได้

 ก็ยกให้เขาไปเลย

เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องกลับมาวุ่น

กับการทำทาน

ในขณะที่เราปฏิบัติธรรม

ในขณะที่เราเจริญจิตตภาวนา

เพราะไม่เช่นนั้น

มันจะไม่ได้เจริญจิตตภาวนา

เวลาที่มาทำทาน

 เวลาทำทานก็จะต้องใช้ความคิด

ไปเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ

ก็อาจจะทำให้ไม่ได้ควบคุมความคิด

ไม่ได้เจริญสติ

 ไม่มีเวลาที่จะเข้าไปในสมาธิได้

ที่พูดถึงนี้หมายถึงผู้ที่ไม่มีปัญหา

หรือไม่มีความเกี่ยวข้อง

กับการทำทานแล้ว

 เช่นนักบวชทั้งหลาย

ผู้ที่ได้สละทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง

 สละเพศของฆราวาสไปแล้ว

 ก็จะไม่มีภาระเกี่ยวกับการหาเงินหาทอง

 ใช้เงินใช้ทองหรือทำบุญทำทาน

กับเงินทองที่หามาได้

 ก็จะมีแต่การรักษาศีลคือกาย วาจา

ให้เป็นปกติแล้ว

ก็มาควบคุมใจให้สงบ

ด้วยการเจริญสติ

ด้วยการเข้าไปในสมาธิ

ด้วยการเจริญปัญญา

ดังนั้นพื้นฐานของการปฏิบัติในขั้นแรก

ก็อยู่ที่การเจริญสติ ต้องเจริญสติให้มาก

 ถ้ายังไม่มีสมาธิเพราะว่าสมาธินี้

จะเกิดได้จากการมีสติ

ส่วนปัญญาถึงแม้จะมี

แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นปัญญาที่จะเป็นอาวุธ

ที่จะทำลายข้าศึกศัตรูได้

 เรียกว่าเป็นปัญญาระดับสุตมยปัญญา

 และจินตามยปัญญา

 สุตมยปัญญาคือปัญญาที่ได้รับ

จากการได้ยินได้ฟัง พระธรรมคำสอน

ของพระพุทธเจ้า

 จินตามยปัญญาก็คือการได้ระลึกถึง

คำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่เนืองๆ

 เช่นทรงสอนให้พิจารณาความแก่

 ความเจ็บ ความตาย

ความพลัดพรากจากสิ่งต่างๆ

 จากบุคคลต่างๆ ไปอยู่เนืองๆ

 ปัญญาแบบนี้ยังไม่มีกำลังพอ

ที่จะทำลายข้าศึกศัตรู คือกิเลสตัณหา

โมหะอวิชชาให้ตายไปได้

ต้องมีสมาธิก่อนถึงจะเป็นปัญญา

ที่เรียกว่า “ภาวนามยปัญญา”

ถ้าเป็นภาวนามยปัญญานี้

ก็จะสามารถทำลาย

 ข้าศึกศัตรูได้อย่างถาวร

ภาวนาก็คือสมถภาวนานี่เอง

ที่เรียกว่า “ภาวนามยปัญญา” ก็คือ

ปัญญาที่มีสมถภาวนาเป็นคู่มือ

เป็นผู้ให้กำลัง เป็นผู้สนับสนุน

ดังนั้นผู้ที่จะบำเพ็ญจิตตภาวนา

จึงมองข้าม

การเจริญสมถภาวนาไปไม่ได้

 ถ้ามีเป้าหมาย ในการทำลาย

กิเลสตัณหาโมหะอวิชชา

ให้หมดไปจากใจ

จำเป็นที่จะต้องมีทั้งสมถภาวนา

 และปัญญาคือ

วิปัสสนาภาวนาควบคู่กันไป

 สนับสนุนกันถึงจะเรียกว่า

มีภาวนามยปัญญา

แต่ก่อนที่จะมีสมถภาวนาได้

 มีความสงบ มีสมาธิได้

ก็จำเป็นจะต้องมีสติก่อน

 เพราะสตินี้เป็นเหตุ เป็นผู้ที่จะดึงใจ

ให้เข้าสู่ความสงบ ให้เข้าสู่สมาธินั่นเอง

 ดังนั้นการปฏิบัติที่เป็นพื้นฐาน

ของนักปฏิบัติก็คือการเจริญสติ

อย่างต่อเนื่องทุกเวลานาที

ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนถึงเวลาที่หลับไป

 จะไม่ให้มีการเผลอไปคิดถึงเรื่องราวต่างๆ

 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวในอดีต

 ที่ผ่านแล้วก็ดี

หรือเรื่องราวที่ยังไม่เกิดขึ้นในอนาคตก็ดี

 จะควบคุมจิตให้อยู่ในปัจจุบัน

 อยู่กับการเคลื่อนไหว

 ของร่างกายเป็นหลัก

 ไม่ว่าร่างกายกำลังจะทำอะไร

ก็ให้เฝ้าดูจดจ่อดูการเคลื่อนไหว

ดูการกระทำของร่างกาย

 เหมือนกับผู้ควบคุมนักโทษ

 เวลาปล่อยให้นักโทษออกมาทำงาน

นอกคุกนอกตะราง

ผู้ควบคุมนักโทษนี้ จะต้องเฝ้าดูตลอดเวลา

 ไม่ให้นักโทษนี้คาดจากสายตาไป

 ฉันใดผู้ที่ต้องการที่จะควบคุมจิต

ควบคุมความคิด ไม่ให้คิดเตลิดเปิดเปิง

ไปกับเรื่องราวต่างๆ

ก็จะเป็นจะต้องดึงจิต

ให้มาอยู่กับการเคลื่อนไหว ของร่างกาย

 อยู่กับการกระทำของร่างกาย

 เพราะถ้าต้องจดจ่อดูการเคลื่อนไหว

ดูการกระทำของร่างกาย

 ก็จะไม่สามารถ ที่จะไปคิดถึง

เรื่องนั้นเรื่องนี้ได้

หรือถ้าว่ายังมีกำลังมาก

สามารถไปคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ได้

 ก็จำเป็นจะต้องสติอีก เชือกอีกเส้นหนึ่ง

 เช่นการบริกรรมพุทโธๆ

 มาดึงให้อยู่กับ

การเคลื่อนไหวของร่างกาย

เช่นร่างกายกำลังทำอะไร

 แล้วเผลอไปคิดถึงคนนั้นคนนี้

เรื่องนั้นเรื่องนี้ ก็ให้ใช้

การบริกรรมพุทโธควบคู่ไป

กับการกระทำของร่างกาย

เช่นกำลังอาบน้ำแล้วเผลอ

ไปคิดถึงคนนั้นคนนี้เรื่องนั้นเรื่องนี้

ก็ให้ใช้พุทโธดึงกลับมา

บริกรรมพุทโธๆควบคู่ ไปกับการอาบน้ำ

 หรือถ้าจะหยุดการกระทำก่อน

เพื่อที่จะดึงใจให้กลับมาก่อนก็ได้

เช่นกำลังอาบน้ำอยู่

แต่ใจ ไม่ได้อยู่กับการอาบน้ำ

 ไปอยู่กับเรื่องนั้นเรื่องนี้คนนั้นคนนี้

 ก็ให้หยุดการอาบน้ำแล้วก็ตั้งสติใหม่

 ดึงใจกลับมาให้อยู่กับการอาบน้ำใหม่

นี่คือการควบคุมความคิด

ไม่ปล่อยให้ใจคิดไปเรื่อยเปื่อย

เพราะว่าความคิดนี้จะทำให้ใจไม่สงบ

ใจจะสงบเป็นสมาธิได้นี้

ต้องไม่คิดอะไรหรือคิดอยู่กับเรื่องเดียว

เช่นการบริกรรมพุทโธๆ

นี่คือขั้นพื้นฐานของการปฏิบัติ

ที่จำเป็นจะต้องเจริญสติอยู่อย่างต่อเนื่อง

 ในขณะที่ยังต้องทำภารกิจการงานต่างๆ

 พอไม่มีภารกิจที่จะต้องทำ

 พอมีเวลาว่างก็ต้องนั่งสมาธิให้ได้

ต้องพยายามนั่งให้มากๆ นั่งให้บ่อยๆ

 พอไม่ต้องทำภารกิจทางร่างกาย

ก็หยุดนั่งขัดสมาธิ ตั้งตัวให้ตรง

หลับตาแล้วก็ใช้การดูลมหายใจเข้าออก

เป็นเครื่องดึงใจให้เข้าสู่ความสงบ

การดูลมหายใจก็ไม่ต้องไปบังคับลม

ให้ดูอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งที่ปลายจมูกก็ได้

 หรือที่กลางอกก็ได้แล้วแต่ความถนัด

 แล้วแต่ความชัดเจน

 ถ้าชัดเจนที่ปลายจมูก

ก็ให้เฝ้าดูอยู่ที่ปลายจมูก

หายใจเข้าก็รู้ว่า

ลมสัมผัสที่ปลายจมูก

 หายใจออกก็รู้ว่า

ลมสัมผัสอยู่ที่ปลายจมูก

 ไม่ต้องไปควบคุมบังคับลม

ให้หายใจสั้นหรือหายใจยาว

 ปล่อยให้เป็นเรื่องของลมไป

 เราใช้ลมเป็นที่ผูกใจดึงใจ

ให้ยุติการคิดปรุงเเต่งให้เข้าสู่ความสงบ

 ถ้าดูลมแล้วยังไป แว๊บ

คิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่

ก็อาจจะต้องใช้การบริกรรมพุทโธๆ

ขึ้นมาแทนก็ได้

บางท่านเวลาเริ่มต้นนั่งใหม่ๆ

 อาจจะไม่สามารถนั่งดูลมได้

เพราะความคิดยังคิดอยู่มาก

 ก็ให้ใช้การสวดมนต์บทใดบทหนึ่ง

ไปพลางๆก่อนก็ได้

 สวดไปจนกว่าใจจะรู้สึกเย็นสบายสงบ

หรือไม่อยากจะสวด ก็หยุดสวดได้

แล้วก็กำหนดดูลมหายใจเข้าออกต่อไป

 อันนี้ก็จะทำให้ใจเข้าสู่ความสงบได้

เวลานั่งใหม่ๆ นี้

ใจอาจจะยังมีความคิดมาก

เพราะไม่สามารถ

ที่จะควบคุมความคิดได้

ในขณะที่ยังไม่ได้นั่ง

 พอมานั่งเรื่องราวต่างๆ

มันก็ยังติดคาอยู่ในใจอยู่

บางทีก็ต้องใช้การสวดมนต์

สวดพระสูตรเพื่อให้ลบล้าง

ความคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ไป

พอสวดไปได้สักพักหนึ่ง

 แล้วเรื่องราวต่างๆที่ใจคิดอยู่

ก็จะจางหายไป ใจก็จะว่าง

ปราศจากความคิด

ตอนนั้นก็สามารถใช้

การดูลมหายใจ เข้า-ออก

หรือการบริกรรมพุทโธอย่างใดอย่างหนึ่ง

เพื่อที่จะดึงใจให้เข้าสู่ความสงบ

 ถ้ามีสติต่อเนื่องอยู่กับการ

 ดูลมหายใจเข้าออก

 หรืออยู่กับการบริกรรมพุทโธ

ไม่นานจิตก็จะรวม เข้าสู่ความสงบ

 รวมเป็นหนึ่ง เรียกว่า “เอกัคคตารมณ์”

 มีสักแต่ว่ารู้เป็นอารมณ์

มีอุเบกขาเป็นอารมณ์

 คือความว่างนั่นเอง

 คือไม่มีอารมณ์อะไร มีแต่ความว่าง

มีแต่อุเบกขา มีแต่สักแต่ว่ารู้

หรือผู้รู้ปรากฏขึ้นมา

เวลาได้เข้าสู่จุดนั้นแล้ว

ก็เป็นเวลาที่ไม่ต้องทำอะไร

 เพราะตอนนั้นความคิดก็จะหยุดทำงาน

 กิเลสตัณหา โมหะอวิชชา

ก็จะหยุดทำงาน

ผู้รู้ก็จะปรากฏเด่นขึ้นมาให้เห็น

 ก็อยู่กับผู้รู้ไป อยู่กับอุเบกขาไป

จนกว่าผู้คิดเริ่มกลับเข้ามาทำงานต่อ

พอเริ่มมีความคิดแล้วก็แสดงว่า

จิตได้ถอนออกจากสมาธิแล้ว

พอถอนออกจากสมาธิแล้ว

มีความคิดแล้วก็ต้องเจริญสติต่อ

ถ้ายังเจริญปัญญาไม่เป็นก็ให้เจริญสติ

หรือว่ายังไม่ชำนาญต่อการเข้าสมาธิ

เช่นเข้าได้ครั้งแรกแล้ว

พอออกมาเริ่มมีความคิดปรุงเเต่ง

 ก็ยังไม่ต้องไป ทางปัญญาก็ได้

ให้ควบคุมความคิดต่อไป

เหมือนกับตอนที่ยังไม่ได้เข้าไปในสมาธิ

 ให้เจริญสติต่อไป เช่นบริกรรมพุทโธไป

หรือจดจ่อเฝ้าดูการเคลื่อนไหว

การกระทำของร่างกายใหม่

ทำใหม่อีกรอบหนึ่ง

พอออกมาแล้วก็เจริญสติต่อ

แล้วพอมีเวลาที่จะนั่งได้

ก็กลับเข้าไปนั่งต่อ

 ตอนที่ออกมานี้ก็อาจจะลุกขึ้นมา

 เดินจงกรมก็ได้

ถ้าไม่มีภารกิจการงานที่ต้องทำ

 ถ้ามีภารกิจการงานที่ต้องทำ

ก็ต้องทำด้วยทำ มีสติ

คอยควบคุมความคิดอยู่ตลอดเวลา

ให้อยู่กับการกระทำของร่างกาย

 เช่นออกมาจากสมาธิก็ได้

 เวลาที่จะต้องทำความสะอาดปัดกวาด

กวาดถูศาลา หรือกุฏิที่อยู่อาศัย

หรือซักเสื้อผ้าหรืออะไรก็ตาม

ก็ต้องมีสติ อยู่กับงานที่กำลังทำอยู่

ถ้าไม่มีงานทำก็เดินจงกรมไป

การเดินจงกรมนี้ก็มีผลทางร่างกาย

และทางจิตใจ

 ผลทางร่างกายก็คือช่วยผ่อนคลาย

ความเจ็บเมื่อยของร่างกาย

ที่เกิดจากการนั่งนานๆ นั่งอยู่ในสมาธิ

 พอนั่งไปแล้วร่างกายก็จะมีอาการ

เจ็บตรงนั้นปวดตรงนี้

 เพราะเลือดลม ไม่มีโอกาส

ที่จะได้ไหลเวียนอย่างปกติ

 ก็จำเป็นที่จะต้องลุกขึ้นมาเดินจงกรม

เพื่อเป็นการผ่อนคลายความเจ็บปวด

เมื่อยของทางร่างกาย

อันนี้คือประโยชน์ทางร่างกาย

ที่จะได้จากการเดินจงกรม

ส่วนประโยชน์ทางจิตใจ

ก็คือการเจริญสติ

 หรือการเจริญปัญญา

ถ้าเจริญสติก็ให้เฝ้าดู

การเคลื่อนไหวของร่างกาย

 ให้ใช้ร่างกาย เป็นเครื่องผูกใจไว้

ไม่ให้ไปคิดถึงเรื่องราวต่างๆ

หรือจะใช้การบริกรรมพุทโธๆก็ได้

 ก็ใช้การบริกรรมพุทโธไป

 เพื่อดึงใจไว้ไม่ให้ไปคิดเรื่องราวต่างๆ

จนกว่าจะรู้สึกเมื่อยอยากจะนั่ง

ก็หยุดเดินจงกรม

แล้วก็กลับมานั่งสมาธิ ใหม่ต่อ

 เข้าไปในสมาธิเหมือนครั้งที่

เคยเข้าไปครั้งแรก

 ถ้าทำอย่างนี้เวลาเข้าสมาธิ

ก็จะเข้าได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว

 ถ้าสามารถเข้าในสมาธิได้อย่างรวดเร็ว

ได้ทุกเวลาที่ต้องการ

ก็ถือว่าเรามีความชำนาญในสมาธิแล้ว

เราก็ควรที่จะออกทางปัญญาได้แล้ว

 ถ้าเวลาออกจากสมาธิมา

ก็ให้ดึงความคิดนี้มาคิดในทางปัญญา

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

............................

ธรรมะบนเขา วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๗

“การปฏิบัติต้องต่อเนื่อง”





ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 10 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2559 6:26:51 น.
Counter : 740 Pageviews.

1 comments
  
อย่านี้สอนถูกต้อง ตรงจริง ตามพระสูตรของพระพุทธเจ้าหรือไม่?
โดย: P IP: 1.20.76.190 วันที่: 10 พฤศจิกายน 2559 เวลา:11:44:09 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ