Group Blog
All Blog
### เปลี่ยนสถานภาพใจ ###















“เปลี่ยนสถานภาพใจ”

การปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าคือการทำทาน

การรักษาศีล การภาวนา เป็นการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของใจ

จากใจที่เวียนว่ายตายเกิดไปสู่การเป็นใจที่ไม่เวียนว่ายตายเกิด

 เหมือนกับเวลาที่ชายโสดหรือหญิงโสดเปลี่ยนสถานภาพ

เป็นชายที่ไม่โสดหญิงที่ไม่โสดด้วยการแต่งงานกัน

การทำทาน การรักษาศีล การภาวนา

ก็เป็นเหมือนกับการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของจิต

จิตที่ไม่ได้ทำทาน ไม่ได้รักษาศีล ไม่ภาวนา

จะเป็นจิตที่จะต้องเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อยๆ

 เหมือนชายโสดหญิงโสด ที่ไม่ยอมแต่งงานก็จะเป็นโสดไปเรื่อยๆ

การเปลี่ยนสถานภาพจากการเวียนว่ายตายเกิด

ไปสู่การไม่เวียนว่ายตายเกิดนี้มีผลที่ต่างกัน

ถ้ายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ก็จะต้องมีความทุกข์อยู่เรื่อยๆ

 เพราะเวลาเกิดแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย

เวลาแก่ เวลาเจ็บ เวลาตายก็เป็นเวลาที่มีแต่ความทุกข์

 ถ้ายุติการเวียนว่ายตายเกิดได้ก็จะมีแต่ความสุข

 เพราะไม่มีความทุกข์ที่เกิดจากความแก่ ความเจ็บ ความตายนั่นเอง

 นี่คือเรื่องของจิตใจ ของพวกเรา

และจิตใจของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก

จิตใจของพวกเรานี้ยังเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่

 ยังต้องมาทุกข์กับความแก่ ความเจ็บ ความตาย

 ทุกข์กับการพลัดพรากจากกันอยู่

แต่จิตของพระพุทธเจ้า จิตของพระอรหันตสาวก

 ท่านไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายแล้ว

 ท่านจึงไม่ต้องมามีความทุกข์กับความแก่ ความเจ็บ ความตาย

กับการพลัดพรากจากกัน ถ้าพวกเรายังไม่เห็นโทษ

ของการเกิด แก่ เจ็บ ตายอยู่ พวกเราก็จะไม่เห็นความสำคัญ

ของการทำทาน ของการรักษาศีล ของการภาวนา

 เพราะเรายังไม่เห็นทุกข์ ที่เกิดจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย

อาจจะเป็นเพราะว่าตอนนี้เรายังไม่แก่ ยังไม่เจ็บ ยังไม่ตายกัน

 เราก็เลยยังไม่รู้สึกเดือดร้อน เพราะเรายังสามารถหาความสุขต่างๆ

ผ่านทางร่างกายได้อยู่ แต่เวลาใดที่เราไปเจอความเจ็บไข้ได้ป่วย

ไปเจอความตาย หรือไปเจอความแก่

เวลานั้นเราก็จะเริ่มมีความรู้สึกเดือดร้อน

และก็อาจจะ อยากจะหาวิธีแก้ปัญหานี้

หาวิธีแก้ปัญหาความเดือดร้อนของใจ

ที่เกิดเวลาได้พบกับความแก่ พบกับความเจ็บ พบกับความตาย

ถ้ารอให้เวลานั้นมันมาถึงมันอาจจะไม่ทันกาล

เพราะเวลาที่เราแก่ การที่เราจะมาทำทาน มารักษาศีล

 มาภาวนามันก็จะเป็นความลำบากยากเย็น

 ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยถึงขั้นกับนอนบนเตียงก็จะไม่สามารถ ที่จะทำทาน

 รักษาศีล ภาวนาได้ หรือถ้าถึงเวลาใกล้ตายก็จะไม่สามารถทำได้

ดังนั้นถ้าเราจะรอให้เราเดือดร้อนก่อนแล้วค่อยมาแก้ปัญหา

มันจะไม่ทันกาลกัน เราจึงต้องจำลองเหตุการณ์ว่า

 เวลาเราแก่เป็นอย่างไร เวลาเราเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นอย่างไร

 เวลาเราตายเป็นอย่างไร เวลาเราจะตายเป็นอย่างไร

 ให้เราหมั่นระลึกถึงความแก่ ความเจ็บ ความตายอยู่เรื่อยๆ

 ถ้าเราเห็นความแก่ เห็นความเจ็บ เห็นความตายอยู่เรื่อยๆ

เราจะได้ไม่หลงไม่ลืม ปัญหาของคนเรา

ที่ไม่สนใจที่จะมาเตรียมตัว แก้ปัญหาของความแก่ ความเจ็บ

ความตายก็คือลืมความลืม ลืมไปว่าตนเองจะต้องแก่

ลืมไปว่าตนเองจะต้องเจ็บ ลืมไปว่าตนเองจะต้องตาย

ก็เลยไม่รู้สึกเดือดร้อนกับความแก่ กับความเจ็บ กับความตาย

เพราะยังไม่เกิดขึ้นนั่นเอง แต่พอเกิดขึ้นแล้ว

ก็จะอยู่ในสภาพที่ทำอะไรไม่ได้

พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้พวกเรา

หมั่นเจริญมรณานุสสติกันไว้อยู่เรื่อยๆ

ให้เราคิดอยู่เรื่อยๆ ว่าเราเกิดมาแล้ว

เราจะต้องแก่เป็นธรรมดาล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้

 จะต้องเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นธรรมดาล่วงพ้นความเจ็บไข้ได้ป่วยไปไม่ได้

จะต้องตายเป็นธรรมดาล่วงพ้นความตายไปไม่ได้

เราจะต้องพลัดพรากจากกันจากสิ่งที่เรารักสิ่งที่เราชอบ

ล่วงพ้นการพลัดพรากจากกันไปไม่ได้

ถ้าเราได้คิดได้เตือนใจของเราอยู่เรื่อยๆ

มันก็จะทำให้เราตื่นตัวไม่ลืมภัยที่กำลังย่างเข้ามาหาเรา

 หรือเรากำลังก้าวเข้าไปสู่ภัยของความแก่ ของความเจ็บ

และของความตาย ถ้าเราระลึกอยู่เรื่อยๆ มันก็จะทำให้เราตื่นตัว

ทำให้เราต้องสร้างวิธีป้องกัน หรือสร้างวิธีที่จะมาแก้ปัญหา

คือความทุกข์ใจ ที่เกิดจากความแก่ ความเจ็บและความตาย

ถ้าเราระลึกอยู่เรื่อยๆ มันก็จะทำให้เราไม่ประมาทนอนใจ

เพราะเราไม่รู้ว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยจะเกิดขึ้นเมื่อไร

ความตายจะมาถึงเมื่อไร เราก็จะต้องรีบเตรียมตัวไว้ก่อน

 ถ้าเราระลึกถึงความแก่ ความเจ็บ ความตายอยู่เรื่อยๆ

เราจะได้ไม่ประมาทเราจะได้รีบเตรียมตัว

รับกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

 ซึ่งถ้าเราได้มาเกิดในยุคสมัย ที่มีพระพุทธศาสนา

 เราก็จะมีคนสอนให้เรารู้จักวิธีรับกับเหตุการณ์

รับกับความแก่ รับกับความเจ็บ รับกับความตาย

ได้อย่างไม่สะทกสะท้านอย่างไม่เดือดร้อน

 ด้วยการทำทาน ด้วยการรักษาศีล ด้วยการภาวนานี่แหละ

การปฏิบัติทาน ศีล ภาวนานี่แหละที่จะทำให้จิตใจของเรานั้น

ไม่ต้องทุกข์กับความแก่ ไม่ต้องทุกข์กับความเจ็บ

ไม่ต้องทุกข์กับความตาย

และไม่ต้องกลับมาเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซ้ำแล้วซ้ำอีก

ดังนั้นถ้าเรายังไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการทำทาน

ต่อการรักษาศีล ต่อการภาวนา เราก็ควรที่จะระลึกถึงความแก่

 ความเจ็บ ความตายให้มากๆ อย่าให้ลืม

ถ้าเราไม่ลืมแล้วเราก็จะรีบทำทาน รักษาศีลและภาวนา

เช่นเวลาคนที่ไม่สบายแล้วไปหาหมอที่โรงพยาบาล

 หมอวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคมะเร็งจะอยู่ได้ไม่เกิน ๓ เดือน ๖เดือน

เวลานั้นจิตใจจะไม่มีความอยากที่จะทำอะไร อยากจะหาวิธี

๑.ถ้ารักษาได้ก็รักษา ถ้ารักษาไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีรักษาใจ

รักษาใจไม่ให้ทุกข์กับความตายที่กำลังจะเข้ามา

เมื่อก่อนนี้ก็ไม่ได้คิดถึงความตายมากนัก

ทั้งๆที่รู้อยู่ว่าเกิดมาแล้วก็ต้องตาย แต่มันยังรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ห่างไกล

จนเป็นเหมือนกับเป็นสิ่งที่ไม่จริง แต่พอมาเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว

ได้ไปพบเเพทย์ แพทย์บอกว่าไม่มีวิธีรักษาแล้ว

ต้องเตรียมตัวตายเพียงอย่างเดียว เวลานั้นก็ไม่อยากจะทำอะไร

ถ้าเคยทำทาน เคยรักษาศีล เคยภาวนาอยู่บ้าง

ก็จะทำให้มีภูมิมีพื้นฐานที่จะทำทาน รักษาศีล ภาวนาให้มากขึ้นได้

 แต่สำหรับคนที่ไม่เคยทำทาน ไม่รักษาศีล ไม่ภาวนาเลย

เวลาพบกับความตายนี้ จะไม่มีกำลังจิตกำลังใจที่จะทำอไะไรเลย

ดังนั้นเราจึงต้องพยายามบังคับตัวเราเองให้พิจารณาความแก่

ความเจ็บ ความตายอยู่เรื่อยๆ และบังคับตัวเราเอง

ให้มาปฏิบัติทาน ศีล ภาวนากันอยู่เรื่อยๆ

และทำให้มากขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าใจของเรานี้จะหลุดพ้น

จากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย จะหลุดพ้นจากความทุกข์

ของความแก่ ของความเจ็บและของความตาย

เมื่อใจของเราหลุดพ้นแล้ว เราจะอยู่อย่างสบาย

ไม่มีความวิตกกังวลไม่มีความห่วงใยกับเรื่องของความแก่

ของความเจ็บและความตาย

ใจของเรานี้สามารถอยู่เหนือความทุกข์ของความแก่

ของความเจ็บและของความตายได้

 ถ้าเราทำทาน รักษาศีล และภาวนาตามวิธีที่พระพุทธเจ้า

ได้ทรงบำเพ็ญมาและนำเอามาเผยแผ่สั่งสอน

ให้แก่สัตว์โลกอย่างพวกเรา

ผู้ที่มีศรัทธามีความเชื่อในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

 ก็น้อมนำเอาไปปฏิบัติเอาแบบฉบับ

ของพระพุทธเจ้ามาเป็นตัวอย่าง

 พอปฏิบัติแบบเดียวกับที่พระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติ

ไม่ช้าก็เร็วก็สามารถที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์ต่างๆ ได้

 หลุดพ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตายได้

เป็นสิ่งที่ไม่สุดวิสัยไม่เหนือวิสัยของมนุษย์อย่างพวกเราทั้งหลาย

 ที่จะสามารถบำเพ็ญที่จะสามารถปฏิบัติกันได้

ถ้าเรามีศรัทธาความเชื่อและเรามีความรู้เตือนใจเราอยู่เรื่อยๆ

ว่าเราจะต้องแก่ จะต้องเจ็บและจะต้องตาย

 เมื่อเรารู้และเราจะได้รีบขวนขวายปฏิบัติยกระดับจิตใจของเรา

ให้สู่ระดับของพระพุทธเจ้า และสู่ระดับของพระอรหันตสาวก

เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องมาทุกข์กับความเกิด แก่ เจ็บ ตายซ้ำแล้วซ้ำอีก.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต


....................................

ธรรมะบนเขา วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๘

“เปลี่ยนสถานภาพใจ”













ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 04 มกราคม 2559
Last Update : 4 มกราคม 2559 10:12:03 น.
Counter : 1251 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ