Group Blog
All Blog
### สิ่งที่จะทำให้บรรลุธรรมคือความเพียรพยายาม ###









“สิ่งที่จะทำให้บรรลุธรรมคือ

ความเพียรพยายาม”

สิ่งที่จะทำให้บรรลุนั้น

ไม่ได้อยู่ที่ว่ากิเลสหนาหรือบาง

 ปัญญาฉลาดแหลมคมหรือทึบ

 สิ่งที่จะทำให้บรรลุก็คือ ความเพียรพยายาม

 ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น

ถ้ามีความเพียรถึงแม้กิเลสจะหนาทำให้ช้า

ก็ช้าก็ไม่เป็นไร

เหมือนขับรถมานี้บางคนขับรถมาเร็ว

บางคนขับรถมาช้า

 บางคนขับเก่ง ขับมาได้อย่างรวดเร็ว

บางคนขับไม่เก่งต้องขับมาช้าๆ

แต่พอมาถึงที่นี้แล้วต้องถือว่าถึงที่เดียวกัน

จะมาถึงก่อนถึงหลังก็ไม่สำคัญอะไร

ขอให้มาให้ถึงก็แล้วกัน แล้วจะมาให้ถึงได้

ก็ต้องขับรถมาอยู่ไม่หยุดไม่ถอย

ไม่เปลี่ยนทิศทาง แล้วในที่สุด

ก็จะมาถึงจุดหมายปลายทางได้

ดังนั้นการปฏิบัติของพวกเราแต่ละคนนี้

จึงไม่เหมือนกัน

 อย่างที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัวไว้ว่า

 บางคนก็ บรรลุภายใน ๗ วัน

บางคนก็บรรลุภายใน ๗ เดือน

 บางคนก็บรรลุภายใน ๗ ปี

ก็เพราะว่ามีความสามารถ

 ความรู้ความฉลาดไม่เท่ากันนั่นเอง

แต่สิ่งที่เท่ากันก็คือความเพียร

ผู้ใดมีความเพียรที่จะปฏิบัติไม่หยุดไม่หย่อน

 ไม่ยกธงขาว

 ถึงแม้จะยากก็ปฏิบัติไป ถึงแม้จะง่ายก็ปฏิบัติไป

 ถึงแม้จะบรรลุเร็วก็ปฏิบัติไป บรรลุช้าก็ปฏิบัติไป

ไม่หยุดในการปฏิบัติ

ก็จะถึงจุดหมายปลายทางได้เช่นเดียวกัน

 นี่คือสิ่งที่พวกเราควรจะให้ความสำคัญคือ

ความเพียรพยายาม

ขอให้ระลึกอยู่เรื่อยๆ ว่า

 “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”

จะยากง่ายไม่เป็นปัญหาอะไร

 จะรู้เร็วรู้ช้าไม่เป็นปัญหาอะไร

 ปัญหาอยู่ที่ว่าจะเพียรหรือไม่เพียร

ถ้าไม่เพียรแล้วต่อให้ปฏิบัติง่ายก็ไปไม่ถึง

ต่อให้รู้เร็วก็ไปไม่ถึงถ้าไม่มีการปฏิบัติ

เหมือนกับกระต่าย กระต่ายนี้ก็วิ่งสองสามก้าว

แล้วเดี๋ยวก็หยุดไปกิน ไปเล่นไปอะไรไม่วิ่งต่อ

ไม่เหมือนเต่านี้เดินคลานไปเรื่อยๆ

ไม่ยอมแวะไม่ยอมไปทำอะไรอย่างอื่น

 คลานไปเรื่อยๆ ทำไปทำมา

เต่ากลับไปถึงจุดหมายปลายทาง ก่อนกระต่าย

 เพราะเต่ามีความเพียรพยายาม

ไม่หยุดไม่หย่อนในการปฏิบัติ

ส่วนกระต่ายนี้ปฏิบัติแบบไฟไหม้ฟาง

 พออยากจะปฏิบัติก็ปฏิบัติ

 พอไม่อยากจะปฏิบัติก็ไม่ปฏิบัติ

 ถ้าทำอย่างนี้ก็จะสู้เต่าไม่ได้

เต่ามีความเพียรอย่างสม่ำเสมอ

 ส่วนกระต่ายนี้มีความเพียรแบบไฟไหม้ฟาง

 วันไหนมีอารมณ์อยากจะปฏิบัติ

 วันไหนไม่มีอารมณ์จะปฏิบัติก็ไม่ปฏิบัติ

ถ้าอย่างนี้สู้เต่าไม่ได้

 เพราะว่าความสำคัญอยู่ที่ความเพียร

 ไม่ได้อยู่ที่ว่าวิ่งเร็วกว่าหรือวิ่งช้ากว่ากัน

ต่อให้วิ่งเร็วก็กว่ากันร้อยเท่า

แต่ถ้าไม่วิ่งมันก็ไม่ไปถึงหลักชัยได้

ตัวที่วิ่งช้ากว่าแต่ถ้าวิ่งไม่หยุดไม่หย่อน

เดี๋ยวก็ถึงหลักชัยได้

ดังนั้นเราต้องมองที่ตัวนี้เป็นหลัก

 อย่าไปมองที่ช้าหรือเร็วยากหรือง่าย

ถ้ายากเราก็ต้องหามาตรการมาช่วย มาแก้ความยาก

 ทำลายนิวรณ์อุปสรรคต่างๆ แล้วถ้าเราบรรลุช้า

เพราะปัญญาเราทึบ เราก็ต้องขยันพิจารณาให้มากๆ

 ขยันศึกษาวิธีพิจารณาอสุภะว่าพิจารณาอย่างไร

พิจารณาอนิจจังพิจารณาอย่างไร

พิจารณาทุกขัง พิจารณาอย่างไร

พิจารณาอนัตตาพิจารณาอย่างไร

พยายามศึกษาหาความรู้จากผู้ที่เขารู้

 เช่นพยายามฟังเทศน์ฟังธรรมให้มากๆ ให้บ่อยขึ้น

ถ้าเราปัญญาทึบต้องอาศัยปัญญาของพระพุทธเจ้า

อาศัยปัญญาของพระอรหันตสาวกคอยสั่งคอยสอน

 เราถึงจะเข้าใจถึงวิธีที่การจะพิจารณา

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 พิจารณาอสุภะเพื่อให้เราได้เห็นอย่างชัดเจน

 เพื่อที่เราจะได้เอาไปทำลายตัณหาความอยากต่างๆ

ที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์

และต้นเหตุของการเวียนว่ายตายเกิด

ให้หมดไปจากใจ

ดังนั้นขอให้เรามีความเพียรกัน

อย่างต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ

วิธีที่จะทำให้มีความเพียร เราต้องมีวินัย

เราต้องกำหนดตารางของการปฏิบัติว่า

เราจะปฏิบัติมากน้อยเพียงไร

ตอนนี้สมมุติว่าเราเริ่มต้นที่ศูนย์ เราก็ต้องตั้งเป้าว่า

ต่อไปนี้เราจะปฏิบัติร้อยละ ๑๐ ของเวลาที่เรามีอยู่

 วันหนึ่งมี ๒๔ ชั่วโมง

 เราจะเอาเวลา ๒๔ ชั่วโมงนี้มาปฏิบัติ

ร้อยละ ๑๐ แล้วค่อยเพิ่มขึ้นไป

จากร้อยละ ๑๐ เป็นร้อยละ ๒๐

ร้อยละ ๓๐ เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

 เวลาไหนที่เราต้องเอาไปใช้

ในภารกิจสำคัญเราก็ต้องยอม

 เช่นเอาไปใช้กับการ พักผ่อนหลับนอน

 เอาไปใช้กับการดูแลรักษาร่างกาย

เช่นทำมาหากิน หาอาหาร

หาปัจจัย ๔ ส่วนเวลาที่เหลือนี้

 เราจะเอามาใช้ในการปฏิบัติธรรมให้มากขึ้นๆ

ตัดเอาเวลาที่เอาไปใช้กับกิเลสตัณหาให้น้อยลงไป

ทุกวันนี้ ที่เราไม่มีเวลาปฏิบัติกันมาก

 ส่วนหนึ่งก็อยู่ที่ว่าเราปล่อยเวลาให้ไปกับกิเลส

 เเทนที่จะนั่งสมาธิ ก็นั่งดูละครกันอย่างนี้เป็นต้น

เราต้องเอาเวลาที่เราไปใช้กับกิเลสนี้

มาใช้กับการปฏิบัติธรรม

 เวลามีวันหยุด แทนที่จะไปเที่ยวกัน

ก็เอาวันที่ไปเที่ยวนี้มาอยู่วัดมาปฏิบัติธรรมกัน

เราต้องมีกำหนดมีตารางเวลา ของการปฏิบัติแล้ว

ก็ต้องควบคุม บังคับตัวเราให้ทำตามตาราง

ที่เราได้กำหนดเอาไว้แล้วเราจะได้มีความเพียร

เราจะเพียรได้ต่อเมื่อเรามีเวลาเพียร

ถ้าเราไม่มีเวลาเพียรเราจะเพียรได้อย่างไร

ถ้าเราเอาเวลาไปกินเลี้ยง เอาเวลาไปดูละคร

เอาเวลาไปดูหนังฟังเพลง เอาเวลาไปท่องเที่ยว

ตามสถานที่ต่างๆ แล้ว

เราจะเอาเวลามา ทำความเพียรได้อย่างไร

เมื่อเราไม่มีเวลา ทำความเพียร เราก็ไม่มีความเพียร

 เมื่อไม่มีความเพียร ก็จะไม่มีการบรรลุผลต่างๆ

 ผลของการปฏิบัตินี้ เกิดจากการทำความเพียร

 เพียรเดินจงกรม เพียงนั่งสมาธิ

 เพียรทำลายนิวรณ์ต่างๆ

 ที่มีอยู่ในจิตในใจให้หมดไป พอใจสงบแล้ว

ก็เพียรเจริญพิจารณาปัญญาต่างๆ

พิจารณาอนิจจังในร่างกาย

ร่างกายเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย

 ร่างกายนี้ไม่สวยไม่งามเป็นอสุภะ

 เวลาเป็นซากศพนี้

ถึงแม้จะรักกันแทบกลืนกินเวลาตายแล้ว

ก็ไม่ใครอยากจะเก็บเอาไว้แล้วยกให้สัปเหร่อ

 ยกให้วัดไปแล้วทำไมยกให้เขาไป

เพราะมันไม่น่าดูนั่นเอง

ไม่มีใครอยากจะดูซากศพกัน

 ซากศพมันมาจากไหน

 มันก็มาจากคนที่หน้าตาน่าดูน่าชม

ในขณะที่มีชีวิตอยู่นี่แหละ

 พอไม่มีลมหายใจเท่านั้น

ความน่าดูน่าชมก็หายไปแล้ว

 กลายเป็นหน้าเกียจน่ากลัวขึ้นมาทันที

เราไม่คิดกันเราไม่พิจารณากัน

ก็เลยมองไม่เห็นอสุภะ

ในความสวยความงามของร่างกาย

 เห็นแต่ความสวยความงามของร่างกาย

แต่กลับมองไม่เห็นอสุภะ ที่เป็นของคู่กัน

 ร่างกายนี้มันมีสวยแล้วมันก็ต้องมีไม่สวย

มันเป็นเหมือนเหรียญ

ที่มามีเหรียญ ๒ ด้านมีหัวกับก้อย

 แต่เรามักจะมองด้านเดียวเห็นแต่ด้านสวย

 เลยหลงรักคลั่งไคล้กับร่างกาย

แต่ถ้าเห็นด้านที่ไม่สวย เราก็จะไม่หลงรักคลั่งไคล้

 ก็จะไม่ยึดไม่ติดไม่ทุกข์กับร่างกาย

 แต่ถ้าเรารักความสวยงามของกาย

พอเราเสียร่างกายที่สวยงามไป

 เราก็จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา

นี่คือเรื่องของปัญญา

หลังจากที่เราทำใจ ให้สงบได้แล้ว

ใจออกจากความสงบ ออกจากสมาธิ

เราก็ต้องดึงเอามาพิจารณาทางอสุภะบ้าง

พิจารณาทางอนิจจังบ้าง ทางอนัตตาบ้าง

 ทางทุกขังบ้างให้เห็นอย่างชัดเจน

 เมื่อเห็นว่ามันเป็นทุกข์แล้ว

เราก็จะไม่อยากได้ ไม่อยากมี

 ใครอยากจะมีความทุกข์บ้าง

แต่เราไม่รู้ว่ามันเป็นความทุกข์กัน

เราก็เลยอยากได้กันอยากมีกัน

พอมีแล้วก็ต้องมาทุกข์กับมันในที่สุด

 เพราะไม่มีปัญญามองไม่เห็นทุกขัง

 มองไม่เห็นอนิจจัง มองไม่เห็นอนัตตา

 มองไม่เห็นอสุภะ

นี่คือเรื่องของปัญญา หลังจากที่ได้สมาธิแล้ว

ขั้นต่อไปก็คือขั้นของปัญญา

 ถ้ายังไม่ได้สมาธินี้ขั้นปัญญานี้ ยังทำงานไม่ได้

 ไม่มีกำลังที่จะทำงาน เพราะใจนี้จะไม่สงบ

พอที่จะมาพิจารณาเรื่องของปัญญาได้

ใจจะถูกามฉันทะ กามอารมณ์ต่างๆดึงดูด

ให้ไปคิดถึงรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

 จะไม่สามารถดึงมาคิด

 เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้

ดังนั้นเราต้องทำใจให้สงบให้ได้ก่อน

 เมื่อใจสงบแล้ว

 กิเลสตัณหาคือกามฉันทะนี้ จะเบาบางลง

จะไม่มีกำลังที่จะดึงให้ไปหา

รูปเสียงกลิ่นรสที่น่าดูน่าชม

 เราก็สามารถดึงให้มันมามองรูปเสียง

กลิ่นรสที่ไม่น่าดูน่าชม

 รูปเสียงกลิ่นรสที่เสื่อมไปที่หมดไป

 ว่ามันไม่น่าดูไม่น่าชมไม่หลงไม่น่าติด

อันนี้เป็นเรื่องของปัญญา

ที่จะสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อ

ใจมีความสงบแล้ว มีสมาธิแล้ว แต่ไม่ได้ให้ใช้ปัญญา

ในขณะที่อยู่ในสมาธิ ขณะที่ทำสมาธิทำใจให้สงบนี้

ไม่ได้เป็นเวลาที่จะพิจารณาทางปัญญา

นั่งสมาธิเพื่อทำใจให้สงบ

 พอใจสงบนี้ต้องปล่อยให้สงบไปเรื่อยๆ

 เหมือนกับเวลาที่เราไปพักผ่อนหลับนอน

 เวลาหลับนอนนี้เราไม่ปลุกรางกายขึ้นมาทำงาน

เราต้องการให้ร่างกายพักผ่อนให้เต็มที่

เพื่อให้มีกำลังวังชา

พอตื่นขึ้นมาแล้วค่อยดึงไปทำงาน

แต่ตอนที่ยังหลับนี้อย่าพึ่งไปปลุกขึ้นมา ฉันใด

สมาธิก็ฉันนั้น เวลาจิตรวมเข้าสู่สมาธิเวลานั้น

ไม่ใช่เป็นเวลาที่จะเจริญปัญญา

อย่าดึงใจออกมาพิจารณา

ปล่อยให้ใจสงบ ให้นานที่สุด

ให้อยู่ในสมาธิจนกว่าจะอิ่มตัว

 เมื่ออิ่มตัวแล้วก็จะถอนขึ้นมาเอง

เวลาถอนออกมาก็จะมีกำลังวังชา

 มีความสดชื่นเบิกบาน

พร้อมที่จะเอาไปพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

พร้อมที่จะพิจารณาอสุภะได้

นี่คือเรื่องของการเจริญปัญญา

ต้องเจริญหลังจากที่ได้สมาธิ

และหลังจากที่ออกจากสมาธิแล้วถึงจะเจริญ

 เวลาที่จิตสงบนิ่งไม่คิดปรุงเเต่ง

 เวลานั้นไม่ใช่เวลาเจริญปัญญา

 เป็นเวลาให้อาหารให้กำลังวังชาแก่ใจ

คือให้พลังกับใจ ความสงบนี้เป็นพลังของใจ

 ที่จะเอามาใช้ในทางพิจารณาทางปัญญาต่อไป

หลังจากที่ออกจาก ความสงบแล้ว

เหมือนกับการพักผ่อนหลับนอน

รับประทานอาหารของร่างกาย

เวลารับประทานอาหาร เวลาพักผ่อนหลับนอน

ไม่ใช่เป็นเวลาทำงาน

 แต่เวลาที่ได้พักผ่อนหลับนอน

ได้รับประทานอาหารเต็มที่แล้ว

พอลุกขึ้นมาตื่นขึ้นมาแล้ว

ค่อยเป็นเวลาที่จะไปทำงานทำการ

 อันนี้ก็เหมือนกันปัญญาเป็นการทำงานของใจ

 สมาธิเป็นการพักผ่อนของใจ

ผู้ปฏิบัติต้องรู้จักแยกแยะทำให้ถูก

บางคนไม่เข้าใจ พอนั่งสมาธิพอทำใจ

 ให้รวมสงบปั๊บก็ดึงออกมาให้พิจารณาทางปัญญา

 อันนี้จะไม่มีกำลัง เหมือนกับคนที่กินข้าวได้ ๒ คำ

ก็เรียกบอกไปทำงานต่อไป

หลับนอนได้เพียง ๕ นาทีก็ปลุกขึ้นมาให้ไปทำงาน

 มันก็จะไม่มีเรี้ยวแรง ไม่มีกำลังวังชา

ที่จะไปทำงานได้อย่างมีเหตุมีผล

ต้องให้ได้พักผ่อนหลับนอนอย่างเต็มที่

ได้รับประทานอาหาร อย่างเต็มที่

แล้วถึงจะค่อยเอาไปทำงาน

จิตก็เหมือนกัน จิตต้องรวมอยู่ในสมาธิให้อิ่มตัว

 เมื่ออิ่มตัวแล้ว จิตจะถอนออกมาเอง

 เมื่อถอนออกมาแล้วทีนี้ก็เอาไปใช้ทางปัญญา

อย่าให้มันไปคิด ทางกามอารมณ์ต่างๆ

 อย่าให้ไปคิดถึงรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

ให้ไปคิดทางอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ให้ไปคิดทางอสุภะ ให้คิดในทางมรณานุสติ

 คิดถึงความตาย นี่คือเรื่องของปัญญา

ถ้าเราไม่ดึงมันไปคิด มันจะไม่ไปคิดนะ

 ถึงแม้จะมีสมาธิมีความสงบแล้ว

 ก็เหมือนกับคนที่พักผ่อนหลับนอนแล้วกินข้าวอิ่มแล้ว

 ถ้าไม่มีเจ้านายมาเรียกตัวไปทำงานเดี๋ยวก็ไม่ไป

นั่งดูโทรทัศน์ดีกว่าเปิดดูทีวี

อ่านหนังสือพิมพ์กินกาแฟดีกว่า

 ต้องมีคนมาสั่งมาเรียกไปทำงานถึงจะไป

ที่เราไปทำงานก็เพราะเรามีคนสั่ง

 เพราะว่าถ้าไม่ไปเขาไม่จ่ายเงินเดือน

 เราก็เลยต้องไปกัน ปัญญานี้ก็เหมือนกัน

ถึงแม้ว่าเราได้สมาธิแล้วพอออกจากสมาธิมา

ถ้าเราไม่ดึงมาพิจารณาทางไตรลักษณ์

พิจารณาทางอสุภะ มันจะไม่ไป

เดี๋ยวมันก็จะไปคิดถึงรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

ไปคิดถึงคนนั้นคนนี้ เรื่องนั้นเรื่องนี้

 แล้วก็จะทำให้เกิดตัณหาความอยากต่างๆ

 ปรากฏขึ้นมาได้ อันนี้ก็จะต้องใช้ปัญญา

 ถ้าไม่เช่นนั้นก็จะติดอยู่แต่ ขั้นสมาธิ

ได้สมาธิพอออกมาก็ไม่ได้เอามาใช้ทางปัญญา

พอจิตฟุ้งก็กลับไปนั่งสมาธิใหม่ก็จะอยู่แต่ขั้นสมาธิ

ไม่ขึ้นสู่ขั้นปัญญาไม่ก้าวขั้นต่อไปได้

จะไปขั้นต่อไปได้ต้องบังคับใจให้คิดทางปัญญา

 เวลาได้สมาธิแล้ว เวลาออกจากสมาธิมาแล้ว

ต้องให้พิจารณาร่างกายเลย พิจารณาร่างกายไม่เที่ยง

 เกิดแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย

ร่างกายไม่ใช่ตัวเราของเรา เป็นเพียงดินน้ำลมไฟ

 เป็นเพียงอาการ ๓๒ ไม่สวยไม่งามไม่น่าดูไม่น่าชม

 ให้พิจารณาอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เตือนใจสอนใจ

 ทั้งร่างกายของเราและร่างกายของคนอื่น

เพราะถ้าเราเห็นว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 เห็นเป็นอสุภะเราก็จะปล่อยวาง

 เราก็จะไม่ยึดติดกับร่างกายของใคร

พอเราปล่อยวางได้

ร่างกายเขาเป็นอะไรไปเราก็จะไม่ทุกข์

 แต่ถ้าเราปล่อยวางไม่ได้ถ้าเรายังรักยังหวงเขาอยู่

 เวลาเขาเป็นอะไรไปนี้เราจะทุกข์มาก

 จะร้องห่มร้องไห้เศร้าโศกเสียใจ

 เพราะเราไม่พิจารณาทางปัญญากัน

การพิจารณาทางปัญญา

เพื่อระงับดับความเศร้าโศกเสียใจความทุกข์

ความวุ่นวายใจต่างๆ ที่เกิดขึ้นจาก

การที่สูญเสียร่างกายนี้ไปนั่นเอง

 แต่ถ้าเราพิจารณาว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยง

สักวันหนึ่งมันต้องจากเราไป

พอมันถึงเวลาที่เราจากมันไป

เราก็จะไม่ทุกข์ไม่วุ่นวายใจ

 พิจารณาว่าร่างกายต้องเจ็บ ต้องเจ็บไข้ได้ป่วย

 พอเราพิจารณาเห็นแล้ว

เรายอมรับความเจ็บของร่างกาย

เวลามันเจ็บเราก็จะไม่ทุกข์ไม่วุ่นวายใจไปกับมัน

 พิจารณาว่าร่างกายไม่สวยไม่งามเราก็จะไม่หลงรักใค

เห็นร่างกายของใครเราก็ไม่อยากจะหลงรัก

ไม่อยากจะได้ มาเป็นคู่ครองของเรา

 เราก็ไม่ต้องไปวุ่นวายกับเขาไม่ต้องไปยุ่งกับเขา

ไม่ต้องไปทุกข์กับเขา นี่คือหน้าที่ของปัญญา

 ปัญญามีหน้าที่เพื่อตัดตัณหาความอยากต่างๆ

ที่หลอกให้ใจไปยึดไปติด ไปรักไปชัง กับสิ่งต่างๆ

 แล้วก็ไปทุกข์กับสิ่งต่างๆ

เวลาที่สิ่งต่างๆ เปลี่ยนไป เสื่อมไป หมดไป

แต่ถ้ามีปัญญาแล้ว ก็จะไม่ยึดไม่ติดไม่รักไม่ชังกับอะไร

 จะสักแต่ว่ารู้เฉยๆ อยู่ก็อยู่ไปก็ไปไม่เดือดร้อน

 เพราะไม่มีความยึดติด ปล่อยวาง

 เพราะเห็นว่าการยึดติดแล้วทำให้ใจทุกข์

ถ้าปล่อยวางแล้วใจจะไม่ทุกข์

การปฏิบัติก็เพื่อปฏิบัติ

เพื่อความหลุดพ้นจากความทุกข์นี่เอง

 จะหลุดได้ก็ต้องใช้ปัญญาให้เห็นไตรลักษณ์

 เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นอสุภะ

 เพราะถ้าเห็นแล้วก็จะปล่อยวางไม่ยึดไม่ติด

เมื่อไม่ยึดไม่ติดแล้ว ก็จะไม่ทุกข์

เวลาที่มันมีการเสื่อมไปจากไป

นี่คือเรื่องของการปฏิบัติของพวกเรา

ที่มีอยู่ ๔ ประเภทด้วยกัน แต่จะเป็นประเภทไหน

ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร ขอให้มีความเพียรปฏิบัติไปเรื่อยๆ

 จะปฏิบัติง่ายหรือปฏิบัติยาก ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร

 จะบรรลุเร็วหรือบรรลุช้าก็ไม่เป็นปัญหาอะไร

 ถ้ามีความเพียรแล้วก็จะบรรลุได้ ทุกคนอย่างแน่นอน

 เพียงแต่ว่าช้าหรือเร็วเท่านั้น

อย่างที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่าบางคนก็ ๗ วัน

บางคนก็ ๗ เดือน บางคนก็ ๗ ปี

จะ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี

 พอบรรลุแล้วผลมันก็เหมือนกัน

เหมือนกินข้าวอิ่มช้าอิ่มเร็ว

พอมันอิ่มแล้วมันก็อิ่มเหมือนกัน

 บางคนกินเร็วก็อิ่มเร็ว บางคนกินช้าก็อิ่มช้า

แต่พอถึงความอิ่มมันก็อิ่มเท่ากัน อิ่มเหมือนกัน

 ขอให้กินไปเรื่อยๆก็แล้วกัน การปฏิบัติก็เหมือนกัน

จะปฏิบัติง่ายหรือยากจะบรรลุเร็วหรือช้า

ไม่เป็นปัญหา ขอให้ได้ปฏิบัติก็แล้วกัน

 ขอให้ทำความเพียรไปอย่างต่อเนื่อง

 และเพิ่มมากขึ้นไปตามลำดับ ก็แล้วกัน

แล้วรับรองได้ว่าจะได้ถึงจุดหมายปลายทาง

ด้วยกันทุกคนอย่างแน่นอน.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

........................

ธรรมะบนเขา วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙

“นักปฏิบัติ ๔ ประเภท”







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 02 กันยายน 2559
Last Update : 2 กันยายน 2559 10:50:09 น.
Counter : 642 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ