Group Blog
All Blog
### ขนมกลอย ###

















กลอย

......




 กลอยเป็นพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน เช่นเดียวกับเผือก

 ต้องรู้วิธีปรุงที่ถูกวิธีด้วย

 กลอยจัดเป็นพืช จำพวกคาร์โบไฮเดรท

คนในชนบทหรือชาวป่าชาวเขา

มักขุดหัวกลอย มาต้มกิน หรือหุงรวมกับข้าว

 ส่วนคนเมืองนิยม นำไปปรุงเป็นของหวานหลากหลายชนิด

 เช่น กลอยคลุกน้ำตาล กับมะพร้าว

กลอยนึ่งปนกับข้าวเหนียวมูน ข้าวเหนียวกลอยหน้าสังขยา

 หรือโรยน้ำตาลปนเกลือและงา

เป็นส่วนผสมของ แป้งชุบกล้วยแขก

 กลอยแผ่น ข้าวเกรียบกลอย แกงบวดกลอย

 และที่ขาดกลอย เป็นส่วนผสมเสียมิได้เลยคือถั่วทอด

ขนมขึ้นชื่อของจังหวัดสุโขทัย


หัวกลอยนั้นมีสารพิษที่เรียกว่า Dioscorine

 พิษชนิดนี้มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง

ซึ่งมีผลต่อการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

 คือ ตา หู จมูก ลิ้น การสัมผัสทางกาย

 ดังนั้น คนที่รับประทานกลอย ที่มีสารพิษเข้าไป

จึงมักมีอาการคันที่ปาก ลิ้น คอ คลื่นไส้ อาเจียน

 และเมื่อประสาทส่วนกลางบีบหัวใจ

จะทำให้เกิดอาการมึนเมา วิงเวียน ใจสั่น ตาพร่า อึดอัด

 และเป็นลมได้ในที่สุด

ผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการรุนแรง ไม่เท่ากัน

ขึ้นอยู่กับปริมาณสารพิษ และความต้านทานของแต่ละคน

การกำจัดพิษออกจากหัวกลอย วิธีการทั่วไป คือ

ปอกเปลือกหัวกลอยให้สะอาด หั่นเป็นแว่น

 แต่ละแว่นหนาประมาณ 1 – 1.5 ซม.

ให้นำชิ้นกลอยที่หั่นแล้ว ลงไปในภาชนะหนาประมาณ 10 ซม.

 โรยเกลือให้ทั่ว ทิ้งไว้ 1-2 ซม.

แล้วใส่ชิ้นกลอยลงไป ทำสลับกับเกลือ

 จนกว่าจะหมดทิ้งไว้ค้างคืน

 วันรุ่งขึ้นให้นำกลอย ที่หมักออกมาล้างน้ำจนสะอาด

จากนั้นใส่ชิ้นกลอย ที่ล้างแล้ว

ลงไปในถุงผ้าดิบหรือผ้าขาวบาง นำของหนักทับไว้

เพื่อไล่น้ำเบื่อเมาของกลอย ออกให้หมด

ต่อไปให้นำชิ้นกลอย จากถุงผ้าเทกลับลงไป ในภาชนะเดิม

แล้วใส่น้ำให้ท่วมเนื้อกลอย ทิ้งไว้ค้างคืน

รุ่งเช้าจึงนำชิ้นกลอย มาล้างให้สะอาด

และทำซ้ำเช่นเดิม ประมาณ 5- 7 วัน

จึงจะปลอดภัยจากสารพิษ

และนำมาบริโภค หรือปรุงอาหารได้

หรือจะผึ่งแดดให้แห้ง เก็บตุนไว้

เมื่อจะบริโภค จึงนำชิ้นกลอยมาแช่น้ำ

สมัยก่อนชาวบ้านนิยมนำกลอย ไปแช่ในลำธารประมาณ3 – 4 คืน

 และในระหว่างแช่ไว้ ต้องหมั่นคนกลอย ที่แช่เอาไว้

จนกว่ากลอย จะรสชาติจืด จึงนำไปนึ่งหรือปรุงอาหาร

กลอยแบ่งตามลักษณะของลำต้นและ ตามสีในเนื้อหัวกลอยคือ

 กลอยข้าวเจ้า ลักษณะของเถาและก้านใบสีเขียว

 ส่วนกลอยข้าวเหนียว เถาเป็นสีน้ำตาลอมดำ

เมื่อนำหัวกลอยมาปอกเปลือก และหั่นเป็นแว่นบาง ๆ

 กลอยข้าวเจ้ามีเนื้อสีขาวนวลและเนื้อหยาบกว่ากลอยข้าวเหนียว

ซึ่งมีสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม เนื้อเหนียว

และรสชาติดีกว่ากลอยข้าวเจ้า

ดังนั้นคนจึงนิยมรับประทานกลอยข้าวเหนียวมากกว่า

 กลอยทั้งสองมีพิษ พอๆกันใช้เป็นยาฆ่าแมลง

กลอยจะมีพิษมาก ในช่วงที่กลอยออกดอก

 คือช่วงหน้าฝนประมาณเดือนสิงหาคม – ตุลาคม

 และจะลดลงเมื่อกลอย เริ่มลงหัวในช่วงฤดูร้อน

ประมาณเดือนเมษายน"




























ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ




Create Date : 01 พฤษภาคม 2558
Last Update : 1 พฤษภาคม 2558 10:25:54 น.
Counter : 14655 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ