Group Blog
All Blog
### ดอกซ่อนกลิ่น ###

10906063_601653963302176_3614148991557652489_n

ดอกซ่อนกลิ่น

ดอกช่อนกลิ่นหรือดอกซ่อนชู้

เป็นไม้หอมต้องห้าม

ไม่ให้มาปลูกในบริเวณบ้าน

มีกลิ่นหอมมาก หอมขนาดที่ว่า

สามารถกลบกลิ่นเน่าเหม็น

ของศพหรือซากศพได้

คนไทยสมัยโบราณจึงนำมาใช้ในงานศพ

เพื่อ ‘ซ่อน’ กลิ่นของศพ

บางคนก็เรียกว่าดอกซ่อนชู้ ก็เพราะ

กลิ่นหอมที่รัญจวนใจ ใครได้กลิ่นแล้ว

อาจจะเผลอตัวเผลอใจได้ง่ายๆ

ฝรั่งเขายกย่องให้กลิ่นของซ่อนกลิ่น

เป็นกลิ่นหอมที่เซ็กซี่เย้ายวนที่สุด

มีการสกัดเอาน้ำมันระเหยของดอกซ่อนกลิ่น

เอาไปผลิตเป็นน้ำหอม

ให้กลิ่นหอมรัญจวนใจ น่าหลงใหล

มีเสน่ห์เย้ายวนขึ้นมาได้

กวีไทยเคยพรรณนาไว้ ในวรรณคดี

เรื่องขุนช้างขุนแผนว่า

“ซ่อนชู้ชูช่ออรชรเหมือนเราซ่อนเป็นชู้คู่แฉล้ม…”

ดอกซ่อนกลิ่นและซ่อนชู้

นี้มีคุณสมบัติพิเศษเช่นเดียวกับมะลิ

คือเมื่อเด็ดออกจากต้นแล้ว

แทนที่กลิ่นหอมจะจางหายไป

กลับยังส่งกลิ่นขจรขจายต่อไปเรื่อยๆ

จนกว่าดอกจะโรยไป

ส่วนรูปลักษณ์นั้นก็สวยบอบบาง

ด้วยกลีบสีขาวราวน้ำนม

บางพันธุ์เจือสีชมพูอ่อนๆ ตรงปลายกลีบ

10405525_601654009968838_816843773894274405_n

คนไทยสมัยก่อน ใช้บูชาพระ

เพราะเป็นดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์

และมีกลิ่นหอมแรงเช่นเดียวกับมะลิ

จึงนิยมนำไปบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิที่ถือเป็นของสูง

หรืออีกนัยหนึ่ง อาจเป็นการ ‘แก้เคล็ด’

คือนำไปบูชาพระเสีย

แทนที่จะส่งเสริมค่านิยม

การหลงใหลในกลิ่นอันเย้ายวน

เพราะความหอมของซ่อนกลิ่นนั้น

‘อันตราย’ เสียจนมีเรื่องเล่าว่า

พวกผู้ใหญ่ชาวอินเดียจะห้าม

เด็กสาวแรกรุ่นเข้าไปใกล้

ต้นซ่อนกลิ่นในยามวิกาล

เพราะเชื่อว่ากลิ่นจะพาให้อารมณ์เตลิดเปิดเปิง

จนเกิดอาการใจแตก ก่อนวัยอันควร

ส่วนในไร่ดอกซ่อนกลิ่นนั้น

จะอนุญาตให้ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วเท่านั้น

เป็นคนเก็บดอก เพราะกลัวว่า

ถ้าใช้สาวๆ วัยขบเผาะ

ก็อาจจะทำให้หนุ่มคนงานในไร่

พากันหูอื้อตาลาย อารมณ์ปั่นป่วน

เพราะหลงเสน่ห์สาวน้อย

และกลิ่นหอมของดอกไม้ชนิดนี้

จนไม่เป็นอันทำการทำงาน

วัฒนธรรมอินเดียนั้นยกย่อง

ความงามและความหอมของซ่อนกลิ่น

กันอย่างแพร่หลาย

ชาวอินเดียตะวันออกเรียกซ่อนกลิ่นว่า

“รัชนิคันธะ” มาจากคำว่า “รัชนี”

แปลว่ากลางคืน และ “คันธ”

ซึ่งหมายถึงกลิ่นหอม

ส่วนทางภาคใต้ของอินเดียเรียกว่า

“สุคนธราชา” หรือ ราชาแห่งกลิ่นหอม

ในบางท้องที่ของอินเดียก็เรียกว่า

“ชู้แห่งรัตติกาล” อีกด้วย

ตำราอายุรเวทของอินเดีย เชื่อว่า

การได้สูดกลิ่น จากน้ำมันหอมระเหย

ดอกซ่อนกลิ่นแล้วจะช่วยเสริมสร้างพลังงจิต

ช่วยกระตุ้นสมองซีกขวา

ที่ควบคุมความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ

และช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย

ฉากงานแต่งงานหนังแขก

บ่าว-สาวเขาจะคล้องพวงมาลัย ให้กัน

พวงมาลัยที่ว่าจะร้อยด้วย ดอกซ่อนกลิ่น

ใช้ประดับตกแต่งสถานที่จัดงาน

เชื่อกันว่ากลิ่นของดอกซ่อนกลิ่น

ทำให้คู่บ่าวสาวรักกันหวานชื่น

ชาว “อินโดนีเซีย” เรียกดอกซ่อนกลิ่นว่า

“บุหงาซดัปมาลัม”

หมายถึงดอกไม้ที่ส่งกลิ่นหอมยามค่ำคืน

“เกาะฮาวาย” นิยมใช้ดอกซ่อนกลิ่น

ร้อยเป็นมาลัยสำหรับใช้

ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง

ชาวฮาวายโบราณจัดพิธีแต่งงาน

ต้องให้เจ้าสาวสวมมงกุฎ

ดอกซ่อนกลิ่นและมะลิ

ประเพณียังสืบทอดกันมาถึงทุกวันนี้

ซ่อนกลิ่นจึงถือเป็นสัญลักษณ์

ของความโรแมนติค

และเสน่ห์ทางเพศของหญิงสาว

ขณะที่ “มาเลเซีย ”

ซึ่งเรียกไม้หอมชนิดนี้ว่า

“บุหงาซุนดัลมาลัม”

หรือ ‘whore of the night’

มีหนังสยองขวัญ ของมาเลเซียชื่อว่า

“ปุนตียานะก์ ฮารุม ซุนดัลมาลัม”

ปุนตียานะก์นี้ เป็นชื่อเรียกผี

ในตำนานพื้นบ้าน ของมาเลเซีย

เป็นหญิงสาวที่ตาย ขณะคลอดลูก

แล้วกลายเป็นผีดิบ

คนในแถบหมู่เกาะมลายูอย่างมาเลเซีย

อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ต่างรู้จักกันดี

ทำนองเดียวกับแดร็กคูล่าของฝรั่ง

หรือแม่นาคของไทยเรา

หนังเรื่องนี้เล่าถึงผีสาว

ที่ออกไล่ล่าเอาชีวิตคนที่เคยฆ่าเธอ

ด้วยแรงอาฆาตแค้น

ผีสาวหลงใหลดอกซ่อนกลิ่นมาก

จึงให้ชื่อหนังว่า ฮารุม

ซุนดัลมาลัม แปลว่า

กลิ่นหอมดอกซ่อนกลิ่น ….

ซ่อนกลิ่นเป็นพืชมีหัวในดิน

ไม่ได้เป็นไม้ไทยแท้ชื่ออื่นๆ

มีชื่ออื่น ซ่อนชู้ ดอกรวงข้าว

ดอกลีลา ( อิสาน)

ชื่อภาษาอังกฤษว่า Tuberose

ถิ่นเดิมอยู่ที่อเมริกาใต้

ต่อมามีผู้นำไปปลูกในฟิลิปปินส์ และอีสต์อินดีส์

ส่วนในยุโรปนั้น Simon de Tovar

แพทย์ชาวสเปน ได้นำเข้าต้นพันธุ์จากศรีลังกา

จากนั้นจึงมีการปลูกแพร่หลายในฝรั่งเศสและอิตาลี

เล่ากันว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

ได้สั่ง ซ่อนกลิ่นจำนวนมากถึง 10,000 ต้น

ไปปลูกที่ตำหนักกรองด์ ตริอานง

“ตำนานไม้ต่างประเทศบางชนิดในเมืองไทย”

ของพระยาวินิจวนันดร กล่าวไว้ว่า

ดอกซ่อนกลิ่นนี้มีในประเทศไทย

มากว่า 200 ปีแล้ว

หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2483

หากนับย้อนไปอีกราว 200 ปี

ก็อยู่ในช่วงปลาย สมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง

สันนิษฐานว่าชาวจีนน่าจะนำเข้ามา

เพราะชาวจีน มักใช้ดอกซ่อนกลิ่น

ปักแจกัน บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ

หรือตากแห้งใส่แกงจืด รับประทาน

และว่าชาวจีนน่าจะได้รับพันธุ์

จากฟิลิปปินส์อีกต่อหนึ่ง

เพราะติดต่อค้าขายกันมาช้านานแล้ว

ส่วนหนังสือ “ปทานุกรมพรรณไม้ในตำนานเมือง”

ของคุณสังข์ พัธโนทัย ก็สันนิษฐานว่า

ชาวฝรั่งเศส น่าจะนำเข้ามาปลูก

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

โดยอ้างคำกล่าวของบาทหลวง

นิโกลาส์ แชร์แวส

ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ

และการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม”

ว่า ดอกซ่อนกลิ่นที่ปลูกในกรุงศรีอยุธยานี้

มีกลิ่นหอมเย็นกว่าที่ปลูกในฝรั่งเศสมาก

ดอกซ่อนกลิ่นนี้หลังจาก

ถูกนำเข้าไปปลูกในยุโรปแล้ว

ก็กลายเป็นที่นิยมใช้ประดับสวนดอกไม้

ซึ่งเรียกกันว่า “moon garden”

สวนสไตล์นี้จะมีแต่ไม้ดอกโทนสีขาวล้วน

หรือสีพาสเทลอ่อนหวาน

ที่มักแย้มกลีบและส่งกลิ่นหอมกรุ่น

กำจายในช่วงหลังพระอาทิตย์ตกดิน เท่านั้น

จะไม่ใช้ดอกไม้สีสันสดใส จัดจ้าน

รูปแบบการแต่งสวนที่ฮ็อตฮิตในหมู่สาวๆ

ยุควิคตอเรียนของอังกฤษ

ซึ่งนิยมความงามอ่อนหวาน

ละมุนละไมมากกว่าความฉูดฉาดบาดตา

แต่ต่อมาความนิยมปลูกดอกซ่อนกลิ่น

ประดับบ้าน ก็ลดน้อยลง

เพราะมีผู้นำไปใช้ในพิธีศพ

กันอย่างแพร่หลาย

ฝรั่งตะวันตกก็ยังถือว่า

ซ่อนกลิ่นเป็นดอกไม้สำคัญ

อีกชนิดในอุตสาหกรรมเครื่องหอม

ที่เมือง กราสส์ของฝรั่งเศส

ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจน้ำหอมโลก

และที่อิตาลีก็เคยมีการปลูกซ่อนกลิ่น

จำนวนมาก เพื่อสกัดน้ำหอม

แต่ต้นทุนการผลิตที่สูงมาก ในปัจจุบัน

ทำให้มีการนำเข้าหัวน้ำมันซ่อนกลิ่น

จากแหล่งใหญ่ อย่างโมร็อคโค

อินเดีย จีน หมู่เกาะโคโมโร ฮาวาย

และแอฟริกาใต้แทน

กว่าจะได้หัวน้ำมันสัก 1 กิโลกรัม

ต้องใช้ดอกซ่อนกลิ่นมากถึง

3,600 กิโลกรัม

ดอกซ่อนกลิ่น ในบ้านเรา

จะมีอยู่ 2 แบบ

คือซ่อนกลิ่นดอกลา

กับซ่อนกลิ่นดอกซ้อน

“ซ่อนกลิ่นดอกลา”

หรือ “Single Mexican”

กลีบดอกจะมีแค่ชั้นเดียว กลิ่นหอมแรง

นิยมนำไปสกัดเอาน้ำมันระเหยไปทำหัวน้ำหอม

จะเป็นสายพันธุ์ ที่แพร่หลายมากที่สุด

พบเห็นได้ทั่วไป

ส่วน “ซ่อนกลิ่นดอกซ้อน” หรือ “Double Pearl”

กลีบดอกซ้อนกันสองชั้น

กลิ่นจะหอมอ่อนกว่า ซ่อนกลิ่นดอกลา

ให้ดอกสวยกว่า สายพันธ์นี้จะนิยม

ไปประดับตกแต่งสถานที่ หรือในงานพิธีต่างๆ

ซ่อนกลิ่นพันธุ์ผสมจากอินเดีย

ก็เป็นที่นิยมอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน

เช่นพันธุ์ “รชตเรขา” เป็นชนิดดอกลา

มีแถบสีขาวตรงกลางใบ

และพันธุ์ “สุวรรณเรขา” เป็นชนิดดอกซ้อน

มีแถบสีเหลืองตรงขอบใบ คำว่า “รชตะ”

แปลว่า เงิน ส่วน “สุวรรณ” แปลว่า ทอง

ซึ่งก็สะท้อนลักษณะเด่นของซ่อนกลิ่น

ทั้งสองชนิดได้เป็นอย่างดี

10888834_601654029968836_526193327674976494_n

ใบจะงอกขึ้นมาจากหัว ที่อยู่ในดินเป็นกอ

ใบเป็นสีเขียวอ่อน เรียวยาว

โผล่ขึ้นมาจากดินประมาณ 1ฟุต

ก้านช่อแข็งแรง ตั้งตรง ดอกสีขาว

ปลายดอกอาจจะแต้ม สีชมพูอ่อนๆ

ดอกแต่ละดอก ยาวประมาณ1 นิ้ว

ออกรอบๆ ช่อ 40-90ดอก/ช่อ

ออกดอกตลอดปี ยิ่งช่วงอากาศเย็น

แทงช่อบ่อยกว่าช่วงอื่นๆ

เวลาบานก็จะไล่บาน จากโคนไปหาปลายช่อ

กินเวลากว่าจะบานหมดทั้งช่อ

ก็จะอยู่ให้ชื่นชม 5-7 วัน ทรงสวย

ดอกจะมีกลิ่นหอมตั้งแต่

เวลาเย็นถึงตอนกลางคืน

ใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ

มีอายุหลายปี

ขอบคุณที่มา....fb. Anna Jill

คัดลอกมาจาก.....ตังเก ศรีราชา




Create Date : 01 มกราคม 2558
Last Update : 1 มกราคม 2558 11:53:21 น.
Counter : 11402 Pageviews.

1 comments
  


ขอให้มีความสุขมากๆนะค่ะ

โดย: Opey วันที่: 1 มกราคม 2558 เวลา:23:50:05 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ