Group Blog
All Blog
--- จิ บ พ ม่ า ต า ม ห า จ อ ร์ จ อ อ ร์ เ ว ล ล์ ---




















บั น ทึ ก ก า ร อ่ า น
จิบพม่า ตามหาจอร์จ ออร์เวลล์


ผู้เขียนเรื่อง ' จิบพม่า ตามหาจอร์จ ออร์เวลล์' ประวัติศาสตร์ระหว่างบรรทัดในร้านน้ำชา เล่มนี้ เป็นนักเขียนสตรีชาวอเมริกันคือ เอ็มม่า ลาร์คิน (Emma Larkin) เป็นผู้หญิงเก่งที่คุ้นเคยกับเอเชียอย่างดี เธอช่ำชองภาษาพม่าด้วยการเริ่มเรียนภาษาที่แสนยากนี้ที่กรุงลอนดอน เธอเข้า ๆ ออก ๆ พม่าในยุคเผด็จการเป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษ เธอเป็นผู้หญิงที่มีความสามารถเดินท่อม ๆ คนเดียวท่ามกลางสังคมที่ทหารชายใหญ่คับแผ่นดิน เธอนั่งจิบชาหาข้อมูลเกี่ยวกับชีวิต 5 ปีของออร์เวลล์สมัยที่เขาเป็นข้าราชการตำรวจอยู่ในพม่า ไม่ว่าจะลุยไปในมัณฑะเลย์ ในภูมิภาคดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี ในย่างกุ้ง เมาะละแหม่งและท้ายสุดที่กะต่า เมืองเล็ก ๆ ทางตอนเหนือของพม่าติดกับรัฐฉาน เธอไปในที่ที่ชายอกสามศอกอาจจะไม่กล้าไป

ทั้งหมด 5 บทนี้เป็นฉากที่เอ็มม่าใช้เดินเรื่องในการ 'ตามหา' จอร์จ ออร์เวลล์ นักเขียนขวัญใจของเธอ แต่สิ่งที่น่าทึ่งในงานเขียนชิ้นนี้คือ การทำการบ้าน เอ็มม่าอ่านงานเขียนของออร์เวลล์ทุกเรื่องอย่างทะลุปรุโปร่ง มีทั้งสารคดี นวนิยายและเรื่องสั้นที่เธออ้างถึง ตลอดจนจดหมายของออร์เวลล์

เช่น นิยายทุกเรื่องของออร์เวลล์จบลงด้วยความพ่ายแพ้ ตัวละครพยายามต่อสู้กับระบบ วินสตัน สมิธ ใน 1984 เขาถูกทรมานและถูกเค้นความลับจนหมดสิ้น หรือใน เบอร์มีส เดย์ส จอห์น เฟลอรี่ตายที่กะต่า แม้เขาจะสนิทกับหมอวีรสวามี แต่เขาไม่มีความกล้าพอที่จะเสนอชื่อหมอเข้าเป็นสมาชิกสโมสร เป็นต้น

ฉันชอบลีลาการเล่าเรื่อง มีทั้งตลกร้ายที่เศร้าลึกรวมถึงการลงลึกถึงข้อมูล ชอบบทสนทนาของเอ็มม่ากับผู้คน เปี่ยมไปด้วยศิลปะในการดึงความรู้สึกนึกคิดมาระบายเป็นภาพความเป็นจริงอันขื่นขมของผู้คนไปกับการจิบชาที่มีรสชาติกลมกล่อมแปมความปร่าขมของน้ำตา มิติของผู้คนที่มีชีวิตอยู่ภายใต้ความหวาดกลัวราวกับมะเร็งร้ายของผู้คนในพม่า ฉันสลดใจกับเรื่องราวในคุกและทุกความโหดร้ายในพม่า เราปรารถนาจะเรียนรู้วันเวลาในพม่ามากกว่าความเกลียดชัง
ที่นั่น..ประวัติศาสตร์ต่าง ๆ มักถูกลบทิ้งอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะถูกบันทึกในรูปแบบของจดหมาย เอกสารข้อมูลหรือความทรงจำ

สิ่งที่สะเทือนใจมากที่สุดคือ การที่รัฐบาลจงใจทำลายระบบการศึกษา ไม่สามารถจินตนาการถึงอนาคต ไร้ซึ่งแสงแห่งความหวังทั้งปวง นับเป็นโศกนาฏกรรมที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศ

วันเวลาในพม่าเป็นจุดหักเหสำคัญในชีวิตของออร์เวลล์ ความเกลียดชังของออร์เวลล์ต่อลัทธิล่าอาณานิคมซึ่งถูกหล่อเลี้ยงด้วยความโดดเดี่ยวและอากาศอ้าวระอุ เติบโตงอกงามเหมือนดอกไม้ในเรือนกระจก การอ่านครั้งนี้ทำให้ซาบซึ้งกับการมีชีวิตอยู่ของเพื่อนมนุษย์คนอื่น ๆ

ออร์เวลล์สักร่างกายขณะที่อยู่พม่า เพราะเขาเชื่อว่ารอยสักคุ้มครองป้องกันกระสุน งูพิษและมนต์ดำ รอยสักนี้ยืนยันถึงแรงกระตุ้นของออร์เวลล์ที่จะแยกตัวออกจากสังคมความเป็นนายของเจ้าอาณานิคมด้วย อังกฤษทำลายสถาบันการปกครองดั้งเดิมของพม่าทั้งระบบกษัตริย์และสถาบันสงฆ์

อ่านแล้ว รู้สึกร่วมกับเขาว่า เขาและเราต่างเป็นมนุษย์เดินดินด้วยกันทั้งนั้น เราเห็น เราได้ยิน เรารู้สึก เราเข้าใจ บนโลกใบเดียวกัน
ทุกตัวอักษรของเขาดูบอบช้ำ สะเทือนใจในวังวนของประวัติศาสตร์ที่พร่ำบอกเราเสมอว่า รัฐบาลที่ปกครองประเทศโดยขัดต่อเจตจำนงของประชาชนนั้นไม่มีทางยั่งยืนนาน และกลับมามองบ้านเราอย่างพิจารณาอีกครั้ง อ่านเขาและจะได้อ่านเราต่อ

ขอบคุณค่ะ
ภูพเยีย
21 มีนาคม 2560















Create Date : 12 พฤษภาคม 2560
Last Update : 12 พฤษภาคม 2560 16:47:57 น.
Counter : 936 Pageviews.

0 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณfor a long time, คุณslowlate

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ภูเพยีย
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]



  •  Bloggang.com