พฤษภาคม 2559

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ รัฐบาลไม่ควรย้อนกลับไปเส้นทางเดิม



เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2559 ทางเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการที่สนับสนุนการคุ้มครองทางสังคมรวมทั้งตัวแทนผู้สูงอายุได้เข้าพบ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุลรัฐมนตรีประจำสำนักนายกมนตรีเนื่องในโอกาสวันผู้สูงอายุแห่งชาติและได้ยื่นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายเบี้ยยังชีพที่ปัจจุบันจ่ายให้ทุกคนที่ไม่ได้รับบำนาญจากรัฐให้เป็นบำนาญพื้นฐานมีกฎหมายรองรับชัดเจนในประเด็นต่างๆ



บรรยากาศการพูดคุยเป็นไปอย่างอบอุ่นเป็นมิตรท่านรัฐมนตรีเห็นว่าน่าจะเป็นทิศทางที่ดีในการสร้างหลักประกันรายได้สำหรับผู้สูงอายุในปัจจุบันและผู้ที่จะเป็นผู้สูงอายุในวันหน้าโดยเฉพาะแรงงานนอกระบบที่หลักประกันรายได้ในวัยสูงอายุเป็นปัญหาท้าทายอย่างมาก ท่านรัฐมนตรีบอกให้ผู้เข้าพบชื่นใจว่าจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังและจะพยายามทำให้เสร็จโดยไว หลังจากนั้นสื่อก็ลงข่าวประชาสัมพันธ์เรื่องนี้อย่างแพร่หลายก่อให้เกิดความคาดหวังว่าจะมีการดำเนินการจริงๆ

หนึ่งเดือนให้หลังนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาชี้แจงว่าจะมีการปรับเปลี่ยนการจ่ายเบี้ยยังชีพ ซึ่งสวนทางกับที่ทางรัฐมนตรีประจำสำนักนายกมนตรีได้กล่าวไว้ นั่นคือกลับไปใช้การเลือกให้เฉพาะกลุ่มที่รัฐบาลเห็นว่าควรได้รับการสนับสนุน คือ เป็นผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่ำกว่า 9,000 บาทต่อเดือน หรือมีทรัพย์สินไม่เกิน 3 ล้านบาทโดยตั้งเป้าว่าจะทำให้รัฐลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณหนึ่งหมื่นล้านบาทต่อปี

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุจำนวนประมาณ10 ล้านคน ข้อมูลจากการสำรวจผู้สูงอายุโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2557 รายงานว่าผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพคิดเป็นร้อยละ 85 ของประชากรสูงอายุทั้งหมดโดยร้อยละ 15 ที่เหลือเป็นผู้ได้รับบำนาญหรือรัฐสวัสดิการอื่นและจากการสำรวจด้านรายได้ของผู้สูงอายุในปีเดียวกันพบว่า ประชากรสูงอายุของไทยที่มีรายได้ต่ำกว่า 8,333 บาท/เดือน (100,000 บาทต่อปี) มีจำนวนคิดเป็นร้อยละ 82 ซึ่งใกล้เคียงกับสัดส่วนผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพอยู่แล้วแสดงว่านโยบายเบี้ยยังชีพในปัจจุบันได้ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ 9,000 บาท/เดือน ตามแนวคิดของรมช.การคลังอยู่แล้ว ดังนั้นนโยบายงดจ่ายเบี้ยคนชรานี้จึงไม่น่าจะลดค่าใช้จ่ายของรัฐได้ตามที่ได้ตั้งเป้าไว้แต่อย่างใด

หากเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายเบี้ยยังชีพกับการคาดการณ์งบประมาณที่คำนวณโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ซึ่งเป็นการประมาณการการจ่ายแบบถ้วนหน้าที่ทุกคนใช้สิทธิกับข้อมูลค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากกระทรวงมหาดไทย ก็จะพบว่างบประมาณที่ใช้จ่ายจริงนั้นต่ำกว่าประมาณการงบประมาณมากคือต่ำกว่าปีละประมาณ 18,000 – 26,000 ล้านบาท โดยยกตัวอย่างในปี พ.ศ. 2558 ประมาณการงบประมาณไว้ที่ 88,303 ล้านบาท ใช้จริงเพียง 62,127 ล้านบาท มีส่วนต่างถึง 26,176 ล้านบาท

ข้อมูลเหล่านี้แสดงว่ามาตรการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ ให้เฉพาะผู้ที่ไม่ได้รับบำนาญจากรัฐและการสละสิทธิไม่รับเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่ฐานะดี ได้ลดภาระงบประมาณรัฐบาลได้ปีละมหาศาลอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องนำเอาวิธีการคัดเลือกกลับมาใช้เพื่อเป้าหมายการลดภาระงบประมาณรัฐให้ได้ปีละหนึ่งหมื่นล้านแต่อย่างใด

การนำเสนอนโยบายลดทอนค่าใช้จ่ายเพื่อผู้สูงอายุจึงไม่ใช่ทางออกในการลดภาระงบประมาณด้านสวัสดิการภาครัฐแต่หากควรหาทางเพิ่มรายได้ภาครัฐเพื่อนำมาจัดสวัสดิการที่เหมาะสม

นอกจากนี้ควรยกระดับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เป็นบำนาญพื้นฐานของทุกคน เป็นหลักประกันทางรายได้เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุเพื่อเตรียมพร้อมรองรับสังคมสูงอายุในอนาคต

-------------------------------------------

ข้อคิดเห็นโดย

ตัวแทนเครือข่ายผู้สูงอายุที่มีส่วนร่วมในเครือข่ายขับเคลื่อนบำนาญแห่งชาติ และเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ




Create Date : 23 พฤษภาคม 2559
Last Update : 24 พฤษภาคม 2559 6:53:38 น.
Counter : 918 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กระต่ายแต่งหน้า
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]