Group Blog
 
All Blogs
 
Crab และ ปู ที่มาของ คำนิรเกณฑ์ และ คำเลียนเสียงธรรมชาติ Arbitrariness and Onomatopoeia



“เคยคิดเล่นๆ ว่า ชื่อ "Crab"มันคงมีที่มาจากเสียงก้ามปูหนีบอะไรดัง"แคร๊บๆ" หรือว่าตอนกระดองปูโดนทุบ ดัง "แคร๊บ" นะ?แล้วทำไมคนไทยเรียกสัตว์น้ำชนิดนี้ว่า"ปู" 555”

จากข้อสงสัยดีๆจากพี่ Chanin Thorut ดังกล่าว เราอาจจะต้องทำความรู้จักหลักภาษาศาสตร์ของ เดอะ โสสืร FerdinandMongin de Saussure French: [fɛʁdinɑ̃ mɔ̃ʒɛ̃ də sosyʁ] ได้ให้นิยามของ สัญลักษณ์ทางภาษาศาสตร์ไว้ดังนี้

Saussure distingue quatre caractéristiques du signelinguistique:

1. L'arbitraire du signe : le lien entre lesignifiant et le signifié est arbitraire (c'est-à-dire immotivé), car un mêmeconcept peut être associé à des images acoustiques différentes selon leslangues.

Saussure distinguishes four characteristics of thelinguistic sign:

1. The arbitrariness of the sign: the link betweenthe signifier and the signified is arbitrary (ie unmotivated), for the sameconcept can be associated with different acoustic images according to thelanguages.

สรุปได้ว่า เสียงและรูปสะกดคำ มีความสัมพันธ์ (รูปเสียงสื่อ) กับ สิ่งที่ต้องการสื่อสาร(สิ่งที่ถูกสื่อ)นั้นมีความสัมพันธ์ในแบบนิรเกณฑ์ กล่าวคือไม่ได้มีสัมพันธ์กันโดยตรง หากแต่ ก็ไม่ได้เป็นการสุ่ม

อย่าง คำว่า cat ในภาษาอังกฤษ หมายถึง เสือขนาดเล็กที่ถูกมนุษย์นำมาเพาะเลี้ยงจนเชื่องและใช้เป็นสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน เสียงของคำว่า cat ไม่มีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับ แมวโดยตรง หากแต่เป็นเรื่องของ ภาษาศาสตร์ประวัติศาสตร์ซึ่งคำส่วนใหญ่ในภาษาเป็นคำที่มีลักษณะนิรเกณฑ์

หากแต่ก็มีข้อยกเว้น ในคำอุทาน และคำเลียนเสียงธรรมชาติ (onomatopoeia) ซึ่งคำว่า ‘แมว’ ในภาษาไทยก็อาจจะถือเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติเช่นกัน แต่ก็เป็นคำร่วมรากถึงต้น Proto-KraDaiแต่อาจจะรวมถึงProto-Sino-Dai ด้วย จึงอาจจะไม่นับรวมเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติ เพราะภาษาไทยมีคำร้องของแมว เป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติที่แท้จริงคือ เหมียว อย่างที่เราพูดกันว่า แมวเหมียว

แมว จึงจัดเป็นคำ นิรเกณฑ์ arbitrariness

เหมียว จึงจัดเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติ onomatopoeia

กลับมาที่คำว่า crab ในภาษาอังกฤษ นั้น มาจากภาษาอังกฤษยุคกลาง crabbeและมาจากภาษาอังกฤษยุคเก่าcrabba ซึ่งมีรากร่วมกลุ่มภาษาเยอรมานิกกับ ภาษาดัชต์ krabbe และอาจจะมีรากร่วมกับภาษาอินโดยุโรปดังนี้ ภาษาละติน cancer, ภาษากรีก karkinos, ภาษาสันสกฤต ( karkat̻a : กรฺกฏ : กัรกะฏะ > กรกฏ ) ซึ่งสืบสร้างได้ ภาษาโปรโตอินโดยูโรปดังนี้ *kark- ซึ่งไม่น่าจะนับเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติแต่เป็นคำนิรเกณฑ์เช่นกันครับ

คำสืบสร้าง Proto-Indo-European: *kark-

ภาษาสันสกฤต : karkat̻a

ภาษาละติน: cancer

ภาษากรีก: karkinos

Old English: crabba

Middle English crabbe

ภาษาดัชต์: krab, krabbe

Low German: Krabb

ภาษาสวีเดน: krabba

ส่วนปู ก็เป็นคำนิรเกณฑ์ เช่นกัน เป็นคำร่วม Proto-Dai และ Proto-Kra-Dai

Dai languages

-Southwestern Tai: ไทสยาม, ไทลื้อ /puu1/ ; ไทขาว,ไทดำ,ไทใหญ่/pu1/; ไทอีสานหนองคาย, ไทยวนเชียงใหม่ /puu2/

-Central Tai: ไทLeiping /puu2/; ไทLungming,ไท Ning Ming /pow1/; ไท WesternNung, ไทLungchow, ไทPing Siang /puu1/

-Northern Tai: ไท Yay, ไทแสก /paw1/

Kam-Sui Languages

-Ai-Cham: ภาษาBoyao /pau1/

Hlai languages

-Hlai: ภาษาHlai/ ʔbou2/ or / ʔbʌu2 /

ดังนั้น ทั้ง crab ในภาษาอังกฤษ และ ปู ในภาษาไทย จึงเป็นคำนิรเกณฑ์ ที่สืบทอดรากศัพท์ภาษาเก่าของแต่ละภาษามาหลายพันปีครับ

ปล.

ขอบคุณรูปจาก Rueangrit Promdam

ไม่สามารถเขียนให้สั้นๆง่ายๆ ได้ ตามคำขอของท่าน Ohm Pavaphon ขอโทษทีครับ

© 2017 Prapanth Iamwiriyakul

© 2017 พันศาสตร์พันภาษา





Create Date : 05 มิถุนายน 2560
Last Update : 5 มิถุนายน 2560 5:05:22 น. 2 comments
Counter : 1209 Pageviews.

 
ได้ความรู้เพียบเลย
ขอบคุณนะคะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 5 มิถุนายน 2560 เวลา:9:17:24 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: Paphmania วันที่: 9 มิถุนายน 2560 เวลา:0:29:08 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Paphmania
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Paphmania's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.