วิเคราะห์สภาพแวดล้อมโรงเรียน








ในองค์กรหนึ่งๆ (หรือโรงเรียนหนึ่งๆ) เมื่อผู้บริหารจะทำอะไรสักอย่างไม่ใช่นึกอะไรได้ก็จะทำ คิดอะได้จะซื้อก็ซื้อ ใครสะพายชั้นวางของ หรือหิ้วตะกร้าผ้าไหมผ่านหน้าโรงเรียนก็ซื้อ  มันไม่ได้

มันต้องมีแผน ในการกำหนดทิศทางพัฒนาโรงเรียน ลำดับของแผนมันมีตั้งแต่หยาบๆ ลงไปจนถึงแผนรายปี รายเดือน  ใครที่เรียนบริหาร หรือวิชาที่ว่าด้วยแผนมา คงพอนึกได้ 

เหตุการณ์นี้ก็เช่นกัน เมื่อเข้ามาทำงานที่โรงเรียนนี้ใหม่ๆ ก็ต้องเอาแผนเก่าๆเขามาดู ว่าเขามีทิศทางไปทางไหน จะเน้นอะไร มีอะไรเร่งด่วน 

ผลปรากฎว่า แผนนั้นสิ้นอายุขัยไปแล้ว ตายวันเราเกิดเลย (แผนนึงมีอายุ4 ปี) 

ก็ทำใหม่สิ ไปยากอะไร


ตามตำราท่านว่าให้เริ่มด้วยการวิเคราะห์องค์กรตัวเองเสียก่อนเลย ว่าเรานั้นมีต้นทุน อะไรดี อะไรเด่น อะไรด้อย อะไรเป็นโอกาส อะไรเป็นภัยคุกคาม ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

วิธีที่วิเคราะห์อย่างนี้ เขาเรียกว่า "สว๊อท" เพราะมันมาจากภาษาอังกฤษ 4 ตัว คือ SWOT 
S คือ strength หรือจุดแข็งที่อยู่ภายในโรงเรียนเรา
w คือ weakness หรือจุดอ่อน จุดไม่ดี จุดแย่ๆ ที่อยู่ภายในโรงเรียนเรา
O คือ opportunity หรือ โอกาส ที่เราได้รับจาก อะไรก็ได้ที่อยู่ข้างนอกโรงเรียน
T คือ Threat คืออุปสรรค แต่ผมติดที่จะเรียกว่าภัยคุกคาม เพราะตอนที่เรียนมาแถวๆสำนักบางแสนเขาพาเรียกแบบนั้น  ก็คือสิ่งที่จะเข้ามาโจมตีองค์กรเรา หรือสิ่งเชิงลบก็ได้ ที่มาจากนอกโรงเรียน เราควบคุมอะไร หรือแก้ไขอะไรไม่ได้

เริ่มเลยนะ 
เริ่มจากสภาพภายนอกโรงเรียนก่อน  เริ่มยังไงล่ะ 
ในการวิเคราะห์ภายนอกเขามีหลายประเด็นที่จะนำมาช่วยจับ ที่ฝรั่งเขียนไว้ เยอะเลย เช่น เทคนิค STEP  เทคนิค C- PEST เทคนิค 7s Framework

แต่งานนี้ ผมเลือกใช้ STEP เพราะง่าย เร็ว จับประเด็นได้ครอบคลุมดี เหมาะกับโรงเรียนประถมที่สุดแล้ว

step ที่ว่า คือ
s: social & culture
t: technology
e: economics
p: political &legal

ต่อไปนำกระดาษมาเลย 4 สี แล้วหว่านให้คุณครูเขียน ว่าในด้านนี้ครูคิดว่า รร.เราเป็นไง ไม่ต้องสนใจการใช้ภาษา ดี ไม่ดีเขียนมา ไม่ต้องลงชื่อ หนึ่งหัวข้อ มีแค่หนึ่งประเด็น ของผมให้คุณครูส่งมาใน Line ส่วนตัวผม เขียนกันสนุกสนานบันเทิงรมณ์ แล้วผมมาเรียบเรียงใหม่ สรุปได้ว่า



S: Social & Culture

1. นักเรียนให้ความสนใจในกิจกรรมกลางแจ้งและมีทักษะชีวิตที่ดี

2. สังคมโดยรอบโรงเรียนเป็นสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท ประชากรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโรงเรียนจึงยังมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีคุณธรรมอย่างเห็นได้ชัด

3. โรงเรียนมีทำเลที่ตั้งเหมาะสมคืออยู่ใจกลางชุมชนมีถนนสายหลักสองสายตัดผ่าน คือถนนรัตนาธิเบศร์(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข302)  และถนนราชพฤกษ์ (ทางหลวงชนบท นบ.3021) ตลอดจนใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง(สถานีบางรักใหญ่)

4. ประชากรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหมู่บ้านจัดสรรคอนโดมีเนียม หรือที่พักอาศัยชั้นดีที่มาอาศัยอยู่ใหม่ ยังไม่ไว้วางใจในการส่งบุตรหลานมาเรียนหนังสือที่โรงเรียน

5. ผู้ปกครองนักเรียนส่วนมากเป็นผู้ประกอบอาชีพรับจ้างรายวันและ มีชาวต่างด้าวในภูมิภาคอาเซียนซึ่งโรงเรียนสามารถสื่อสาร หรือเชื่อมสัมพันธ์ได้อย่างจำกัด

6. ผู้ปกครองนักเรียนที่ประกอบอาชีพในสถานที่ก่อสร้างมีการย้ายถิ่นฐานบ่อย ทำให้อัตราการย้ายเข้าย้ายออกของนักเรียนสูง

7. โรงเรียนถูกมองว่าเป็นโรงเรียนท้ายแถวเนื่องจากตั้งอยู่ในเขตที่มีการพัฒนาการศึกษาที่ดี และได้รับการตัดสินคุณภาพจากผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเพียงด้านเดียว

8. ผู้ปกครองนักเรียนไม่เข้มงวดกวดขันนักเรียน และผลักภาระการดูแลบุตรหลานทุกๆด้านให้กับโรงเรียนเพียงฝ่ายเดียว

9. ข้าราชการครู และลูกจ้างชั่วคราวในสังกัดส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในพื้นที่จึงมีความเสี่ยงที่จะย้ายกลับภูมิลำเนาเมื่อได้รับสิทธิ หรือการเลิกจ้างได้ตามนโยบายต้นสังกัด จึงมี loyaltyต่อโรงเรียนได้น้อย

10. โรงเรียนตั้งอยู่ในสังคมเมืองใหม่จึงถูกเปรียบเทียบคุณภาพการศึกษาจากโรงเรียนเอกชน

11. พื้นที่เขตบริการของโรงเรียนแม้ว่าเป็นชุมชนใหญ่แต่ถูกคั่นกลางด้วยถนนราชพฤกษ์จึงไม่สะดวกต่อการเดินทางมารับมาส่งนักเรียน

12. ที่ตั้งของโรงเรียนต้องเดินเข้าซอย หน้าปากซอยไม่มีป้ายรถเมล์ แม้ว่าปากซอยด้านตำบลบางรักใหญ่มีสถานีรถไฟฟ้าและป้ายรถเมล์ แต่ต้องเดินเท้าเป็นระยะทางกว่า 800 เมตร




T: Technology


1. ในปีงบประมาณ 2560 โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณจากต้นสังกัดในการสร้างอาคารเรียนหลังใหม่พร้อมครุภัณฑ์อีก 1 หลังจำนวน 10 ห้องเรียน


E: Economics

1. ผู้ปกครองนักเรียนมีฐานะยากจน 100%

2. โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากต้นสังกัดในการTraining ครูด้านการศึกษาอยู่บ่อยครั้ง

3. โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดต่างๆ กับองค์กรภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

4. มีนักเรียนในสังกัดน้อยเมื่อได้รับจัดสรรงบประมาณหรือความอนุเคราะห์ต่างๆจึงสามารถแจกจ่ายนักเรียนได้อย่างทั่งถึง


P: Political & Legal

1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนในการสนับสนุนการศึกษาให้กับโรงเรียนบ้างตามที่กรอบกฎหมายกำหนด

2. โรงเรียนมีโอกาสได้รับความอนุเคราะห์จากภาคเอกชนบ่อยครั้ง

3. หน่วยงานต้นสังกัดมักจัดให้มีการฝึกอบรมประชุมสัมมนาทางการศึกษาสำหรับครูบ่อยแต่ไม่ทั่วถึงหรือตรงกับความต้องการ

4. หน่วยงานต้นสังกัดมักมอบหมายสั่งการ แบบ ฉุกละหุกหรือเร่งด่วน หรือใช้เวลาราชการในการสอนหนังสือทำให้ ไม่สอดคล้องกับปฏิทินการปฏิบัติงานหรือแผนการสอนที่ครูวางไว้

5. ไม่ค่อยมีการฝึกอบรมประชุมสัมมนาทางการศึกษาสำหรับผู้บริหาร สถานศึกษาหากมีก็ต้องเป็นการคัดเลือกไป

6. คณะที่ปรึกษาของสถานศึกษา(คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน)เป็นผู้มีภาระงานประจำ หรืออาวุโสมากมีเวลาให้กับโรงเรียนได้น้อย และขาดประชุมบ่อย

7. ได้รับจัดสรรงบประมาณสำหรับนักเรียนยากจนได้เพียง40%




ต่อไปเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน
ซึ่งเลือกใช้ วิธี 2S 4M 
เพราะสมัยเป็นรองฯ อยู่ต่างจังหวัดเคยไปอบรมเขียนแผน (ออกสตางค์เองนะ) ที่กลุ่มแผน สพป.โคราช1 (คุณภรณ์นภัส)จัด  เขาพาทำแบบนี้ มันง่ายดี


S1: Structure & Policy

1. บุคลากรในโรงเรียนไม่มีความขัดแย้งรุนแรง

2. ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับมอบอำนาจเบ็ดเสร็จจากต้นสังกัดและสถานศึกษาเป็นนิติบุคคล


S2: Service & Product

1. นักเรียนเป็นเด็กว่านอนสอนง่ายเชื่อฟังคำสั่งสอนของครู และผู้ปกครอง

2. นักเรียนส่วนใหญ่มีจิตอาสาและมีทักษะชีวิตดี

3. นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดมีอัตราการเข้าเรียนต่อระดับที่สูงขึ้นในโรงเรียนชั้นนำของจังหวัดได้ 100 %

4. โรงเรียนได้รับผลการประเมินคุณภาพการศึกษาจากภายนอก(สมศ.) ผ่านทุกด้านและทุกรอบ

5. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ

6. นักเรียนมีอัตราการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้สูง

7. โรงเรียนไม่สามารถคัดเลือกนักเรียนที่เรียนเก่งหรือคุณภาพชีวิตดีเข้ามาเรียนได้

8. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน



M1: Man

1. ครู และบุคลากรในโรงเรียนมากกว่า 80 % เป็นคนรุ่นใหม่(Generation Y) ที่มีความคิดสร้างสรรค์พร้อมเรียนรู้และพัฒนาตนได้อย่างต่อเนื่อง

2. ครู และบุคลากรในโรงเรียนขยันขันแข็ง ทุ่มเทและไม่ต่อต้านแนวคิดของผู้บังคับบัญชา

3. ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีความสามัคคีร่วมมือกันทำงานได้เป็นอย่างดี

4. ครู และบุคลากรในโรงเรียนได้รับมอบหมายงานให้ดำเนินการตามความถนัดและตามวิชาเอกที่เรียนมา

5. โรงเรียนมีบุคลากรด้านแรงงาน(นักการ)ทีมีทักษะเชิงช่างดี จึงไม่ต้องจ้างOutsource

6. ครู และบุคลากรในโรงเรียน ทั้ง100% มีทักษะทางด้าน ITดี

7. ผู้บริหารสถานศึกษาไว้วางใจผู้ใต้บังคับบัญชา

8. ผู้บริหารสถานศึกษาเคยผ่านตำแหน่งรองผู้อำนวยการในโรงเรียนขนาดใหญ่มาก่อน จึงสามารถปฏิบัติงานได้ทันทีโดยไม่ต้องลองผิดลองถูก

9. ผู้บริหารสถานศึกษาเด็ดขาดและกล้าในการตัดสินใจ

10. โรงเรียนมีบุคลากรจำกัดแต่ภาระงานที่นอกเหนืองานสอนมีเท่ากับโรงเรียนทั่วไปจึงมีเวลาในการทุ่มเทกับงานการสอนได้ไม่เท่าที่ตนคาดหวังไว้

11. ครู และบุคลากรกว่า 94 % ไม่มีวิทยฐานะ จึงมีประสบการณ์ด้านการสอนน้อย

12. ครู และบุคลากรในโรงเรียนส่วนมากบรรจุมาใหม่จึงยังไม่มีทักษะและประสบการณ์ในระเบียบ แบบแผนและธรรมเนียมปฏิบัติทางราชการ




M2: Money

1. โรงเรียนมีขนาดเล็กได้รับจัดสรรงบประมาณไม่มาก จึงสามารควบคุมการใช้จ่ายได้อย่างรัดกุม ตามแผนงาน แลตรวจสอบได้

2. ได้รับจัดสรรงบประมาณจากต้นสังกัดเพียงทางเดียว

3. ไม่สามารถเก็บเงินผู้เรียนได้

4. ได้รับเงินบริจาครายปีน้อย


M3: Materials

1. บริเวณโรงเรียนและห้องเรียนมีความสะอาดสะอ้านเป็นระเบียบ

2. มีพื้นที่สีเขียวและสนามหญ้าที่เป็น Landmark ของโรงเรียน

3. มีระบบ Internet ความเร็วสูงที่ทันสมัยและมีความเสถียร

4. โรงเรียนมีรั้วรอบขอบชิดสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียนได้ 100 %

5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาเช่าที่ดินสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายในพื้นที่โรงเรียนจึงทำให้เป็นบรรยากาศแห่งการเรียนรู้

6. พื้นที่โรงเรียนเป็นพื้นที่เช่ามีความคับแคบและไม่สามารถขยายได้อีก

7. โรงเรียนมีทางเข้าออกได้ 3 ทางและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายนิยมใช้ทางเข้ารองมากกว่าทางเข้าหลัก

8. พื้นที่ในโรงเรียนประมาณ15 % เป็นบริเวณทรุดโทรมบ่อน้ำขัง ไม่ถูกสุขลักษณะ

9. พื้นที่ทำครัวและบริเวณรับประทานอาหารกลางวันไม่ถูกสุขลักษณะและไม่เพียงพอ

10. ห้องคอมพิวเตอร์มีสภาพทรุดโทรมจำนวนไม่เพียงพอ ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ

11. ห้องวิทยาศาสตร์มีเครื่องมือไม่ทันสมัยไม่เพียงพอคับแคบและทรุดโทรม

12. มีห้องพิเศษน้อย

13. ไม่มีพื้นที่ในการทำการเกษตรแบบสาธิต


M4: Management

1. ผู้บริหารสถานศึกษาใช้วิธีการกระจายอำนาจผลัดกันเป็นผู้นำ และเป็นTeamwork

2. ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียน

3. ผู้บริหารสถานศึกษามอบอำนาจสิทธิขาดให้ครูสำหรับงาน Routine

4. โรงเรียนเปลี่ยนผู้บริหารบ่อยจึงทำให้งานเชิงนโยบายไม่ต่อเนื่อง

5. ผู้บริหารสถานศึกษาบรรจุใหม่มีประสบการณ์การบริหารโรงเรียนน้อย

6. ทีมงานบริหารจะต้องทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกันหลายกลุ่มงานเนื่องจากบุคลากรมีจำกัด และติดด้วยระเบียบทางราชการ

7. ครูมีภาระงานสอนมากจึงต้องใช้เวลาว่างหรือหลังเวลาราชการมาช่วยงานบริหาร





Create Date : 19 มิถุนายน 2559
Last Update : 19 มิถุนายน 2559 10:53:54 น.
Counter : 3950 Pageviews.

2 comments
  
Hit the nail on the head.
โดย: Aekphathai IP: 49.229.122.189 วันที่: 19 มิถุนายน 2559 เวลา:10:30:04 น.
  
ยอดเยี่ยม
โดย: jida jiji IP: 27.145.175.182 วันที่: 19 มิถุนายน 2559 เวลา:11:12:50 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ครูใหญ่ริมถนน
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]