ตุลาคม 2563

 
 
 
 
1
3
4
7
8
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30
31
 
All Blog
โปรดฟังให้จบ Broadcast  มินะโตะ คะนะเอะ เขียน 


16/4/2020
 




โปรดฟังให้จบ (Broadcast) 

มินะโตะ คะนะเอะ เขียน 

หนึ่งฤทัย ปราดเปรียว แปล 

สำนักพิมพ์แพรว  ในเครืออมรินทร์ 

255 บาท  285 หน้า 

 

 #แปลญี่ปุ่น #นิยายแปล #โปรดฟังให้จบ #Broadcast #มินะโตะคะนะเอะ #แพรว #รีวิวนิยาย #รีวิวหนังสือ #ออโอ


 

หลังปก 


 

มาจิดะ เคสุเกะ เคยเป็นสมาชิกชมรมกรีฑาของโรงเรียนมัธยมต้น แต่ทีมของเขากลับพลาดการแข่งเอคิเด็งระดับประเทศไปอย่างน่าเสียดาย เขาวาดหวังว่าจะพยายามต่อในชั้นมัธยมปลาย จึงมุ่งมั่นที่จะเข้าเรียนโรงเรียนที่มีชื่อเสียงด้านกรีฑา แต่โชคชะตากลับเล่นตลก เขาบาดเจ็บจนไม่สามารถเล่นกีฬาใด ๆ ได้  

ในขณะที่กำลังเคว้งคว้าง เขาก็ได้พบกับมาซายะ ผู้มุ่งมั่นจะเข้าร่วมชมรมกระจายเสียง เพราะฝันอยากเป็นนักเขียนบทละครวิทยุ มาซายะชักชวนเคสุเกะและซากุระ เพื่อนใหม่ที่ถูกกลั่นแกล้งรังแกจากเพื่อนร่วมห้อง ให้เข้าชมรมกระจายเสียงด้วยกัน เคสุเกะที่ฝันสลายจนต้องถอนตัวจากการวิ่งที่เป็นชีวิตจิตใจ จับพลัดจับผลูต้องมาร่วมฝ่าฟันไปพร้อมกับเพื่อนใหม่ในชมรมที่ใครต่างก็มองว่า “ประหลาด” เขาจะกล้าฝันในเส้นทางที่เปรียบเสมือนไม้ผลัดสำคัญแห่งชีวิตได้หรือไม่ 



 

คุยกันหลังอ่าน 


 

เป็นเรื่องที่สองที่โออ่านงานเขียนของผู้เขียนค่ะ (เรื่องแรกคือ ‘คำสารภาพ’) สำหรับเรื่องนี้ไม่ใช่แนวสืบสวนนะคะ เป็นแนวที่แสดงการเติบโตของตัวละคร โดยมีตัวละครหลักเป็นวัยรุ่น ที่ทั้งเปราะบาง ทั้งเปี่ยมพลัง มีความฝัน ความหวัง และความกล้า ยังคงมีลักษณะของผู้เขียนที่โดดเด่นอยู่ในงาน คือมีชั้นเชิงการเล่า มีข้อมูลอ้างอิงที่เป็นประโยชน์ มีการแทรกมุมมอง และทิ้งประเด็นไว้ให้คิด 

 

ตัวเอกของเรื่องชื่อมาจิดะ เคสุเกะ เป็นนักวิ่งชมรมกรีฑาของโรงเรียนมัธยมต้น ในการแข่งเอคิเด็ง (วิ่งผลัดระยะไกล) ระดับจังหวัดเพื่อหาทีมตัวแทนไปแข่งระดับประเทศ ทีมเขาแพ้ไปสิบแปดวินาที ซึ่งก็หมายถึงว่าถ้าพวกเขาหกคนทำเวลาได้เร็วกว่าเดิมเพียงคนละสามวินาที ก็จะไม่แพ้ เคสุเกะก็ทั้งเสียใจ เสียดาย ยิ่งเมื่อนึกถึงเรียวตะ ที่เป็นทั้งเพื่อนชมรมและไอดอลการวิ่งของเขา ก็ยิ่งเจ็บใจแทน เรียวตะเป็นนักวิ่งที่โดดเด่น ถ้าเขาได้ลงแข่ง พวกเขาต้องชนะแน่ เคสุเกะคิดอย่างนี้ น่าเสียดายที่เรียวตะไม่มีโอกาสลงแข่งขันเพราะอาการบาดเจ็บที่หัวเข่า สุดท้ายเรียวตะชวนเคสุเกะให้ไปพยายามด้วยกันใหม่ที่โรงเรียนมัธยมปลาย เคสุเกะตั้งใจอ่านหนังสือ สุดท้ายก็สอบติด แต่วันที่ไปดูผลนั่นเอง เขาประสบอุบัติเหตุถูกรถชน ต้องผ่าตัดที่ขา สุดท้ายความฝันที่จะเข้าชมรมกรีฑาก็ต้องพับไป 

เคสุเกะได้แต่มองเรียวตะที่สวมเสื้อชมรมกรีฑากลับมาวิ่งอีกครั้ง ด้วยสีหน้าที่พยายามให้ดูปกติที่สุด เวลาผ่านไปไม่นาน แต่ทุกอย่างกลับกันโดยสิ้นเชิง ตอนนั้นเขาเสียใจแทนเรียวตะที่ไม่ได้วิ่ง ตอนนี้เขากลับเป็นฝ่ายที่ต้องเสียใจที่ไม่มีโอกาสวิ่งเสียเอง 

 

ระหว่างที่เคสุเกะตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเข้าชมรมอะไรในโรงเรียนมัธยมปลาย มาซายะ เพื่อนใหม่ ก็ชวนเขาเข้าชมรมกระจายเสียง ความมุ่งมั่นของมาซายะดึงดูดเขาจนได้แต่ยอมเออออตาม สุดท้ายก็เข้ามาอยู่ชมรมกระจายเสียงโดยไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว 

 

ชมรมกระจายเสียงรับผิดชอบสร้างสรรค์ผลงานประเภทละครโทรทัศน์ ละครวิทยุ สารคดีโทรทัศน์ และสารคดีวิทยุ ซึ่งจะส่งเข้าแข่งขันในระดับจังหวัดและระดับประเทศ (และยังมีการแข่งประเภทผู้ประกาศและอ่านออกเสียงด้วย) 

 

เด็กใหม่ของชมรมนอกจากเคสุเกะ มาซายะ ยังมีซากุระ พวกเขาเป็นเด็กม.4 ที่เข้ามาในช่วงที่รุ่นพี่ม.6 กำลังปั่นป่วน โดนมอบหมายหน้าที่ที่ไม่เคยทำ ต้องเรียนรู้เรื่องใหม่และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อเป้าหมายที่สำคัญสำหรับจิตใจ 


 

+++ 


 

เปิดมาเหมือนแนว ๆ การ์ตูนอนิเมะกีฬา ต่อด้วยแนวชมรมกิจกรรม เด็ก ๆ ต้องฝ่าฟันอุปสรรคด้วยหัวใจที่ยิ่งใหญ่อะไรประมาณนี้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร แต่ผู้เขียนสร้างเรื่องได้น่าติดตาม โดยมีการสอดแทรกสิ่งต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด หรือมุมมองที่มีต่อกัน มีคำพูดโดน ๆ โผล่มาให้เก็บเยอะมาก 


แต่เหนือสิ่งอื่นใด ที่โอชอบมาก ๆ คือในเรื่องเด็ก ๆ จะลุยงานจริง เห็นเรื่อง เห็นปัญหา ระดมความเห็น หาแนวทางแก้ไข และแต่ละคนก็จะมีแนวความคิดเห็นที่ต่างกัน คนอ่านอย่างเราก็จะได้เรียนรู้ไปพร้อมเด็กพวกนี้  

 

เด็กม.4 รับผิดชอบทำละครวิทยุ เราจะเห็นตั้งแต่บทดั้งเดิมที่มาซายะเขียน ถกกันเพื่อปรับบท ควรปรับตัวละครมั้ย เวลาล่ะ จะสร้างเนื้อหาที่พอดีกับเวลาที่กำหนดอย่างไรได้บ้าง บทควรพูดเร็วแค่ไหนจึงจะทำให้คนฟังละครวิทยุเข้าใจ แทรกความเห็นของสมาชิก เราจะเห็นขั้นตอนที่ค่อย ๆ ปรับไปเรื่อย ๆ จนเข้ารูปเข้ารอย นอกจากนี้ในช่วงแข่งขัน เด็ก ๆ ยังร่วมวิเคราะห์และแสดงความเห็นต่องานของผู้เข้าแข่งขันอื่น ซึ่งหลาย ๆ ครั้งก็ไม่มีใครผิดใครถูก เพราะมันขึ้นอยู่กับมุมมองและความสนใจด้วย แต่ในการแข่งขันย่อมต้องมีตัวชี้วัดและมีเกณฑ์ที่อาจมองไม่เห็นอยู่ บางเรื่องในมุมมองเด็กเห็นว่ามันไม่ได้สำคัญ แต่ในแง่ของกรรมการเขาไม่สามารถมองข้ามได้ อะไรอย่างนี้ ซึ่งถ้าใครสนใจงานประเภทสื่อ สิ่งพิมพ์ ชอบการวิเคราะห์แสดงความเห็น อยากเรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ น่าจะชอบเรื่องนี้ เขาไม่ได้ใส่มาแบบเป็นวิชาการจ๋าเลยนะ มันเป็นทริกหรืออะไรนิด ๆ หน่อย ๆ ที่เก็บไปใช้ได้จริงมากกว่า แล้วที่สำคัญคืออ่านสนุกด้วย 

 

และถึงจะบอกว่าตัวเอกรับผิดชอบละครวิทยุ แต่พวกเขาก็มีส่วนร่วมในงานชนิดอื่น อาจเป็นในทางความเห็น หรือประสบการณ์ผ่านตา ซึ่งไม่บ่อยนักหรอกค่ะที่จะมีใครมาตีแผ่อะไรอย่างนี้ให้เราอ่านตรง ๆ ง่าย ๆ กำไรคนอ่านล้วน ๆ เลยละ 

 

ชอบค่ะ อ่านสนุก ได้ประโยชน์ด้วย ให้ 4 ดาว 

 

 

 

 


 

ใบปลิวชวนเข้าชมรม 

 

“ชมรมกระจายเสียงเหรอ” 

 

ผมถามเหมือนทวนให้แน่ใจ เขาตั้งท่าหยิบออกมาดิบดี ว่าแต่ไม่ได้หยิบผิดใบแน่นะ 

 

“ใช่ ชมรมกระจายเสียง” 

 

มิยาโมโตะพยักหน้าหงึกใหญ่ 

 

สมัยอยู่ชั้นมัธยมต้นก็มีคณะกรรมการดูแลด้านกระจายเสียงที่จะเป็นคนเปิดเสียงเพลงตามสายที่เราชอบให้ฟังตอนพักเที่ยง ผมก็เคยขอเพลงหลายครั้ง ที่มิยาโมโตะว่าจะเป็นแบบเดียวกันไหมนะ 

 

ผมลองอ่านเนื้อหากิจกรรมบนใบปลิวแผ่นนั้น 

 

*ดำเนินรายการในงานโรงเรียน ถ่ายรูป 

*ดำเนินรายการในงานของท้องถิ่น ถ่ายรูป 

*สร้างสรรค์ผลงาน 

*ผู้ประกาศ อ่านออกเสียง 

 

ไม่มีเรื่องเกี่ยวกับเพลงเขียนไว้เลย คงไม่ใช่ชมรมอย่างที่ผมคิด นึกไม่ออกเลยว่าอะไรทำให้หมอนี่แววตาเป็นประกาย 

 

ถ้าต้องจิ้มเลือกสักอัน ผมคงเป็นผู้ประกาศ 

 

มิยาโมโตะอยากเป็นผู้ประกาศเหรอ อาจฟังดูเสียมารยาท แต่น้ำเสียงเขาไม่เหมาะเท่าไหร่เลยแฮะ 

 

แต่ผมเองก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ และรู้ซึ้งถึงก้นบึ้งด้วยว่า คนเราจะเหมาะหรือไม่เหมาะ มีพรสวรรค์หรือไม่มี เจ้าตัวก็ไม่รู้แน่ชัดหรอก 

 

รวมถึงเรื่องที่ว่าเราไม่ควรทำลายความฝันของคนอื่นด้วย 

 

หน้า 31-32  บทที่ 1 ออนแอร์ 

 



 

“...ถ้าอยากสร้างผลงานให้น่าสนใจ ต้องไปอยู่ในจุดที่พร้อมยอมรับความโกรธหรือคำตำหนิให้ได้เสียก่อน ถ้าเรามัวห่วงว่าคนอื่นจะมองยังไงแล้วไม่กล้าทำอะไร ก็คงอยู่ในจุดนั้นจริง ๆ ไม่ได้” 
 

หน้า 143 บทที่ 3 ซาวนด์เอฟเฟ็กต์ 

 



 

ยุคนี้ คนเราส่งถ้อยคำผ่านคลื่นสัญญาณถึงคนอื่นมากมาย พอเราส่งออกไปได้โดยง่าย คุณค่าของถ้อยคำเลยถูกลดทอนลงด้วย ก่อนจะสายเกินแก้ เราหันมาทบทวนถ้อยคำกันอีกครั้งดีไหม ในแบบที่ไม่มีคลื่นสัญญาณเข้ามาเกี่ยวด้วย นี่คือแนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ 
 

หน้า 160-161  บทที่ 3 ซาวนด์เอฟเฟ็กต์ 

 




Create Date : 11 ตุลาคม 2563
Last Update : 11 ตุลาคม 2563 15:13:15 น.
Counter : 2010 Pageviews.

6 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณnewyorknurse, คุณkatoy, คุณsettembre

  
เขิมๆๆ
เห็นด้วยค่ะ
เหมือนอะนิเมชั่นการ์ตูนญี่ปุ่นยังไง..ยังงั้นค่ะ
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 11 ตุลาคม 2563 เวลา:20:09:43 น.
  
ได้อ่านที่เล่ามาแล้วรู้สึกเลยว่าเรื่องนี้น่าจะสนุก
ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันนะครับ
โดย: fevestival (สมาชิกหมายเลข 6023213 ) วันที่: 14 ตุลาคม 2563 เวลา:2:40:42 น.
  
น่าสนุกมากๆค่ะ เนี่ย ญี่ปุ่นก็ยังเป็นญี่ปุ่นอยู่วันยังค่ำ ความพยายามเป็นเลิศ นักเขียนไทยน่าจะหันมาเขียนแนวนี้บ้าง กระตุ้นให้เด็กรุ่นใหม่เริ่มต้นการทำอะไรใหม่ๆ รู้ซึ้งถึงคุณค่าแห่งความพยายาม และไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ

เก็บไว้ในลิสต์ที่ต้องหามาอ่าน

ขอบคุณมากค่ะ
โดย: settembre วันที่: 14 ตุลาคม 2563 เวลา:20:07:54 น.
  
คุณเริงฤดีนะ น่ารักดีค่ะเรื่องนี้ มีหลายอย่างในเรื่องที่โอชอบมากเลย
คุณfevestival ขอบคุณที่แวะมาทักทายเช่นกันค่ะ
คุณsettembre ใช่ ๆ แนวที่รวมพลังทำอะไรแบบจริง ๆ จัง ๆ นี่ไม่ค่อยเห็นจริง ๆ ค่ะ ดีใจที่ชอบนะคะ ขอบคุณที่โหวตให้ด้วยค่ะ

ขอบคุณคุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณnewyorknurse, คุณkatoy ที่โหวตบล็อกให้โอด้วยนะคะ

โดย: ออโอ วันที่: 16 ตุลาคม 2563 เวลา:11:48:58 น.
  
น่าสนใจค่ะ ไว้ต้องหาอ่านบ้างแล้ว
โดย: marie79 IP: 223.207.247.152 วันที่: 17 ตุลาคม 2563 เวลา:10:45:01 น.
  
คุณmarie79 อ่านแล้วแวะมาคุยกันได้นะคะ
โดย: ออโอ วันที่: 18 ตุลาคม 2563 เวลา:11:33:43 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ออโอ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]



โอเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาก อ่านได้ทุกแนว เสาะแสวงหาเรื่องสนุกๆ แนวใหม่ๆ ตลอด หลายเรื่องไม่มั่นใจก็ค้นหารีวิว ถ้าชอบถ้าใช่ก็ลอง ลองแล้วชอบแล้วประทับใจก็อยากบอกต่อ บางครั้ง อ่านครั้งแรกรู้สึกอย่างนี้ อยากเก็บไว้เพื่อเป็นเรื่องราว บันทึกไว้กันลืม กลับมาย้อนอ่านก็จะได้รู้ว่า ครั้งหนึ่งที่เราเคยอ่าน เรารู้สึกอย่างนี้ เวลาผ่านไป เมื่อกลับมาอ่านอีกครั้ง ก็อาจจะได้มุมมองใหม่ๆ มากยิ่งขึ้น "ขอให้ทุกคนสนุกกับการอ่าน" รู้สึกดีที่โลกนี้มีหนังสือ-โอ
New Comments