กุ๊ดจัง
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 75 คน [?]




ไม่มีสาระ...จริงๆ นะ..

แต่ถ้าหลวมตัวมาแล้ว จะแอบอ่านก้อไม่ว่ากัน ถ้ารับแนวเถื่อนนิดๆ ถ่อยหน่อยๆ แต่จริงใจได้ ^_^

คิดถึง ถูกใจ ก้อเจิมกันสักนิดนุง แต่ถ้าไม่ถูกใจ มาทางไหนเชิญกลับไปทางนั้น ไม่ต้องเม้นไว้ให้เปลืองมือนะ ฮ่าๆๆ
HighStudio

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความ โดย littlemiumiu.com อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ www.littlemiumiu.com.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ www.littlemiumiu.com
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2558
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
29 ธันวาคม 2558
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add กุ๊ดจัง's blog to your web]
Links
 

 
Parenting Changemakers : เลี้ยงลูกให้สร้างโลก

Parenting Changemakers  เป็นหนึ่งในบทความที่มาจาก ประสบการณ์ การสังเกต พูดคุย กับ เหล่าบรรดา Changemakers ที่เป็น Ashoka Fellows ทั่วโลก  เราแปลและเรียบเรียงมาจากบทความของ Ashoka Youth Venture มาค่ะ (ต้นฉบับอยู่ที่นี่ )

Changemaking เป็น สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ เพราะสถาณการณ์ปัจจุบัน เต็มไปด้วยความขัดแย้ง และความต้องการที่หลากหลาย ในการทำงาน ไม่ว่างานไหนก็ตาม คนทำงานจะต้องความสามารถในการมองเห็นความเปลี่ยนแปลง ปรับตัว และ มองหาโอกาสใหม่ๆ ได้เสมอ 

ทักษะสำคัญ 4 อย่าง ที่เราควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ เพื่อมารับมือจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของโลกคือ
1. Cognitive Empathy  
2. Teamwork 
3. New Leadership
4. Changemaking

Cognitive Empathy ฝึกฝนได้ ด้วยการ ให้เด็กๆ ได้ทดลอง 'คิด' โดยใช้สมองฝั่ง ลอจิก 
Empathy  นั้น ในภาษาไทยอาจจะแปลไว้ว่า ความเห็นอกเห็นใจ แต่ในความจริง empathy มีความหมายลึกซึ้งมากกว่านั้น คือ การที่เราเข้าใจ ร่วมรับรู้ ความรู้สึก และประสบการณ์ของผู้อื่น (สัตว์ สิ่งมีชีวิตและอื่นๆ) เหมือนว่า เราเป็นคนคนนั้น (Empathy จะมีความหมายที่กว้างและลึกซึงกว่า Sympathy และ Compassion ซึ่ง หมายถึง 'ความรู้สึก' เห็นอกเห็นใจ และเมตตา) 

  • ถ้าหากเด็กๆ ทำให้เพื่อนหรือคนรอบข้างเสียใจ ให้ลองถามด้วยคำถามว่า ลูกคิดว่า คนคนนั้นจะรู้สึกอย่างไร แล้วทำไม เค้าอาจจะแสดงออก หรือมีปฏิกิริยาตอบโต้แบบนั้น  และส่งผลกระทบอะไรต่อคนอื่นๆที่เกี่ยวข้องในสถาณการณ์นั้นๆ รวมถึง เราจะสามารถคิดหาหนทาง หรือทางออกอะไรในสถาณการณ์นั้นๆ ได้บ้าง

Tips :: คุณพ่อคุณแม่ควรจะถามด้วยน้ำเสียงที่แสดงความรัก ไม่ใช่ตำหนิ แต่ก็ต้องแสดงให้เห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราต้องคุยกันจริงจัง 
คำถามที่ใช้ ควรเป็นคำถามปลายเปิด เหมือนการ coaching ไม่ชี้นำ ให้เด็กๆ ได้ลองคิดและค้นหาทางออกด้วยตัวเอง 


  • ชวนเด็กๆ พูดคุยเกี่ยวกับความท้าทายหรือปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว ในชุมชน หรือ สถาณการณ์ที่โลกกำลังเผชิญ ว่า เขารู้สึกอย่างไร  คิดว่าคนที่เกี่ยวข้องมีใครบ้าง และควรทำอะไร ลองชวนเด็กๆ มาร่วมแก้ไขดู
  • เรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างทางวัฒนธรรม หรือความแตกต่างของคนร่วมกัน เช่น การพาลูกท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ชวนกันทำอาหาร
  • ที่โรงเรียน หรือ หากิจกรรมใหม่ๆ ชักชวนให้ลูกๆ ได้มีเพื่อนใหม่ๆ ช่วยเหลือเพื่อนใหม่ๆ ที่เข้ามา 
  • เรียนรู้ ศึกษาประวัติศาสตร์ และลองชวนเด็กๆ พูดคุย สมมติตัวเองไปอยู่ในสถาณการณ์นั้นๆ ดูว่า จะทำอย่างไร
  • การเลี้ยงสัตว์เลี้ยง  มอบหมายให้ดูแล และ ช่วยให้เด็กๆ เข้าใจความรู้สึก พฤติกรรม ของสัตว์ 

ลองนั่งรถเข็น ไปไหนมาไหนบ้าง จะเป็นไร.....

หลายครั้งที่มิวกลับมาบ้านแล้วบ่นเรื่องเพื่อน คือ เธอจะมีเพื่อนซี้ อยู่คนนึง ที่เล่นกันบ่อย สมมติชื่อ น้อง น. (และมีอีก  2-3 คนในแก๊งเดียวกัน) มิวมักจะมาบ่นว่า น. เนี่ย ชอบเอาแต่ใจตัวเอง 
แม่ก็ถามว่า ทำไมมิวถึงคิดแบบนั้นล่ะ  มิวบอก ก็ น. ชอบบังคับให้มิวเล่นด้วย และตัวติดกับมิวตลอดเวลา ไม่ยอมให้มิวไปเล่นกับคนอื่นเลย  พอมิวไม่ตามใจ ก็งอน 
ถามว่า แล้วมิวทำยังไง ได้อธิบายให้เพื่อนฟังไหม มิวบอก อธิบายแล้ว ว่าขอไปเล่นกับคนอื่นบ้างนะ แต่เพื่อนไม่ยอม
พอเพื่อนไม่ยอมแล้วมิวทำไง มิวคิดว่า ลองพูดแบบไหนได้อีกบ้างนะ....
แล้วคิดว่า ทำไมเพื่อนถึงอยากเล่นกับมิว แล้วทำไม น้อง น. ถึงไม่ไปเล่นกับคนอื่นบ้าง
หรือบางทีก็แกล้งลองถามว่า...งั้น เราเลิกคบเพือนคนนี้ไปเลยดีมะ จะเป็นยังไง -_-'' 

สถาณการณ์แบบนี้ บางที เราแกล้งถามลูกเยอะมาก เพื่อให้เค้าได้ลองคิดว่า เออ ทำไมนะ ....แล้วสุดท้าย เค้าก็จะมีทางออก หรือคำตอบในใจเค้าเองแหละ ว่าทำไงดี หรือถ้าอยากได้ การช่วยเหลือ จัดการ หรือวิธีการ ลูกคงถาม หรือ ขอความช่วยเหลือแล้วแหละ 
เราจะไม่ตอบคำถามหรือชี้แนะลูกทำไมไม่ทำอย่างนั้นล่ะ ทำแบบนั้นสิ 

Teamwork 
  • ส่งเสริมให้เด็กๆ มีส่วนร่วมในหน่วยงานหรือองค์กร เช่น เล่นกีฬาเป็นทีม เพื่อให้เห็นความสำคัญของ group dynamics  และเรียนรู้ที่จะทดลองสิ่งใหม่ๆ เพื่อสร้างทีมที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น  
( ณ จุดนี้ ก็มานั่งคิดๆว่า เอ๊ะ  เด็กไทยเล่นกีฬาอะไรบ้างนะ ที่เป็นทีม แล้วก็ค้นพบว่า แทบไม่มีเลยอะ  เด็กประถม นอกจากฟุตบอลแล้ว แทบจะไม่มีกีฬาไหน ที่โรงเรียนส่งเสริมให้เล่น เป็นทีมเลย  ส่วนมากเป็นกีฬาเดี่ยว จะมีก็ วิ่งเปรี้ยว วิ่งผลัด ไรงี้ปะนะ.... อ่อ ดนตรี เล่นเป็นวง ก็อาจจะพอได้อยู่) 

  • สนับสนุนให้เด็กๆ ทำกิจกรรมหรือโครงงานที่ต้องทำงานเป็นทีม และมีที่ปรึกษาที่ดี
  • ถ้ามีลูกหลายๆ คน ลองให้เด็กๆ แก้ไขปัญหาเวลาทะเลาะกันด้วยตัวเองโดยพ่อแม่ไม่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องดู
  • ลองนั่งพูดคุย และเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูกดูว่า ในชีวิตของพ่อแม่เอง มีอะไรบ้างที่อยากจะปรับปรุงและพัฒนา แบ่งปันประสบการณ์กับลูก และ ลองชวนลูกคุยว่าอะไรที่ไม่เวิร์คในชีวิตลูกเช่นกัน รวมถึงปัญหาในครอบครัวและรอบๆ  ที่พบเจอ  เช่น เพื่อนบ้าน ที่โรงเรียน ลองมาหา Solution  ร่วมกัน....
(อืมมม เช่น มิวมิว พยายามจะช่วยแม่ลดความอ้วน ด้วยการบ่นทุกครั้งที่แม่หยิบ junk เข้าปาก และปีใหม่นี้ มิวบอกว่า จะลากแม่ไปออกกำลังกาย อีกด้วย หึหึหึหึหึ) 

A picture means more than thousand words, isn't it? 




New Leadership 
  • เมื่อเด็กๆ เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น อายุ 12-18 ปี ชวนกันมาแบ่งปันข้อมูลความท้าทายและปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม และ ให้เด็กๆ ลองคิดหาแนวทางแก้ไข  สนับสนุนให้เด็กๆ รวมกลุ่มกับเพื่อนๆ และลงมือทำ โดยอธิบายให้พวกเค้าเข้าใจว่า นี่เป็นทักษะและประสบการณ์ที่สำคัญ ที่พวกเค้าจะได้รับ คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็น หรือบังคับเด็กๆ บางครั้งกิจกรรมง่ายๆ เล็กๆ ที่เด็กๆ รู้สึกสนุก และอยากทำด้วยตัวเอง ก็สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีได้ โดยผู้ใหญ่ คอยรักษาระยะห่าง ว่าเมื่อไหร่ควรเข้าไปช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา รึปล่อยให้เด็กๆ แก้ปัญหาเอง
  • เปิดโอกาสให้เด็กลองเป็นผู้นำเวลาประชุมเกี่ยวกับเรื่องต่างๆในครอบครัว และมีส่วนร่วมในการเป็นคนตัดสินใจเรื่องต่างๆ 
  • ส่งเสริมให้เด็กๆ ท่องเที่ยวไปในโลกกว้างด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น backpacking ไปค่าย ลองให้เด็กๆ เลือกเส้นทางใหม่ๆ นอกเหนือจากที่ตั้งใจไว้ และแสดงให้เห็นว่า บางครั้ง ก็มีมากกว่า 1 เส้นทาง ที่เราสามารถไปถึงเป้าหมายได้ 

เนื่องจากเจ้ามิว เป็นเด็กชอบขีดๆ เขียนๆ วาดรูป  มีอยู่วันนึง มิวเดินมาพร้อมกับกระดาษ แล้วยื่นให้แม่ ว่า....แม่ มิวว่านะ ถ้าเราจัดห้องใหม่ให้เป็นแบบนี้ เราจะมีพื้นที่มากกว่าเดิม....พอแม่หยิบกระดาษมาดู...ลองกะๆ ด้วยสายตา ก็เห็นว่า เอ้ย...มันเป็นไปได้จริงว่ะ ทำไมเราไม่เคยคิดถึงการย้ายตู้ ย้ายโต๊ะแบบนี้มาก่อน  คอนโด 33 ตรม. ที่มีชั้นวางทีวีและวางของ โต๊ะเขียนหนังสือ โต๊ะญีปุ่่น โซฟาที่ไม่ได้ใช้ แต่ไม่สามารถย้ายออกได้อีก 2 ตัว  คือ มันแคบมากจริงๆ 

หลังจากนั้น เราเริ่มปรึกษากัน ว่า จะย้ายข้าวของในบ้าน ตามที่มิวเสนอแนะ เอาตลับเมตรมาวัด มันพอดีเป๊ะจริงๆ ย้ายเสร็จทุกอย่าง ตอนที่มิวไป รร. (ไม่ได้ให้มิวช่วยย้ายเพราะตอนที่ย้าย หมุนตู้ ยกทีวี ย้ายโซฟานี่ก็แทบจะไม่มีที่ยืนกันละ)  พอกลับมา เจอห้องใหม่ เป็นไปแบบที่ตัวเองวาดรูปเอาไว้ เจ้ามิวมิวก็ตื่นเต้นมาก เรามีพื้นที่กินข้าวและนั่งดูทีวี เพิ่มมาอีกสัก 2-3 ตรม. เลยล่ะ  เราเชื่อว่า สิ่งนี้ จะไป ignite บางอย่าง ในตัวลูก...ว่าสิ่งเล็กๆ ที่ เค้าคิด รึทำ มันสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริงๆ  

Changmaking

  • กระตุ้นให้เด็กๆ ลองคิดถึงภาพใหญ่ของสังคม หรือประเทศชาติ มองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ รวมถึงศึกษาประวัติศาสตร์ เปรียบเทียบ และออกความคิดเห็นว่าอนาคตควรจะเป็นยังไง และสร้างความเชื่อมั่นว่า เค้าเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถที่ทำให้สิ่งนั้นเป็นจริงได้
  • เมื่อไหร่ก็ตามที่ ชุมชนรอบตัว สังคม กำลังเผชิญหน้ากับปัญหา ลองชวนเด็กๆ เล่นเกมส์ ค้นหาหนทางที่ดีกว่า แล้วดูว่า ใครที่สามารถคิดหาวิธีในการสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด  ทดลองเล่น role play หรือ หาข้อมูลเพิ่มเติม ระดมสมอง จนได้ความคิดเจ๋งๆ ออกมา ร่วมกัน  หรือบางครั้งส่งเสริมให้ลงมือทำได้จริงก็จะดีมากๆ 

เมื่อเด็กอายุประมาณ 12 ปี เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น จากเด็กๆ เค้าจะกลายเป็นผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ ที่ มีความเชื่อมั่นและพลังเต็มเปี่ยมที่จะเปลี่ยนโลกรอบๆ ตัวเองได้ ...... 
เรามาช่วยกันเป็นผู้สนับสนุน เลี้ยงลูกให้สร้างโลกในแบบที่เค้าอยากเห็นกัน....


จากการที่เราหนีบลูกไปไหนมาไหนด้วยกันตลอด  มีครั้งนึง มิวมาเล่าว่า แม่ ครูถามมิวว่า แม่มิวทำงานอะไร  มิวเลยตอบไปว่า แม่ช่วยให้คนตาบอด เรียนหนังสือได้  ทั้งที่จริงมิวเคยนั่งอยู่ตอนคุยงาน แค่ครั้งเดียวเองมั้ง มิวเลยกลับมาถามว่า แล้วจริงๆ แม่ทำงานอะไรอะ ฮ่าๆ......

บางครั้งมิวก็มาถามว่า..แม่ๆ แม่มีปัญหาอะไรบ้างอะ  เราก็ถามว่า หมายถึงอะไรหรอ 
มิวอธิบายว่า ก็ปัญหาของที่ทำงานแม่น่ะ ....ที่พี่ๆ เค้าทำงานกัน
ถามไปถามมา เข้าใจได้ว่า มิวสนใจอยากรู้ว่า โปรเจคที่พี่ๆ เค้าทำและแม่ช่วยดูแลอยู่น่ะ มันมีอะไรบ้างถือโอกาสเล่าให้ฟังซะเลย 
เราไม่ได้อยากให้ลูกต้องมาสนใจอะไรที่เหมือนกับที่เราสนใจ ไม่จำเป็นต้องเลือกทางเดินที่เหมือนกับเราก็ได้ สิ่งที่อยากจะให้ลูกเห็นคือ เราสัมพันธ์ และเป็นส่วนหนึ่งของโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  และ การที่เราจะลงมือ ทำ หรือไม่ทำอะไร มันขึ้นอยู่กับว่า เราให้ความสำคัญ กับสิ่งไหนมากกว่ากัน  
ไม่รู้จะสอนลูกยังไงด้วยคำพูด เอาตัวเองนี่แหละ เป็นให้ดูเลยละกัน สายฮาร์ดคอร์ -_-'' 


    What i am doing? 

    ปีนี้ เป็นปีที่ มีการเปลี่ยนแปลง หลายๆ อย่างในบ้านเรา...ลูกก็โตขึ้น บล็อคก็อัพน้อยลง (อัพเฟสบุ๊คซะเยอะ)  สิ่งนึงที่สัมพันธ์กับชีวิต และ เปลี่ยนไป ก็ คือ งาน..... เริ่มจากการรู้สึกอิ่มตัว กับงานเดิม และ เริ่มสนใจธุรกิจเพื่อสังคม ยิ่งหาข้อมูล ยิ่งศึกษา  ก็ยิ่งคิดว่า เออ สิ่งนี้แหละ คือ มัน ใช่..... ใช่ในที่นี้ หมายถึง มันคือความต้องการในระยะยาวตัวเอง ของชุมชน ของสังคม ของประเทศ และของโลก ที่จะต้องจัดสมดุล ระหว่าง ธุรกิจ และ สังคมให้ได้ เพื่อความอยู่รอด  จนในที่สุด การเรียนรู้นี้ นำเรามาสู่ องค์กรนึง ที่ชื่อว่า Ashoka และ School of Changemakers  ที่มีความเชื่อว่า Everyone a Changemaker  Ashoka สนับสนุน Social Entrepreneur ซึ่งเป็นคนทำงานภาคประชาชน ที่มี commitment ในการแก้ไขปัญหาสังคม รวมๆ แล้วกว่า 3000 คนทั่วโลก  เราถอดบทเรียน สร้างเครือข่ายและความร่วมมือ  และอื่นๆ อีกมากมาย
    และ จากการที่เค้าทำงานกันมากว่า  30 ปี ก็ค้นพบว่า.... 

    คนเหล่านี้ มีบางอย่างที่คล้ายกัน ในความเป็น ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง หรือ changemakers  นั่นก็คือ ครั้งนึงในชีวิต ทุกคน เคยผ่านประสบการณ์ ในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม เล็กหรือใหญ่  และประสบการณ์นั้น ทำให้เค้ามีความเชื่อมั่นว่า เค้าสามารถที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับที่ใหญ่ขึ้น และใหญ่ขึ้นได้ จึงเป็นที่มาของการทำงานในเชิงสนับสนุนให้ เยาวชน คนรุ่นใหม่ ได้ตามหาแรงบันดาลใจของตัวเอง และมีประสบการณ์ ในการสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มจากจุดเล็กๆ ที่ตัวเองยืนอยู่และสามารถทำได้จริงๆ ......เพราะปัญหาทุกวันนี้ มีอยู่เยอะแยะมากมาย และนับวันจะยิ่งซับซ้อนขึ้นทุกทีๆ โลกต้องการคนที่จะมาช่วยกันสร้างการเปลี่ยนแปลง หรือ changemakers อีกจะนวนมาก 

    ไอ่ความคิดที่ว่า เราเป็นคนตัวเล็กๆ ที่มีข้อจำกัด ยังไม่พร้อม เงินไม่มี มีภาระหน้าที่ต้องรับผิดชอบ เป็นเด็ก อยู่ในวัยเรียนก็ต้องตั้งใจเรียน  พอโตมา  ต้องตั้งใจทำงาน หางานดีๆ ทำ พอมีครอบครัว ก็ต้องทำงานหาเงินมากขึ้นไปอีก ลูกก็ต้องเลี้ยง.... ถ้าทุกอย่างราบรื่นแบบนี้หมด ก็ใช่ว่าปัญหาสังคมก็จะไม่มี ไม่เกิด  และเราสามารถมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุขได้จริงๆ หรือเปล่านะ ?

    จึงเป็นที่มาและความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกให้สัมผัสกับงานที่เราทำ.... ได้เจอคนที่แตกต่างหลากหลาย 

    แต่ไม่เคยกำหนดขอบเขตอนาคต หรืออาชีพให้ลูกเลยล่ะ anything can be possible   เราไม่รู้ว่าอนาคต อาจจะมีอาชีพอะไรแปลกใหม่ ผุดขึ้นมาอีกก็ได้ (คือ ณ ปัจจุบัน เราเองก็ตอบลูกไม่ได้นะ ว่าแม่มีอาชีพอะไรบ้าง ฮ่า)  แค่คิด ก็ตื่นเต้นแล้ว ว่า ลูกเราที่โตมา(กับแม่บ้าๆบอๆ) แบบนี้ โตขึ้นจะเป็นยังไงนะ ^_^ 

    เป็นนางแบบไม๊ก๊ะ.......




    Create Date : 29 ธันวาคม 2558
    Last Update : 30 ธันวาคม 2558 23:43:19 น. 0 comments
    Counter : 2554 Pageviews.

    ชื่อ :
    Comment :
      *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
     
     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.