กุ๊ดจัง
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 75 คน [?]




ไม่มีสาระ...จริงๆ นะ..

แต่ถ้าหลวมตัวมาแล้ว จะแอบอ่านก้อไม่ว่ากัน ถ้ารับแนวเถื่อนนิดๆ ถ่อยหน่อยๆ แต่จริงใจได้ ^_^

คิดถึง ถูกใจ ก้อเจิมกันสักนิดนุง แต่ถ้าไม่ถูกใจ มาทางไหนเชิญกลับไปทางนั้น ไม่ต้องเม้นไว้ให้เปลืองมือนะ ฮ่าๆๆ
HighStudio

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความ โดย littlemiumiu.com อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ www.littlemiumiu.com.
การอนุญาตนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตนี้ อาจมีอยู่ที่ www.littlemiumiu.com
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
26 ตุลาคม 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add กุ๊ดจัง's blog to your web]
Links
 

 
Why Innovation is so important for SE!

คลาสแรก กับการทำความเข้าใจ Social + Enterprise และหนทางอยู่รอดในโลกธุรกิจ 

จากคลาส SE@SWU ครั้งที่ 1 โดย คุณหนุ่ม ณัฐพงษ์ แห่ง สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ 

การทำธุรกิจทั่วไปที่ว่ายาก  แต่ถ้าหากตั้งโจทย์ว่าจะตั้งตัวเป็น Social Enterprise ยากกว่า เพราะเราไม่ได้ทำงานบนโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ไม่ได้ทำงานตามโจทย์มาเก็ตติ้ง ไม่ได้ทำงานตามโจทย์ฝ่ายขายแต่โจทย์ของเราใหญ่กว่านั้น คือ หยิบยกปัญหาสังคม ขึ้นมาร่วมแก้ไข แล้วแปลงเป็นธุรกิจ ให้สามารถอยู่รอดได้

การพูดว่าตัวเองเป็น Social Enterprise ไม่ใช่แค่ คำพูดสวยหรูที่ช่วยกระดับความเห็นใจของใคร เมื่อขึ้นต้นว่า ธุรกิจก็คือธุรกิจ

การลองผิดลองถูก แบบไม่มีหางเสือ  ถึงแม้ความตั้งใจจะดี ก็ไม่ได้แปลว่า สิ่งที่ทำจะสำเร็จเสมอไป 
บทเรียนสำคัญที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้ แต่สำคัญมาก หัวข้อนี้ Social Innovation ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวข้อแรก

นวัตกรรมเป็น Key Success Factor ของ Social Enterpreneur
ในธุรกิจที่ต้องแข่งขันและต้องตอบโจทย์ความต้องการในการแก้ไขปัญหาทางสังคมด้วย  เป็นการกระชากทุกคนที่มีความตั้งใจอันดี บางคนทำมูลนิธิ บางคนรักสิ่งแวดล้อม บางคนอยากปลูกผักปลูกหญ้า อยากเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา อยากพัฒนาคุณภาพชีวิต   บนเส้นทางธุรกิจ 
ถึงแม้จะใช้ความตั้งใจอันดีเป็นเครื่องนำทาง แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด มันเป็นแค่จุดเริ่มต้น(ที่สำคัญ)  
แรงบันดาลใจ ความตั้งใจที่ดี ทำให้เรามีกำลังใจที่พร้อมจะทำงาน ลุยงานอย่างหนัก ถ้าเราไม่ได้ลับขวานให้เฉียบคมพอ ความตั้งใจอันนี้ ก็อาจแปรเปลี่ยนเป็นความเหนื่อย และท้อแท้ได้ในที่สุด ในขณะที่ปัญหาสังคมที่หยิบยกขึ้นมา เราอาจจะกำลังแก้มันด้วยวิธีที่ถึกที่สุดก็ได้ 
ความโลกสวย โรแมนติก อยากช่วยโลก ไม่ใช่ทั้งหมด!! อะ ตื่นๆๆ 



Case Study ในห้องเรียน...เน้นย้ำถึง การตั้งโจทย์ที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาสังคม  
การ Narrow down ปัญหา เพื่อให้นำไปสู่ทางแก้ที่ถูกจุด และสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ได้

นวัตกรรมในที่นี้คือ คืออะไร....เอาแบบตามนิยามสวยๆ ก็คงไปหาอ่านเอาเองได้ แต่นวัตกรรมวันนี้ที่เราเรียน มันไม่ได้แปลว่า การสร้างอะไรใหม่ๆ ด้วยเทคโนโลยียากๆ หรือต้องเป็นความซับซ้อน บางครั้งมันง่ายแค่ปลายจมูก เรื่องทุกเรื่องทีเ่ป็นนวัตกรรม ล้วนเคยเป็นเรื่องยากมาก่อนทั้งนั้น แต่การหาวิธีการแก้ปัญหารูปแบบใหม่ แล้ววิธีนั้นให้คุณูปการในการแก้ไขปัญหาเดิมๆ อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมหลายเท่า ทั้งในแง่ social+commercial มันต้องพิสูจน์ได้ว่า ทำไมเราถึงดีกว่าคนอื่น  แตกต่างจากคนอื่นยังไง ทำให้ชีวิตดีขึ้นยังไงบ้าง 

"แนวทางการแก้ปัญหาที่ แตกต่าง ดีกว่าเก่า และ สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง"

ยกตัวอย่างเช่น....แคมเปญบริจาคแว่นตา หรือแคมเปญบริจาคน้ำสะอาดตอนช่วงน้ำท่วม ดูเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่ง่าย และเร็ว และคนส่วนใหญ่มักจะทำกัน

คนที่ใส่แว่น ยังไงก็มีแว่นตาเก่าเหลือใช้ ส่วนการหาซื้อน้ำสะอาดไปบริจาคก็ไม่ยาก แต่ปัญหาคือ
แคมเปญบริจาคแว่นตา.....สำหรับแว่นตาที่บริจาคมา 100 อัน ผู้รับที่สามารถนำไปใช้ได้จริงๆ เนื่องจากความแตกต่างของสายตา สั้น ยาว เอียง มีเพียง 7 อันที่ใช้ได้ หรือ 7% ในขณะที่ต้นทุนของการรับบริจาคแว่นตาต่ออัน 15$ (ค่าประชาสัมพันธ์ ค่าจัดส่ง ค่าอื่นๆ จิปาถะ หรือคิดเป็น 1500$ ต่อ แว่นที่ไปใช้ได้จริงๆ 7 อัน) ดูความ  effective ของแคมเปญแบบนี้ แล้วจะพบว่า โคดไม่คุ้ม 
หรือ การรับบริจาคน้ำดื่มตอนน้ำท่วม การแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในประเทศทุรกันดาร  ปัญหาคือ....คนเหล่านี้แวดล้อมไปด้วยน้ำ ชนิดที่เรียกว่าน้ำท่วมบ้านจะถึงคออยู่ละ มันไม่ใช่ไม่มีน้ำ  ค่าขนน้ำ ลากเรือเข้าไปตามบ้านต่างๆที่ประสบอุทกภัย...รู้ไหมว่า ต้นทุนค่าจัดส่ง ทำให้ราคาน้ำพุ่งขึ้นเป็น 3-4 เท่า ต่อขวด แถมไปได้ไม่ถึงคนที่ลำบากจริงๆ อีกด้วย (เอาไปส่งก็ส่งได้แค่บ้านหลังต้นๆ ที่พอจะเข้าไปถึงได้) 
ประเทศในแอฟริกา มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติทั่วไป ไม่ใช่ไม่มีน้ำ แต่ปัญหาคือ น้ำมันไม่สะอาด!!!

การตั้งโจทย์ที่เฉพาะเจาะจงในกรณีนี้คือ ถ้าเราคิดแค่ว่า ทำอย่างไรคนจะมีน้ำในการบริโภค แล้วเราพยายามหาวิธีจัดส่งน้ำสะอาดไป  ทำเท่าไหร่ ทำให้ตายยังไง ก็ไม่พอ เราตายก่อนจะกอบกู้โลกได้ เพราะน้ำต้องกินต้องใช้ทุกคน ปริมาณประชากรที่เพิ่มขึ้นอีก ไหนต้องใช้ต้นทุนสูงมาก ในการขนส่ง 
แต่ บริษัท Lifestraw หรืออีกหลายๆ แห่ง ตั้งโจทย์ว่า ทำอย่างไร เราจะเปลี่ยนน้ำไม่สะอาด ให้สะอาดมากพอที่จะบริโภค จึงเกิดเป็นนวัตกรรม ที่ช่วยชีวิตคนมาแล้วเป็นล้านคน
อย่าง //www.buylifestraw.com/
และ แว่นราคาถูกของ Vision Spring //visionspring.org/  ที่ขายเฟรนไชส์ เทรนคนให้ตรวจคัดกรองสายตาแบบง่าย และ หาตัวแทนจำหน่ายในร้านค้าของชำของชุมชน ด้วยต้นทุนแว่นอันละ 6$ 
นี่คือ sustainability ที่แท้จริง ไม่ใช่ หาเงินมาถมส่งน้ำ บริจาคแว่นกันไปจนแก่ตาย 


หรือ แบบนี้ HeroRat 

สำหรับในประเทศหลายๆ ประเทศที่มีทุ่นระเบิดกระจัดกระจาย มีคนต้องบาดเจ็บ พิการ เพราะเดินไปเหยียบกับระเบิดเป็นจำนวนมาก  ถามว่า แล้วทำไมไม่เอาออกไปซะให้หมดล่ะ
ไหนจะกำลังคน ไหนจะต้องซื้อที่ตรวจจับทุ่นระเบิด ซึ่ง ถามว่าซื้อจากที่ไหน....ก็ต้องซื้อจากประเทศที่ผลิตระเบิด รึประเทศอภิมหาอำนาจที่มันเอาระเบิดมาฝังไว้น่ะซี่ เนื่องจากเครื่องมีราคาแพงมาก ทำให้มีปริมาณไม่พอแก่การค้นหา  การแก้ปัญหาแบบง่ายๆ คือ ตั้งโจทย์ว่า ทำยังไง เราจะหาเงินมาให้มากพอแก่การซื้อเครื่องตรวจจับทุ่นระเบิด
ในขณะเดียวกัน คนสร้างนวัตกรรมคิดว่า เกิดจากการตั้งโจทย์ที่ว่า เราจะสามารถหาอะไรที่ใช้ตรวจจับทุ่นระเบิด ที่มีประสิทธิภาพ หาง่าย จนมาค้นพบว่า การฝึกเจ้าหนูจิ๊ด ตัวจิ๋วให้หาทุ่นนี่แหละ...ต้นทุนถูกกว่าเครื่องจับทุ่นระเบิด พันเท่า แถมประสิทธิภาพในการค้นหา 1 ชั่วโมง มากกว่า เครื่องตรวจ ทำงาน 2 วันซะอีก บร้าจริง 555555
สนใจ adopt หนูที่ฝึกแล้วเป็นของตัวเอง สามารถบริจาคได้ที่ 
https://www.apopo.org

Example Case อื่นๆ เช่น
คลินิกผ่าตัดตา รักษาต้อ ที่พัฒนาเทคนิคการผ่า เพื่อลดต้นทุน (มี R&D เอง) และ พัฒนาวิธีการผ่า จากการ break cost ของการผ่าตัดตาพบว่า ต้นทุนที่แพงที่สุดคือ หมอตา รองลงมาพยาบาล และ อุปกรณ์  Aravind จึงคิดหาโจทย์ที่ว่า ทำยังไง จะสามารถจ้างหมอตา ในอัตราปกติ เหมือน รพ.ทั่วไปได้  
(คือ ถ้าชวนหมอมาว่า หมอๆ มาทำการกุศลกันเถอะ ลดค่าตัวตัวเอง โจทย์แบบนี้ อาจจะเหลือคนใจบุญทำด้วยไม่กี่คน การทำการกุศลไม่ใช่ทางออก ของ SE) 
ถ้าคิดแบบการกุศล จะช่วยเรียกคนได้ เรียกหมอใจดีได้ กลับเป็นการลิมิต capacity การรักษา เผลอๆ ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นไปอีก และ คนที่มารับบริการ หรือซื้อสินค้าเรา ถึงแม้เค้าจะจน แต่การได้แลกเปลี่ยนบางอย่าง จ่ายเงิน แต่อาจจะไม่ต้องแพงมาก ไม่ต้องขอใครกินตลอดเวลา นับว่าเราช่วยให้เค้ามาสถานะ มีความภูมิใจในตัวเองด้วย 
เขาจึงมาลงเอยที่ ให้หมอยืนเฉยๆ แล้วคนไข้นอนเรียง เมื่อรับคนได้เยอะหน่อย มีรายได้เยอะขึ้น ก็มีเงินจ้างพยาบาลมากขึ้น ซื้ออุปกรณ์ได้มากขึ้น เน้น ความเร็วในการรักษา ทำให้วันนึง หมอรักษาคนไข้ได้มากกว่า รพ.ปกติทั่วไป  แต่หมอไม่เหนื่อย เพราะมีพยาบาลคอยช่วยเยอะ

ผู้ป่วยที่มารักษาตาแห่งนี้ จึงมีส่วนหนึ่ง จ่ายในราคาเต็ม (เพื่อได้รับบริการพิเศษ เช่น ห้องเดี่ยว )
ในขณะที่ส่วนหนึ่ง จ่ายบางส่วน และอีกส่วนนึง รักษาฟรี
โดยมีผู้จ่ายค่ารักษาจริงๆ คิดเป็นประมาณ 30% ของคนที่มารักษาทั้งหมด แต่ธุรกิจยังไปได้ดี 



ตู้อบเด็กแรกเกิด ที่ช่วยลดอัตราการตาย ของทารกในถิ่นทุรกันดาร   ออกแบบให้ง่ายที่สุด ตอบโจทย์ เรื่องของงบประมาณ ข้อจำกัดเรื่อง ไฟฟ้า และใช้ซ้ำได้  //embraceglobal.org/

Crevisse Town ชาวเกาหลีที่ออกแบบเกมส์ออนไลน์ รณรงค์ให้คนปลูกต้นไม้ และ สร้างป่าจริงๆ จากการปลูกต้นไม้ในเกมส์มาแล้วนับล้านต้น  

บางคน อาจจะมองว่า ถึงฉันจะความตั้งใจดี แต่ไม่มีทุนในการสร้างนวัตกรรม เราลองมาดูตัวอย่าง 
วิธีนึงก็คือ การคิดหาอะไรที่มันง่ายๆ ใช้ทดแทนได้ แต่สร้างความแตกต่าง 
หลอดไฟจากขวดน้ำ และน้ำยาฟอกขาว และ แสงอาทิตย์ ที่มีความสว่าง 60 วัตต์ ใช้ได้นาน 5 ปี
หลอดประหยัดไฟคืออะไร ถ้าบ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ 5555


ก่อนหน้านี้ ผู้หญิงชาวแอฟริกา ซึ่งมีหน้าที่ต้องแบกน้ำไว้ใช้ในครัวเรือน ขนน้ำทีละ 20 ลิตร เทินขึ้นหัว แล้วพบว่าพอแก่ตัวลงพวกเธอมีปัญหากระดูกสันหลังกันเป็นว่าเล่น  จึงมีคนคิดค้น Hippo water roller  คือไปหาโลโก้ดูซะนะ เห็นภาพมาก 555 ทำให้พวกเธอขนน้ำได้มากกว่าเดิมหลายเท่า และไม่เปลืองแรงอีกด้วย 


แบบที่สอง คือ การขอความร่วมมือจากภาคเอกชน  แน่นอนว่า บางอย่าง เราไม่มีปัญญาทำเอง กว่าจะกอบกู้โลกได้ ตายก่อน! เพราะอาจจะใช้ทุนในการวิจัยมหาศาลมาก แต่บางครั้ง ภาคเอกชนกลับมี knowhow บางอย่าง ที่เราไม่รู้ แล้วเจ้าตัวเองที่ถือเทคโนโลยีอยู่ก็อาจจะไม่รู้ ว่า มี market size ขนาดใหญ่รอข้างหน้า(บางทีการทำ Research ในห้องแล็บได้ผลออกมาแต่ในทางปฏิบัติ ไม่รู้จะเอาไปใช้ทำอะไร พอๆ กับที่ ใครๆ ก็รู้ว่าผงฟอกขาวใส่น้ำแล้วมันเรืองแสงได้ แต่ไม่มีใครคิดว่า จะถูกนำมาใช้แทนหลอดไฟให้กับประเทศยากจนที่ไม่มีไฟฟ้าใช่น่ะแหละ)  เพราะโดยปรกติ แล้ว ถ้าพูดถึงคนจน คงไม่ค่อยมีใครจะลงทุนพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ออกมาเจาะกลุ่มคนพวกนี้นักหรอก แต่ถ้าเราบอกว่า มีคน 1,000 ล้านคนไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาด และยินดีจะจ่ายเงินเพื่อซื้อสิ่งที่ทดแทน หรือช่วยให้เค้าสามารถซื้อน้ำได้ในราคาถูกกว่าลิตรละ 10 บาทที่ซื้ออยู่ทุกวันๆ ล่ะ 

ยกตัวอย่าง...อันนี้ไม่ใช่  SE แต่จะเห็นว่า พลัง RD ที่คนธรรมดาทั่วไปทำได้ยาก 
PUR แบรนด์เครื่องกรองน้ำ ที่เราอาจจะคุ้นๆ กัน เกิดจากบริษัท P&G ได้พัฒนา ผงทำน้ำสะอาด ที่  1 ซอง ราคา 9 บาท ด้วยมูลค่าการทำวิจัย 300 ล้านบาท สามารถแปลงน้ำปนเปื้อนตามธรรมชาติทั่วไปให้กลายเป็นน้ำสะอาดเพียงพอต่อการใช้งานอุปโภค  10 ลิตรล่ะ...ถามว่า คนจนแล้วซื้อไหม....ก็ซื้อนะ ไงก็ถูกกว่าน้ำลิตรละ 10 บาท



ผลพลอยได้ ที่มาจากการตั้งโจทย์ที่ ชัด คม เฉพาะเจาะจง ของ PUR 


ชนิดของ  Social Enterprise
1. Cross Compensation  = ใช้กำไรจากลูกค้ากลุ่มนึง ไปจ่ายค่าสินค้าหรือบริการให้กับกลุ่มที่มีความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น TOMS /ARAVIND
2. Fee of Service ผู้ยากไรซื้อสินค้าหรือบริการโดยตรงจาก SE ได้เลย เช่น indigo แผงพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ผู้ใช้เอาแผงไปติดตั้งที่บ้านตัวเอง (indigo ลงทุนให้) ส่วนผู้ใช้งาน ไปซื้อบัตรเติมเงินมาขูดตัวเลข ใส่ code ลงในเครื่อง เพื่อใช้กระแสไฟฟ้า....คือ เห็นโมเดลนี้ทีแรก แบ่บ...อึ้งงงง....ไม่ใช่บัตรเติมเงินโทรศัพท์นะ บัตรเติมเงินไฟฟ้า 
3. Enployment and skills training สร้างรายได้และเสริมทักษะให้แก้ผู้ยากไร้ เช่น Beelove ที่ใช้นักโทษที่ออกจากคุก มาสอนวิธีการเลี้ยงผึ้ง ทำฟาร์มผึ้ง แล้วแปรรูปออกมาเป็น skincare/product จากผึ้ง  (เลือกใช้ทักษะจากจุดแข็งของกลุ่มเป้าหมาย เช่น นักโทษมีความอดทนต่อความเจ็บปวดมากกว่าคนปกติ โดนผึ้งต่อยได้ หรือเด็ก asperger/ออทิสติก มีความสามารถในการทำงานที่ซับซ้อน ยาก และซ้ำๆ ได้ เหมาะกับการเป็นโปรแกรมเมอร์  
4. Market Intermediary เป็นตัวกลางหรือตัวแทนจำหน่ายให้สินค้าหรือบริการจากผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ค้าขายอย่างมีคุณธรรม 
5. Market Connector ช่วยแนะนำสินค้าหรือบริการ จากผู้ยากไร้ให้กับตลาดใหม่ๆ
6. Independent Support ใช้กำไรจากลูกค้าทั่วไป มาช่วยเหลือกลุ่มผู้ยากไร้ เช่น Luta แบรนด์อุปกรณ์กีฬาของบราซีล ท่ ครึ่งหนึ่งของกำไร นำมาช่วยชุมชนแออัดจากความรุนแรง  (มูลนิธิต่างๆ อีกหน่อยน่าจะผันตัวมาทางสายนี้เยอะขึ้นๆ เพราะลำพัง รอรับเงินบริจาคอย่างเดียวคงจะอยู่ยากละสมัยนี้)
7. Cooperative สหกรณ์ หรือองค์กรที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีสมาชิกเป็นเจ้าของ และสมาชิกอาจจะเป็นลูกค้าเองด้วย (ระบบสหกรณ์น่ะแหละ) 


Special Note From Speaker (โดย คุณหนุ่ม สกส) 

ทุกปัญหาในโลกนี้มันมีคนพยายามแก้มาก่อนเรา รึคิดเหมือนกับเรามาแล้วทั้งนั้น เพียงแต่ว่า คนที่อยู่รอด ประสบความสำเร็จ คือ
คนที่มีนวัตกรรมเป็นอาวุธ 
มุ่งมั่นต่อจุดยืน ขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
เข้าใจธุรกิจ 
มีความสามารถในการโน้มน้าว 
สร้างโอกาส และคัดกรองโอกาส 

Pivot = a change in strategy without a change in vision 

ภาระกิจของ SE ไม่ใช่แค่ให้ปลา หรือสอนคนให้จับปลาเป็น แต่เราจะทำอย่างไม่ย่อท้อ จนกว่าจะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมประมง ........ท้าทายกว่ามะ 



หลังจากเราทำไปสักระยะหนึ่ง ถ้าไม่เจ๊ง จากผู้ประกอบการสังคม ขยับเป็นกิจการเพื่อสังคม สัก 1-2 ปี.....ผู้ประกอบการควรจะมารีวิว ประสิทธิภาพ และการวัดผลของการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโจทย์ที่ตัวเองตั้ง เพื่อดูว่า สิ่งที่เราทำ มันสร้างผลกระทบทางสังคมได้มากน้อยแค่ไหน ยังไง วัด SROI (Social Return on Investment)  ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกิจการเพื่อสังคม....


ก่าจะเขียนจบ.....ครบ 1 ทิตย์ที่ไปเรียนพอดี 555555555



Create Date : 26 ตุลาคม 2557
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2557 20:38:39 น. 1 comments
Counter : 1202 Pageviews.

 
เริดๆ ไม่ได้ไปเรียน แต่ตามมาอ่าน หาความรู้ด้วย


โดย: กุ้ง IP: 49.0.95.100 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2557 เวลา:10:47:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.