5 เทคนิคจับผิดร้านค้าออนไลน์
5 เทคนิคจับผิดร้านค้าออนไลน์


ต้องยอมรับว่าสมัยนี้ การจับจ่ายสินค้า ไม่ได้มีเพียงแค่ตามตลาด ห้างสรรพสินค้าเท่านั้น เพราะความเข้าถึงง่ายของเทคโนโลยี ทั้งสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ ล้วนแต่สร้างความสะดวกสบายในการเลือกซื้อสินค้าที่ง่าย รวดเร็ว ตัดปัญหาเรื่องของการเดินทาง บางครั้งยังได้สินค้าที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาด เนื่องจากร้านค้าออนไลน์ไม่มีต้นทุนในการเปิดร้าน  จึงทำให้คนในสังคมไทยนิยมจับจ่ายใช้สอยเงินในกระเป๋าผ่านออนไลน์  แม้ว่าการซื้อของผ่านระบบออนไลน์เป็นที่นิยมของคนไทย แต่ในขณะเดียวกันก็กลายเป็นแหล่งโจรของมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาอีกไม่น้อย

ด้วยปัจจัยที่เข้าถึงง่ายสะดวกนี้เอง ทำให้ การซื้อสินค้าออนไลน์เป็นที่นิยมอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในอีกด้านหนึ่ง การเติบโตของธุรกิจออนไลน์ก็ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เช่น ได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ หรือคุณภาพต่ำกว่าที่โฆษณาขายไว้ทางออนไลน์   ได้สินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ หรือไม่ตรงกับความต้องการ รวมไปถึงการโฆษณาเกินจริง หลอกลวงผู้บริโภค จนกลายเป็นปัญหาที่มีการร้องเรียนเข้ามายัง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)ไม่ต่ำกว่า 200-300 ราย ตามหน้าหนังสือพิมพ์ที่มีให้เห็นจนชินตา
และเพื่อป้องกันการโดนหลอกจากการซื้อสินค้าออนไลน์ จนทำให้ต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก  S! Money มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อย ฝากไว้เป็นข้อสังเกต ก่อนที่จะตัดใจจ่ายเงินซื้อของออนไลน์ ดังนี้

................................................................................................................

1. นำชื่อ เบอร์โทรศัพท์ หรือ username ของคนขายมา search หาใน google  หากชื่อนี้เคยหลอกลวงคนอื่นมาก่อน แล้วกลับมาโพสต์ขายของอีก จะมีคนพูดถึงรายละเอียดคดีความของเขาขึ้นมาเลยด้วย

2. ให้กดค้นหาชื่อร้านค้า หรือคนขาย ใน Facebook หรือ Twitter  ตรวจสอบสถานะว่ามีการขายของจริงๆ หรือไม่ เพราะพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องมีตัวตัวผ่านเครื่องมือต่างๆ ของโซเชียลแน่นอน

3. ลองค้นหาในเว็บไซต์ที่สามารถตรวจสอบตัวตน  เช่น  peekyou.com , touchgraph.com/seo หรือ socialmention.com แล้วใส่ชื่อ หรือ username ของผู้ขายลงไป ก็จะเจอข้อมูลมากมายทั้งอีเมล์ ข้อมูลบนเว็บต่างๆ และ Social Network ของเขา

4. ตรวจสอบกับผู้ที่เคยซื้อ ว่าได้รับสินค้าจริงๆหรือไม่? อาจจะหลังไมค์ไปพูดคุยกับคนที่เคยสั่งซื้อที่มีชื่อปรากฏการจองสินค้า เช่น ถ้าร้านขายใน Facebook เราก็ Inbox ไปสอบถามความรู้สึก ความคิดเห็นว่า สินค้าเป็นอย่างไร เพื่อเก็บเป็นข้อมูลการตัดสินใจได้อีกทาง

5. อย่าเห็นแก่ของราคาถูก!  ถ้าพบว่าร้านค้าออนไลน์ขายของถูกเกินจริง ต้องยิ่งสังเกตและระวังเป็นอย่างมาก เพราะโอกาสโดนหลอกสูงมากๆ  และอุทธาหรณ์ ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในกรณีนี้





Create Date : 03 ตุลาคม 2558
Last Update : 3 ตุลาคม 2558 14:56:44 น.
Counter : 794 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1264954
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



........ ............ ............ ........ ........ ............ ............ ........ ............ ........ ............ .................... ........ ............ .................... ............ .......
ตุลาคม 2558

 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog