อริยสัจ




อริยสัจ

อริยสัจคืออะไร



ความจริง ที่เราไม่รู้

สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ สัจจะธรรมความจริง สี่ประการ

ทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ความเวียนว่ายตายเกิด

ผู้ใดได้เข้าถึงอริยสัจสี่ จะอยุ่เหนือทุกข์ ไม่เกิแก่เจ็บตายอีกต่อไป


คำสอนของพระพุทธเจ้าออกมาจากอริยสัจทั้งหมด


สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ


ครั้งแรกเมื่อเสด็จออกนอกพระราชวัง

ได้พบ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย

ได้เกิดความไม่สบายใจขึ้นมา ก็เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา


ความทุกข์ใจที่ได้เห็น คนแก่ คนเจ็บ คนตาย

เมื่อได้เห็น และทราบว่าต่อไปภายภาคหน้าพระองค์เองต้องเป็นเช่นนั้น

แต่ไม่อยากเป็นแบบนั้น

ทุกข์เพราะ ยังไม่อยากแก่ ยังไม่อยากเจ็บ ยังไม่อยากตาย


ความไม่อยากแก่

ความไม่อยากเจ็บ

ความไม่อยากตาย


เพราะความอยากอยู่ อยากหาความสุขจากทางร่างกาย

อยากหาความสุขทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย

ไม่อยากจะแก่ ไม่อยากจะเจ็บ ไม่อยากจะตาย

เกิดความไม่สบายใจ

ก็เกิดความทุกข์ใจขึ้นมา


จึงทำให้พระองค์ท่านมีความปรารถนา

ที่อยากจะหลุดพ้นจากความทุกข์

ที่เกิดจากความ แก่เจ็บตาย



พระองค์ได้ไปเห็นสมณะรูปหนึ่ง

ที่แสวงหาการความดับทุกข์ที่เกิด จากความแก่ ความเจ็บ ความตาย

เพราะสมณะนักบวช เป็นผู้ที่หาทางนำไปสู่การดับทุกข์ที่อยู่ภายใน


เมื่อพระองค์ทรงพบลู่ทางสู่การดับทุกข์

พระองค์จึงเตรียมการ


พอสบโอกาสจึงเสด็จออกจากพระราชวัง


ทรงสละราชสมบัติ ความสุขของพระราชโอรส พระราชทรัพย์

ที่ใช้ตอบสนองความสุข

โดยเห็นว่าความสุขเป็นสิ่งชั่วคราว

คราวใดที่ร่างกาย แก่ เจ็บ ตาย 

ก็จะไม่สามารถที่จะเสพความสุขจากราชทรัพย์ได้



ทรงรู้ว่าวันหนึ่งภายภาคหน้าต้องเกิดทุกข์

และไม่ปรารถนาที่จะพบความทุกข์

จึงหาหนทาง เครื่องมือที่จะดับทุกข์

โดยพบมรรค


จึงเสด็จออกจากพระราชวัง 

ในคืนวันที่มเหสี คลอดพระราชโอรส

มุ่งไปสูการเป็นนักบวช

เพื่อเจริญมรรค


ซึ่ง มรรคในยุคนั้น ไม่สมบูรณ์

โดยสามารถดับความอยาก ดับทุกข์ได้ชั่วคราว

เฉพาะเวลาที่ใจเข้าไปในสมาธิ 

ในความสงบ ชั่วคราวเท่านั้น

เมื่อออกจากสมาธิ ความทุกข์ใจก็กลับมา


สมาธิ 

ไม่สามารถที่จะกำจัดความอยาก

อยากไม่แก่ อยากไม่เจ็บ อยากไม่ตาย ได้อย่างถาวร

เพียงแต่ระงับไว้ได้ชั่วคราว


สิ่งที่จะทำให้ความทุกข์หายไปอย่างถาวร

คือ ความอยากไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

เพื่อหาความสุขทางกาย


ต้องใช้ปัญญา ในการถอดถอน

ความอยาก ความหลง

หลงว่าได้ทำตามความอยากแล้วมีความสุข

ครั้งไม่ได้ทำ ก็เกิดความไม่สบาย



ความสุข 

จากความอยาก เกิดขึ้นชั่วคราว


เมื่อได้ทำตามอยาก ก็เกิดความสุขชั่วคราว

สักพักก็เกิดความต้องการขึ้นใหม่

และเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ


เมื่อร่างกายแก่ เจ็บตาย 

ไม่สามารถทำตามที่ต้องการได้

ก็เกิดความไม่สบายใจ ก็เกิดทุกข์

เมื่อตายไป ความอยากยังไม่หมด

ความอยากที่อยู่ในใจยังมี


ก็ต้องหาร่างกายใหม่

เพื่อตอบสนองต่อความอยากนั้น


การเข้าไปแก้ ต้นเหตุ ของความอยาก

โดยการทำตามความอยากนั้น นำไปสู่ทุกข์

สร้างภพ สร้างชาติ


พระองค์ทรงไม่ทำตามความอยาก

ความทุกข์ใจก็หายไป

ยอมรับความจริงของร่างกาย

ยอมให้ร่างกายแก่ 

ยอมให้ร่างกายเจ็บ 

ยอมให้ร่างกายตาย


ความทุกข์ที่เกิดขึ้นก็หายไป

นี่คือ มรรค


เบื้องต้น การออกบวช

โดยการรักษาศีล

ไม่เบียดเบียนผู้อื่น 

และไม่หาความสุขต่างๆโดยใช้ร่างกาย


เพราะถ้าอาศัยร่างกาย ก็จะทุกข์เมื่อร่างกายเราเสื่อมลง

ไม่หาความสุขตาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย


นักบวช หาความสุขจากการทำใจให้สงบ จากสมาธิ

การทำใจให้รวมเป็นหนึ่ง ใจเป็นอุเบกขา

เป็นความสุขอีกรูปหนึ่ง


ความสุขจากการทำใจให้สงบนี้ ดีกว่า วิเศษกว่า

ความสุขที่ได้จากการเสพรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

เมื่อไม่ต้องเสพ 

ร่างกายก็จะหมดความหมาย

ร่างกายจะเป็นจะตาย ก็ไม่เดือดร้อน

เพราะมีสิ่งดีกว่าทดแทน


ใช้ศีล สติ สมาธิ ปัญญา ทดแทน


คือ มรรค คือเครื่องมือ ที่นำไปสู่การดับทุกข์

เมื่อมีความสุขทางใจ

เห็นโทษของการหาความสุขทางกายแล้ว

ก็จะไม่ทำตามความอยาก ความต้องการ

เห็นพิษเห็นภัยของความอยาก


เมื่อความอยากเกิดขึ้น

ใจกระเพื่อม เหมือนน้ำกระเพื่อมขึ้น

ไม่นิ่ง

ทำให้ใจไม่สบาย 

ทำให้ใจ ไปเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่จบสิ้น


เพียงมีสติปัญญาเข้าถึงใจในระดับนี้

จะสามารถหยุดความอยากได้

เพราะมีสติปัญญาคอยจดจ่อดูอยู่

เมื่อเกิดความอยาก สติปัญญาเฝ้าดูอยู่ คอยดับความอยาก


รูป เสียง กลิ่น รส ไม่ได้ทำให้เราทุกข์

ความอยาก ความไม่อยาก ความชอบ ความไม่ชอบ

ที่ใจนั้น ทำให้เราทุกข์


ความอยากพาออกไปข้างนอก

พาออกไปทุกข์ ไปดีใจ ไปเสียใจ

รูปเสียงกลิ่นรสที่ชอบก็สุข

ไม่ชอบก็ทุกข์


ทุกข์จากข้างนอก เราก็แก้ข้างนอก

บางครั้งเมื่อแก้ไม่ได้ เราก็รู้สึกทุกข์ทรมานใจ

สิ่งต้นเหตุก็คือ รูปเสียงกลิ่นรส


การปรับใจ ไม่ให้มีความอยาก เมื่อเจอรูปเสียงกลิ่นรสอย่างไร

เมื่อวางเฉยได้ ก็ไม่ทุกข์ วางใจอุเบกขา


การฝึกทำใจให้สงบ แล้วให้ใจเป็นอุเบกขา

เมื่อใจสัมผัสกับเรื่องต่างๆ

ใจจะไม่ทุกข์ ไม่เดือดร้อนใจ

ปัญญาจะสอนให้เรารู้ว่าสิ่งต่างๆบนโลกนี้

เป็นอย่างนี้ มีขึ้นมีลง มีดี มีไม่ดี เปลี่ยนไปมา ตามเหตุปัจจัย


ใจที่อยู่ภายนอก

จึงไม่เห็นวิธีการแก้

แก้ที่ภายใน

แก้ที่ใจ


ต้นเหตุของความทุกข์ อยู่ที่ใจ


ใจที่ไม่ต้องใช้ร่างกายสร้างความสุข


หาความสุขจากภายนอก

หรือความสุขจากภายใน

อยากได้รูปเสียงกลิ่นรส โผฏฐัพพะอย่างที่ต้องการ

ถ้าไม่ได้ก็แก้ให้เป็นอย่างที่ต้องการ

แก้ได้ก็สุข แก้ไม่ได้ก็ทุกข์

แก้เสร็จ ก็มรปัญหา ความอยากใหม่ปรากฏ


ทำให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดอีก


นั่น คือ ใจ

ภายใน

ใจ ไปยึดภายนอก

ถือเป็นความสุข

เมือเปลี่ยนไป เราก็อยากให้เปลี่ยนกลับมา

ทำให้เราเกิดทุกข์


ทุกอย่าง ไม่ช้าเร็ว ก็มีการเสื่อม

การแก้ปัญหาต้องแก้ที่ใจ

สิ่งต่างๆไม่อยู่ในการควบคุมของเราเสมอไป


สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงไป


ถ้าเรามีความสงบ ความสุขใจ

เราไม่ต้องอาศัยความสุข จากภายนอก


ใจ ไม่มีความสุข

ต้องออกตามหา ภายนอก

ตามหาความสุขชั่วคราว

รูปเสียงกลิ่นรส โผฏฐัพพะ

ความสุขปลอมๆ นอกใจของเรา

ได้มาก็ดีใจ เบื้องต้นเป็นความสุข


ใจ ไม่มีความสุข

ถูกความหลงหลอก

ออกไปหาภายนอก

สุขภายนอก เปลี่ยนแปลงตลอด 

เจริญบ้าง เสื่อมบ้าง

เลยทุกข์


ทุกข์เพราะหลงออกไปภายนอก

หลงลืม สุข สงบ ที่อยู่ภายใน


มรรค


สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเจริญ

หลังจากเสด็จออกจากพระราชวัง


สุขสงบ ได้เพียงสมาธิ

เมื่อออกจากสมาธิ 

ความสงบที่ได้ก็จางหายไป


ความอยากก็เกิดขึ้นอีก


พระพุทธเจ้าทรงมองหาวิธี

ในการทำให้ใจสงบ

หลังจากออกจากสมาธิ


ความอยาก จากความหลง ที่จะหาความสุขจากร่างกาย

ร่างกายอนิจจัง ไม่เที่ยง เราไม่สามารถควบคุมร่างกาย

ให้ร่างกาย ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่เที่ยง


อยากให้ทุกอย่างเที่ยง ก็เกิดทุกข์


ไม่อยากให้ทุกข์ ก็ไม่ต้องอยาก


อยากหรือไม่อยาก

ทุกสิ่งทุกอย่างก็ไม่เที่ยง เหมือนเดิม

เราอยู่เฉยๆ


การดับความทุกข์ที่อยู่ในใจ

สามารถดับได้โดบ มรรค เพีบงอย่างเดียว


การไปเที่ยว

ดับทุกข์ได้ชั่วคราว

กลับมาก็เหมือนเดิม


ความอยากที่ทำให้เกิดทุกข์

สิ่งที่จะดับได้

คือ มรรค

คือ ปัญญา ในการเห็นว่ทุกสิ่งไม่เที่ยง

การไม่เที่ยง ไม่เป็นทุก


ความหลง

ความอยาก ทำให้เราทุกข์ใจ หลงยึดติด

ว่าเป็นของเรา ไม่เปลี่ยนแปลง


เมื่อเราเห็นว่าสิ่งต่างๆ ไม่เที่ยง

เราก็จะยอมรับความจริง


เราใช้ความสงบเพียงอย่างเดียวในการดับทุกข์

เลิกใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือ ในการหาความสุข


สิ่งที่ดีกว่า คือ ความสงบ ในเบื้องต้น


ใช้ปัญญาสอนใจ

ให้เห็นถึงความไม่เที่ยงของสิ่งต่างๆ


การเปลี่ยนแปลง

เสื่อม มีทุกข์ สุข ขึ้นลง

เกิด แก่ เจ็บ ตาย

สลับกันไป


ทุกข์แต่ละครั้ง ความสุขก็หายไป


การแก้ปัญหาของพระพุทธเจ้า


คือ การเข้าไปแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

ให้เราเลิกหาความสุขชั่วคราว

โดยสร้างความสุขสงบของใจ


การสร้างความสุขทางใจ

ต้องลดละความสุขทางร่างกาย


วิธีแห่งการมีความสุขตลอดเวลา

มรรค

ศีล สมาธิ ปัญญา


ผู้ครองเรือน สู่การเป็นนักบวช


มรรค เครื่องมือในการละกิเลส 

ตัณหา สิ่งเป็นต้นเหตุของความทุกข์


ความทุกข์ใจเป็นเหตุ

เกิดจากความอยากของเรา

ต้องค้นหาสาเหตุ

ใช้อะไรในการดับความอยาก ละความอยาก

นั่นคือ มรรค ศีล สมาธิ ปัญญา


ใจสงบ ก็สามารถละความสุขทางร่างกายได้


นิโรธปรากฎขึ้น


นิโรธ โดยสมบูรณ์แบบ

คือ นิพพาน นั่นเอง




Create Date : 10 เมษายน 2559
Last Update : 10 เมษายน 2559 17:57:31 น.
Counter : 561 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

noraph
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



เมษายน 2559

 
 
 
 
 
1
2
3
5
6
7
8
9
11
12
13
15
17
18
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
10 เมษายน 2559
All Blog