Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
30 ตุลาคม 2555

ย้อนอดีต : สถานีรถไฟธนบุรี (1)



พ.ศ.2443 ในขณะที่การก่อสร้างรถไฟสายอีสานกำลังผ่านป่าดงพญาไฟ
อันชุกชุมไปด้วยไข้ป่าและสัตว์ร้าย ก็ได้มีการเวนคืนที่ดินปากคลองบางกอกน้อย
ฝั่งวังสวนมังคุดของกรมพระราชวังหลังที่ในตอนนั้นเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของชาวมุสลิม
โดยรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานที่ดินฝั่งตรงข้ามพร้อมกับสร้างมัสยิดให้เป็นการทดแทน

ที่ดินซึ่งเวนคืนมานั้นเป็นที่ตั้งของต้นทางรถไฟสายใต้หรือสถานีรถไฟธนบุรี
ถ้าดูจากแผนที่ก็เป็นเพียงการโดยสารเรือข้ามแม่น้ำจากฝั่งกรุงเทพไปก็ถึงแล้ว
พ.ศ. 2444 หลังการสำรวจเสร็จสิ้นก็มีการดำเนินการก่อสร้าง แนวทางเริ่มจาก
เลียบคลองบางกอกน้อยไปจนถึงตลิ่งชัน จากที่นั่นทางรถไฟจะยึดแนวคลองมหาสวัสดิ์

คลองที่ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ในปีพ.ศ. 2440 เพื่อใช้เดินทางไปยังพระปฐมเจดีย์
โดยมีการข้ามแม่น้ำท่าจีนที่บริเวณสถานีงิ้วราย เป็นจุดต่อเรือโดยสารไปยังสุพรรณบุรี
เมื่อถึงจังหวัดนครปฐม ทางรถไฟจะวกเลียบลงใต้ขนานไปกับลำน้ำแม่กลอง
โดยมีสะพานข้ามที่จังหวัดราชบุรี ไปจนถึงแถบชายทะเลที่สถานีปากท่อ

จากนั้นทางรถไฟก็จะวิ่งขนานไปกับอ่าวไทยไปสิ้นสุดที่สถานีสุดท้ายในสมัยนั้น
ที่จังหวัดเพชรบุรีในปี พ.ศ. 2444 รวมเป็นระยะทางทั้งสิ้น 150 กิโลเมตร
ขบวนรถไฟสายใต้ทุกขบวน จะมีต้นทางปลายทางที่สถานีธนบุรีแห่งนี้
จนกระทั่งการก่อสร้างสะพานพระราม 6 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสำเร็จ

เป็นการเชื่อมทางรถไฟสายเหนือ/สายอิสาน และสายใต้เข้าด้วยกัน
รถไฟสายใต้จึงได้มีการเปลี่ยนต้นทาง-ปลายทางไปยังสถานีกรุงเทพบ้าง
เหลือเฉพาะสถานีธนบุรี-น้ำตก และธนบุรี-ปราณบุรีมานานหลายสิบปี
จนเพิ่งจะขบวนราชบุรี นครปฐมและศาลายาเมื่อเพียงไม่นานที่ผ่านมา

เมื่อแรกตั้งกรมรถไฟหลวงนั้นมีพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์
เป็นเสนาบดี และนาย เค. เบธเก (K. Bethge) ชาวเยอรมันเป็นเจ้ากรมรถไฟ
ซึ่งอาคารสถานีบางกอกน้อยเดิมนั้นเป็นอีกหนึ่งในผลงานการออกสมเด็จครูช่าง
แต่เป็นที่น่าเสียดายมากที่ถูกระเบิดของสัมพันธมิตรในครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่สามารถหารูปถ่ายดั้งเดิมของลักษณะสถานีแห่งนี้ได้




จะมีก็เพียงแบบพิมพ์ในกระดาษเพียงเท่านั้น แน่นอนว่าการเริ่มสร้างทางรถไฟครั้งแรกนั้น
สยามจ้างนายช่างเยอรมันมาเป็นผู้ดูแล เพื่อหลีกเหลี่ยงการใช้วิศวกรจากอังกฤษและฝรั่งเศส
ที่เข้ามาล่าอาณานิคมประชิดชายแดน ดังนั้นทางรถไฟสายเหนือและอีสานจึงใช้ความกว้างราง
ตามแบบของประเทศเยอรมันที่มีมาตรฐาน 1.435 หรือ Standard gauge นั่นเอง

ไม่ใช่เพราะกลัวว่าจะโดยอังกฤษหรือฝรั่งจะเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ในยามสงคราม
เพราะไม่ว่าเราจะสร้างทางแบบไหน ถ้าเค้ายึดสถานีและรถจักรได้ก็มีค่าเท่ากัน
และในตอนนั้นเราก็ไม่คิดจะสร้างรถไฟไปจนจรดชายแดนทุกด้านเป็นแน่
จนมาถึงช่วงที่สยามคิดจะสร้างทางรถไฟสายใต้ นั่นจึงเริ่มเกิดปัญหา

เพราะว่าหลังวิกฤติการณ์ รศ. 122 รัฐบาลสยามได้ทำสนธิสัญญาลับกับอังกฤษ
ที่จะให้การรับรองว่าหากฝรั่งเศสคิดจะข้ามน้ำโขงมา อังกฤษจะเข้าแทรกแซง
แต่ทั้งนี้อังกฤษขอให้สยามห้ามชนชาติใดใช้ประโยชน์บนพื้นที่บนภาคใต้
นับจากจังหวัดชุมพรลงไป ฉะนั้นหากสยามจะต้องสร้างทางรถไฟลงใต้

จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องทำมาตรฐานให้เป็นเช่นเดียวกันกับมลายา
เพื่อมิให้ถูกขัดขวางจากอังกฤษในอนาคต และจำเป็นต้องแยกกรมรถไฟหลวง
ออกเป็นสายเหนือและสายใต้ โดยให้ชาวอังกฤษเข้ามาเป็นผู้บัญชาการในเส้นทางสายนี้
พ.ศ. 2451 ในปลายรัชกาลมีการเจรจาเพื่อยกดินแดน 4 รัฐทางภาคใต้


ได้แก่ กลันตัน ตรังกานู ปะลิศ ไทรบุรี เพื่อแลกกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
และเงินกู้เพื่อการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ส่วนต่อขยายจากเพชรบุรีลงไป
การมีเส้นทางรถไฟ 2 แบบ ในประเทศเดียวกันก่อให้เกิดปัญหาด้านการบริหาร
เพราะต้องมีรถจักรโบกี้โดยสาร และตู้บรรทุกสินค้าที่ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้

พ.ศ. 2465 เริ่มการก่อสร้างสะพานพระราม 6 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
เพื่อเชื่อมเส้นทางรถไฟสายเหนือจากชุมทางบางซื่อ ไปยังชุมทางตลิ่งชัน
ของเส้นทางรถไฟสายใต้ การก่อสร้างแล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ. 2469
ตอนนั้นรัฐบาลมีทางเลือก 2 ทาง





Create Date : 30 ตุลาคม 2555
Last Update : 1 พฤศจิกายน 2555 10:04:00 น. 3 comments
Counter : 3667 Pageviews.  

 
สวัสดีค่ะ

มาอ่านความเจริญก้าวหน้าในอดีต แตปัจจุบันดูจะหยุดนิ่งค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 30 ตุลาคม 2555 เวลา:16:04:22 น.  

 
น่าเสียดายที่ตัวสถานีรถไฟดั้งเดิมกลายเป็นส่วนหนึ่งของศิริราชไปแล้ว


โดย: digimontamer วันที่: 30 ตุลาคม 2555 เวลา:20:44:28 น.  

 
ประวัติศาสตร์บางเรื่อง อ่านแล้วก็ได้แต่ระลึกคำเดียว "เสียดาย" นะคะ




โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 20 มีนาคม 2556 เวลา:16:12:54 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]