Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
28 ธันวาคม 2554

กรุงเทพมหานคร : บานประตูวัดสุทัศนเทพวราราม (2)




เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เสวยราชสมบัติทรงมีพระราชดำริว่า
พระพุทธรูปองค์ใหญ่ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่เสาชิงช้านั้นเป็นพระราชดำริของรัชกาลที่ 1
ที่จะสร้างวัดใหญ่ขึ้นกลางพระนคร แต่พอก่อรากพระวิหารก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน
จึงโปรดให้สร้างพระวิหารให้แล้วเสร็จ เพื่อจะได้ครบองค์ประกอบของวัดต่อไป

แล้วทรงโปรดให้ช่างเขียนเส้นลายบานประตูวัดพระใหญ่
โดยทรงพระศรัทธาลงลายพระหัตถ์สลักภาพกับกรมหมื่นจิตรภักดี
เรื่องฝีพระหัตถ์คงไม่เป็นที่กังขา แต่คงยากที่จะเชื่อว่าในเวลาที่พระองค์
ขณะดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์แล้วจะมีเวลามาแกะสลักบานประตูได้

ไม้บานประตูพระวิหารนี้ เป็นไม้กระดานแผ่นเดียว หนา 16 ซ.ม.
หน้ากว้าง 1.3 ม.สูง 5.64 เมตร สลักลึกลงไป 14 ซ.ม.
เป็นรูปภูเขาต้นไม้ มีถ้ำคูหา รูปสัตว์ต่างๆ เสือ ลิง กวาง
หมู จะขาบ งู อึ่งอ่าง นก

ด้วยความลึกของการแกะทำให้รูปสลักนั้นเป็นสามมิติ สลับซับซ้อนเป็นชั้นๆ
โดดเด่นราวกับมีชีวิต ไม่มีที่ไหนจะทำได้เหมือนอย่างนี้มีคำเล่าสืบกันมาว่า
ช่างที่สลักบานพระวิหารพระโตนี้เมื่อทำการเสร็จแล้ว ได้เอาเครื่องมือทิ้งน้ำเสีย

ด้วยเชื่อว่าเครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักนั้น ประดิษฐ์ทำขึ้นใช้เป็นการเฉพาะ
เมื่อมีความต้องการเครื่องมือเล็กใหญ่รูปคดโค้งอย่างไร ก็สั่งให้ช่างเหล็ก
ทำขึ้นมาตามนั้น ครั้นเสร็จแล้วเครื่องมือชุดนั้นก็คงใช้การอื่นไม่ได้อีก
คงเอาไว้แต่ลายฝีมือที่สุดแสนจะวิจิตรบรรจง คงคู่กับวัดมาจนถึงในปัจจุบัน

พ.ศ. 2367 ตัวโครงสร้างพระวิหารหลวงเสร็จลง แต่ยังไม่มีการยกช่อฟ้าใบระกา
ส่วนการสลักบานประตูก็ยังคงไม่เสร็จ รวมไปถึงการเขียนภาพจิตกรรรมฝาผนัง
แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็เสด็จสวรรคตลงเสียก่อน
วัดนี้มาเสร็จสมบูรณ์ในรัชสมัยต่อมา รวมถึงการสร้างมุขเด็จด้านหน้า



เมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์มีพระราชประสงค์
อยากจะให้สลักบานอย่างพระวิหารพระศรีศากยมุนี โปรดให้กรมขุนราชสีห์
และช่างสลักมีพระยาจินดารังสรรค์ไปคิดอ่านสลักให้เหมือนเช่นนั้น
แต่ไม่สำเร็จเพราะถากไม้ไม่เป็นเหลือวิสัย ต้องสลักเป็นสองชั้นวางซ้อนกัน

พ.ศ. 2502 เกิดเพลิงไหม้ทำให้บานประตูใหญ่ด้านขวาเสียหายไป
กรมศิลปากรจึงย้ายบานประตูคู่ที่อยู่ด้านหลังพระวิหารมาใส่แทน
แล้วทำประตูคู่ใหม่ลายรดน้ำพันธุ์พฤกษามาทดแทนประตูคู่ที่อยู่ด้านหลัง
แล้วถอดอีกบานที่ยังคงไม่ชำรุดไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร

เรื่องราวอาจจะจบลงเพียงเท่านี้เหมือนเช่นทุกสิ่งที่เป็นมา
หากไม่ได้พระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ที่ทรงโปรดให้ศูนย์ศิลปาชีพแกะสลักบานประตูไม้ที่ชื่อว่าตำนานเพชรรัตน์
เพื่อเป็นการอนุรักษ์งานศิลปกรรมด้านการแกะสลักไม้ของไทยให้คงอยู่
โดยใช้ช่างแกะสลักจำนวน 69 คน กับเวลาทำ 10 เดือน 3 วัน จึงแล้วเสร็จ

ผมมีโอกาสได้เห็นบานแกะสลักไม้ชิ้นนี้ในงานศิลป์แห่งแผ่นดิน
แรกเห็นนั้นมันเหมือนค้อนที่ตอกความเป็นชาตินิยมลงที่กลางใจ
เพราะแม้จะเป็นของใหม่แต่การแกะสลักไม้ชิ้นนี้มันสุดแสนจะงดงาม
จนเชื่อได้ว่าไม่มีชนชาติอื่นใดในโลกที่จะสามารถทำสิ่งนี้ขึ้นมาได้

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างบานประตูสลักไม้สองชิ้นนี้ก็คือ
งานที่แกะขึ้นใหม่นี้ไม่มีการปิดทองให้อร่ามจนบดบังความงดงามของลวดลาย
ในขณะที่บานประตูวัดสุทัศน์ได้มีการปิดทองพอกทับลวดลายไปทุกครั้งที่มีการซ่อมแซม

นี่คงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของผลร้ายที่เราเรียกกันว่าการบูรณะ
ถึงเวลาหรือยังที่จะเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าความงามของศิลปะไทย

จริงแท้แล้วมันคืออะไร





Create Date : 28 ธันวาคม 2554
Last Update : 29 ธันวาคม 2554 13:18:42 น. 2 comments
Counter : 7297 Pageviews.  

 
แกะสามมิติสุดยอดเลยค่ะ

มีนกเกาะเอียงคอ กระรอก ต้องคิดแบบทีเดียวเพราะเป็นไม้ชิ้นเดียวจะเติมลายไม่ได้


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 28 ธันวาคม 2554 เวลา:12:11:03 น.  

 
มีรอในคิวรีวิวเหมือนกันค่ะวัดนี้

ตอนอบรมบัตรไกด์อาจารย์ก็เล่าเรื่องประมาณนี้เหมือนกันค่ะ


เจ้าไหนอะคะที่จองบ่ายสามได้กินสี่ทุ่มอะค่ะ เค้าขายอะไรอ้ะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 29 ธันวาคม 2554 เวลา:10:50:02 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]