Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
28 ตุลาคม 2552

กาญจนบุรี : ทางรถไฟสายมรณะ (4)




เมื่ออังกฤษเข้าครอบครองพม่า พวกเค้ามีความคิดที่จะก่อสร้างทางรถไฟ
เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางการค้าระหว่างพม่าตอนใต้และภาคกลางของไทย
แต่เส้นทางสายนี้ไม่เคยเกิดขึ้น เพราะการก่อสร้างที่ต้องผ่านเส้นทาง
ที่แสนลำบากนี้ ไม่คุ้มค่าการลงทุน

ต้นปี 1942

ญี่ปุ่นยึดอาณานิคมต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้
ทำให้มีเชลยศึกจำนวนมากที่ต้องดูแล และเมื่อญี่ปุ่นเข้ารุกรานพม่า
จึงมีความจำเป็นต้องลำเลียงทหารและยุทธปัจจัยทางเรือจากประเทศไทย
ผ่านช่องแคบมะละกา ผ่านทะเลอันดามันเพื่อไปยังประเทศพม่า

แต่การใช้เส้นทางนี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ส่งเรือดำน้ำรบและเครื่องบิน
โจมตีรบกวนตลอดเวลา ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดการสูญเสีย

22 มิถุนายน 1942

ญี่ปุ่นจึงเริ่มการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ เพื่อใช้ในการลำเลียง
จากทั้งฝั่งไทยที่สถานีหนองปลาดุก และฝั่งพม่าที่เมืองตันบูซายัด
พร้อมๆ กันโดยใช้แรงงานเชลยศึกสัมพันธมิตรและกรรมกรเอเชีย
ที่ได้รับการจูงใจจากญี่ปุ่นว่า พวกเค้าจะมีงานสบายและรายได้งาม

ทางรถไฟมีความยาวทั้งสิ้น 415 กิโลเมตร
เป็นส่วนที่ก่อสร้างในประเทศไทย 313 กิโลเมตร
และในประเทศพม่า 111 กิโลเมตร





อุปสรรคสำคัญแรกคือแม่น้ำแควที่กว้างใหญ่ ครั้งแรกนั้นสะพาน
ข้ามแม่น้ำแควก่อสร้างด้วยไม้ เสร็จสิ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 1943
และถูกแทนที่ด้วยสะพานเหล็กและตอม่อคอนกรีตในเดือนมิถุนายน

อุปสรรคสำคัญที่สอง ก็คือ สะพานถ้ำกระแซ
การก่อสร้างทางรถไฟในช่วงนี้เป็นเทือกเขาสูงชันติดกับลำน้ำแควน้อย
วิศวกรญี่ปุ่นจำเป็นต้องสะพานเลียบลำน้ำ ลัดเลาะไปตามภูเขา 400 เมตร
ราคาแห่งความยากลำบากที่ต้องใช้ไปคือชีวิตกรรมกรและเชยศึก 1,000 คน

อุปสรรคสำคัญที่สามคือ ช่องเขาขาด หากจะสร้างอุโมงค์ก็จะเสียเวลามาก
เนื่องจากสามารถก่อสร้างได้เพียง 2 ทางเข้าหากัน
เนื่องจากช่วงนี้เป็นการเร่งรัดการก่อสร้าง ญี่ปุ่นมีทางออกที่ดีกว่านั้น
คือเจาะภูเขาเป็นช่องจากข้างบนลงไป ลึก 17 เมตร และยาว 110 เมตร

ที่นี่กรรมกรและเชลยศึกต้องทำงานวันละ 16-18 ชั่วโมง
ตอนนั้นจึงเต็มไปด้วยเสียงอึกทึกจากค้อนที่ตอกลงบนหินผา
และแสงจากคบไฟสว่างตัดกับความมืดของป่าลึก
ราวกับเปลวไฟที่ผุดขึ้นมาจากนรก

ที่นี่จึงถูกเลยศึกเรียกว่า Hellfire Pass



Create Date : 28 ตุลาคม 2552
Last Update : 29 มิถุนายน 2553 16:55:02 น. 1 comments
Counter : 3013 Pageviews.  

 
เป็นบทเรียนแห่งความขมขื่นจริงๆ
ต้องเสียเลือดเสียเนื้อมากมาย จริงๆ


โดย: glamorousbuild วันที่: 27 ธันวาคม 2552 เวลา:17:06:12 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]