Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มีนาคม 2559
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
25 มีนาคม 2559

เศียรพระใหญ่ในพระที่นั่งศิวโมกพิมาน (1)




จากการที่กรมศิลปากรได้ปรับปรุงการจัดแสดงโบราณวัตถุ
ในพระที่นั่งศิวโมกพิมานเมื่อราวกลางปี พ.ศ. 2558 นั้น
ได้กลายเป็นข่าวดังทางสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ
หนึ่งในนั้นคือมติชนที่ได้ไปสอบถาม อ. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล ว่า

ประทับใจสิ่งของจัดแสดงชิ้นใด ซึ่งอาจารย์ได้ตอบไปว่า
คือพระเศียรองค์ใหญ่ที่อาจจะเป็นไปได้ว่า คือเศียรพระศรีสรรเพชญ์
และนั่นคือที่มาของกระแสความสนใจในทางอินเตอร์เนท
จนเป็นที่มาของการจัดบรรยายทางวิชาการในครั้งนี้

ก่อนอื่นต้องขอชมเชยทางพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร
ที่ปรกติจะจัดการบรรยายในห้องเล็กๆ ตรงที่จำหน่ายตั๋วเข้าชม
แต่คงคาดว่าครั้งนี้คงจะมีคนมาฟังล้นหลาม จึงเปลี่ยนสถานที่มาเป็น
พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย และก็คาดถูก คนมาฟังน่าจะราว 3-400 คน

ปรกติผมก็จะไปฟังเป็นประจำกับการบรรยายวิชาการเช่นนี้
แต่ก็ไม่เคยเขียน blog ซะที จนที่ไปฟังมาก็เลือนๆ ไปหมดแล้ว
คราวนี้จึงขอแก้ตัว ด้วยการนำการฟังการบรรยายมาเล่าให้ฟัง
เผื่อคนที่อยากไปมั่งแต่ก็อยู่ไกล หรือไม่ก็ปิดเทอมพาลูกไปเที่ยวนะ



กล่าวเปิดงานโดยนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร
ถึงความน่ายินดีที่มีประชาชนสนใจมาฟังกันมากมายเช่นนี้
ผู้ดำเนินการเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี อ. สันติ เล็กสุขุม
คุณประทีป เพ็งตะโก หัวหน้าสำนักศิลปากรที่ 3 เป็นผู้เริ่มการบรรยาย
จากการสร้างพระศรีสรรเพชญ์ตามพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ

ศักราช ๘๖๒ สมเด็จพระรามาธิบดีเจ้า แรกให้หล่อพระพุทธเจ้าพระศรีสรรเพช์ญ
ครั้งเถิงศักราช ๘๖๕ ฉลองพระพุทธเจ้าพระศรีสรรเพช์ญคณาพระพุทธเจ้านั้น
แต่พระบาทเถิงยอดพระรัศมีนั้น สูงได้ ๘ วา พระพักตร์นั้นยาวได้ ๔ ศอก
กว้างพระพักตร์นั้น ๓ ศอก และพระอุระนั้นกว้าง ๑๑ ศอก

แลทองหล่อพระพุทธเจ้านั้นหนัก ๕๓,๐๐๐ ชั่ง ทองคำหุ้มนั้นหนัก ๒๘ ชั่ง
ข้างหน้านั้นทองเนื้อ ๗ น้ำสองขา ข้างหลังนั้นทองเนื้อ ๖ น้ำสองขา
ศักราช ๘๘๐ ขาลศก ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดี สร้างพระศรีสรรเพช์ญ


สรุปว่าการหล่อพระใช้เวลา 3 ปี จากนั้นจึงสร้างวิหารครอบองค์พระ
โดยไม่ได้ระบุว่าพระศรีสรรเพชญ์นั้นเป็นพระพุทธรูปปางนั่งหรือยืน

บาทหลวงตาชาร์ตชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์บันทึกว่า
ในวิหารหลวงของวัดพระศรีสรรเพชญ์มีแท่นบูชาอยู่ตรงกลาง
มีพระพุทธรูปนั่งบ้าง ยืนบ้าง 3-4 องค์
ด้านในมีแท่นขนาดใหญ่ ตั้งพระพุทธรูปสำคัญเป็นพระพุทธรูปยืน
ยอดเศียรนั้นจรดหลังคา สูง 45 ฟุต กว้าง 7 ฟุต

บาทหลวงเดอชัวซี ที่ร่วมคณะมาก็บันทึกไว้ใกล้เคียงกันว่าพระยืนสูง 42 ฟุต
แต่เพิ่มข้อมูลว่าพระกรขวาเคยถูกตัดไปในสงครามกับพม่าช่วงก่อนหน้านั้น

พงศาวดารฉบับขุนหลวงหาวัดระบุว่าเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดสูง 18 ศอก
หล่อด้วยสังกะสีหุ้มทอง เมื่อพม่าเข้าเมืองได้จุดไฟเผาพระราชวังและวัด
พงศาวดารฉบับพระพันรัตน์ซึ่งเป็นการชำระในสมัยรัตนโกสินทร์เพิ่มเติมว่า
พม่าเอาไฟสุมที่พระบาทเพื่อลอกทองคำที่หุ้มองค์พระศรีสรรเพชญ์ไป

ประเด็นที่ 1 ความเป็นไปได้ของความสูงองค์พระที่แท้จริง
พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐระบุว่าองค์พระสูง16 เมตร ซึ่งสูงมาก
จนเลยหลังคาพระวิหารจากซากอาคารที่เราวัดได้ใปัจจุบัน นอกนั้นระบุว่า
องค์พระกว้างถึง 11 เมตร ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ เพราะทำให้องค์พระผิดสัดส่วน
แต่หลักฐานของฝรั่งเศสที่กล่าวว่าองค์พระจะสูงราว 12 เมตร เมื่อรวมแท่นสูง 2 เมตร
น่าจะพอเป็นไปได้



จารึกสร้างวัดพระเชตุพนในสมัยรัชกาลที่ 1 บันทึกไว้ว่า
ได้ทรงสั่งให้ไปชะลอพระโลกนารถและพระศรีสรรเพชญ์ลงมา
ปรากฏว่าพระโลกนารถนั้นชำรุดแต่โปรดให้ซ่อม
(มีร่องรอยตั้งแต่ช่วงใต้รัดประคดลงมา พระพาหาถึงพระกร)

แต่พระศรีสรรเพชญ์นั้นชำรุดมาก รัชกาลที่ 1 จึงโปรดให้ก่อฐานราก
แล้วนำพระศรีสรรเพชญ์มาตั้งเป็นแกน ก่อนที่จะสร้างเจดีย์ครอบ
พระราชทานนามว่า พระศรีสรรเพชญดาญาณ

นั่นมิใช่ประเด็น ว่ามีพระศรีสรรเพชญ์ในพระเจดีย์จริงหรือไม่
แต่กลับเป็นปริศนาว่า คำว่าชำรุดในสมัยรัชกาลที่ 1 นั้นแค่ไหน
เพราะไม่มีการบันทึกว่าพระศรีสรรเพชญ์นั้นได้มาครบองค์หรือไม่

ประเด็นที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 1 ได้พระเศียรของพระศรีสรรเพชญ์มาหรือไม่
หากไม่ได้พระเศียรมา รัชกาลที่ 1 จะต้องทรงซักไซ้ไล่เรียงเป็นแน่
แล้วถ้าได้เศียรพระมา เศียรนั้นย่อมไปอยู่ในเจดีย์ ไม่มีอยู่ที่อื่นเป็นแน่

สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีพระราชวินิจฉัยว่าพระศรีสรรเพชญ์นั้นชำรุดมาก
รัชกาลที่ 1 จึงมีพระราชปุจฉาไปถามพระสังฆราชว่า
จะโปรดให้นำทองมาหลอมเป็นองค์ใหม่ ซึ่งฝ่ายสงฆ์เห็นว่า
มิควรเพราะเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว มิควรนำมาหลอมด้วยไฟอีก

แต่เรื่องนี้ไม่มีบันทึกในรัชกาลที่ 1 โดยตรง
แต่เป็นการอ้างมาจากพระราชปุจฉาในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่า
ควรจะหลอมพระมงคลบพิตรที่ชำรุดได้หรือไม่
วิสัชนาฝ่ายสงฆ์อ้างว่ามิได้ แล้วก็อ้างเรื่องพระศรีสรรเพชญ์ในรัชกาลที่ 1

พ.ศ. 2445 ทรงเสด็จไปกรุงเก่าเพื่อทรงทอดพระเนตรการขุดค้นพระราชวัง
ที่ทรงรับสั่งให้พระยาโบราณราชธานีดำเนินการ สิ่งของที่ขุดมาได้นี้
ได้นำไปเก็บไว้ที่วังจันทรเกษมซึ่งใช้เป็นที่ทำการเมืองอยุธยาในเวลานั้น
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้มีข้อแนะนำว่าให้ตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์



พ.ศ. 2464 รัชกาลที่ 6 เสด็จทอดพระเนตรเมืองพระนครศรอยุธยา
พระยาโบราณได้เตรียมการรับเสด็จ
โดยได้จัดทำประวัติโบราณสถานที่พระองค์ต้องเสด็จผ่านตั้งแต่
วัดธรรมมิกราชซึ่งพระยาโบราณได้บันทึกว่ามีการพบเศียรพระขนาดใหญ่
พระราชวังโบราณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ไปจนถึงวัดมงคลบพิตร

ถึงตรงนี้มีแต่ไม่มีประะวัติการขุดพบเศียรพระขนาดใหญ่ในวัดพระศรีสรรเพชญ์

เม.ย. 2470 มีการเคลื่อนย้ายเศียรพระขนาดใหญ่เข้ามาในพระนคร
หนึ่งในนั้นระบุว่าสูง 1. 4 เมตร ขุดพบที่วิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์
3 เดือนต่อมามีการประกาศทะเบียนเศียรพระนี้ในพระราชกิจจานุเบกษา
ลงพระนามโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
แต่มีการลบคำว่า พบในวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์ออกไป

ปัญหาที่ใหญ่ไปกว่านั้นก็คือ มีภาพโปสการ์ดที่มีรูปคนถ่ายภาพ
พร้อมกับเศียรพระศรีสรรเพชญ์ตอนที่น่าจะเก็บรักษาอยู่ในวังจันทรเกษม
แต่กลับว่าไม่มีประวัติทะเบียนของเศียรพระองค์นี้ที่วังจันทรเกษมเลย

ประเด็นที่ 3 กลายเป็นว่าอยู่ดีก็ปรากฏขึ้นมาโดยไม่มีหลักฐานการขุดและเก็บรักษา
ดังนั้นเศียรพระศรีสรรเพชญ์พบที่ใดหรือมาจากไหนกันแน่

หลังจากนั้นเศียรพระองค์นี้ก็อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
โดยมีการติดป้ายว่า พบที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ทุกคนจึงเรียกชื่อตามนั้น
ปัจจุบันพบว่าเศียรพระประกอบไปด้วยชิ้นส่วนการหล่อมาต่อประกอบกัน
โดยมีตำแหน่งที่ไว้ติดพระอุณาโลม แสดงว่าต้องเป็นพระพุทธรูปสำคัญ
หนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของกรุงศรีอยุธยาก็เป้นไปได้

มีรอยการปิดทองอยู่ที่ด้านหน้า สันนิษฐานว่าเป็นการบูชาสมัยที่ตั้งอยู่ในวังจันทรเกษม
แต่ส่วนขมวดพระเกษาพบว่ามีร่องรอยการติดทองโบราณอยู่
ซึ่งเรื่องนี้ไม่สอดคล้องกับพงศาวดารที่กล่าวว่า
พระศรีสรรเพชญ์
เป็นพระแกนโลหะ ก่อนที่จะถูกหุ้มด้วยทองคำหนัก 28 ชั่ง

ประเด็นที่ 4 หากต้องหุ้มทองในภายหลัง ก็ไม่จำเป็นที่พระเศียรต้องลงรักปิดทอง
ประเด็นที่ 5 เศียรพระนั้นไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเพระนั่งหรือพระยืน
ดังนั้นเศียรพระที่เราถกเกียงกันชิ้นนี้อาจะเป็นเศียรพระนั่งองค์ใดก็เป็นได้

จบการบรรยายของเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรที่ได้ตั้งไว้หลายคำถาม
หากจะต้องเชื่อว่า เศียรพระขนาดใหญ่องค์นี้เป็นเศียรของพระศรีสรรเพชญ์จริง



Create Date : 25 มีนาคม 2559
Last Update : 30 มีนาคม 2559 14:41:20 น. 7 comments
Counter : 1665 Pageviews.  

 
ว้าววว ที่นี่ยังไม่เคยเข้าไปเลยค่ะ

บล็อกนี้นี่เปิดหูเปิดตาเราจริงๆ แฮะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
tuk-tuk@korat Music Blog ดู Blog
Max Bulliboo Literature Blog ดู Blog
benz47 Food Blog ดู Blog
mariabamboo Parenting Blog ดู Blog
Kisshoneyz Parenting Blog ดู Blog
คนผ่านทางมาเจอ Health Blog ดู Blog
mambymam Home & Garden Blog ดู Blog
fnhero125 Technology Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 25 มีนาคม 2559 เวลา:13:54:40 น.  

 
เห็นภาพจาก fb คนล้นหลามเหมือนกัน ไม่น่าเชื่อ 300 - 400 คนเลยนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ ไม่ได้ไปฟังด้วยตัวเอง แต่ก็เหมือนได้ฟังด้วย ค่อย ๆ อ่าน อ่านกลับไปกลับมาได้หลายรอบอีกต่างหาก



บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Rinsa Yoyolive Travel Blog ดู Blog
เศษเสี้ยว Photo Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
mambymam Home & Garden Blog ดู Blog
กะว่าก๋า Photo Blog ดู Blog
mariabamboo Parenting Blog ดู Blog
อาคุงกล่อง Book Blog ดู Blog
Kisshoneyz Parenting Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 25 มีนาคม 2559 เวลา:15:01:39 น.  

 
สตาร์บัคส์ สาขาเยอะ แต่คนเยอะมากกกกก บรรยากาศไม่ค่อยน่านั่งเลยค่ะ หลัง ๆ มา เห็นหลายสาขา ของสตาร์บัคส์ ทำซะสวยเลย เล็ง ๆ ไว้เหมือนกันค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 25 มีนาคม 2559 เวลา:15:02:54 น.  

 
แวะมาอ่านค่ะ
แล้วเจอกันที่เซ็นทรัล เอ็มบาสซี่นะคะ
อีกตั้ง 15 วันแน่ะ อิอิอิ


โดย: อุ้มสี วันที่: 25 มีนาคม 2559 เวลา:15:41:31 น.  

 
จากที่ตั้งประเด็นมา งั้น พระเศียรนี้น่าจะไม่ใช่พระศรีสรรเพชญ์สิคะ

คุณชีริว เคยเปรยว่า อยากให้เปิดเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณที่วัดโพธิ์ เพื่อพิสูจน์ว่ามีพระศรีสรรเพชญ์อยู่ภายในหรือเปล่า ก็น่าสนใจนะคะ

....แสดงว่าต้องเป็นพระพุทธรูปสำคัญ หนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของกรุงศรีอยุธยาก็เป็นไปได้ ... ตรงนี้ กินความแค่ไหนคะ พระพุทธรูปสำคัญเ
ฉพาะเจาะจงที่วัดพระศรีสรรเพชญ์แค่นั้นเหรอคะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 25 มีนาคม 2559 เวลา:20:35:52 น.  

 
ว่าจะไปฟังแต่วันนั้นดันติดเชงเม้งพอดี ได้อ่านที่ศิลปะวัฒนธรรมสรุปไว้บ้าง แต่ได้มาอ่านที่บล็อกคุณผู้ชายฯเพิ่มเติมอีกทีได้ละเอียดเลยครับ
ถ้ารื้อหรือเจาะเจดีย์ก็จะพิสูจน์ได้ว่าข้างในมีส่วนพระเศียรอยู่ด้วยไหม
ถ้าไม่มีทำไมไม่กล่าวถึงในบันทึกของวัดโพธิ์ และถูกทิ้งไว้ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์จนถึงสมัย ร.5 ซึ่งหลักฐานว่าขุดพบที่วิหารหลวงก็คลุมเครืออีก
แต่ถ้ามี ก็ตัดประเด็นว่าเศียรที่ห้องศิวโมกข์เป็นพระศรีสรรเพชญ์ไปได้เลย
หรือถ้าไม่มีกระทั่งองค์พระอยู่เลย ก็จะเปิดประเด็นการค้นหาใหม่ๆเรื่องส่วนของลำตัวอีก

แต่ดูขนาดเจดีย์รายวัดโพธิ์แล้วไม่น่าจะบรรจุองค์พระศรีสรรเพชญ์ได้เลยครับ แต่ถ้าสูง 16 เมตรอย่างที่บันทึกจริงวิหารหลวงก็จะสูงกว่าองค์เจดีย์ประธานของวัดเสียอีก ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ บันทึกสมัยนั้นน่าจะประมาณขนาดคลาดเคลื่อนไปพอสมควรเหมือนกัน

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เศษเสี้ยว Photo Blog ดู Blog
ไวน์กับสายน้ำ Diarist ดู Blog
aitai Literature Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: ชีริว วันที่: 27 มีนาคม 2559 เวลา:19:50:04 น.  

 
น่าสนใจค่ะ ไปอ่านต่อ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 31 มีนาคม 2559 เวลา:14:30:40 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]