Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
20 มกราคม 2555

เหตุการณ์ รศ. 112 (5)



ป้อมแผลงไฟฟ้าที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ในปัจจุบัน

เมษายน พ.ศ.2436 มีการปรับปรุงป้อมแผลงไฟฟ้าที่เมืองนครเขื่อนขันธ์
เพื่อเตรียมรับการบุกรุกมีการติดต่อสั่งซื้อยุทธภัณฑ์จากสิงคโปร์มาใช้ในราชการ
10 เมษายน พ.ศ.2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเสด็จตรวจป้อมพระจุลจอมเกล้า
และทรงเปิดการเดินรถไฟสายปากน้ำในวันรุ่งขึ้น

25 เมษายน พ.ศ.2436 โปรดเกล้าแต่งตั้งพระยาชลยุทธโยธินทร์
เป็นผู้จัดการป้องกันพระราชอาณาเขตทางหัวเมืองฝ่ายตะวันออก
26 เมษายนพ.ศ.2436 พระยาชลยุทธโยธินทร์มีหนังสือกราบทูลกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ
เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศให้ทราบถึงแผนการจัดกำลังทหารตามหัวเมืองฝ่ายตะวันออก

ที่เกาะกงจัดทหารจากกรุงเทพ 14 คน ทหารจากเมืองตราด 24 คน
จากเมืองแกลง 12 คน รวม 50 คน แจกปืนมาตินี 100 กระบอกพร้อมกระสุน
ที่แหลมงอบ จัดทหารไว้ 200 คน พร้อมที่จะส่งไปช่วยที่เกาะกง
ให้เร่งซ่อมถนนระหว่างแหลมงอบกับเมืองตราดให้เสร็จภายใน 1 เดือน
จ่ายปืนเฮนรี มาตินี 288 พร้อมกระสุน

ที่แหลมสิงห์ จัดคนจากเมืองจันทบุรี เมืองแกลง และเมืองขลุง600 คน
เหลือคนไว้ที่เมืองจันทบุรี เมืองแกลง และเมืองขลุงพอรักษาการณ์
ให้ฝึกหัดทั้งเช้าและเย็น กับให้ทำงานโยธาตกแต่งป้อมในเวลากลางวัน
ย้ายปืนอาร์มสตรอง 40 ปอนด์ จำนวน 3 กระบอก จากป้อมหมู่บ้านแหลมสิงห์
ไปตั้งไว้ทางเขาแหลมสิงห์ (ด้านกระโจมไฟ)

รีบตกแต่งป้อมให้เสร็จโดยจ้างคนจีนก่ออิฐโบกปูนในความควบคุมของมิสเตอร์ตรุศ
และนายร้อยโท คอลส์ ซึ่งบังคับบัญชาทหารที่แหลมสิงห์ ที่เมืองจันทบุรีและแหลมสิงห์
จ่ายปืนมันลิเดอร์ 1000 กระบอกที่เมืองแกลงและจ่ายปืนเฮนรี มาตินี 10 กระบอกที่เมืองระยอง

พวกกองรักษาด่านภายในจากเมืองระยองถึงเกาะกง จัดคนท้องถิ่นดูแลรักษา
ใช้คนประมาณ 1100 คน จ่ายปืนเอนฟิลด์ชนิดบรรจุปากกระบอก 600 กระบอก
มีดินปืน และกระสุนไว้ตามสมควร และจ่ายดาบให้ด้วย

พฤษภาคม พ.ศ.2436 มีการปรึกษาถึงเรื่องการใช้แพไฟทำลายข้าศึก เตรียมถ่านหินไว้ให้เพียงพอ
แก่ราชการในยามฉุกเฉิน จัดเรือคอยเหตุไปจอดไว้นอกสันดอนโดยมีกัปตันวิล ผู้เป็นเจ้าท่าเป็นผู้ควบคุม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปปากน้ำเจ้าพระยาโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี
เสด็จไปตรงป้อมพระจุลจอมเกล้า มีการทดลองยิงปืนใหญ่ให้ทอดพระเนตร

26 พฤษภาคม พ.ศ.2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จปากน้ำเจ้าพระยา
เสด็จตรวจป้อมที่ปากน้ำจนถึง วันที่ 1 มิถุนายน จึงเสด็จกลับกรุงเทพ
2 มิถุนายน พ.ศ.2436 พระยาชลยุทธโยธินทร์ กราบบังคมทูลเรื่องการติดต่อกับนาย นาวาเอก แมค เคลาด์
ผู้บังคับการเรือพาลลาสว่าจะให้เรือสวิฟท์ออกไปฝึกยิงปืนในวันที่ 3 มิถุนายน

ให้เจ้าพระยาอภัยราชา คอยติดต่อกับราชฑูตอังกฤษ และพระยาชลยุทธโยธินทร์
ติดต่อกับผู้บังคับการเรือรบอังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันอยู่เสมอ




พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ)


8 มิถุนายนพ.ศ.2436 มีพระราชหัตถเลขาถึง พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ มีความว่า
ตกลงปิดปากน้ำโดยเอาเรือไปจม และให้พระยาชลยุทธโยธินทร์
กำหนดตำบลที่จะเอาเรือไปจมลงในแผนที่แล้วเอามาถวายให้ทอดพระเนตร
ให้จัดเตรียมเรือไว้สำหรับจะจมได้ทันท่วงทีเมื่อถึงคราวจำเป็น

13 มิถุนายน พ.ศ.2436 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดเกาะเสม็ดนอกระหว่างนั้นราชทูตฝรั่งเศสในกรุงเทพ
ได้ร้องขอให้รัฐบาลไทยยอมรับเขตแดนญวนว่าจดถึงฝั่งซ้ายลำน้ำโขงแต่รัฐบาลไทยคัดค้าน
และขอให้การปักปันเขตแดนถือเอาดินแดนที่ใครได้ปกครองอยู่ในเวลานี้เป็นเกณฑ์
แต่ฝรั่งเศสปฏิเสธไม่ยอมรับและไม่ยอมถอนเรือรบออกไป ถ้าไทยไม่ยอมทำตามที่ร้องขอ

22 มิถุนายน พ.ศ.2436 พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ มีหนังสือกราบบังคมทูลว่า
การจมเรือลำหนึ่งใช้เวลา 1 วัน โดยทำในเวลาน้ำหยุด เอาเรือที่จะจมไปทอดสมอ
แล้วตรึงด้วยโซ่สมอ 4 สาย แล้วเจาะเรือให้จมในการนี้ต้องใช้เรือ 10 ลำ
เวลานี้มีอยู่เพียง 3 ลำ ต้องจัดซื้อมาอีก คงจะจมได้วันละ 2 ลำ ทำเร็วไม่ได้

มีพระราชกระแสว่ากองทัพเรือฝรั่งเศสมาถึงไซ่ง่อนแล้ว เรือลิอองมาที่เกาะอยู่เสม็ดนอกลำหนึ่ง
การปิดช่องทางเรือนั้นให้เหลือช่องไว้ชั่วเรือเดินได้ลำหนึ่ง และควรจะให้ปิดได้ทันทีเมื่อต้องการ
เป็นการดีกว่าที่จะยิงปืนห้ามไม่ให้เข้ามา จะได้ไม่เป็นการก่อสงครามใหญ่ขึ้น
ช่องทางเดินเดินเรือที่เปิดไว้นั้น ถ้ามีเรือรบเข้ามาห้ามไม่ฟังให้ปิดช่องนั้นเสียโดยไม่ต้องรอคำสั่งอีก

26 มิถุนายน พ.ศ.2436 เริ่มการจมเรือที่ปากน้ำ
28 มิถุนายน พ.ศ.2436 กรมยุทธนาธิการ กราบบังคมทูลว่า นายพันตรี หลวงศัลวิธานนิเทศ
สัญชาติเดนมาร์ค ผู้บังคับการโรงเรียนนายสิบได้วางแผนจัดกำลังทหารบกเพื่อป้องกันพระนคร

กำลังทหาร 600 คน อยู่ที่สมุทรปราการ ที่ป้อมเสือซ่อนเล็บ มีปืนใหญ่ 6 กระบอก
กำลังทหาร 200 คน อยู่ที่คลองสำโรง มีปืนใหญ่ 12 กระบอก เตรียมปืนใหญ่ 16 กระบอก
ตั้งที่บางนา บางจากและคลองพระโขนง รายปืนใหญ่ไว้ตามริมแม่น้ำ 9 กระบอก
สำหรับยิงเรือ และเป็นกำลังหนุนกำลังทหารทางบางนา และบางจาก

30 มิถุนายน พ.ศ.2436 พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ มีหนังสือกราบบังคมทูลความว่า
ในการจมเรือที่ปากน้ำนั้นได้จมเรือบางกอก และเรือแผงม้า กระแสน้ำแรงจึงทำให้เรือเหไปบ้าง
พระยาชลยุทธโยธินทร์ จึงเอาโซ่คั่นต่อกันทุกลำแล้วลงหลักในระหว่างที่เป็นช่อง
ร้อยโซ่ผนึกเป็นตับเข้ากับหลักไม่ให้มีช่องอาศัยยึดเหนี่ยวกันทุกลำ



Create Date : 20 มกราคม 2555
Last Update : 20 มกราคม 2555 10:57:52 น. 4 comments
Counter : 1930 Pageviews.  

 
อ่านแล้วเกลียดพวกล่าอาณานิคมค่ะ



โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 20 มกราคม 2555 เวลา:11:06:59 น.  

 





โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 20 มกราคม 2555 เวลา:13:12:19 น.  

 
นึกว่าไม่ทันอะไร
กำลังเขียนเรื่องน่านอยู่ แต่ยิ่งเขียนยิ่งเยอะ
ลงไม่ทันวันนี้แน่ ๆ ก็เลยขุดเอาสต็อกขึ้นมาขัดตาทัพก่อนค่ะ

ขอบคุณค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 23 มกราคม 2555 เวลา:15:39:35 น.  

 
ตอนนี้ตื่นเต้น หน้าสิ่ว หน้าขวานไปด้วยค่ะ

เรา...ไม่่น่าญาติดีกับฝรั่งเศสได้เลยนะคะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:17:07:02 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]