Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
19 มกราคม 2555

เหตุการณ์ รศ. 112 (4)



20 เมษายน พ.ศ.2436 ให้ราชวงศ์ และราชบุตรเมืองยโสธร 500 คน ให้อุปฮาด (บัว)
คุมคนเมืองศรีษะเกษ 500 คน ยกไปสมทบกับพระประชาคดีกิจที่เมืองสีทันดร
ให้หลวงเทเพนทรเทพคุมกำลัง ๔๐๐ คน ไปรักษาดอนสะดำและท้ายดอนสาคร
ให้เจ้าราชบุตรจัมปาศักดิ์คุมกำลังตามสมควรไปรักษาอยู่ท้ายดอนสมและหัวดอนเดช

ปลายเดือนเมษายน พ.ศ.2436 ร้อยเอกโทเรอซ์ได้เดินทางมาทางลำน้ำโขงตอนล่าง
เพื่อลำเลียงเสบียง เมื่อกลับขึ้นไปเมืองโขงกระแสน้ำซึ่งไหลเชี่ยว
ได้พัดเรือของเขามาทางฝั่งขวาของลำน้ำโขง ทหารไทยจับร้อยเอกโทเรอซ์
พร้อมทั้งทหารอีก 16 คนไว้ได้

3 พฤษภาคม พ.ศ.2436 นำตัวร้อยเอกโทเรอซ์ส่งกรมหลวงพิชิตปรีชากรข้าหลวงใหญ่เมืองอุบล
5 พฤษภาคม พ.ศ.2436 ทหารไทยได้ขับไล่ทหารฝรั่งเศสถอยออกไปจากเมืองสีทันดร
แต่ต่อมาฝรั่งเศสได้ส่งกำลังจากเขมรมาเพิ่มเติม และบุกกลับมายึดเมืองสีทันดรไว้ได้อีก

20 พฤษภาคม พ.ศ.2436 กรมหลวงพิชิตปรีชากรให้จัดส่งคนเมืองสุวรรณภูมิ
500 คนและ เมืองร้อยเอ็ด 300 คน ไปช่วยพระประชาคดีกิจที่ค่ายดอนสาคร
22 พฤษภาคม พ.ศ.2436 ฝรั่งเศสคุมกองทัพเพิ่มเติมยกมาถึงบ้านพละอีกประมาณพันคนเศษ
พระประชาคดีกิจเห็นข้าศึกมีกำลังกล้า จึงรวมกำลังตั้งรับที่ดอนสะดำ ดอนเดช และดอนสม

ไทยกับฝรั่งเศสได้ปะทะกันหลายครั้ง ผลัดกันรุกผลัดกันรับต่างฝ่ายต่างส่งกำลังหนุนขึ้นไป
บริเวณเมืองโขงหรือสีทันดรทั้งสองฝ่ายตกลงยุติการรบในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2436

กองที่ ๒ มีกำลังทหารประมาณ 750 คน อยู่ในบังคับบัญชาของไวซ์เรสิดังต์
เมืองกวางบิญ ได้รับคำสั่งจากผู้สำเร็จราชการอินโดจีนให้เป็นผู้อำนวยการในแคว้นคำโล
และให้เดินทางไปยังเมืองอายหลาว และให้แจ้งแก่ข้าหลวงไทยว่ามาในนามของรัฐบาลฝรั่งเศส
เพื่อยึดดินแดนที่ควรให้ฝรั่งเศสมีอำนาจโดยชอบธรรมแต่เพียงประเทศเดียว

25 เมษายน พ.ศ.2436 ออกเดินทางจากเมืองคำโลเข้าขับไล่ทหารไทยที่อาซาว
นาบอน เมืองวัง เมืองพิน เข้ายึดเมืองพ้อง และเคลื่อนที่ถึงเมืองสองดอนดง
กับตำบลนาพระสูร ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเมืองเขมราฐและจัดการปกครองเมืองต่าง ๆ
โดยได้ตั้งกองบังคับการอยู่ที่เมืองสองดอนดง กำลังไทยต้องล่าถอยข้ามแม่น้ำโขง

กองที่ ๓ อยู่ในบังคับบัญชาของ เรสิดังต์ เมืองวิญ ยศร้อยเอกเหล่าทหารปืนใหญ่
ได้รับคำสั่ง ให้จัดการให้ฝ่ายไทยถอยร่นออกไปจากบริเวณเมืองคำม่วนโดยทันที
18 พฤษภาคม พ.ศ.2436 ทหารกองนี้ได้ออกเดินทางจากนาเปมาถึงเมืองคำม่วน

พระยอดเมืองขวางเกิดที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาเข้ารับ
ราชการสังกัดมหาดไทยได้เลื่อนตำแหน่งจนกระทั่งได้เป็นเจ้าเมืองเชียงขวาง
มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยอดเมืองขวาง ต่อมาย้ายไปเป็นเจ้าเมืองคำเกิดคำม่วน
ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านระหว่างสยามและฝรั่งเศสที่เผชิญหน้ากันในแคว้นสิบสองจุไท

พระยอดเมืองขวางเวลานั้นอายุ 40 ปี เป็นข้าหลวงคำเกิดคำมวนอยู่ 8 ปีแล้ว
นายโกรกุธัง นายทหารฝรั่งเศสซึ่งมีกองทหารญวนเป็นกำลัง จึงล้อมที่ทำการเอาไว้
จนพากันอดข้าวอดน้ำ แล้วเข้าจับตัวหลวงอนุรักษ์ผู้ช่วยพระยอดเมืองขวางกับข้าราชการ
และยึดทรัพย์สมบัติไว้หมดและเอาตัวหลวงอนุรักษ์ผู้ช่วยพระยอดเมืองขวางไปขังไว้ที่แก่งเจ๊ก




ภาพการส่งมอบเมืองตราดให้แก่ฝรั่งเศส

พระยอดเมืองขวางรู้ข่าวจึงพากันลอบหนีลงเรือมาตามลำแม่น้ำโขงถึงเวียงกระแส
พบกับทหารไทยประมาณ 100 คน ซึ่งหลวงวิชิตสรสาตร์ข้าหลวงเมืองลาวพวนส่งมาช่วย
มีนายร้อยโททุ้ยและนายร้อยโทแปลกคุมมาจึงพากันมาช่วยหลวงอนุรักษ์ก่อน
เมื่อมาถึงก็ยืนอยู่ห่างจากเรือนที่ขังหลวงอนุรักษ์ประมาณ 8 วา

นายโกรกุแรงยืนจับแขนหลวงอนุรักษ์อยู่บนเรือนพัก หลวงอนุรักษ์ก็สะบัดหลุด
โดดหนีวิ่งลงมาหาพระยอดเมืองขวางก็มีคนยิงปืนลงมาจากบนเรือนโดนทหารไทยตาย 1 คน
ล้มลงอีกหลายคน นายร้อยโททุ้ย นายร้อยโทแปลกจึงร้องว่า ต้องยิงต่อสู้บ้าง
พระยอดเมืองขวางจึงร้องสั่งให้ต่อสู้ ทหารญวนก็พากันเข้าแถวยืนยิงต่อสู้กับทหารไทย

เมื่อสิ้นเสียงปืนแล้ว ปรากฏว่าทหารไทยตาย 6 คน บาดเจ็บ 4 คน
ขุนวังซึ่งเป็นข้าราชการเมืองคำเกิดคำมวนก็ถูกกระสุนปืนตายด้วย
ส่วนทหารญวนตาย 11 คน นายโกรกุแรงตาย และมีคนเจ็บ 3 คน
พระยอดเมืองขวางกับทหารไทยก็ลงเรือล่องมาถึงเวียงกระแส

แต่หลักฐานทางฝรั่งเศสอ้างว่า หลังการยึดเมืองคำม่วนได้ในวันที่ 25 พฤษภาคม
ฝ่ายไทยได้รวบรวมกำลังและจู่โจมเพื่อยึดเมืองเมืองในวันที่ 25 มิถุนายน
และได้สังหารนายโกรกุแรงซึ่งในขณะนั้นนอนป่วยบนเตียงเสียชีวิตและทหารเวียดนามอีก 17 คน

ไม่ว่าความจริงจะเป็นเช่นไรการที่มีเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสเสียชีวิตถือเป็นเรื่องสำคัญ
ฝรั่งเศสจึงได้ส่งทหารมาเพิ่มเติมและได้มีการสู้รบกันที่นากายใต้ เมืองคำม่วนอย่างรุนแรง
ทหารทั้งสองฝ่ายล้มตายกันมากในที่สุดฝ่ายไทยได้ล่าถอยอพยพผู้คนมาทางฝั่งขวาของลำน้ำโขง
ฝรั่งเศสจึงยึดพื้นที่บริเวณเมืองคำม่วนไว้จัดการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย

ฝรั่งเศสกล่าวหาว่าไทยไม่รักษาคำมั่นตามข้อตกลงเรื่องให้ต่างฝ่ายต่างคงอยู่ในเขตแดน
และจะไม่รุกล้ำเข้าไปในแดนเขตของอีกฝ่ายหนึ่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไทยต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
และให้ไทยปล่อยตัว ร้อยเอกโทเรอซ์ ที่ไทยจับตัวไว้ด้วย

ฝรั่งเศสได้ดำเนินการตามเหตุดังกล่าวโดย

1.ให้กองเรือฝรั่งเศสเดินทางจากทะเลจีนมารวมกำลังกันที่ไซ่ง่อน
2. ส่งทหารต่างด้าว 1 กองพันจากแอลจีเรียให้เดินทางมาไซ่ง่อน
3. ส่ง ม.เลอมีร์ เดอวิเลรส์ เป็นราชฑูตพิเศษมาเจรจากับรัฐบาลไทยที่กรุงเทพ
เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย และพิจารณาตกลงในปัญหาการพิพาทที่ยังค้างอยู่

ฝ่ายไทยได้ดำเนินการติดต่อกับอังกฤษ และเตรียมการป้องกันปากน้ำเจ้าพระยา



Create Date : 19 มกราคม 2555
Last Update : 20 มกราคม 2555 16:09:01 น. 3 comments
Counter : 2434 Pageviews.  

 
รู้จักพระยอดเมืองขวางก็จากละคร ทวิภพ ละค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 19 มกราคม 2555 เวลา:17:35:30 น.  

 

มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ

เป็นเรื่องราวที่อานแล้วให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ดีครับ

อิอิ


โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 19 มกราคม 2555 เวลา:18:42:54 น.  

 
คุ้นๆ แต่ลางเลือนมากค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:17:00:00 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]