Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤษภาคม 2559
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
18 พฤษภาคม 2559

มิวเซียมสยาม : 234 ปีกรุงรัตนโกสินทร์



20 เม.ย. 2559 พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี
เป็นประธานในพิธีเปิดมหกรรมวัฒนธรรมอาเซียน (รามายณะนานาชาติ)

ภายใต้งานมหกรรมวัฒนธรรม“ใต้ร่มพระบารมี 234 ปี กรุงรัตนโกสินทร์
โดยได้นำเรื่องรามายณะ อันเป็นวรรณกรรมซึ่งถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรม
ของหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน มาจัดแสดง ระหว่างวันที่ 20-24 เม.ย.
โดยคณะนักแสดงจาก 8 ประเทศ จะหมุนเวียนกันแสดงในแต่ละวัน


งานนี้ปีที่แล้วก็มีการจัดแสดงโขนที่สนามหลวง แต่ปีนี้มีโขนมาจากอาเซียน
เพราะรามายณะถือเป็นต้นแห่งมหากาพย์ที่เป็นต้นรากร่วมกันในทั้งภูมิภาค
ทุกประเทศมีรามายณะในแบบฉบับของตัวเอง ไทยเรียกว่ารามเกียรติ์
มีการดัดแปลงเนื้อหา และการนำไปประยุกต์ในการแสดงที่หลากหลาย

การจัดแสดงที่โรงละครแห่งชาติน่าจะฟรี เพียงแต่ต้องโทรไปจองล่วงหน้า
แต่ยังกลัวว่าคนจะดูไม่ทั่วถึง จึงมีการออกไปแสดงในสถานที่สาธารณะ
เช่น สถาบันอาเซียน มิวเซียมสยาม และบนเวทีกิจกรรมในสนามหลวง
เราเลือกที่จะไปสถานที่คุ้นเคย อย่างมิวเซียมสยาม



18.00 การแสดงรามายณะจากประเทศพม่าในตอน พระรามตามกวาง
ทศกัณฑ์ได้แปลงกายเป็นกวางทองออกมาล่อหลอกนางสีดา
พระรามพยายามบอกให้นางสีดาเชื่อว่ากวางทองนั้นเป็นยักษ์ปลอมตัวมา
แต่นางสีดาไม่เชื่อ พระรามจึงต้องเข้าป่าตามกวางทองไป

เป็นการแสดงสั้นๆ ที่ใช้เวลาราว 15 นาที หลังจากนั้นมีการสัมภาษณ์นักแสดง
พิธีกรได้เชิญอาจารย์ที่มีความรู้ มาเป็นผู้สอบถามถึงความเป็นมาของโขนในพม่า
ทำให้เราทราบว่า แต่เดิมพม่าเป็นพุทธเป็นเต็มร้อย ไม่รู้จักรามายณะที่เป็นฮินดู
จนกระทั่งพม่าเข้ามาตีอยุธยาจับเจ้านายและผู้ที่มีความรู้ทั้งศิลปะไป

ราชวงศ์ยองยานจึงรับเอาวัฒนธรรมการเล่นโขนของไทยไปในราชสำนัก
เมื่อพม่าเสียเมืองให้อังกฤษคนที่มีความรู้เหล่านี้ก็ต้องออกมาเป็นสามัญชน
และถ่ายทอดการเล่นโขนจากรุ่นสู่รุ่น จนกระทั่งเข้าสู่ยุคของการศึกษา
โขนกลายเป็นการแสดงแขนงหนึ่งในระดับชั้นอุดมศึกษาของพม่า

ที่น่าสังเกตคือจะขับเน้นความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอลองพญาเป็นพิเศษ
ทั้งที่จริงแล้วพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกในสมัยรุ่นลูกคือพระเจ้ามังระ
แสดงให้เห็นว่าพม่าให้ความสำคัญกับกษัตริย์อลองพญาในฐานะมหาราช

การแต่งกายนั้นย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ นางสีดาของพม่านั้น
แม้ไม่มีชฏาแบบไทยแต่แต่งกายมิดชิดโดยคลุมผ้าถึงปลายมือคลุมถึงเท้า
เพราะพม่าถือว่าการที่หญิงสาวเปลือยให้เห็นผิวส่วนใดส่วนหนึ่งถือว่า โป๊



ตัวละครอื่นมีหัวโขนแบบเดียวกับไทย ต่างกันที่ตัวพระของไทยเปิดหน้า
แต่โขนตัวพระของพม่าเป็นแบบปิดหน้า จึงไม่เหมือนกับโขนของเรา
ในขณะที่โขนไทยมีคนพากย์บทเจรจา แต่ผู้เล่นโขนพม่าต้องพูดบทเอง
ดังนั้นพวกเค้าจะยกหัวโขนขึ้นเพื่อให้สามารถพูดบทเจรจาได้

แม้พม่าจะการแสดงรับโขนไปจากอยุธยา แต่ก็ใช้ท่ารำในแบบของตนเอง
แต่นักแสดงก็สามารถที่โชว์ท่าร่ายรำดั้งเดิมแบบอยุธยาที่เรียกว่า รำโยเดีย
ท่ารำของของไทยเป็นจังหวะลงตรงข้ามกับท่ารำพม่า
เพราะพม่าประยุกต์มาจากการเชิดหุ่นกระบอกที่จังหวะลงคือชักสายขึ้น
อธิบายโดยอาศัยเสียงฉิ่งที่เป็นตัวกำกับจังหวะในวงดนตรีไทย
–ชิ๊ง- คือจังหวะขึ้น –ฉับ- คือจังหวะลง
ซึ่งท่ารำไทยมือหรือเท้าจะลงในจังหวะฉับ
ในขณะที่พม่าจังหวะฉับคือท่ายกขึ้น
18.30 ก็เป็นการแสดงของโขนจากประเทศไทยในตอนเดียวกัน
เพราะธีมการจัดงานในครั้งนี้คือการแสดงให้เห็นว่าแต่ละประเทศ
ต่างรับคติการเรื่องรามายณะเหมือนๆ กัน ต่างกันที่การปรับใช้ในการแสดง
หลังการแสดงก็มีการสัมภาษณ์เช่นกัน แต่ว่าส่วนใหญ่เราก็รู้ๆ กันแล้ว



19.00 การแสดงก็จบลง เราเดินออกมาจากมิวเซียมสยามไปสนามหลวง
ที่นั่นมีการแสดงรามายณะเช่นกัน แต่กว่าจะไปถึงก็ใช้เวลาเดิน 15 นาที
เป็นการแสดงจากประเทศสิงคโปร์ เป็นรำถวายพระพรพระพิฆเนศ

อาจจะสงสัยว่าสิงคโปร์มีรามยณะด้วยหรือ นั่นนะซิ เป็นที่เรารู้ว่า
สิงคโปร์เป็นประเทศเกิดใหม่ ประกอบจากหลายเชื้อชาติ จีน มาเลย์ อินเดีย
ประเทศสิงคโปร์ใจึงช้นักแสดงสาวเชื้อชาติอินเดียมาร่ายรำ

19.30 อยากจะปรบมือให้ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการจัดงานในครั้งนี้มาก
เพราะว่าเป็นไปตามตารางการแสดง ต่างไปจากงานราชการอื่นมาก
หลังจากการแสดงที่มิวเซียมสยามจบลง นักแสดงจากพม่าก็วิ่งหายไป
เรารู้เหตุผลแล้วว่าพวกเค้าไปไหน นั่นเพราะเค้ามีการแสดงต่อที่นี่เอง

เริ่มจากการแสดงในตอนพระรามยกศร มีตัวละครเพิ่มมากขึ้นเป็นสิบคน
เหตุการณ์ก็เป็นตอนที่พระราชบิดาของนางสีดาประกาศให้มีการเลือกคู่
มีฤาษีมาเป็นประธานของงาน มีเจ้าชายรูปงามจากหลายเมือง
ที่สำคัญคือมีพระราม พระลักษณ์ และท้าวทศกัณฑ์

นักแสดงก็เป็นชุดก่อนนั่นเอง ดูแล้วอมยิ้มในความสามารถ
เพราะโขนพม่าเน้นให้ความสำราญแก่ผู้ชม ต่างจากที่เคร่งครัดแบบของเรา
ลองเปลี่ยนขนาด font แบบนี้อ่านง่ายกว่าไหม?



Create Date : 18 พฤษภาคม 2559
Last Update : 23 พฤษภาคม 2559 15:50:55 น. 1 comments
Counter : 1174 Pageviews.  

 
เชื่อไหมว่าอุ้มไม่เคยเข้าไปดูเลย
อิอิอิ เพิ่มขนาดเป็น 23 ดีกว่าค่ะพี่
ใหญ่ขึ้นอีกนิด


โดย: อุ้มสี วันที่: 18 พฤษภาคม 2559 เวลา:23:19:57 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]