Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
17 พฤศจิกายน 2553

ล่องเจ้าพระยาชมวิถีไทยมอญ : ป้อมวิไชยประสิทธิ์ (4)




เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวต่างชาติใช้ประโยชน์ พระองค์โปรดให้รื้อป้อมใหม่เสีย
คงไว้แต่ป้อมวิไชยเยนทร์ซึ่งสร้างไว้แต่ก่อนเพียงป้อมเดียว
พศ. 2233 พ่อค้าชาวฮอลันดาที่เข้ามาอยุธยา ได้บรรยายถึงป้อมที่ถูกทิ้งร้าง
และสิ่งที่เกิดขึ้นในสงครามระหว่างและฝรั่งเศสในครั้งนั้น

คราวสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 นั้น มังมหานรธาคุมกำลังสองหมื่น
เดินทัพมาจากทางใต้ ไล่ตีเมืองต่างๆ จนถึงเมืองธนบุรี ซึ่งเจ้าเมืองนครราชสีมา
คุมพล 3000 รักษาการอยู่ เมื่อทราบว่าพม่ายกทัพมามากกว่า ก็ทิ้งป้อมบางกอก
เดินทางกลับเมืองตนเองทันที

หลังจากพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกก็ตั้งให้นายทองอินชึ่งเป็นคนไทยที่เข้ากับพม่า
เป็นเจ้าเมืองธนบุรี เมื่อพระยาตากรวบรวมกำลังผู้คนได้ก็ยกกองทัพเรือเข้ามา
นายทองอินก็ขึ้นรักษาป้อมวิไชยเยนทร์เพื่อคอยต่อสู้ต้านทาน

แต่คนไทยที่รักษาหน้าที่เห็นเป็นกองทัพไทยยกมาก็ไม่มีใจที่จะต่อสู้
พระยาตากจึงตีได้เมืองธนบุรี แล้วจับตัวนายทองอินประหารชีวิตเสีย
ให้เร่งกองทัพขึ้นไปรบกับสุกี้แม่ทัพที่ค่ายโพธิ์สามต้นที่กรุงศรีอยุธยา
แต่เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาเสียหายมากจึงทรงย้ายราชธานีมาตั้งที่กรุงธนบุรี

เมื่อพระองค์สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงโปรดให้สร้างวังหลวง
ครอบคลุมบริเวณที่ตั้งของป้อม และเปลี่ยนชื่อเป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งพระนคร

พระราชวังของพระเจ้าตากสินก็กลายวังที่พระมหากษัตริย์จะส่งเจ้านาย
ที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยมาประทับเพื่อเป็นกำลังรักษาพระนคร
จนกระทั่งถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน
พระราชวังเดิมนี้ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ เมื่อปี พ.ศ. 2443

ป้อมวิไชยประสิทธิ์จึงตกอยู่ในการดูแลของกองทัพเรือมานับตั้งแต่นั้น

หลังจากฝรั่งเศสจากป้อมนี้ไป พวกเค้ามิได้ไปแล้วไปลับ
อีก 205 ปีต่อมา พวกเค้ากลับมาพร้อมด้วยเรือรบจำนวนสามลำ
ฝ่าเข้ามาทางปากน้ำ แล้วทอดสมออยู่กลางเจ้าพระยา ระหว่างพระบรมมหาราชวัง
และป้อมวิไชยประสิทธิ์ เพื่อข่มขู่และกดดันให้สยามสละสิทธิ์ในดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง

เป็นการสูญเสียดินแดนที่เจ็บปวดที่สุดในวิกฤติการณ์ รศ.112 นั่นเอง

Conclusion

ป้อมบางกอกนั้นเป็นป้อมที่มีมาแต่อยุธยาตอนกลาง เพื่อตรวจตราเรือแพที่ล่องผ่าน
และเก็บส่วยสาอากร มีความสำคัญสูงสุดในยุสมัยพระนารายณ์ เมื่อฝรั่งเศสยึดไว้เป็นที่มั่น

สมเด็จพระนารายณ์ขึ้นครองราชย์โดยการโค่นอำนาจ มีการประหารขุนนางเก่า
สมัยพระเจ้าปราสาททองเสียเป็นจำนวนมาก ที่ไว้ใจได้ก็มีเพียงบุตรชายของแม่นม
คือเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และจ้าพรยาโกษา (เหล็ก) ซึ่งมีเชื้อสายมอญ
นอกจากนี้ตำแหน่งสำคัญๆ ก็ตกเป็นของแขกมัวร์ที่ช่วยกันล้มพระศรีสุธรรมราชา

นอกจากความระแวงในตัวขุนนางไทยแล้ว ยังมีศึกนอกกับอังกฤษและฮอลันดา
เมื่อฝรั่งเศสก้าวเข้ามาโดยหวังจะใช้สยามในการแผ่อิทธิพลไปยังตังเกี๋ย
โดยมีมือประสานชั้นเลิศอย่างคอนสแตนติน ฟอลคอน ขุนนางชาวกรีก
ยิ่งสร้างความแตกแยกระหว่างพระองค์กับกลุ่มขุนนางอย่างพระเพทราชา

ในมุมมองของขุนนางไทย พระองค์กำลังเดินบนเส้นด้ายล่อแหลมต่อการเสียเมือง
ในช่วงสิบปีสุดท้าย อำนาจจึงกลายป็นสามเส้า กลุ่มหนึ่งคือสมเด็จพระนารายณ์
พระปีย์ และเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ กลุ่มที่สองคือพระเพทราชาและขุนนางไทย
กลุ่มที่สามคือทหารฝรั่งเศสที่เข้ามาโดยการเชิญชวนโดยกลุ่มอำนาจฝ่ายที่หนึ่ง

การเข้ามาประจำการของทหารฝรั่งเศสที่ป้อมบางกอก คือฟางเส้นสุดท้าย
ที่ฝ่ายขุนนางไทยจะทนรับได้ เมื่อสมเด็จพระนารยณ์ทรงพระประชวร
โดยที่พระองค์มิได้มีพระราชโอรสที่แข็มแข็งไว้คอยสืบทอดอำนาจ
การปฏิวัติของฝ่ายขุนนางไทย จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้



Create Date : 17 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2553 22:32:17 น. 7 comments
Counter : 2642 Pageviews.  

 
มาอ่านต่อค่ะ

ตอนก่อนหน้านี้ เราเคยไม่ชอบพระเพทราชาเลยนะคะ

แต่พออ่านหนังสือเรื่องรุกสยามฯ กับรับข้อมูลเพิ่มขึ้น เราก็เริ่มมองในมุมอื่น

บางทีมันก็คงเป็นสิ่งที่ "หลีกเลี่ยงไม่ได้" จริงๆ กระมัง
(แต่เรื่องสังหารพระปีย์ เราก็ไม่โอเคอยู่ดีหละค่ะ)


จขบ.ชอบกินประมาณไหนหละคะ? เราจะได้แนะนำถูก แหะๆ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา:10:46:40 น.  

 
คิดเหมือน สาวไกด์ใจซื่อเลยค่ะ ว่าไม่ชอบพระเพทราชา

แต่ตอนนี้เข้าใจแล้วค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:09:10 น.  

 
พวกเราเคยอ่านแต่พงศาวดารไทย โดยเฉพาะช่วงที่กล่าวถึงว่าพระเพทราชาและขุนหลวงสรศักดิ์เข้าไปเฝ้าถึงในห้องบรรทม ในขณะที่พระนารายณ์ทรงประชวร แล้วกราบทูลอะไรซักอย่าง ทำให้พระองค์ทรงกริ้วกล่าวว่า พวกมึงสองพ่อลูกคิดจะเป็นกบฏหรือ แล้วก็จะทรงลุกขึ้นจับพระแสง แต่ก็ล้มลงบนพระแท่น ทำให้เราเห็นภาพที่ดูน่าสงสาร รวมถึงการผลักพระปีย์ตกจากหน้าต่าง แล้วร้องขอความช่วยเหลือ นั่นอาจทำให้เราฝังใจถึงความโหดร้าย

แต่เอกสารฝรั่งเศสไม่ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าว แม้แต่การสังหารพระปีย์ก็กล่าวว่า เป็นคราวเคราะห์ที่ออกมาจากห้องบรรทมของพระนารายณ์ ทำให้พวกที่รออยู่หน้าประตูจับออกไปประหารได้ หากเราเชื่อตามนี้ก็แสดงว่า พระเพทราชาและพวกไม่เคยย่างกรายเข้าไปในห้องพระบรรทมเลย แสดงให้เห็นว่าก็ยังเกรงในพระราชอาญาอยู่


โดย: VET53 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:49:54 น.  

 
แวะมาเยี่ยมชม ครับผม


โดย: Kavanich96 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา:13:43:22 น.  

 
เรื่องประวัติศาสตร์มีหลายแง่หลายมุม กว่าจะเข้มแข็งได้ กว่าจะเป็นไทย


โดย: pragoong วันที่: 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา:16:03:20 น.  

 
ประวัติศาสตร์ มีอะไรที่ลึกซึ้งเสมอ
การเมืองสมัยโบราณ ไม่ต่างจากการเมืองสมัยนี้เท่าไรเลย
ทุกสิ่งล้วนมาจากการแสวงอำนาจและแสวงผลประโยชน์ทั้งสิ้น

ยิ่งศึกษา ยิ่งอ่าน ยิ่งได้ข้อคิด

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ


โดย: NATSKI13 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา:17:23:52 น.  

 

อุ้มเคยขึ้นไปที่ป้อมนี้ด้วยล่ะ
แถวๆ คลองสาน
แปลว่าต้องไปเที่ยวพระราชวังเดิม
แล้วจะต้องเข้าไปสักการะอนุสาวรีย์พระเจ้าตาก
ที่อยู่ภายในกองทัพเรือ


โดย: อุ้มสี วันที่: 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา:20:09:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]