Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
17 มิถุนายน 2554

ขบวนรถไฟสายรัตติกาล (3)




3 ก.ย.2527
เปิดป้ายหยุดรถทุ่งบัว เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่บุคคลากร ม.เกษตรศาสตร์

12 ธ.ค. 31
เปิดที่หยุดรถโรงเรียนการบิน

5 ม.ค. 2539
เปิดที่หยุดรถมาลัยแมน ซึ่งอยู่ติดกับถนนใหญ่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสาร

ปลายปี 2539
เมื่อคนสุพรรณได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายบรรหารจึงได้สั่งการ
ให้มีการนำรถดีเซลรางปรับอากาศมาวิ่งให้บริการในเส้นทางสายนี้
และเปลี่ยนการเดินรถสู่สถานีรถไฟหัวลำโพงโดยตรง

ตารางการเดินรถในช่วงเวลานั้นจึงเป็นดังนี้
977 ออกจากกรุงเทพฯ 09.55 น. ถึงสุพรรณบุรี 12.35 น.
978 ออกจากสุพรรณบุรี 05.35 น. ถึงกรุงเทพฯ 08.20 น.
979 ออกจากกรุงเทพฯ 16.50 น. ถึงสุพรรณบุรี 19.35 น.
980 ออกจากสุพรรณบุรี 13.05 น. ถึงกรุงเทพฯ 15.45 น.
และยุบขบวน 115/116 เหลือเพียง 345/346 ที่ยังคงเดินรถสู่สถานีธนบุรี

12 ม.ค. 2541
เมื่ออำนาจเปลี่ยนมือ ก็ต้องรับความจริงว่า การเดินรถไฟสายนี้นั้นมันไม่ทำกำไร
จึงมีการยกเลิก 345/346และ 977/980 ที่ออกจากกรุงเทพช่วงสายและสุพรรณเที่ยวบ่าย
เหลือเพียง 978 ออกจากสุพรรณบุรีเวลา 05.10น. ถึงกรุงเทพเวลา 08.20น.
และ 979 ออกจากกรุงเทพเวลา 16.40 น.ถึงสุพรรณบุรีในเวลา19.15น.
ทำให้น้อยคนนักที่จะมีโอกาสนั่งรถไฟสายนี้ เนื่องจากไม่สะดวกในการเดินทาง

พ.ศ. 2543
เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง จึงเปลี่ยนจากรถปรับอากาศมาเป็นรถชั้นสาม
ข. 356 ต้นทางสถานีสุพรรณบุรี ( 04.50 น. ) - สถานีกรุงเทพ ( 08.10 น.)
ข. 355 ต้นทางสถานีกรุงเทพ ( 16.40 น. ) - สถานีสุพรรณบุรี ( 19.40 น. )
ที่ยังคงเป็นตารางการเดินรถสายนี้มาจนถึงในปัจจุบัน



แม้ระหว่างเส้นทางจะยังคงมีที่หยุดรถที่ยังไม่โดนยุบอยู่หลายแห่ง
แต่ในตารางการเดินรถนั้น รถไฟจะจอดรับส่งผู้คนเพียง 5 แห่ง คือ
ที่หยุดรถทุ่งบัว ที่หยุดรถโรงเรียนการบิน ที่หยุดรถไฟศรีสำราญ
สถานีสุพรรณบุรี และที่หยุดรถมาลัยแมน
แล้วหากคุณจะขึ้นจะลงนอกที่หยุดรถเหล่านี้จะทำอย่างไร

นับว่าเป็นหนึ่งใน Unseen เมืองไทยที่น้อยคนจะรู้
นั่นก็คือชาวบ้านสามารถดักขึ้นขบวนรถไฟสายนี้ในตอนเช้าได้
โดยอาศัยเพียงกระบอกไฟฉายเป็นสัญญาณตลอดสองข้างทาง
และสามารถลงรถหน้าบ้านในตอนค่ำได้ โดยการเดินไปบอก พขร.

21 พ.ย. 2547
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคิดที่จะฟื้นฟูการท่องเที่ยวมายัง
จังหวัดสุพรรณบุรีโดยรถไฟ โดยเชิญสื่อมวลชนมาทำข่าวประชาสัมพันธ์
มีการนำดีเซลรางเข้ามา 2 โบกี้ โดยออกจากกรุงเทพเวลา 6.30 น.

เนื่องจากชาวบ้านก็เคยชินกับการที่มีรถไฟวิ่งเพียง 2 ขบวนต่อวันเท่านั้น
เมื่อมีขบวนรถไฟแปลกหน้าที่วิ่งผิดเวลาเข้ามาในเส้นทาง ผลจึงปรากฏว่า
มีรถสิบล้อวิ่งผ่านทางที่ไม่มีเครื่องกั้น มาหยุดห่างจากขบวนรถไไม่ถึงฟุต

หลังจากนั้นก็ไม่เคยมีรถไฟวิ่งในเส้นทางสายนี้ในเวลากลางวันอีกเลย
จึงเป็นเรื่องยากมากที่ใครจะไปดักถ่ายรถไฟขบวนนี้ ในขณะที่มัน
วิ่งอยู่ในเส้นทางสายสุพรรณบุรี หลายคนจึงให้สมญานามรถไฟสายนี้ว่า
ขบวนรถไฟสายรัตติกาล

แต่แล้วก็มีคนกลุ่มหนึ่งที่คิดจะนั่งรถไฟสายนี้ในเวลากลางวัน

พวกเค้าจึงได้เปิดการท่องเที่ยวโดยรถไฟในทริปที่ชื่อว่า

ขุนแผน Express


___________________________

ข้อมูลในตอนนี้รวบรวมจากการสนทนาในกระทู้ต่อไปนี้

สายสุพรรณบุรี : ส่องกล้องมองอดีต ค้นเอกสาร มีสะพานกี่แห่ง

สำรวจ 5 วัน กับสายสุพรรณบุรี

50 ปี ทางรถไฟเมืองสุพรรณ : เส้นทางที่ถูกลืม


Create Date : 17 มิถุนายน 2554
Last Update : 6 มีนาคม 2555 11:00:06 น. 7 comments
Counter : 927 Pageviews.  

 
ใช้ไฟฉายโบกรถ จะลงก็บอกคนขับ มันเป็นอะไรที่รู้สึกถึงความไทยแท้จริง ๆ ค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 17 มิถุนายน 2554 เวลา:13:45:22 น.  

 

มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ

ผมว่าดีนะครับ ถ้าได้เดินทางด้วยนรถไฟแบบนี้ โดยเฉพาะคนที่มีบ้านอยู่ที่สุพรรณบุรีแล้วต้องเข้ามาทำธุระที่กรุงเทพฯ เป็นประจำ ตอนนี้รถไฟนี้นั่งฟรีด้วยใช่ไหมครับ?

รถไฟสายนี้ถือเป็นรถไฟสายชนบทด้วยอ่ะป่าวครับ? น่าเสียดายนะครับอุตส่าห์วางรางไว้แล้ว แต่ว่าในตอนกลางวันไม่มีรถไฟวิ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์เลย

อิอิ


โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 17 มิถุนายน 2554 เวลา:16:17:11 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณV

เคยขึ้นรถไฟสายนี้เข้ากรุงเทพ
เมื่อครั้งที่มีการชุมนุมกัน
จนไม่สามารถขับรถยนต์เข้าไปได้
เพิ่งจะทราบนะคะว่าชื่อรถไฟสายรัตติกาล เท่ห์มั่กๆๆๆ

แรกๆเพื่อนหลายๆคนเคยใช้บริการรถไฟสายนี้ค่ะ
สะดวกสบาย ค่าโดยสารไม่แพง บริการเป็นกันเอง
แต่บางวันที่ต้องหลบหลีกกับรถไฟที่วิ่งมาจากภาคใต้
แถวๆหนองปลาดุก ทำให้ไปทำงานสาย
และเวลาที่รถไฟเสียระหว่างทาง ไม่รู้จะไปต่อรถอื่นตรงไหน
ต้องจำใจย้ายไปนั่ง รถไม่ถึงร้อย(99)เข้ากรุงเทพค่ะ
เสียดายๆ



แอมอร




โดย: peeamp วันที่: 17 มิถุนายน 2554 เวลา:17:32:49 น.  

 
ไปอ่านตามลิงค์มาแล้วค่ะ
หมู่บ้านโพธิ์งาม น่าจะสถานีเดียวกันกับโรงเรียนการบินอ่ะค่ะ
โรงเรียนการบินก่อตั้งเมื่อประมาณ พ.ศ.2512
หมู่บ้านโพธิ์งามน่าจะเกิดก่อนค่ะ
แล้วมาเปลี่ยนชื่อสถานีในภายหลัง


แอมอร




โดย: peeamp วันที่: 17 มิถุนายน 2554 เวลา:17:50:06 น.  

 
สวัสดีคะ

อึ้งตรงที่ไปดักขึ้นรถไฟกลางทาง กับขอลงระหว่างป้ายนี่แหละ รถไฟนะไม่ใช่รถเมล์รถตู้

รอตอนต่อไปคะ


โดย: เจ้าช่อมาลี (PP_Skywalker ) วันที่: 17 มิถุนายน 2554 เวลา:20:02:31 น.  

 

ขอบคุณที่นำมาฝากค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 17 มิถุนายน 2554 เวลา:23:11:38 น.  

 
ผมก็เพิ่งรู้เหมือนกันว่าเขาใช้ไฟฉายโบกรถ


โดย: NATSKI13 วันที่: 24 มิถุนายน 2554 เวลา:15:48:13 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]