Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
ธันวาคม 2563
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
16 ธันวาคม 2563

ไปรสะนียาคาร : กลิ่นอายแห่งการครุ่นคิดคำนึงถึง






16 ธันวาคม 2532
สวัสดีจ้า

สบายดีไหม เราไม่ค่อยสบายนะ เพิ่งหายจากไข้หวัด
ดูแลตัวเองด้วยล่ะ ช่วงนี้อากาศหนาวแล้ว .....

คิดถึงนะ


....




ความเก่าก็เป็น trend หนึ่งที่เด็กรุ่นใหม่ถวิลหา
พวกเค้าสนใจในสิ่งที่เกิดขึ้นในยุค 90 โลกทีเป็น analog เต็มรูปแบบ
โทรศัพท์หยอดเหรียญที่ต้องนัดหมายปลายทางว่าจะโทรไปตอนไหน
หรือการเดินผ่านแผงรับซองจดหมายเพื่อลุ้นว่าจะมีชื่อเราอยู่บนนั้นไหม
 
นั่นคงเป็นอะไรที่เด็กยุคใหม่คงงงใจ ว่าการสื่อสารของคนสมัยนั้นช่างยากเย็น
เดี๋ยวนี้แค่ส่งไลน์แล้วไม่อ่านใน 10 นาที ก็ต้องสงสัยแล้วว่าทำอะไรอยู่
แตกต่างมากมายกับคนในสมัยนั้น ที่รอการเดินทางไปกลับของจดหมายได้
แม้ว่ามันจะใช้เวลากว่าสองสัปดาห์ก็ตามที
 
นั่นทำให้เรามีเวลาที่อ่านมันซ้ำไปซ้ำมาอย่างมีคุณค่า
ต่างจากปัจจุบันแค่เพียงปัดซ้าย ข้อความนั้นก็หายไปในพริบตา
ปัจจุบันคุณค่าของจดหมายไม่ได้ใช้สำหรับการเชื่อมโยงความสัมพันธ์
เหลือแค่ความจำว่ามันคือเอกสารในระบบราชการ ไม่ก็แค่หนังสือทวงหนี้
 
ไปรษณียาคารคือที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกของไทยตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 
ตรงปากคลองรอบกรุง บริเวณสะพานพระปกเกล้าในปัจจุบัน
อาคารนี้เป็นบ้านของพระปรีชากลการ อดีตเจ้าเมืองปราจีนบุรีที่ถูกประหารชีวิต
สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2414 และถูกริบทรัพย์สินเป็นของแผ่นดินเมื่อปี 2422
 
เรื่องนี้อ่านผ่านๆ ก็ดูธรรมดาในยุคสมัยนั้น แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องไม่ปรกติ
ที่ทำไมข้าราชการผู้ใหญ่ระดับเจ้าเมืองถึงต้องโทษระดับนี้
ทำไมถึงมีบ้านใหญ่โตระดับที่เอามาปรับปรุงเป็นที่ทำงานของหน่วยงานรัฐได้
แถมยังมีภรรยาเป็นชาวอังกฤษอีกด้วย ถือว่าใหม่มากในสมัยนั้นเลยทีเดียว
 
เบื้องหลังแล้วมันคือการต่อสู้ทางอำนาจของขุนนางสองกลุ่ม
ที่รุ่งเรืองขึ้นมาด้วยกันตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 3
และจบลงที่อีกฝ่ายสามารถกุมอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จ
เมื่อภายหลังเหตุการณ์ครั้งนี้
 

แรกมีไปรษณีย์ไทยนั้นเกิดขึ้นเมื่อ สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
ได้ทรงชักชวนพระเจ้าน้องยาเธออีก 6 พระองค์ 
ช่วยกันจดข่าวในพระราชสำนักแต่ละวัน
มาพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือพิมพ์ข่าวรายวัน 
 
หนังสือข่าวเล่มแรกพิมพ์ออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2418
ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า COURT แปลว่าพระราชสำนัก
ต่อมาใน พ.ศ. 2419 จึงใช้ชื่อภาษาไทยว่า ข่าวราชการ 
 
สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ทรงดำริให้มีคนเดินส่งหนังสือแก่ผู้รับหนังสือทุกคนในตอนเช้า
โดยคิดเงินค่าสมาชิก และเมื่อคนส่งหนังสือไปส่งหนังสือที่บ้านสมาชิกผู้ใดแล้ว
ผู้นั้นจะฝากจดหมายส่งถึงสมาชิกผู้ใดก็ได้ โดยจะต้องซื้อแสตมป์ปิดจดหมายของตน
ที่จะฝากไปส่งและลงชื่อของตนเองทับแสตมป์แทนตรา เพื่อให้เป็นแสตมป์ที่จะนำไปใช้อีกไม่ได้
 
แสตมป์นั้นทำเป็นพระรูปเหมือนอย่างที่พิมพ์ไว้ข้างหน้าหนังสือ COURT ขายดวงละอัฐ
และให้ซื้อได้จากโรงพิมพ์หนังสือข่าวราชการ ราคาค่าจ้างส่งจดหมายมีอัตราต่างกัน
ถ้าอยู่ในคูพระนครชั้นในติดแสตมป์ 1 อัฐ ถ้าอยู่นอกคูพระนครออกไปต้องติดแสตมป์ 2 อัฐ
 
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้ก่อตั้งการไปรษณีย์
จึงทรงแต่งตั้งให้สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์
และได้ประกาศเปิดรับฝากเป็นการทดลองในเขตพระนครและธนบุรีขึ้น
โดยใช้บ้านของพระปรีชากลการเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426

 วันนี้ต่อมาจึงถูกกำหนดเป็นวันสื่อสารแห่งชาติในทุกๆ ปี
 

แต่ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2418 กรมโทรเลขได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้ว
โดยขึ้นอยู่กับกระทรวงกลาโหม เนื่องจากวัตถุประสงค์ในครั้งนั้นคือ
การสร้างสายโทรเลขจากกระทรวงกลาโหมด้านมุมวังสราญรมย์
ไปยังสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อฟังข่าวการเข้ามาของเรือต่างๆ
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการกราบบังคมทูลเสนอความเห็นว่า
กรมโทรเลขและกรมไปรษณีย์เป็นงานในด้านสื่อสารด้วยกัน ควรรวมเป็นหน่วยเดียวกัน
เพื่อความสะดวกแก่การดำเนินงาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมหน่วยงานทั้งสองเข้าด้วยกันเรียกว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข

วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่เสด็จพระราชดำเนิน
มาทำพิธีเปิดสะพานพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งอยู่ข้างอาคารไปรษณียาคาร
ในวันเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 150 ปี
เป็นสะพานแห่งแรกที่ใช้สัญจรทางบกเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครและฝั่งธนบุรี

ในเวลานั้นบ้านเมืองเกิดข่าวลือหนาหูว่า จะมีการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง
แต่เมื่อถึงวันจริงกลับไม่เกิดเหตุการณ์อันใดเกิดขึ้น    
 
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไปรษณียาคารเป็นสถานที่แห่งแรก
ที่คณะราษฎรจะต้องทำการบุกยึดเพื่อตัดระบบการสื่อสาร
โดยกลุ่มคณะราษฎรสายพลเรือนนำโดย หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์) และนายประยูร ภมรมนตรี
ที่รับราชการที่นี่จึงรู้ถึงระบบการทำงานดี โดยมีคณะราษฎรสายทหารเรือช่วยคุ้มกันเพียงไม่กี่คน
 
โดยจะเริ่มทำการในเวลา 04.00 น. และตัดการสื่อสารให้เสร็จก่อนเวลา 05.00 น. เพื่อมิให้ผู้คนสงสัย
แม้คณะราษฎรสามารถกระทำการได้สำเร็จ แต่ก็มีเจ้าพนักงานคนหนึ่งหนีไปแจ้งความ
กับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช)อธิบดีกรมตำรวจทราบเรื่อง
จึงรุดเข้าวังบางขุนพรหมเพื่อถวายรายงานแด่ผู้สำเร็จราชการ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
 
แต่นั่นก็สายไปเสียแล้ว
 

 
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การไปรษณีย์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
จึงได้ย้ายสถานที่ทำงานไปรวมกับที่ทำการไปรษณีย์แห่งที่ 2 ที่ถนนเจริญกรุง
และเปลี่ยนชื่อเป็นที่ทำการไปรษณีย์กลาง เมื่อปี พ.ศ. 2483

อาคารเดิมถูกปรับปรุงเป็นอาคารเรียนของโรงเรียนกรมไปรษณีย์และโทรเลข
เพื่อเป็นสถานที่ผลิตพนักงานไปรษณีย์ให้บริการประชาชน ในปี พ.ศ.2496
 
เมื่อเมืองเจริญขึ้นสะพานพระพุทธยอดฟ้าไม่สามารถรองรับปริมาณการจราจได้อีกต่อไป
กรมทางหลวงชนบทจึงมีโครงการก่อสร้างสะพานคู่ขนาน
ที่แล้วเสร็จแล้วเปิดใช้งานในชื่อสะพานพระปกเกล้า เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2527
โดยจำเป็นต้องมีการเวนคืนพื้นที่ของไปรษณียาคารสำหรับการก่อสร้างในปี 2525
 
อาคารโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 หลังหนึ่งได้หายไปเป็นเวลาเกือบ 20 ปี
ด้วยความงามของอาคารอันเป็นเอกลักษณ์ในความทรงจำของคนกรุงเทพ
 
จึงได้มีเสียงเรียกร้องให้มีการสร้างอาคารหลังนี้ขึ้นมาใหม่
แต่เนื่องด้วยพื้นที่อันจำกัด จึงสามารถทำเพียงการอาคารจำลองได้เท่านั้น
ในปี พ.ศ. 2546 โดยใช้แบบของอาคารและผังกระดาษมาตราส่วน 1:75
ที่เก็บไว้ที่กรมไปรษณีย์โทรเลขมาเป็นแบบ

กรมทางหลวงชนบทได้ก่อสร้างอาคารจำลอง 2 ชั้นครึ่งเฉพาะส่วนมุขด้านหน้าของอาคาร
มีความลึก 3.5 เมตรและความกว้าง 25 เมตร ด้วยงบประมาณ 10 ล้านบาท เป็นอาคารเปล่าๆ
 
หลังการสร้างเสร็จ อาคารจำลองแห่งนี้ได้ถูกปล่อยทิ้งไว้โดยมิได้ใช้ให้เป็นประโยชน์
ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้แต่แรกว่าจะให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงวิวัฒนการการสื่อสาร
จนในที่สุดก็ได้มีการบูรณะซ่อมแซม และตกแต่งใหม่เพื่อให้เป็นอาคารสำหรับ
แสดงประวัติศาสตร์ของการไปรษณีย์ไทย
 
โดยได้เปิดการใช้งานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา 
บริเวณชั้นล่างมีการเปิดจำหน่ายแสตมป์ไปรษณีย์ที่ระลึก
และสามารถใช้บริการธุรกรรมได้เช่นเดียวกับไปรณีย์ทั่วไป

 



Create Date : 16 ธันวาคม 2563
Last Update : 21 ธันวาคม 2563 13:37:26 น. 3 comments
Counter : 1049 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณhaiku, คุณKavanich96, คุณทนายอ้วน, คุณtuk-tuk@korat, คุณnewyorknurse, คุณSleepless Sea


 
คิดถึงการเขียนจดหมายมากๆเลยครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 17 ธันวาคม 2563 เวลา:20:14:24 น.  

 
เป้นอาคารที่สวยมากค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 18 ธันวาคม 2563 เวลา:10:44:46 น.  

 
ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจและเข้าไปทักทายกันในบล็อก "ยำวุ้นเส้นร้านสะดวกซื้อ" ครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 19 ธันวาคม 2563 เวลา:19:22:54 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]