Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กุมภาพันธ์ 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
10 กุมภาพันธ์ 2553

มนตราแห่งศิลาทราย : ปราสาทนครวัด (2)



เมื่อเดินผ่านเข้ามาถึงกำแพงรอบบนอก จะพบประตูกลางขนาดใหญ่ที่ชำรุด
เราต้องเดินอ้อมเข้าทางประตูเล็กที่อยู่ด้านข้าง ซึ่งก็ดีเพราะในสมัยก่อน
ผู้ที่เดินผ่านประตูตรงกลางนี้ได้ คงมีเพียงพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เท่านั้น

จากนั้นเราก็เดินผ่านทางเดินหิน ขนาดใหญ่ที่สูงกว่าพื้นดินที่อยู่รอบๆ
ผ่านบรรณาลัยที่อยู่สองข้าง จากนั้นจะเป็นบารายขนาดเล็ก
ที่คนชอบลงไปถ่ายรูปเงาของปราสาทนครวัด ผ่านผิวน้ำนั่นเอง
แต่หากเราไม่ลงไป ทางเดินนี้ก็จะทอดยาว จนถึงกำแพงชั้นที่สอง

กำแพงชั้นนี้นั่นเอง ที่มีภาพแกะสลักขนาดใหญ่ จนน่าอัศจรรย์ใจ
ถึงความอุตสาหะของคนในสมัยก่อน ที่สร้างสรรค์ผลงานระดับนี้ออกมาได้
แล้วทำไม ต้องแกะสลักภาพด้วยเล่า คงต้องบอกว่าในสมัยก่อนนั้น
คนที่รู้หนังสือคงมีเพียง พราหมณ์และคนชั้นสูงเท่านั้น

ชาวบ้านธรรมดาคงไม่มีสามารถอ่าน-เขียนได้
ฉนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการเผยแพร่ ความรู้และความเชื่อก็คือ
การแกะรูปภาพซึ่งบอกเล่าเรื่องราว ของตำนานที่พระมหากษัตริย์ทรงเคารพ
เหมือนภาพเขียนในโบสถ์บ้านเรา ที่บอกเล่าเรื่องราวของพระพุทธเจ้านั่นเอง



ผนังด้านทิศตะวันตกฝั่งใต้ การรบที่ทุ่งกุรุเกษตร

ภาพนี้มีความยาว 49 เมตร โดยแบ่งภาพเป็นสองส่วน
ฝั่งซ้ายเป็นกองทัพฝ่านเการพ และฝั่งขวาเป็นกองทัพฝ่ายปาณฑพ
พุ่งเข้าประจัญบานกัน ที่กึ่งกลางภาพเป็นภาพพระกฤษณะ 4 กร
ทำหน้าที่เป็นสารถีรถม้าให้อรชุน ขุนทัพของฝ่ายปาณฑพ

จากฝั่งซ้ายประมาณ 5 เมตรเป็นภาพท้าวภีษมะ แม่ทัพของฝ่ายเการพ
ถูกค้ำยันด้วยศรของอรชุน เหมือนเตียงแห่งลูกศรแต่ไม่ตาย
ถัดไปอีก 10 เมตรเป็นภาพของโทรณาจารย์ เป็นพราหมณ์
เกล้ามวยผมขี่ม้า ซึ่งเป็นแม่ทัพคนที่ 2 ของฝ่ายเการพ

ถัดไปอีก 2 เมตร เป็นภาพกรรณะ ขุนทัพของฝ่ายเการพ
อยู่บนรถม้าที่ติดหล่ม โดนอรชุนกระโดดพุ่งหอกแทงใส่จนตาย

หากต้องการรายละเอียดของตำนานเรื่องนี้ ไปอ่านกันยาวๆ ได้เลย

เรื่องเล่าแห่งมหาภารตะยุทธิ์ (1)




ผนังด้านทิศใต้ฝั่งตะวันตก การเคลื่อนทัพของสุริยวรมันที่ 2

ภาพนี้ความยาว 94 เมตร ซึ่งเป็นด้านตามยาวของตัวปราสาท
ก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีกษัตริย์พระองค์ใดสลักภาพของตนบนปราสาทมาก่อน
แต่พระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2 ได้เปลี่ยนความเชื่อนี้ ซึ่งต่อมาความคิดนี้
ถูกส่งถ่ายไปยังการแกะสลักรูป ที่เชื่อว่าเป็นใบหน้าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
พบได้ทั่วไปหลายชิ้น กระจัดกระจายอยู่มากมาย แม้กระทั่งที่พิมาย

ภาพด้านซ้ายซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นความยาว 1/3 ของภาพทั้งหมด
ด้านบนแกะสลักภาพพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2 ประทับอยู่บนเขาศิวะภาดะ
ประชุมขุนนางเพื่อเตรียมตัวไปทำสงคราม ภาพด้านล่างเป็นภาพกลุ่มสตรี
ที่จัดเตรียมสัมภาระ เพื่อติดตามพระองค์ไปในกองทัพ

ถัดมาเป็นกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของผนังด้านนี้คือ ภาพการเดินทัพนั่นเอง
โดยประกอบไปด้วย กระบวนช้างซึ่งน่าจะแทนแม่ทัพที่สำคัญแต่ละคน
จำนวน 19 เชือก โดยแม่ทัพแต่ละคนจะถือปฏักอยู่บนช้างภายใต้บังศูรย์
มีพลเดินเท้ารายรอบ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ประทับอยู่บนช้างตัวที่ 12
ซึ่งเป็นช้างตัวที่ใหญ่ที่สุด และมีบังศูรย์มากที่สุดคือ 15 อัน

ที่ภาพนี้มีจารึกว่าซึ่งน่าจะจารึกในภายหลังว่า ภารมะวิษณุโลกันต์
ซึ่งคือพระนามของพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2 เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตไปแล้ว

สำหรับคนไทยภาพแกะสลักนี้นี้เป็นภาพที่โด่งดังที่สุด
ในขณะที่ทุกกองทัพเดินอย่างสง่างามและเป็นระเบียบ
ทัพที่อยู่หน้าสุดของกองทัพ ทหารกลับเดินอย่างไม่เป็นระเบียบ
มีการเหลียวหลังมาคุยกับเพื่อนที่เดินตามมา

ในอดีตมีจารึกว่า เสียมกุก ซึ่งเชื่อว่าเป็นกลุ่มทหารไทยที่ถูกใช้เป็นกองหน้า
เพราะในการศึกสงครามนั้น ประเทศราชจะถูกใช้เป็นทัพหน้าเพื่อไปตาย
เป็นธรรมเนียมที่ใช้สืบต่อกันมา แม้กระทั้งในการสงคราม ไทย-พม่า
แต่ที่สำคัญ จนถึงปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า พวกเค้าเป็นคนไทยกลุ่มใด



Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 17 กันยายน 2556 13:16:24 น. 10 comments
Counter : 2315 Pageviews.  

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:11:20:05 น.  

 
หากยังมีไบแอสเกี่ยวกับชนชาติแล้วละก็ เราว่าอย่าสรุปเลย คิดสะระตะโหลงโจ๊งแล้ว ได้ผลทางลบมากกว่าบวก แล้วแต่คนที่สรุปจะเอาใจใครด้วยละ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:13:47:15 น.  

 
ประวัติศาสตร์ คือเรื่องราวที่ผ่านไปแล้ว

ใยเราต้องเอาความคิดในปัจจุบันไปผูกติดด้วยเล่า

ความเป็นชาติ เส้นเขตแดน มันเริ่มมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

เราศึกษาอดีต เพื่อที่เราจะไม่ทำสิ่งที่ซ้ำรอยเดิมต่างหาก


โดย: VET53 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:14:50:26 น.  

 
คนบางคนที่มีอำนาจการต่อรอง เขาไม่คิดน่ะซิคะ

แค่นี้ก็ อย่างยุ่งเลย




โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:15:48:56 น.  

 
ขอบคุณครับ ที่ทำให้เราฉุกคิดในมุมที่แตกต่าง
แต่ผมก็ยืนยันที่จะเขียนเช่นนี้ เพราะอย่างน้อย ผมเชื่อว่า
การแกะสลักระดับนี้ไม่ใช่สิ่งที่ ทำไปอย่างงั้น
มันนัยยะและความหมาย เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่ควรค่า

แล้วคุณล่ะ จะเดินผ่านมันไปเฉยๆ โดยไม่คิดหรือว่า

ทำไม มันต้องเป็นภาพนี้ ทำไมมันต้องอยู่ที่นี่


โดย: VET53 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:59:30 น.  

 
การเขียนภาพหรื่อป้้นรูปนั้นเป็นการเเสดงออกถึงวัฒนธรรมที่สื่อเป็นภาพที่จินตนการณ์ผ่านการขีดเขียนเเม้จะเป็นคนละภาษาก็สามารถเรียนรู้ได้

เคยไปถ้ำเจมบอน ก่อนจะถึงน้้นจะมีเชิงหน้าผาหินที่ชาวพื้นเมืองมากกว่าพันปีได้เขียนไว้ เป็นภาพที่ต้องมองเเละใช้ความคิดที่เเสดงออกของชาวเผ่าพันธ์สมัยนั้นเเสดงความสามารถในการใช้ความนึกถึงระบายออกเป็นภาพที่งดงาม

ประสาทนครวัด..ไม่เคยไปค่ะ เเต่เรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์นี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่นำมาเป็นตัวอย่างให้เเก้ไขได้ในปัจจุปัน


โดย: ยูกะ (YUCCA ) วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:6:49:56 น.  

 
เมื่อไหร่กลับเมืองไทย ก็แวะไปเที่ยวได้ครับ

เอ แต่ช่วงนี้จะมีทัวร์ไหนไปไหมนี่


โดย: VET53 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:11:27:18 น.  

 
ยิ่งเห็นยิ่งอยากไปดูบ้างครับ


โดย: NATSKI13 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:11:31:04 น.  

 
ขอบคุณครับ ที่เอามาให้อ่าน


โดย: bigjinbook วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:22:23:32 น.  

 
เคยฟังเรื่องมหากาพย์มหาภารตะจาก อ.วีระ ธีรภัทรค่ะ แต่ยังไม่ได้อ่านที่เป็นหนังสือ

ประวัติศาสตร์...สงสัยอย่างไร ก็แก้ไขอะไรไม่ได้มังคะ ทุกคนที่เขียน ต่อให้แง่มุมต่างกันยังไงก็มีเหตุผลอธิบายประกอบอยู่ดี เลยไม่รู้จะเชื่อใคร


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 21 ธันวาคม 2555 เวลา:18:15:24 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]