Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2558
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
8 มิถุนายน 2558

แปร๋นท่องกรุง : ถอดรหัสความรู้เรื่องช้าง (7)

Untitled

หมายเลข 23 พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท


หลังการปราบดาภิเษก และย้ายเมืองหลวงมายังอีกฟากของแม่น้ำเจ้าพระยา
พ.ศ. 2326 รัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างพระที่นั่งองค์แรกขึ้น
โดยถ่ายแบบพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ที่กรุงศรีอยุธยามาสร้างในพระบรมมหาราชวัง

พ.ศ. 2327 ทำพิธียกยอดพระมหาปราสาท พร้อมได้ทำพิธีราชาภิเษกอีกครั้ง
และได้พระราชทานนามพระที่นั่งองค์นี้ว่า พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท
พ.ศ. 2332 อสนีบาตตกต้องหน้ามุขเด็จพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท
แล้วเกิดเป็นเพลิงลุกลามไหม้เครื่องบนและหลังคา แล้วเลยลุกลามไหม้ทั้งองค์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน) สมุหนายก เป็นแม่กองรื้อซากพระมหาปราสาท
ที่ถูกไฟไหม้ออกแล้วสร้างพระมหาปราสาทขึ้นใหม่ แต่ไม่ได้สร้างเหมือนองค์เดิม
โดยมีการลดขนาดลง อาศัยต่อมุขหลังเพื่อให้ฐานยังเท่าเดิม พระราชทานนามว่า

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ใช้เป็นท้องพระโรงที่ประทับว่าราชการ
และประกอบพระราชพิธีสำคัญของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


Untitled


เมืองโบราณได้จำลองพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ฝาผนังเหนือช่องหน้าต่าง
เป็นภาพเขียนเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 1 ในด้านต่างๆ
ทั้งการปกครอง การศาสนา การสงคราม และการติดต่อกับต่างประเทศ
ระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพวาดแสดงพระราชพิธี 12 เดือน

จริงๆ พระที่นั่งหลังนี้เต็มไปด้วยภาพช้าง ทั้งจากภาพพระราชกรณียกิจ
และในพระราชพิธี 12 เดือน ด้วยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
ช้างนั้นเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ในราชการสงครามอย่างเป็นสำคัญ
โดยถูกนับเป็นหนึ่งในพระราชพิธีสำคัญในเดือนห้าคเชนทรัศวสนาน

อธิบายให้เห็นภาพก็คือการสวนสนามกระบวนช้าง ม้า และทหารพร้อมอาวุธ
เพื่อให้พระเจ้าแผ่นดินทอดพระเนตรตรวจตราชมเชยราชพาหนะทั้งปวง
และเป็นการตระเตรียมเครื่องสรรพศาสตราวุธและทหารให้พร้อมอยู่เสมอ
บางทีเห็นชื่อว่าเป็นพระราชพิธี 12 เดือน คิดว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตั้งแต่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์มาอาจจัดเพียง 2-3 ครั้ง
เพราะว่าเป็นกระบวนพิธีที่ใช้งบประมาณสูงมาก ลำบากขุนนางที่ถูกเกณฑ์
แต่มีอีกพระราชพิธีที่เกี่ยวเนื่องกัน และทำได้ทุกปีในเวลาที่ยังใช้ช้างในทำศึก
คือพระราชพิธีทอดเชือก ดามเชือก แปลตรงตัวว่าเป็นพิธีที่เกี่ยวกับหมอช้าง

พิธีนี้ทำปีละสองครั้ง คือเดือนห้าครั้งหนึ่งกับเดือนสิบอีกครั้งหนึ่ง
โดยนำเชือกที่ใช้ในการคล้องช้างมาคลี่ออกเพื่อตรวจสอบจากนั้นก็ม้วนเก็บ
ส่วนพราหมณ์จะประกอบพิธีกรรม เพื่อให้เจริญสิริมงคลแก่ช้างหลวง
ซึ่งเป็นพระราชพาหนะและเป็นกำลังแผ่นดิน และบำบัดเสนียดจัญไร


Untitled


16 ท้องพระโรง กรุงธนบุรี ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์กองทัพเรือ

เป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียวแบบตรีมุข ตัวท้องพระโรงเป็นตึกสองหลังเชื่อมต่อกัน
หลังแรกเป็นท้องพระโรงมีที่ประทับออกว่าราชการทำเป็นอัฒจันทร์
หลังที่สองเรียกว่า พระที่นั่งขวาง เป็นส่วนพระราชมณเฑียรที่ประทับ

ที่อาคารจำลองเมืองโบราณ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพงศาวดารกรุงธนบุรี
ตั้งแต่เสียกรุงครั้งที่ 2 การกู้อิสรภาพมาจนถึงการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี
เพื่อให้ผู้ชมได้ซึมซับในวีรกรรมและพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ทั้งหมดนี้คัดลอกมาจากป้ายที่ติดไว้หน้าอาคาร

เพราะเวลาเริ่มเหลือน้อยผู้นำชมแค่ให้เราถ่ายรูป และตอบคำถามว่าช้างนั้นอยู่ที่ใด
คำตอบก็คือรูปสลักพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณหน้าบันฝั่งทิศตะวันออก
ถ้าเป็นปราสาทหินขอมเราจะคุ้นว่า สลักรูปพระอินทร์เป็นเทพประจำทิศนี้
แต่ของไทยไม่น่าจะรับคตินี้มา แต่เรื่องที่น่าสนใจกลับเป็นว่า ทำไม ?

เป็นที่รู้กันดีหลังจากการเสียกรุงครั้งที่ 2 ว่า ธนบุรีและกรุงเทพมหานคร
ต่างล้วนอ้างความศักดิ์สิทธิ์ว่ายังคงเป็นเมืองพระนครศรีอยุธยา
แต่ว่าพระมหากษัตริย์ผู้สืบทอดนั้นเป็นการปราบดาภิเษกราชวงศ์ขึ้นใหม่
หาได้เป็นผู้สืบเชื้อสายมาแต่กษัตริย์พระราชวงศ์เดิมด้วยไม่

คตินารายณ์อวตารจึงไม่สามารถใช้ตอบโจทย์ทางการเมืองได้
คติพระอินทร์จึงถูกนำมาใช้อย่างโดเด่น ด้วยทางพุทธศาสนานั้นเชื่อว่า

หากบุคคลใดได้ประกอบกรรมดีจนถึงขนาด เมื่อพระอินทร์องค์เก่าหมดวาระลง
ก็จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอินทร์องค์ใหม่ เป็นหัวหน้าเหล่าเทวดาทั้งปวง
คตินี้เห็นได้ชัดในช่วงสมัยรัชการที่ 1 เพราะหน้าบันของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดประจำพระบรมมหาราชวัง ก็เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณมาก่อน

อมรินทราภิเษกมหาปราสาท และดุสิตมหาปราสาท ก็เป็นนามที่เกี่ยวข้องกับพระอินทร์



Create Date : 08 มิถุนายน 2558
Last Update : 8 มิถุนายน 2558 16:34:59 น. 4 comments
Counter : 1451 Pageviews.  

 
อืมม์...เพิ่งมาได้ข้อมูลเรื่องการใช้พระอินทร์แทนพระนารายณ์ทรงครุฑก็ที่นี่

แล้วอย่างนี้ทำไมสมัยหลังๆ ถึงได้กลับไปใช้นารายณ์ทรงครุฑได้คะ

หรือสมัยอยุธยาก็ตาม ก็มีหลายครั้งที่เป็นการปราบดาภิเษก แต่ก็ยังเห็นการสร้างที่วัดหลวงว่าเป็นนารายณ์ทรงครุฑน่ะค่ะ

หรืออันนี้เป็นข้อสันนิษฐานของนักวิชาการคะ?


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 8 มิถุนายน 2558 เวลา:15:23:46 น.  

 
เคยคิดว่าพระราชพิธี ๑๒ เดือน ต้องทำทุกปีเหมือนกันค่ะ


ขอบคุณ คำตอบเรื่องตัดออกจากแผนที่ด้วยค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 8 มิถุนายน 2558 เวลา:15:45:35 น.  

 
ได้ค่ะ รอตอนหน้านะคะ อัพแล้วไปเคาะบอกด้วยเนาะ

ขอบคุณค่า


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 8 มิถุนายน 2558 เวลา:17:38:42 น.  

 
มาย้อนอ่านค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 14 มิถุนายน 2558 เวลา:13:11:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]