Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กุมภาพันธ์ 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728 
7 กุมภาพันธ์ 2557

ยลศิลป์ถิ่นตระกูลบุญนาค : วัดประยูรวงศาวาส (1)

Untitled


พ.ศ. 2331 เจ้าพระยายมราช (บุญนาค) กับเจ้าคุณพระราชพันธุ์ (นวล)
มีบุตรชายคือ ดิศ บุญนาค
ในรัชกาลที่ 1 รับราชการตำแหน่งเป็น นายสุดจินดาหุ้มแพรมหาดเล็ก
ถึงรัชกาลที่ 3 ได้เลื่อนขึ้นเป็น เจ้าพระยาพระคลังว่าการกรมท่าและว่าที่สมุหกลาโหม

พ.ศ. 2394 ในสมัยรัชกาลที่ 4 เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค)
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์
ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เป็นสมเด็จเจ้าพระยาองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2398 ถึงแก่พิราลัย รวมอายุได้ 68 ปี ใช้สุริยมณฑลเป็นตราประจำตัว

พ.ศ. 2371 เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) ได้อุทิศที่สวนกาแฟสร้างวัด
ถวายวัดนี้เป็นพระอารามหลวง ในปี พ.ศ. 2375 รัชกาลที่ 3 พระราชทานนามว่า
วัดประยุรวงศาวาส พ.ศ. 2379 การก่อสร้างเสร็จสิ้นลง มีการฉลองวัด

ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดรั้วเหล็ก เพราะมีรั้วเหล็กสีแดงสูงประมาณ 1 เมตร
ล้อมเป็นกำแพงวัดอยู่ เป็นรั้วโปร่งดัดเป็นรูปหอก ดาบ และขวาน
คงไม่มีใครจะไปนับว่ามีเท่าใด แต่มีคำกลอนของเด็กท่องจำกันต่อๆ มาว่า
วัดรั้วเหล็กมีขวาน 3 หมื่น ปืน 3 กระบอก หอก 3 แสน

มีเรื่องเล่าทางหนึ่งว่า รั้วเหล็กนี้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์
สั่งมาจากประเทศอังกฤษ เพื่อทูลเกล้าถวายรัชกาลที่ 3
เพื่อใช้ล้อมเป็นกำแพงในพระบรมมหาราชวัง แต่ไม่ทรงโปรด
ด้วยเห็นว่ามีลักษณะเป็นศาสตรา จึงขอรับพระราชทานคืน


Untitled


โดยเหล็กหนักเท่าใดก็ใช้น้ำตาลทรายไปแลกคืนมาเท่านั้น
เมื่อสร้างวัดประยูรวงศาวาสจึงถูกนำมาล้อมเป็นกำแพงวัดแทน
ทางหนึ่งบอกว่าเป็นความตั้งใจของสมเด็จเจ้าพระยาที่สั่งซื้อมา
เพื่อล้อมเป็นกำแพงวัดโดยตรง แต่มูลเหตุที่แท้จริงไม่มีการบันทึกไว้

แต่ไม่ว่าทางใดก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจทั้งสิ้น เนื่องจากในสมัยก่อน
กำแพงวัดก็สร้างจากอิฐและปูน กำแพงเหล็กนั้นเป็นของที่ไม่เคยมี
ด้วยเรานั้นไม่มีแหล่งแร่เหล็ก และเทคนิคการถลุงระดับอุตสาหกรรม
ถ้าเราย้อนกลับไปในสมัยนั้น คงเป็นวัดที่ดูทันสมัยมาก

อาคารที่สำคัญมาเริ่มกันที่พระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยม
ตามข้อมูลบอกว่าหน้าบันเป็นลายดอกบุญนาค แต่ดูแล้วไม่เห็นเหมือน
เพราะกลีบดอกที่ยิบย่อยละเอียดยิบ ส่วนตัวเชื่อว่าน่าจะเป็นดอกโบตั๋น
ที่ประเทศจีนถือว่าเป็นราชาดอกไม้ที่อยู่เหนือกว่าดอกไม้อื่นทั้งปวง
จัดเป็นลวดลายมงคลที่มีการนำมาสร้างเป็นศิลปะต่างๆ อย่างแพร่หลาย

ภายในมีพระประธานปางมารวิชัย ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์
ทำพิธีหล่อโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ใน พ.ศ. 2371
ซึ่งเป็นเวลาที่เริ่มการก่อสร้างวัด สิ่งที่น่าสนใจคือใช้ช่างญี่ปุ่น
มาปิดทองพระพุทธรูป กล่าวกันว่ามีฝีมือและกรรมวิธีที่ดีเยี่ยม

น่าสนใจเพราะช่างไทยก็ปิดทองมานาน ทำไมต้องเป็นช่างญี่ปุ่น?
แน่นอนว่า เราต้องยอมรับในความปราณีตของคนญี่ปุ่นที่มีสูงมาก
และองค์พระจะออกสีเหลืองอ่อนที่คล้ายกับที่เราเห็นที่ปราสาททอง
เป็นไปได้หรือไม่ว่า ช่างมีความสามารถในการรีดทองให้เป็นแผ่นที่บางมาก


Untitled


พระอุโบสถได้รับการซ่อมแซมเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4
เมื่อเสด็จมาพระราชทานผ้าพระกฐิน ได้มีพระราชดำรัสแนะนำว่า
เสาภายในพระอุโบสถห่างกันมากจนน่ากลัวเป็นอันตราย
เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหม จึงเพิ่มเสาอีกข้างละ 2 ต้น

พ.ศ. 2422 ในรัชกาลที่ 5 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
ได้ซ่อมแซมพระอุโบสถอีกครั้ง โดยรื้อช่อฟ้าใบระกาของเก่าออก
เปลี่ยนเป็นของใหม่ ดึงพระประธานที่ทรุดเอียงให้ตรงคงเดิม

14 ธันวาคม พ.ศ. 2487 ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทิ้งระเบิดสะพานพุทธ
แรงระเบิดทำลายหลังคาและฝาผนังสามด้าน เหลือผนังด้านเดียว

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการซ่อมแซมพระอุโบสถอีกครั้ง
ภาพจิตรกรรมฝาผนังเหลือเพียงเรื่องพุทธประวัติด้านหลังพระประธาน
ฝาผนังด้านข้างปัจจุบันจึงกลายเป็นสีขาว กล่าวกันว่าเดิมเคยมีชาดก

พ.ศ. 2533 มีการซ่อมแซมครั้งใหญ่ทั้งส่วนหลังคา ฝาผนังและพื้นล่างทั้งหมด
พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานชื่อ พระประธานในพระอุโบสถว่า
พระพุทธธรรมวิเชษฐศาสดา แปลว่า พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดาประเสริฐสุดโดยธรรม



Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2557 15:59:58 น. 1 comments
Counter : 2088 Pageviews.  

 
เป็นอีกหนึ่งวัดที่คุ้นค่ะ เคยได้ไปหลายครั้ง แต่ก่อนลูกเรียนแถวนั้น ตัวเค้าเองก็ไปบ่อยทั้ง 3 วัด วัดประยุรวงศาวาส วัดพิชัยญาติ วัดอนงค์ ก็มาเล่าให้ฟังล่ะค่ะ แม่เลยไปเองบ้าง

แต่วัดประยุรฯ ที่ไปหลายครั้ง เคยได้เข้าพระอุโบสถครั้งเดียวเองค่ะ ส่วนมากเจอปิดทุกครั้ง เปิดแต่พระวิหาร

เดี๋ยวนี้ถ้าไม่สังเกต มองไม่ค่อยเห็นรั้วเหล็กแล้วนะคะ ยกพื้นจากถนนขึ้นมา ไม่แน่ใจว่าเหลือถึงเมตรหรือเปล่า

ตอนหาข้อมูลเรื่องนี้ อ่านเจอเรื่องช่างญี่ปุ่นมาปิดทองเหมือนกันค่ะ ยังเข้าใจผิดมาตลอดเลยค่ะว่า ช่างไทยเรามีฝีมือเรื่องนี้มานาน (กว่าญี่ปุ่นเค้า) พอบอกด้วยว่าฝีมือดี และกรรมวิธีเยี่ยม น่าจะจริงแท้แน่นอน...

หนูเคยไปมา 3 มัสยิด ขออนุญาตถ่ายรูปก่อนค่ะ ขอทั้งยกมือไหว้ว่าเราอาจจะทำอะไรไม่ถูก กับขออนุญาตเจ้าของสถานที่ ตอนที่ไปมัสยิดกุฏีขาว เค้าปิด ถ่ายรูปได้แต่ภายนอก เจอลุงคนนึงแกบอกว่าไปขออนุญาตคณะกรรมการที่ดูแลได้ หนูว่าจะเอิกเกริกเลยไม่เอาดีกว่า แกเล่าให้ฟังเรื่องกูโบ หนูถามว่าถ่ายรูปได้มั้ย แกบอกว่าได้ แต่หลังจากนั้น เราก็รู้สึกว่าไม่สมควร

แต่ถ้าเป็นตอนพิธีกรรม ช่วงละหมาด สวดมนต์ คุ้นๆ ว่าถ่ายไม่ได้มังคะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:17:50:47 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]