Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
6 พฤศจิกายน 2551

กรุงเทพมหานคร : วังสวนผักกาด (2)



เรือนไทยหลังที่ 2

ชั้นบนบนระเบียงมีหน้าบันของระเบียงมีตราประจำพระองค์เป็นรูปช้างสามเศียร
ของสมเด็จพระนางเจ้าสุขุ มาลมารศรี ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยกี (ย่า)
ด้านหน้าของระเบียงทางเดินมีฉาก
ซึ่งด้านหน้ามีภาพเขียนสีแสดงป่าหิมพานต์ และด้านหลังเป็นเรื่องพระเวชสันดรชาดก
ถัดมาทางด้านขวาจะเป็นบริเวณชานเรือนหลังที่ 2
มีตู้พระธรรมลายรดน้ำ สมัยอยุธยาซึ่งได้มาพร้อมกับหอเขียน
มีสัปคับหรือกูบ และงาช้างคู่ ซึ่งได้รับทูลเกล้าจากเจ้าน่าน

เรือนไทยหลังที่ 2 จัดตกแต่งเป็นเรือนรับรอง ภายในห้องด้านเหนือมีเตียง หมอนขวาน
มุมห้องด้านใต้ข้างประตู มีคันฉ่องซึ่งมีกรอบไม้แกะสลักลายไทย จีน และฝรั่งเศส
ถัดมาทางทิศใต้ของห้องบนตู้มีพานประดับมุกซ้อนกัน 4 ใบ
ภายในตู้ชั้นบนมีตลับงาช้าง สำหรับใส่สีผึ้งและแป้ง มีงาช้างแกะสลักลายไทยปิดทอง
ถัดมาทิศตะวันตก มีตู้แกะสลักลายไทยปิดทอง ภายในชั้นบนของตู้มีถ้วยเงินลายทอง
ชั้นกลางและชั้นล่างมีเครื่องแก้วเจียระไนจากยุโรปส่วนด้านหลังตู้มีตะลุ่มประดับมุก

ด้านเหนือของห้อง มีตะลุ่มประดับมุกวางอยู่บนตู้สลักลายไทยปิดทอง
ในตู้ชั้นบนมีพระรูปของเสด็จในกรมฯ พระบรมรูปแกะสลักจากงาช้างของรัชกาลที่ 5
และพระรูปของ หม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร
ชั้นล่างมีปั้นกาน้ำ ตระกร้าหญ้าลิเภา และจานหมูที่สมเด็จพระศรีนครินทรา
บรมราชชนนีพระราชทานไว้ ตู้ชั้นล่างมีปิ่นโตเงินลงยาลายนูนจากประเทศจีน
กระโถนเครื่องถมและกระโถนเบญจรงค์
ริมประตูด้านตะวันออกมีพระฉายแขวน (กระจกส่องหน้า)
และตู้เก็บเครื่องแก้วเจียระไนรวมทั้งขวดน้ำหอม ซึ่งนำมาจากประเทศต่างๆ ในยุโรป




เรือนไทยหลังที่ 3

ชานเรือนมีตู้พระธรรมลายรดน้ำสมัยต้นรัตนโกสินทร์
บนหลังตู้มีเศียรพระพุทธรูปสมัยอยุธยา ด้านหน้าตู้มีใบเสมาสลักจากหินทราย
บนฝาผนังแขวนตาลปัตรและโคมไม้แกะสลักลายไทยปิดทอง
ข้างประตูเข้าเรือนมีกลองมโหระทึก ซึ่งใช้ในพิธีต่างๆ เช่น ในพิธีขอฝน
เรือนไทยหลังที่ 3 ตกแต่งเป็นที่รับรอง ด้านขวาของห้องมีตั่งซึ่งใช้รับรองแขก
ด้านซ้ายใกล้ประตูมีตู้เล็กแสดงวัตถุโบราณศิลปะกรีก-โรมัน
ถัดมามีตู้ใส่ภาชนะเบญจรงค์ ด้านบนฝาผนัง เหนือตู้มีภาพเขียนสีเรื่องรามเกียรติ์
ถัดไปเป็นตั่งแกะสลักลายไทยปิดทอง ด้านบนมีเสลี่ยงซึ่งสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์
พนักพิงและราวทำด้วยงาช้างแกะสลักมีกลดตั้งอยู่ด้านหลังของเสลี่ยง

ถัดไปมีบุษบกจำลองตั้งอยู่บนตู้ หลังตู้ถัดไปมีเศียรพระพุทธรูปสมัยอยุธยา
ภายในตู้ชั้นบนแสดงเครื่องดนตรีไทยจำลอง ชั้นล่างมีปิ่นโตถมทอง 2 เถา
และสังข์รดน้ำที่ใช้ในพิธีแต่งงานและเครื่องขันหมาก
ถัดมาบริเวณด้านข้างหน้าต่างมีภาพเขียนลายไทยลงรักปิดทอง
ภายในตู้ถัดไปวางแสดงภาชนะเบญจรงค์ สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ด้านบนฝาผนังตู้มีภาพเขียนเรื่องขุนช้างขุนแผน ขณะกำลังดำน้ำต่อหน้าสมเด็จพระพันวสาอัยยิกาเจ้า
ถัดไปด้านเป็นตู้แสดงเครื่องถมเงินถมทองลายไทย ด้านบนมีบุษบกจำลอง





เรือนไทยหลังที่ 4

มีพื้นเรือนที่ยกสูงตรงกลาง ซึ่งสามารถดัดแปลงเป็นโต๊ะอาหาร
สำหรับเลี้ยงแขกพิเศษในโอกาสต่างๆ
และชานเรือนทางทิศใต้มีภาพเขียนสีบนไม้เรื่อง พระเวสสันดรชาดก
ด้านหน้าห้อง มีบานประตูมุกสมัยอยุธยาตอนปลาย ภายในห้องมีพระพุทธรูปสมัยต่างๆ
มีงาช้างแกะสลัก รวมทั้งแจกันที่ทำจากงาช้าง
ด้านหลังของฝาผนังห้องมีพระบฎแสดงพุทธประวัติ สมัยรัตนโกสินทร์





เรือนไทยหลังที่ 5

เป็นเรือนไทยที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่ ใช้จัดแสดงของใช้ประจำพระองค์
ของทูลกระหม่อมบริพัตรและเสด็จในกรมฯ อาทิ เครื่องแก้วเจียระไน
เครื่องแก้วลายทอง เครื่องเงิน เครื่องกระเบื้อง เป็นต้น ส่วนใหญ่นำมาจากประเทศในยุโรป
นอกจากนี้ยังมีเหรียญกษาปณ์สมัยต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ





เรือนไทยหลังที่ 6

เรือนไทยหลังนี้จัดแสดงเครื่องถ้วยชามสังคโลก ศิลปะสุโขทัย
รวมทั้งเครื่องถ้วยชาม สมัยซ้ง หยวน และหมิง ของประเทศจีน
ภายนอกมีตู้แสดงภาชนะดินเผาสังคโลกจากกลุ่มเตาเวียงกาหลง
ขวานหินโบราณและเครื่องประดับสมัยยุคหิน และเครื่องปั้นดินเผา
ภายในมุมห้องด้านซ้ายแสดงหินสลักรูปหัวงู ศิลปะขอม
ถัดไปมีภาชนะดินเผาสังคโลก และตุ๊กตาสมัยสุโขทัย มีเหยือกรูปคนขี่ช้างทรงสมัยสุโขทัย
มุมห้องด้านตะวันตก มีรูปเทวดาสตรีสมัยศรีวิชัย ทำด้วยหินทราย
และมีภาพเขียนเรื่องจันทรโครพ มีอายุราวสมัยรัตนโกสินทร์อยู่บนฝาผนังด้านตะวันออก




เรือนไทยหลังที่ 7

พิพิธภัณฑ์โขน จัดแสดงหัวโขนต่างๆ จากเรื่องรามเกียรติ์ อาทิพระราม พระลักษณ์ ทศกัณฐ์
หนุมาน พาลี ฯลฯ รวมทั้งรายละเอียดของเครื่องแต่งกายและขั้นตอนการทำหัวโขน
นอกจากนี้ยังมีหุ่นละครเล็กพระรามกับนางสีดาและทศกัณฑ์กับหนุมาน
ของนายสาคร ยังเขียวสด ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง อยู่ภายในห้องด้วย




เรือนไทยหลังที่ 8

เดิมเรือนหลังนี้ใช้แสดงภาพเขียน ซึ่งต่อมาได้มอบให้แก่หอศิลป์พีระศรีไป
จึงจัดชั้นบนเป็นที่แสดงวัตถุโบราณบ้านเชียง โดยค้นพบที่จังหวัดอุดรธานีเมื่อปี พ.ศ. 2509
นอกจากนี้ยังมีเครื่องประดับ เช่น สร้อยลูกปัด มีลูกกลิ้งดินเผาที่ใช้พิมพ์ลวดลายไปบนผ้า
และแม่พิมพ์ที่ใช้ในการทำอาวุธ รวมทั้งวัตถุโบราณที่ทำมาจากสำริดอื่นๆ
เช่น หัวขวาน หัวธนู กำไลแขน คอ และแหวน ซึ่งบางชิ้นยังมีกระดูกมนุษย์ติดอยู่
จึงทำให้วัตถุโบราณบ้านเชียงนับเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก



Create Date : 06 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 1 มิถุนายน 2553 14:23:59 น. 5 comments
Counter : 3250 Pageviews.  

 
น่าอยู่มากๆเลยอ่า ดูเก่า โบราณ ดูขลัง มากๆๆ เลย


โดย: yopathum วันที่: 6 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:13:15 น.  

 
น่าไปเที่ยวจัง




โดย: OFFBASS วันที่: 6 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:56:12 น.  

 

แวะมาเที่ยวและมาชมความงามของ
วังสวนผักกาดต่อจ๊ะ
แหล่ม ร่มรื่นสดชื่นจริงๆ ค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 6 พฤศจิกายน 2551 เวลา:23:43:39 น.  

 
ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยือนครับ


โดย: VET53 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:34:01 น.  

 
อยากไปบ้างจัง นั่งรถสายอะไรไปได้ดีหนอ


โดย: yopathum วันที่: 10 พฤศจิกายน 2551 เวลา:18:40:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]