Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
ธันวาคม 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
3 ธันวาคม 2551

นกอพยพ : เทศกาลเหยี่ยวอพยพ




ทั่วโลกมีเหยี่ยว 304 ชนิด พบในประเทศไทย 56 ชนิด ราว 3 ใน 4 เป็นนกอพยพ
ปลายฝนต้นหนาว นอกจากจะเป็นฤดูกาลการเฝ้าดูนกชายเลนหายากติดอันดับโลกแล้ว
หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติเมืองไทยอีกสิ่งนั้นก็คือ เทศกาลเหยี่ยวอพยพ
ที่ทำให้ฝรั่งหลายคน ต้องดั้นด้นนั่งเครื่องบินมาไกลจากต่างแดน


ตุลาคม


เพราะสภาพความหนาวเย็นที่โหดร้าย แหล่งอาหารที่ขาดแคลน
จึงบังคับเหล่าเหยี่ยวทั้งหลาย ให้จำต้องลี้ภัยจากทางตอนบนของทวีปเอเชีย
แถบจีน รัสเซีย มองโกเลีย เกาหลี ญี่ปุ่น เพื่อนัดรวมตัวกันออกเดินทางมุ่งลงใต้
อาศัยความทรงจำและประสบการณ์ครั้งก่อนๆ ของเหยี่ยวอาวุโสเป็นเครื่องนำทาง
โดยมีลักษณะภูมิประเทศ เช่น เทือกเขา แนวชายฝั่งทะเล เป็นป้ายบอก
สำหรับเหยี่ยวอีกหลายตัว นี่อาจเป็นการเดินทางครั้งแรกในชีวิต
เมื่อเข้าสู่ประเทศไทย เหยี่ยวจะบินเลาะแนวเทือกเขาตะนาวศรีจาก
กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ซึ่งเป็นส่วนแคบของแผ่นดิน
ผ่านไปถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย หรืออาจถึงออสเตรเลีย


การเดินทางไกลต้องใช้พลังงานมาก แต่เหยี่ยวมีวิธีทุ่นแรงโดยอาศัยมวลอากาศร้อน
ซึ่งเกิดจากการที่อากาศร้อนลอยตัวขึ้นมาจากพื้นดินเมื่อถูกแสงแดดแผดเผา
เหยี่ยวจะอาศัยมวลอากาศร้อนนี้พยุงตัวบินร่อนเป็นวงไต่ระดับความสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
จากนั้นจึงใช้วิธีร่อนตามกระแสลมตะวันออกเฉียงเหนือโดยแทบไม่ต้องกระพือปีกบินเลย
มันจะทำเช่นนี้เป็นช่วงๆ จนกว่าถึงจุดหมายปลายทาง
ด้วยเหตุนี้เหยี่ยวจึงต้องบินอพยพเฉพาะเวลากลางวัน


ทำไมต้องชุมพร ?

ทุกปีจะมีเทศกาลดูเหยี่ยวอพยพ ในช่วงเดือนตุลาคม ปีนี้นับเป็นปีที่ 7 แล้ว
และที่ทุกคนนิยมไปฝ้าดูก็คือ เขาเรด้าห์ กิโลเมตรที่ 403 บนถนนเพชรเกษม
ในเขตจังหวัดชุมพร ที่จริงแล้วมีสถานที่หลายแห่งให้เราเฝ้าดูเหยี่ยวอพยพผ่านได้
เช่น บริเวณทุ่งโล่งแถวจังหวัดเพชรบุรี สมุทรสงคราม ราชบุรี และนครปฐม แต่จากการที่จังหวัดชุมพรตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู เป็นส่วนแคบของประเทศไทย
เหยี่ยวจึงถูกบีบให้บินผ่านพื้นที่แคบๆ ทำให้ที่นี่เหมาะสำหรับการเฝ้าดูเหยี่ยวอพยพ

เมษายน

หลังจากเข้ามาหากินอยู่แถบเส้นศูนย์สูตรตลอดช่วงฤดูหนาว
ก็ถึงเวลาที่เหยี่ยวจะต้องออกเดินทางอีกครั้ง เพื่อบินกลับไปผสมพันธ์
เที่ยวบินขากลับ เหยี่ยวจะเปลี่ยนเส้นทางบินไปใช้แนวเทือกเขาแทน
โดยอาศัยแรงส่งจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นำมันกลับสู่บ้านเกิด
โดยช่วงขากลับนั้น มักไม่น่าสนใจเท่าขามา เนื่องจากไม่ได้บินตามกันมาเป็นขบวน
แต่อาจรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อหากินตามแหล่งอาหาร เราจึงมีโอกาสพบเหยี่ยวได้ตามทุ่งโล่ง


สำหรับนกที่เพิ่งผ่านการเดินทางที่ยาวไกลแบบนี้เป็นครั้งแรก
คงเป็นสะสมประสบการณ์ที่สำคัญ เพื่อใช้ในการเดินทางปีถัดไป
เมื่อถึงบ้านพวกมันก็ได้ทำหน้าที่ที่สำคัญในชีวิตไปอีกหนึ่งปี
และพร้อมสำหรับการเดินทางที่ไม่เคยมีจุดสิ้นสุดนี้
มนษย์อย่างเราก็เช่นเดียวกัน

ชุมชนคนรักเหยี่ยว : //thairaptorgroup.com/TRG/index.php



Create Date : 03 ธันวาคม 2551
Last Update : 5 มีนาคม 2553 14:25:38 น. 1 comments
Counter : 1405 Pageviews.  

 
แต่เรากลัวโดนพวกใจบาปมันดักยิงจัง


โดย: quilt วันที่: 3 ธันวาคม 2551 เวลา:12:19:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]