พญาเสือโคร่ง ณ สถานีวิจัยขุนสถาน จ.น่าน



ปีนี้ตั้งใจไปดูดอกพญาเสือโคร่ง เช็คข้อมูลก็มีบาน 100 % หลายที่เหมือนกัน อีกอาทิตย์ก็จะโรยหมดแล้ว แถมแฟนลางานไม่ได้ แต่อยากไป มีเวลาแค่ 2 วัน 1 คืนไปก็ไป ตัดสินใจโยนเต้นท์ขึ้นรถ ขอแค่ไปนอนใต้ต้นพญาเสือโคร่งหนึ่งคืนก็พอใจแล้ว ขับรถไปกลับ 1,400 ก.ม. ไปถึงแล้ว คุ้มค่าเหนื่อยครับ





วันศุกร์ที่ 17 ม.ค.57

เลิกงานเก็บของกว่าจะออกได้ ล้อหมุน เวลา 20.25 น. เซทไมล์ไว้ที่ 0 น้ำมันเต็มถัง ได้เวลาออกเดินทางจากบ้าน (นนทบุรี)





ผมใช้เส้นทางจากหน้าศาลากลางนนท์ เลี้ยวซ้ายแคราย-ปากเกร็ด -บางพูน-บางปะอิน-เชียงราก-ตรงเข้าทางหลวงหมายเลข 32 อ่างทอง สิงห์บุรี- ชัยนาท-นครสวรรค์-พิจิต มาถึงพิษณุโลก ตรง 4 แยกหนองอ้อเวลา 00.56 น.ระยะทางทั้งหมด 350 ก.ม. (แวะปั๊ม ปตท.ที่อ่างทอง กินข้าว-ล้างหน้าประมาณ 20 นาที)

ขับตรงไป 4 แยกหนองอ้อ (พิษณุโลก) ชิดซ้ายแวะเข้าพักที่โรงแรม ปุณยาการ์เด้น (Punya Garden) ของีบเอาแรงก่อนครับ (จากแยกไม่ถึง 200 ม.)

สภาพห้องไม่เลวร้าย มีน้ำอุ่นให้ด้วยแต่เสีย ไม่ใช่ปัญหา ราคาแค่ 350 บาทต่อคืน อยู่ติดถนนไม่ต้องเข้าเมือง ขอแค่ซุกหัวนอนก็พอแล้วครับ ใครมาพักเพื่อเดินทางต่อไปยังจังหวัดอื่นไม่ได้เที่ยวตัวเมืองพิษณุโลกแบบผม แนะนำที่นี่แหละครับ สะดวกสุดๆ















วันเสาร์ที่ 18 ม.ค.57

ที่พิษณุโลกอากาศไม่ค่อยหนาวเท่าไหร อาบน้ำเสร็จ หัวถึงหมอนหลับยาว ตื่นมาอีกที ตีห้าครึ่ง อาบน้ำเก็บของเวลา 05.55น.ออกเดินทางจากโรงแรม ไปกลับรถแล้วเลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกหนองอ้อ ขับตรงไปถึงสี่แยกอินโด-จีน ตรงไปทางอุตรดิษถ์ ถึงแยกเด่นชัยเวลา 7.50 น.ระยะทาง 520 ก.ม. ขับมาเรื่อยๆถึงสูงเม่น แวะเติมน้ำมันเต็มถังที่ปั๊ม ปตท.สูงเม่น ขับมาอีกซักพักก็ถึงทางแยกเข้าบ้านห้วยแก๊ต เวลา 9.02 น.ระยะทาง 593 ก.ม. (เลี้ยวขวาอยู่ตรงโค้งจะมีป้ายบอก ขับข้าๆระวังรถด้วยนะครับ)

จากทางแยกเข้าบ้านห้วยแก๊ตประมาณ 24 ก.ม.เองครับ ก็จะถึง สถานีวิจัยขุนสถาน ทางจะขึ้นเขาไปเรื่อยๆไม่ชัน ไต่ระดับขึ้นไป โค้งไม่ค่อยน่ากลัว ไม่เยอะเหมือนทางแม่ฮ่องสอน รถเก๋งขนาด 1,300 ซีซีก็ขับขึ้นได้สบายๆ ไม่ต้องกลัวครับ

แล้วผมก็มาถึงที่สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถานเวลา 9.37 น.ระยะทาง 617 ก.ม. จะอยู่ทางด้านขวามือ ถ้าขับเลยไปอีก 3 ก.ม.จะเป็น อช.ขุนสถาน 





ไปถึงติดต่อเจ้าหน้าที่ สำนักงานได้เลยครับ







จนท.บอกเลือกกางเต้นท์ได้เลย นี้ไงครับ เต้นท์ผมอยู่กลางดงต้นพญาเสือโคร่ง







ส่วนใครไม่ได้เอาเต๊นท์มา ที่ขุนสถานก็มีบริการให้เช่า ลืมถามราคา แบบห้องพักก็มีหลายห้องอยู่ ต้องโทรจองไปก่อนนะครับ 







เอาเบอร์ จนท.มาฝาก





ลานจอดรถ มีรับรองให้หลายคันอยู่





หลังจากกางเต้นท์เสร็จก็ขับรถไปหาของกิน (ที่ขุนสถานมีแค่ บะหมี่สำเร็จรูปกับกาแฟ นะครับ ใครไปต้องเตรียมอาหารไปเอง) ผมลงจากขุนสถานเลี้ยวซ้ายกลับไปทางเดิมประมาณ 4 ก.ม.ก็ถึงหมู่บ้านมีอาหารตามสั่งขาย ร้านจะอยู่ทางซ้ายมือ ผมนั่งกินเสร็จก็สั่งอาหารนิดหน่อยไว้เผื่อมื้อเย็น





ผมสั่งกระเพราหมูสับไข่ดาว ถ่ายไม่ทันหิวจัดกินเสร็จนึกขึ้นได้ ถ่ายจานเปล่ามาให้ดูแล้วกันครับ 555 ส่วนแฟนผมข้าวผัดกับต้มจืดลูกชิ้น







ขนมจีบ ไม่ได้ลองชิม





รสชาติไม่เท่าไหร่ แต่บรรยากาศเต็มร้อย







อิ่มเสร็จได้เวลากลับ ไปถึงก็ถ่ายรูป เดินเล่นที่ขุนสถาน ขอยิงรูปยาวเลยนะครับ











บ่ายๆเริ่มมีนักท่องเที่ยวมากางเต้นท์เพิ่มขึ้นแล้วครับ





อุโมงค์ต้นพญาเสือโคร่ง





เห็นเต้นท์ผมด้วย ตอนนั้นยังมีแค่เต้นท์ผมเต้นท์เดียว ตอนแรกนึกว่าจะไม่มีใครมากางตรงบริเวณนี้เป็นเพื่อนอีก







ที่กางเต้นท์เค้าจะปรับบริเวณที่กางเป็นขันบันไดและเอาฟางมาปูรองอีกที ชอบครับ เคยมาครั้งที่แล้วตั้งใจว่าจะต้องมากางตรงนี้ให้ได้ วันนี้ได้มาแล้วไม่ผิดหวังครับ





ยิงยาวไป











ตอนแรกนึกว่าดอกบ๊วย พอถามเจ้าหน้าที่บอกว่าเป็นดอกไหงครับ



























ลงไปเดินข้างล่างทางเข้า สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถาน ข้างหน้าก็บานเต็มถนนเหมือนกันครับ

























เดินถ่ายรูปจนหนำใจ ก็ขึ้นมาผูกเปลนอนใกล้เต้นท์ใต้ต้นพญาเสือโคร่ง สุขสุดๆ 









ส่วนนักท่องเที่ยวก็เริ่มทยอยขึ้นมาถ่ายรูปกันบ้างแล้ว











ชอบต้นนี้มากเลยครับ สีสดกว่าเพื่อน







ใกล้สี่โมงเย็นผมก็ไปอาบน้ำ (อากาศ 10 องศา) ไม่มีน้ำอุ่น น้ำเย็นเหมือนออกจากช่องฟรีสเย็นบาดขั่วหัวใจเลย 555 แต่อาบเสร็จแล้วสบายตัวดีครับ





อาบเสร็จก็มาทำอาหารกินกัน ถามเจ้าหน้าที่แล้ว ให้ใช้แก๊สได้เลยทำการอุ่นอาหารและเจียวไข่กิน มากินด้วยกันครับ (ผมหอบอุปกรณ์ทำครัวมาจากบ้านเองครับ)









กินเสร็จเก็บของ เดินเล่นถ่ายรูปไปเรื่อยๆ ทริปนี้นางแบบประจำตัวได้รูปสวยๆมาเพียบ ประมาณหนึ่งทุ่มมืดมาก เงียบสนิทแถมหนาวอีกต่างหาก ไม่รู้ทำอะไรเข้านอนในเต้นท์เล่นๆ แต่หลับจริงๆ 555 ตัดมาตอนเช้าเลยแล้วกัน 

วันอาทิตย์ที่ 19 ม.ค.57

ตื่นมาอีกที หกโมงเช้า อากาศหนาวมากกกกกกก อุณหภูมิ 7 องศา





เวลา 7.00 น.ออกมาเดินเล่น นอกจากพญาเสือโคร่งแล้ว ยังมีต้นไม้อื่นๆอีกหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นชมพูภูคา เต้าร่างยักษ์น่าน ดอกไม้หลายชนิด และหญ้าหอม (ผมถ่ายรูปมาหมดทุกอย่างแต่ทริปนี้ขอพญาเสือโคร่งเป็นนางเอกแล้วกันครับ)

















นักท่องเที่ยวที่พักบนบ้านเริ่มตื่นมาทำอาหาร ถ่ายรูป เดินเล่นกันบ้างแล้วครับ

เต้นท์มากางเยอะเหมือนกัน













ส่วนนี้เต้นท์ผม ไม่ได้จัดฉาก เลยดูเละๆหน่อย 555 หลังจากเดินเล่นได้ซักพักก็มาเก็บเต้นท์แล้วอาบน้ำเดินทางต่อ





ส่วนอาหารเช้าที่ขุนสถาน มีแค่กาแฟซอง บะหมี่สำเร็จรูป ไว้บริการนิดหน่อย







เวลา 8.30 น.ออกเดินทาง ลงจากขุนสถาน เลี้ยวขวาไปไร่สตอเบอรี่ มีปลูกอยู่ประมาณ 3-4 เจ้า ก่อนถึง อช.ขุนสถาน ผมแวะซื้อไร่ที่สองครับ เค้าไม่ได้ปลูกไว้ให้เดินไปเก็บเหมือนที่สะเมิงนะครับ แต่ผมซื้อสตอเบอรี่เค้า เลยขอลงไปถ่ายรูปในไร่ซะหน่อย











ไร่เค้าจะปลูกไล่ระดับเขาลงไป ค่อนข้างชันเหมือนกันครับ













แอบถ่ายเจ้าของกำลังเก็บสตอเบอรี่มาขาย





ไร่นี้มีขายอยู่ 2 พันธุ์ พระราชทาน 320 ลูกใหญ่ สีสวย แต่ออกเปรี้ยวหน่อยโลละ 300 ส่วนพันธุ์พระราชทาน 80 ลูกเล็กสีไม่สวยรสชาติจะหวาน ขายโลละ 350 ซื้อมาอย่างละโล

รูปที่ถ่ายเป็นแบบพันธุ์ 320 ครับ









หน้าร้านจะเป็นอย่างนี้ครับ จะลงไปชมไร่ต้องเดินลงเขาไปหน่อย ที่ร้านไม่ได้มีแค่สตอเบอรี่อย่างเดียว ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆอีกมาก พวกน้ำผึ้ง น้ำผลไม้ต่างๆ ใครสนใจก็ลองแวะดูได้ครับ





ซื้อเสร็จว่าจะขับไป อช.ชุนสถาน แต่เคยไปแล้วไม่ค่อยมีอะไร เลยไม่ไปดีกว่า ขับกลับมาที่เดิม แฟนผมเค้าขอถ่ายรูปดอกพญาเสือโคร่งตรงทางขึ้นสถานีวิจัย จัดชุดใหญ่ไป































เวลา 9.18 น.ระยะทาง 629 ก.ม.ได้เวลาเดินทาง (ใจอยากนอนต่ออีกคืน แต่ก็ต้องกลับแล้วครับ) ยิงยาววิ่งมาเรื่อยๆ ระหว่างทางจะมีร้านขายพวกเครื่องใช้จักรสานและมีดการเกษตรใครสนใจแวะชมได้ครับ





จนมาถึงแพร่มาสะดุดร้านนี้ เห็นรถจอดเยอะ แถมหิวพอดี ขอแวะซะหน่อย





กินข้าวประมาณครึ่งชั่วโมง ขับมาหน่อยก็ถึงแยกร่องฟอง มีป้ายบอกเลี้ยวซ้ายไปพระธาตุช่อแฮ เลี้ยวซ้ายตามป้ายโลด วิ่งตรงไปประมาณ 8 ก.ม.ก็ถึงสามแยกตัวที เลี้ยวซ้ายไปนิดเดียวก็ถึง พระธาตุช่อแฮแล้วครับ (เป็นพระธาตุประจำปีขาล)

ผมมาถึงพระธาตุช่อแฮเวลา 11.06 น.ระยะทาง 710 ก.ม. ซุ้มประตูทางเข้าสวยจังเลย





เข้าไปหาที่จอดรถได้ก็ ขึ้นบันได้ไปกราบพระธาตุ (ใครไม่สะดวกเค้ามีลิฟบริการ ต้องไปขึ้นทางด้านหลังนะครับ จะมีป้ายบอก)





ไหว้พระทันใจก่อนครับ









ไหว้เสร็จก็ขึ้นไปไหว้องค์พระธาตุต่อ









หลังจากนั้นก็ไม่ไหว้หลวงพ่อช่อแฮ เป็นพระประธานประดิษฐานในพระอุโบสถ ศิลปะล้านนา เชียงแสน สุโขทัย สันนิฐานว่า สร้างขึ้นหลังจากสร้างองค์พระธาตุช่อแฮแล้ว มีอายุหลายร้อยปี หน้าตักกว้าง 3.80 เมตร สูง 4.50 เมตร









ได้เวลาออกจากพระธาตุช่อแฮ เวลา 11.48 น.ขับมาถึงแยกเด่นชัย เวลา 12.15 น.ระยะทาง 737 ก.ม. เจอร้าน สวนไซทอง แวะหน่อย ร้านนี้เพิ่งกินครั้งแรก จะอยู่ทางซ้ายมือก่อนถึงแยกเด่นชัย อาหารอร่อยมาก ต้องซื้อกลับมากินที่บ้านอีก เห้อๆ 

















ประมาณบ่ายโมงก็ได้เวลากลับบ้านแล้วครับ ขากลับผมไม่ได้กลับทางพิษณุโลก แต่กลับทางสุโขทัย-กำแพงเพชร แฟนผมถือโอกาสบอกขอเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์หน่อย ยังไม่เคยมาเที่ยวเลย เห้อๆ ไม่อยู่ในแผน แต่ทางผ่านก็เลยแวะให้ครับ ผมก็ไม่ได้มาเกือบ 20 ปีแล้ว จำทางก็ไม่ได้ ถามตลอดทาง แล้วก็มาถึงจนได้ ผมมาถึงเวลา 15.40 น.ระยะทาง 964 ก.ม.

ที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จัดงานวันพ่อขุนรามพอดีเลยครับ 





จ่ายค่าเข้าคนละ 20 บาทก่อน





ผมเดินเล่นแค่วัดมหาธาตุ เองครับ ตรงอื่นจัดงานคนเดินกันเยอะ



























เวลา 16.40 น.ได้เวลาเดินทางกลับบ้านแล้วครับ (พอดีเวลาน้อย ไว้ค่อยกลับมาเยี่ยมแบบเต็มๆ) ระหว่างทางก็แวะปั๊มน้ำมันบ้าง ยิงยาวมาถึงอินทบุรีแวะกินร้านข้าวต้ม เวลา 20.30 น.ระยะทาง 1,262 ก.ม.





กินข้าวประมาณครึ่งชั่วโมง ก็เดินทางกลับมาถึงอ่างทอง เห็นมีป้ายชิดซ้ายเป็นทางเลือกกลับปทุม-นนทบุรี-กทม. ลองไปแล้วกันครับ จะมีป้ายบอกตลอด วิ่งไปตามป้ายจะมาออกตรงแยกวรเชษฐ์ แล้ววิ่งเข้าปทุม-นนท์ได้เลย เส้นนี้ทางค่อนข้างมืดหน่อย แอบเปลี่ยวนิดๆ แต่วิ่งสบายๆ มีช่วงเส้นอ่างทอง-อยุธยา ที่เป็นทางสองเลนส์วิ่งสวนกัน ทางไม่ค่อยดีเป็นบางช่วง เหมาะกับเป็นทางเลือกช่วงเทศกาลได้ดีเลยครับ ผมกลับมาถึงบ้านเวลา 22.57 น. ระยะทางทั้งหมด 1,412 ก.ม. น้ำมันก็เห็นตามรูปนั้นแหละครับ เกือบหมดถังพอดี





ทริปนี้ขับรถพันกว่ากิโล เพื่อไปกางเต้นท์นอนแค่หนึ่งคืน ถึงเหนื่อย ถึงมีเวลาน้อยแต่ก็คุ้มค่ากับการเดินทาง ไว้มีโอกาสจะไปสัมผัส ปล่อยใจไปกับธรรมชาติ อีกซักครั้ง

รถผมคันนี้แหละที่พาไปตลอดการเดินทาง น้องวีโก้ เครื่อง 2,500





สรุป ค่าใช้จ่าย

วันศุกร์
- ขนมร้าน 7/11 ปั๊มน้ำมัน 173 บาท
- ค่าโรงแรมพิษณุโลก 350 บาท

วันเสาร์
- เติมน้ำมัน ปตท.สูงเม่นเต็มถัง 1,500 บาท (ทั้งหมด 49 ลิตรๆละ 30.59 บาท)
- ข้าวเช้าที่สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถาน 239 บาท
- กับข้าวไว้ทำมื้อเย็น 50 บาท
- ค่ากางเต้นท์ที่ สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถาน 100 บาท

วันอาทิตย์
- สตอเบอรี่ อย่างละ 1 โล 650 บาท
- อาหารมื้อเช้าร้านเมตตา 130 บาท
- ทำบุญที่วัดพระธาตุช่อแฮ 240 บาท
- อาหารมื้อเที่ยงร้านไซทอง 210 บาทซื้อกลับบ้าน 330 บาท รวม 540 บาท
- หอมแดง 100 บาทกระเทียม 1 โล 150 บาท รวม 250บาท
- ค่าเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2 คน 40 บาท
- หมูทอด 70 บาท
- เฉาก๋วย 15 บาท
- ข้าวมื้อเย็นที่ร้านอินทบุรี 420 บาท

รวมทั้งหมด 4,767 บาท




Create Date : 20 มกราคม 2557
Last Update : 3 กันยายน 2560 21:56:15 น. 2 comments
Counter : 10398 Pageviews.

 
ณ ตอนนี้เดือน ม.ค.57 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถาน

- สัญญาณโทรศัพท์ใช้ได้แค่ค่าย ทรู แอบมี 3 G เป็นบางช่วง ส่วนค่ายอื่นดับสนิท

- ข้างบนมีห้องพักหลายหลัง ส่วนมากห้องนึงจะพักได้ 10 คนขึ้นไป ค่าบ้านพักหลังละ 500 มีอุปกรณ์ที่นอนกับห้องน้ำในตัว แค่นั้น ส่วนเต้นท์ถ้าเอามาเองคิดเต้นท์ละ 100 บาทถ้าเอาของสถานีวิจัยต้นน้ำ คิดเต้นท์ละ 250-350 บาทพร้อมเครื่องนอน ห้องน้ำสะดวก พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ชอบแนวนี้ ใครสนใจ คลิ๊กจ้า ช่วงที่ผมไปเต็มทุกหลัง

- อาหาร มีแค่บะหมี่สำเร็จรูปขายถ้วยละ 20 หรือ 25 บาทหว่า ไม่ได้ถามครับ 555 กับซองกาแฟน้ำร้อนให้ ใครจะไปค้างคืนให้เตรียมอาหารไปเองด้วยครับ หรือจะไปซื้ออาหารที่หมู่บ้านก็ได้มี 2-3 เจ้า อ้อ...ที่สถานีวิจัยมีเตาให้เช่าพร้อมถ่าน 80 บาท

- ทางขึ้นได้สองทาง ทางนาน้อยระยะทางประมาณ 35 ก.ม.ทางไกลขับผ่านหมู่บ้านตลอด ขึ้นทางนี้จะผ่าน อช.ขุนสถานก่อน หรือขึ้นทางบ้านห้วยแก๊ตที่ผมขึ้นมาก็ได้ (ที่ อ.นาน้อยจะตลาดใหญ่ไว้บริการให้กับนักท่องเที่ยวใครผ่านทางนี้ก็แวะซื้อของที่นี้ได้เลยครับ)

- ไฟ มีตลอด 24 ชั่วโมง ใครกางเต้นท์สามารถมาชาร์ทไฟได้ตรงจุดบริการนักท่องเที่ยว (หน้าบ้านพักเงาไม้) สำหรับใครนอนบ้านพักคงไม่มีปัญหาเนอะ ตรงจุดกางเต้นจะมีไฟเปิดให้ตลอด ไม่อันตรายครับ

เอาข้อมูลคราวๆที่ผมไปสัมผัสมาฝาก ใครไปปีหน้าควรโทรไปถามข้อมูลกับเจ้าหน้าอีกครั้งด้วยครับ เผื่อมีการเปลี่ยนแปลง


โดย: nongmalakor วันที่: 20 มกราคม 2557 เวลา:16:22:23 น.  

 
ข้อมูลเกี่ยวกับ สถานีวิจัยต้นน้ำ ขุนสถาน

ที่ตั้ง & ภูมิประเทศ

สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถาน ตั้งอยู่ระหว่าง เส้นรุ้งที่ 20° 30' ถึง 24° 30' เหนือ และเส้นแวงที่ 57° ถึง 62° 40' ตะวันออก ในท้องที่อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเนินเขา และภูเขาซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,000 - 1,728 เมตร มีความลาดชันด้านข้างสูงเฉลี่ย ประมาณ 35 - 40 % เป็นพื้นที่ต้นกำเนิดน้ำแหง ก่อนที่จะไหลมารวมกับลำน้ำอื่น ๆ ในลุ่มน้ำน่าน



ภูมิอากาศ

ลักษณะอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดปีมี อุณหภูมิเฉลี่ย 19.9°C มีอุณหภูมิสูงสุดในเดือน เมษายน เฉลี่ย 27.4° C และต่ำที่สุดในเดือน ธันวาคม และมกราคม เฉลี่ย 12.6° C ในรอบปีมีฝน ตกประมาณ 10 เดือน เริ่มจากเดือนมีนาคม ถึง เดือนธันวาคม มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 2,134 มม. ฝนตกมากในเดือนพฤษภาคม 403.2 มม. ปริมาณการระเหยทั้งปี 11,892 มม. หรือ 57.72 % ของฝนที่ตกลงมาทั้งหมด จาก อุณหภูมิที่ต่ำและฝนตกชุก จึงทำให้อากาศมี ความชื้นโดยเฉลี่ย 79.9%



พืชพรรณ

ลักษณะพืชพรรณและการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณสถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถานเป้นป่าดิบเขา ประกอบไปด้วย ไม้ก่อชนิดต่าง ๆ จำปีป่า เหมือดคน และมณฑา และพื้นที่สวนป่าซึ่งเดิมเป็นป่าดิบเขาที่อุดมสมบูรณ์ ต่อมาถูกบุกรุกแผ้วถางเพื่อทำการเกษตร โดยชาวเขาเผ่าม้งขุนสถาน จนกระทั่งดินเสื่อมค่าลง จึงถูกปล่อยทิ้งไว้เป็นไร่ร้าง มีหญ้าคาขึ้นปกคลุม จึงได้มีการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ชนิดไม้ที่ปลูก คือ ยูคาลิปตัส คามาลคูเลนซิส และสนสามใบ แต่ความต้องการที่ดินในการยังชีพยังมีแนวโน้มสูง พื้นที่ป่าดิบเขาดั้งเดิมจึง ถูกแผ้วถางลงเป็นจำนวนมาก เพื่อเพาะปลูกพืชเกษตรต่าง ๆ ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวไร่ ท้อ กะหล่ำปลี



อุทกวิทยา

สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถาน มีพื้นที่ลุ่มน้ำทดลองที่รับผิดชอบอยู่ประมาณ 8,750 ไร่ ครอบคุลม ลุ่มน้ำย่อย คือ ลุ่มน้ำห้วยส้ม



ธรณีวิทยา

ลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำห้วยส้ม เป็นหินอายุ Permo-Triassic (PTr) ประกอบด้วยหินทราย หินหทรายเนื้อภูเขาไฟ หินปูนเนื้อดิน หินไรโอลิติกทัฟฟ์ที่แปรสภาพ หินดินดาน หินปูนเป็นเลนส์ หินเชิร์ต และหินปูนเนื้อไข่ปลา



ปฐพีวิทยา

ลักษณะดินโดยทั่วไปบริเวณห้วย เป็นดินลึก เนื้อเดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายถึงดินเนียว ดินบนมีอินทรียวัตถุ 1.2 ถึงมากกว่า 10 % ฟอสฟอรัส 3-10 ppm โพแทสเซียม 20-150 ppm ในขณะที่ดินล่างมีอินทรียวัตถุ 0.12-5 % ฟอสฟอรัส 1-2 ppm โพแทสเซียม 10-50 ppm



ขอบคุณข้อมูลจากเวป คลิ๊กจ้า


โดย: nongmalakor วันที่: 20 มกราคม 2557 เวลา:16:43:16 น.  

nongmalakor
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 120 คน [?]




ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
Google
Group Blog
 
<<
มกราคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
20 มกราคม 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add nongmalakor's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.